การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน

การบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ความท้าทาย ความเสี่ยง และผลกระทบ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นสำคัญระดับสากล ตามที่ปรากฏอยู่ในเป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติ
เป้าหมายที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN Sustainable Development Goals: SDG 13 Climate Action) และการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญา สหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Conference of the Parties: COP)
เป็นประจำทุกปี ซึ่งประเทศไทยได้เข้าประกาศเจตนารมณ์ร่วมกับนานาชาติในการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 เช่นกัน ซึ่งจะเพิ่มแรงผลักดันในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกทั้งภาครัฐและเอกชนที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ผ่านการจัดทำร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ หรือ พ.ร.บ. โลกร้อน ที่จะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ พร้อมทั้งการส่งเสริมการผลิตและใช้พลังงานสะอาดของประเทศ รูปแบบการบริโภคที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไป ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อธุรกิจพลังาน ทั้งหมดนี้เป็นความท้าทายที่กลุ่มไทยออยล์ได้นำมาประเมินความเสี่ยงและโอกาส เพื่อกำหนดเป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจระยะยาวให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารของไทยออยล์และบริษัทในกลุ่มฯ เล็งเห็นความสำคัญต่อการตอบสนองต่อทิศทางธุรกิจในอนาคตที่ต้องมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดและสังคมคาร์บอนต่ำ และกำหนดนโยบายสาธารณะที่สอดคล้องต่อความตกลงปารีส (Paris Agreement) และการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนดของประเทศไทย (Thailand’s Nationally Determined Contribution: NDC) โดยมุ่งเน้นการศึกษาความเป็นไปได้ทางธุรกิจใหม่ๆ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การปรับกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงสุด พร้อมกำหนดกลยุทธ์ที่เป็นรูปธรรมและตั้งเป้าหมายระยะยาวให้สอดคล้องกับประเทศ

เป้าหมาย

ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมายปี 2566 เป้าหมายระยะยาว
การลดก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 1 และ 2 ร้อยละจากปีฐาน - ร้อยละ 15 ภายในปี 2578 จากปีฐาน 2569
การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 1 และ 2 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ไม่เกิน 3,460,000 ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี 2593
การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ภายในปี 2603

แนวทางการบริหารจัดการและผลการดำเนินงาน 

 

1. การกำกับดูแล

คณะกรรมการบริษัทฯ ทบทวนกลยุทธ์องค์กรตามสถานการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประจำทุกปี และประยุกต์ใช้กระบวนการบริหารความเสี่ยงเป็นเครื่องมือในการประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตโดยมีการติดตามความเสี่ยงทุกไตรมาส คณะกรรมการบริษัทฯ ยังมีหน้าที่ในการติดตามตัวชี้วัดความสำเร็จด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ของบริษัทฯ ได้แก่ ดัชนีชี้วัดการใช้พลังงาน (Energy Intensity Index) และความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas Intensity) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดองค์กร (Corporate Key Performance Indicators) เพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้บริหารและพนักงาน

ในการทบทวนกลยุทธ์ประจำปี 2566 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้เห็นชอบกับผลการศึกษาของ ‘แนวทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ปี 2569 - 2603 (Net Zero GHG Emissions Pathway 2026 - 2060)’ พร้อมทั้งพิจารณางบประมาณและแนวทางการลงทุนในเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ เช่น การศึกษาการติดตั้งเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (Carbon Capture) ในหน่วยผลิต การศึกษาธุรกิจไฮโดรเจนสีฟ้าและเขียว (Blue and Green Hydrogen) การผลิตน้ำมันอากาศยานแบบยั่งยืน (Sustainable Aviation Fuel: SAF) เป็นต้น

คณะกรรมการบริษัทฯ มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ระดับคณะกรรมการบริษัทฯ) มีหน้าที่กำกับดูแลและติดตามความคืบหน้าของการดำเนินงานทุกครึ่งปี และมอบหมายให้คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (ระดับฝ่ายบริหาร) ซึ่งมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธานในที่ประชุม มีหน้าที่ในการผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานและติดตามความคืบหน้าทุกไตรมาส และฝ่ายจัดการของกลุ่มไทยออยล์มีหน้าที่ในการบริหารจัดการตามกลยุทธ์ที่กำหนดไว้ โดยจัดตั้ง "โครงสร้างการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์” โดยมีผู้จัดการฝ่ายด้านความยั่งยืนเป็นผู้กำกับดูแลในภาพรวม และประกอบด้วยสายงานด้านกลยุทธ์องค์กร ด้านกระบวนการผลิต ด้านการลงทุนในธุรกิจใหม่ ด้านการวิจัยและพัฒนา ด้านการเงิน และด้านงานกิจกรรมเพื่อสังคม โดยมีหน้าที่วิเคราะห์ความเสี่ยงและโอกาสอันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ดำเนินการตามกลยุทธ์ฯ พร้อมจัดทำแผนงานและแนวทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของกลุ่มไทยออยล์ และรายงานผลการดำเนินงาน การบริหารจัดการความเสี่ยงที่น่าจะเกิดและโอกาส ต่อคณะกรรมการต่างๆ เป็นประจำ

2. กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กลุ่มไทยออยล์ได้กำหนดกลยุทธ์การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions Strategy) หรือที่เรียกว่า กลยุทธ์ 3Cs ดังนี้

"Click Here" แนวทางการดำเนินงานและความคืบหน้าปี 2566 ของกลยุทธ์ 3Cs

 

3. การรวมกลุ่มสมาคมเพื่อผลักดันการเปลี่ยนแปลง

กลุ่มไทยออยล์ดำเนินงานร่วมกับกลุ่ม ปตท. ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจพลังงานชั้นนำของประเทศไทย เพื่อศึกษาและร่วมเสนอความคิดเห็นต่อกฎหมายและนโยบายภาครัฐที่มุ่งสู่การสนับสนุน Net Zero GHG Emissions ภายใต้คณะทำงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กลุ่ม ปตท. (PTT Group Net Zero Task Force: PTT G-NET) ซึ่งประกอบด้วยคณะทำงานย่อยเพื่อร่วมกันศึกษา ผลักดันและเสนอแนวทางดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย โดยครอบคลุมเทคโนโลยีดักจับ กักเก็บ และใช้ประโยชน์คาร์บอน (Carbon Capture Storage and Utilization) การประยุกต์ใช้ไฮโดรเจน (Hydrogen) เป็นพลังงานทางเลือก การเพิ่มศักยภาพการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทนฟอสซิล และการปลูกป่าเพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต

นอกจากนั้น เพื่อให้มีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยออยล์ได้เป็นสมาชิกของเครือข่ายคาร์บอน
นิวทรัลประเทศไทย
(Thailand Carbon Neutral Network: TCNN) ตั้งแต่ปี 2564 โดยเป็นองค์กรภายใต้องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thailand Greenhouse Gas Management Organization: TGO) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐเพื่อสนับสนุนนโยบายสาธารณะในการสนับสนุนเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ครอบคลุมการลดก๊าซเรือนกระจก ความเป็น
กลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการดูแล ตรวจสอบและติดตามวัตถุประสงค์ของ TCNN ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่ายังสอดคล้องกับจุดยืนตามแนวทางการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเป้าหมายการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของกลุ่มไทยออยล์ ทั้งนี้ ในกรณีที่จุดยืนทางด้านนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่าง TCNN และกลุ่มไทยออยล์ไม่สอดคล้องกัน บริษัทฯ อาจพิจารณาการเป็นสมาชิกของ TCNN ในอนาคต

4. การบริหารจัดการความเสี่ยงและโอกาสด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

กลุ่มไทยออยล์ได้ตรวจสอบความยืดหยุ่นของกลยุทธ์ข้างต้นด้วยการวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง (Scenario Analysis) และประเมินผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อธุรกิจในสถานการณ์ต่างๆ ด้วยการประเมินความเสี่ยงและโอกาสในช่วงปี 2573 - 2583 - 2593 โดยอ้างอิงแนวทางจากมาตรฐานการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ หรือ Task Force on Climate Related Financial Disclosures (TCFD) โดยวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง เทียบกับสถานการณ์พื้นฐาน (Baseline Scenario) ใน 2 สถานการณ์ ดังนี้

การวิเคราะห์สถานการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่าน (The Transition Scenario)

กลุ่มไทยออยล์ประเมินความเสี่ยงและโอกาสใน 4 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยจากกฎหมายและกฎระเบียบของภาครัฐ ปัจจัยจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี ปัจจัยจากการเปลี่ยนพฤติกรรมของตลาดและผู้บริโภค และปัจจัยจากชื่อเสียงและผู้มีส่วนได้เสีย โดยวิเคราะห์สถานการณ์จำลองในปี 2573 - 2583 - 2593 ครอบคลุมตลอดสายโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กระบวนการผลิต และปลายน้ำ ผ่าน 2 สถานการณ์ ได้แก่

  • 1. สถานการณ์แนวทางการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศภายใต้นโยบายที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศต่างๆ ทั่วโลก (Stated Policies Scenario: STEPS) โดยสถานการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางนโยบายปัจจุบันและเป้าหมายที่รัฐบาลได้ประกาศตามแผนงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ประเทศ ที่สอดคล้องกับการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDC) ภายใต้ข้อตกลงปารีส
  •  
  • 2. สถานการณ์แนวทางการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Scenario: SDS) โดยสถานการณ์นี้แสดงให้เห็นถึงแนวทางการรักษาอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกที่สูงขึ้นให้ “ไม่เกิน 2°C” สำเร็จ ผ่านการเปลี่ยนผ่านพลังงานไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำและเป็นไปตามคำมั่นสัญญาในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (International Energy Agency: IEA)

• ความเสี่ยงและโอกาสจากนโยบายและกฎระเบียบจากภาครัฐ (Regulatory Risk)

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบันและการลงทุนในอนาคต คือ การกำหนดเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยที่ได้ให้คำมั่นสัญญาในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งอาจจะเป็นความเสี่ยงต่อต้นทุนการผลิตของกลุ่มไทยออยล์เมื่อมีการออกกฎหมายและมาตรการต่างๆ เพื่อผลักดันให้การบริหารจัดการสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น ร่างพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ พ.ร.บ. โลกร้อน การรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการสนับสนุนเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ กลไกทางเศรษฐศาสตร์ที่จะบังคับใช้ในอนาคต เช่น ภาษีคาร์บอน หรือระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading Scheme) เป็นต้น

อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากราคาคาร์บอนที่ต้นน้ำ (Upstream) กรณีประเทศต้นทางของผู้ค้าน้ำมันดิบมีการคิดราคาคาร์บอนและกระทบต่อราคาต้นทุนวัตถุดิบที่จะสูงขึ้นด้วย และความเสี่ยงจากราคาคาร์บอนที่ปลายน้ำ (Downstream) จากมาตรการภาษีระหว่างพรมแดนของสหภาพยุโรป (Carbon Boarder Adjustment Mechanism: CBAM) ที่อาจมีผลต่อราคาของสินค้าปิโตรเคมีบางชนิดหากกลุ่มไทยออยล์มีการส่งออกไปหาลูกค้าในตลาดยุโรปในอนาคต

จากสภาวะดังกล่าวธุรกิจอุตสาหกรรมน้ำมันอาจจะปรับตัวตามไม่ทันและมีความเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อต้นทุนที่สูงขึ้นและแนวโน้มการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดในระยะยาว อย่างไรก็ตาม มาตรการของภาครัฐอาจเป็นโอกาสให้แก่กลุ่มไทยออยล์ในการวางแผนกลยุทธ์ธุรกิจ หากภาครัฐมีการส่งเสริมหรือให้แรงจูงใจในการลงทุนในการผลิตและการใช้พลังงานสะอาด เช่น ธุรกิจไฮโดรเจน การผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานที่ยั่งยืน เป็นต้น

มาตรการรับมือ 

  • ติดตามความคืบหน้าของกฎหมายและกฎระเบียบของภาครัฐอย่างใกล้ชิด
  • จัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบทางการเงินกรณีมีราคาคาร์บอน (Sensitivity Analysis for Carbon Pricing)
  • เข้าร่วมเป็นสมาชิกหรือเครือข่ายกับสมาคมด้านก๊าซเรือนกระจก เช่น เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) และองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development: TBCSD) เพื่อติดตามความคืบหน้าของกฎระเบียบของภาครัฐและทิศทางการปรับตัวของภาคเอกชนไทย
  • ติดตามผลกระทบจากราคาคาร์บอนกรณีส่งผ่านมาจากคู่ค้าน้ำมันดิบและวางกลยุทธ์การสรรหา (Sourcing) ที่เหมาะสม

 

• ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี (Technological Risk) 

ปัจจัยที่อาจมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจในอนาคต ได้แก่ กรณีที่เทคโนโลยีการใช้พลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมันมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ทั้งในแง่ของความพร้อมทางเทคโนโลยี ประสิทธิภาพ ความปลอดภัยในการใช้งาน และต้นทุนการผลิต ดังจะเห็นได้จากในปัจจุบันที่มีการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีในการผลิตพลังงานทางเลือกมาทดแทนน้ำมันในรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น รถยนต์ที่ใช้พลังงานจากไฟฟ้าหรือจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจน เทคโนโลยีการดักจับและกักเก็บคาร์บอน เป็นต้น

มาตรการรับมือ

  • ศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (Carbon Capture) ในกระบวนการผลิต
    เข้าร่วมศึกษาความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการกักเก็บและขนส่งคาร์บอน (Carbon Transportation and Storage) ในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ร่วมกับกลุ่ม ปตท. 
    แสวงหาโอกาสทางธุรกิจในการนำคาร์บอนที่กักเก็บได้ไปใช้ประโยชน์ (Carbon Utilization) ในเชิงพาณิชย์
    แสวงหาโอกาสทางธุรกิจในกลุ่มไฮโดรเจนน้ำเงินหรือสีเขียว 
    แสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ (New S-curve Business)

 

• ความเสี่ยงและโอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของตลาด (Market Risk)

  • ปัจจัยที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าและผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมี (Downstream) ที่ตอบสนองต่อแนวโน้มการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำและพลังงานคาร์บอนต่ำ รวมไปถึงความผันผวนของราคาน้ำมันดิบจากผู้ค้าน้ำมันดิบ (Upstream) ที่ส่งผลต่อความไม่แน่นอนของรายได้ทางธุรกิจ รวมไปถึงแนวโน้มตลาดในอนาคตที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน (Energy Transition) ของหลายประเทศทั่วโลก หรือการเติบโตของรถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่มีผลต่อปริมาณความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงที่อาจลดลงในอนาคต
  • นอกจากนั้น คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งประเทศไทยได้ประกาศนโยบาย 30@30 โดยตั้งเป้าหมายการผลิตรถ ZEV (Zero Emission Vehicle) หรือยานยนต์ที่ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์ให้ได้อย่างน้อย ร้อยละ 30 ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดในปี 2573 โดยในปี 2566 คณะกรรมการฯ นี้ได้ออกมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า ระยะที่ 2 หรือ EV 3.5 ในช่วงระยะเวลา 4 ปี (ในช่วงปี 2567 – 2570) ซึ่งจะเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคอย่างรวดเร็ว

  • ดังนั้น แนวโน้มความต้องการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนจะสูงขึ้น และส่งผลกระทบต่อยอดขายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไทยออยล์ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านทางพลังงานยังเป็นโอกาสให้กลุ่มไทยออยล์ในการแสวงหาการลงทุนทางธุรกิจและ
    ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ

  •  

  • มาตรการรับมือ
  •  
  • ปรับสัดส่วนการผลิตนํ้ามันเบนซินให้สอดรับกับความต้องการที่อาจจะลดลงในอนาคต และปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการลงทุนที่เน้นการผลิตน้ำมันประเภทดีเซลและน้ำมันอากาศยานมากขึ้น ผ่านโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP)
  • ปรับโครงสร้างการลงทุน (Business Portfolio) ให้รองรับกับตลาดในอนาคต
  • วิเคราะห์ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมัน (Peak Oil) และติดตามทิศทางตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์ (Product Portfolio) อย่างเหมาะสมกับสถาณการณ์
  • ลงทุนกับบริษัทปิโตรเคมีชั้นนำในประเทศอินโดนีเซีย บริษัท PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) เพื่อปรับโครงสร้างผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดเคมีภัณฑ์ที่ยังมีแนวโน้มความต้องการสูง
  • ศึกษาความเป็นไปได้ของเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) 
  • ศึกษาความเป็นไปได้ของการผลิตน้ำมันอากาศยานที่ยั่งยืน (SAF) ร่วมกับกลุ่ม ปตท. 
  • สานสัมพันธ์กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบความต้องการผลิตภัณฑ์ในอนาคต พร้อมทั้งปรับแผนกลยุทธ์ธุรกิจมุ่งสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Product) และเคมีภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ (Specialty Chemicals) ควบคู่ไปกับกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodity Product)
  •  
  • • ความเสี่ยงและโอกาสจากผู้มีส่วนได้เสียและภาพลักษณ์ (Reputational Risk) 
  •  
  • ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มไทยออยล์ ได้แก่ กรณีที่กลุ่มไทยออยล์ไม่มีการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ทันท่วงทีต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็นสังคม ชุมชน ผู้ถือหุ้น นักลงทุนสถาบัน และพนักงาน เป็นต้น
  •  
  • มาตรการรับมือ
  •  
    • ประกาศเจตนารมณ์ในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
      จัดทำแนวทางการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ 
      สื่อสารความก้าวหน้ากับผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่อง
      เข้าร่วมกลุ่มสมาคมและองค์กรที่ขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างยั่งยืนและมุ่งสู่การสนับสนุนเป้าหมายประเทศ

    ผลการวิเคราะห์ผลกระทบต่อการเงิน 

  • ความเสี่ยงที่สำคัญ

    • 1. ผลกระทบจากราคาคาร์บอน จากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าจากกระบวนการผลิตของบริษัทฯ โดยประเมินสถานการณ์ในกรณีที่ประเทศไทยใช้กลไกซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และอ้างอิงปริมาณควบคุม (Capacity) ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มไทยออยล์ในปี 2566 และอ้างอิงราคาในปี 2573 และ 2593 ของภูมิภาคเอเชียจาก IEA World Energy Outlook 2021
    • 2. ผลกระทบจากความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมัน (สินค้าของบริษัทฯ) ที่ลดลง จากการเปลี่ยนไปใช้พลังงานทางเลือกของลูกค้า (ปลายน้ำ) โดยอ้างอิงปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์น้ำมันของอาเซียนจาก IEA World Energy Outlook 2021
    • 3. ผลกระทบจากอัตราราคาคาร์บอน จากการเพิ่มราคาต้นทุนจากผู้ค้าน้ำมันดิบ (ต้นน้ำ) กรณีผู้ค้าน้ำมันดิบได้รับผลกระทบจากภาษีคาร์บอนและส่งต่อต้นทุนมาที่บริษัทฯ ร้อยละ 100 
  •  
  •  "Click Here" รายละเอียดผลกระทบทางการเงินจากการวิเคราะห์สถานการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่าน (The Transition Scenario)
  •  
  • การวิเคราะห์สถานการณ์ความเสี่ยงทางกายภาพ (The Physical Scenario)
  •  
  • กลุ่มไทยออยล์ประเมินความเสี่ยงทางกายภาพ ทั้งกรณีผลกระทบเฉียบพลัน (Acute Impact) และแบบค่อยเป็นค่อยไป (Chronic Impact) จากการเพิ่มอุณหภูมิของโลก โดยวิเคราะห์สถานการณ์จำลองในปี 2573 - 2583 - 2593 ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำ กระบวนการผลิต และปลายน้ำ ผ่านแบบจำลองการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต (Representative Concentration Pathways: RCPs) ซึ่งได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ใน 2 สถานการณ์ ได้แก่
    • 1. RCP 2.6 สถานการณ์จำลองที่ใช้มาตรการลดก๊าซเรือนกระจกที่เข้มงวด
    • 2. RCP 8.5 สถานการณ์จำลองที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

• ความเสี่ยงจากการขาดแคลนน้ำ (Water Scarcity Risk)

ความเสี่ยงทางกายภาพที่มีนัยสำคัญสูงของกลุ่มไทยออยล์ คือกรณีการขาดแคลนน้ำเพื่อการผลิต อาจส่งผลต่อการสรรหาน้ำเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต และการลงทุนโครงการขยาย เช่น Clean Fuel Project (CFP) และโครงการอื่นๆ ในอนาคต เป็นต้น ซึ่งจัดเป็น Chronic Impact อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนน้ำ ตลอดจนความต้องการใช้น้ำจากการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ภาคตะวันออกของประเทศไทย ที่กำลังมีการดำเนินโครงการพัฒนาระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) ซึ่งส่งผลให้ความต้องการการใช้น้ำบริเวณพื้นที่ภาคตะวันออกเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอนาคต กลุ่มไทยออยล์ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเตรียมความพร้อมรับมือเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ กระบวนการผลิต สิ่งแวดล้อม และชุมชน

กลุ่มไทยออยล์จึงได้ติดตาม คาดการณ์ และประเมินความเสี่ยงของสถานการณ์น้ำ พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์จำลอง (Scenario Analysis) และความอ่อนไหวต่อธุรกิจ (Sensitivity Analysis) กรณีกระบวนการผลิตมีความเสี่ยงที่จะขาดแคลนน้ำในสัดส่วนต่างๆ โดยหน่วยงานความเสี่ยงร่วมกับคณะทำงานการบริหารจัดการน้ำของกลุ่มไทยออยล์เป็นประจำ ทั้งยังนำ WRI Aqueduct Water Tools ที่พัฒนาโดย World Resource Institute ซึ่งเป็นที่ยอมรับในระดับสากลมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงาน และเข้าร่วมกับหน่วยงานภายนอกองค์กรและหน่วยงานราชการ เช่น คณะทำงานการบริหารจัดการน้ำของกลุ่ม ปตท. (PTT Group Water Committee) ของพื้นที่ภาคตะวันออก คณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการน้ำภาคตะวันออก (Keyman Water War Room) และสถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน ภายใต้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อสร้างเครือข่ายในการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการในทุกภาคส่วน และกำหนดมาตรการเชิงรุกในการลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตและชุมชนร่วมกันอย่างทันท่วงที

  • มาตรการรับมือ

  •  

  • เพื่อรักษาดุลยภาพระหว่างการดำเนินธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มไทยออยล์เห็นพ้องกับหน่วยงานภาครัฐโดยให้ความสำคัญกับชุมชนเป็นอันดับแรกหากเกิดสภาวะขาดแคลนน้ำ เพื่อให้ชุมชนได้รับน้ำที่เพียงพอต่อการทำเกษตรกรรม การอุปโภคบริโภค ซึ่งจะได้รับการจัดสรรน้ำจากหน่วยงานภาครัฐก่อนที่หน่วยงานภาครัฐจะส่งน้ำมาให้กลุ่มไทยออยล์ และเพื่อรองรับต่อสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มไทยออยล์ได้กำหนดกลยุทธ์ระยะยาว “Long - term Water Supply Strategy ปี 2566 - 2576” เพื่อเพิ่มความมั่นคงและลดความเสี่ยงกรณีขาดแคลนน้ำที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน ตลอดจนรองรับความต้องการการใช้น้ำสำหรับโครงการขยายในอนาคต โดยมีการบริหารจัดการ ดังนี้

    ในปัจจุบันกลุ่มไทยออยล์ใช้น้ำอยู่ 2 ประเภทคือ น้ำทะเล โดยมีหน่วยกลั่นน้ำทะเล (Thermal Desalination Unit) ในการปรับปรุงคุณภาพน้ำทะเลเป็นน้ำจืด และ น้ำดิบ ที่รับมาจากผู้จัดสรรน้ำ 2 แหล่งคือ อ่างเก็บน้ำบางพระโดยกรมชลประทาน และอ่างเก็บน้ำหนองค้อโดยบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) ที่มีการจัดสรรน้ำอย่างบูรณาการร่วมกับกลุ่มไทยออยล์โดยสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐหรือบริบทของพื้นที่ที่ใช้น้ำร่วมกัน เพื่อใช้ในกระบวนการผลิตของกลุ่มไทยออยล์ เช่น ระบบหอหล่อเย็น ระบบการผลิตน้ำปราศจากแร่ธาตุเพื่อผลิตไอน้ำ และในกระบวนการผลิตอื่นๆ เป็นต้น โดยผ่านการปรับปรุงคุณภาพน้ำและควบคุมคุณภาพน้ำให้ดีกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดก่อนระบายออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก เพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ โดยใช้หลักเศรษฐกิจหมุนเวียนและหลักการ 3Rs (Reduce, Reuse, Recycle) ในการบริหารจัดการน้ำเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

    โครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ภายใต้กลยุทธ์ระยะยาว “Long-term Water Supply Strategy ปี 2566 - 2576” เช่น

    • โครงการศึกษาการติดตั้งหน่วยผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเลเพิ่มเติม (Desalination Unit) จากปัจจุบันที่มีอยู่แล้ว 6 หน่วย เพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำจากแหล่งน้ำทะเลที่ถือว่าเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างไม่จำกัดทดแทนการใช้น้ำดิบที่มีอยู่อย่างจำกัด
    • โครงการศึกษาการนำน้ำเสียที่เกิดขึ้นจากโรงปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบกลับมาใช้ใหม่ (Recycle Waste Water from Water Treatment Plant) 
    • โครงการศึกษาการนำน้ำเสียจากระบบบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ใหม่ โดยใช้ระบบรีเวิร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis System) 
    • โครงการศึกษาการนำน้ำทิ้งชุมชนเมืองพัทยากลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (Pattaya Wastewater Recycle)
    • นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง เช่น
    • โครงการแหล่งน้ำดิบจากบ่อน้ำเอกชน ที่มีศักยภาพและไม่มีผลกระทบกับการใช้น้ำของชุมชนและเกษตรกร เพื่อการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มความหลากหลายในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ (Water Supply Management) เพื่อลดความสี่ยงกรณีขาดแคลนน้ำดิบ บริษัทฯ ได้ทำสัญญาซื้อขายน้ำดิบกับเอกชนเรียบร้อย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างระบบส่งน้ำดิบ คาดว่าจะแล้วเสร็จและสามารถส่งน้ำให้กลุ่มไทยออยล์ได้ภายในปี 2567
    •  

    • ความเสี่ยงทางกายภาพอื่นๆ (Other Physical Risks)

เพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือความเสี่ยงอย่างรอบด้าน บริษัทจึงประเมินความเสี่ยงทางกายภาพตามมาตรฐานสากล TCFD (Task Force on Climate-related Financial Disclosures) พบว่า สถานการณ์พายุไซโคลนที่บ่งชี้ได้จากข้อมูลการคาดการณ์ตามสถานการณ์ RCP 2.6 และ RCP 8.5 อาจทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต แม้จะมีโอกาสเกิดต่ำและไม่เคยปรากฎความเสี่ยงของพายุไซโคลนในการดำเนินธุรกิจที่ผ่านมา แต่หากเกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ โดยจากการศึกษาและวิเคราะห์จากข้อมูลในอดีตพบว่าพายุไซโคลนจะเกิดนอกชายฝั่ง ซึ่งหากเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบอย่างเฉียบพลัน หรือ Acute Impact ต่อผลกระทบต่อการขนส่งน้ำมันดิบเพื่อใช้ในกระบวนการผลิต (Upstream) และการขนส่งผลิตภัณฑ์ทางเรือ (Downstream) อย่างไรก็ตาม จากมาตรการสำรองน้ำมันดิบตามกฎหมาย พบว่าเพียงพอและทำให้ความเสี่ยงดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ความเร็วลมที่พัดผ่านพื้นที่ปฏิบัติการ (Operation) อาจเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและเครื่องจักรอุปกรณ์อีกด้วย

  • มาตรการรับมือ

  •  

    • คาดการณ์และติดตามข้อมูลการเกิดพายุไซโคลน พร้อมทั้งระบบเตือนภัยที่เกี่ยวข้อง
      การวางแผนการผลิตและส่งมอบผลิตภัณฑ์ล่วงหน้าก่อนเกิดพายุไซโคลนนอกชายฝั่ง
      ทบทวนและจัดทำมาตรการฉุกเฉินให้ครอบคลุมการป้องการความเสียหายจากพายุไซโคลน

    ผลการวิเคราะห์ผลกระทบต่อการเงิน 

ความเสี่ยงที่สำคัญ

  • 1. ผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำ กรณีแหล่งน้ำจากภาครัฐลดการจ่ายน้ำให้บริษัทฯ ลงร้อยละ 10 บริษัทฯ จะดำเนินการลงทุนตามมาตรการ Long-term Water Supply Strategy โดยมีการพิจารณาปรับเพิ่มปริมาณน้ำดิบจากแหล่งน้ำเอกชน และการพิจารณาปรับเพิ่มน้ำจืดจากน้ำทะเล โดหน่วยกลั่นน้ำทะเล (Thermal Desalination Unit) รวมทั้งการวางแผนสำรองน้ำดิบในพื้นที่ที่เหมาะสม เพื่อจัดหาน้ำดิบให้เพียงพอต่อกระบวนการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเพิ่มสูงขึ้น
  • 2. ผลกระทบจากพายุไซโคลนนอกชายฝั่ง รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ลดลง กรณีไม่สามารถส่งมอบผลิตภัณฑ์ผ่านการขนส่งทางเรือได้ในช่วงเวลาที่มีพายุไซโคลนนอกชายฝั่ง และการหยุดกระบวนการผลิตก่อนและหลังการเกิดพายุไซโคลนนอกชายฝั่งเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานและความเสียหายของเครื่องจักรอุปกรณ์ พร้อมทั้งดำเนินการตรวจสอบความพร้อมของพื้นที่ปฏิบัติงานหลังเหตุการณ์เพื่อความปลอดภัยก่อนเริ่มดำเนินการตามปกติ

"Click Here" รายละเอียดผลกระทบทางการเงินจากการวิเคราะห์สถานการณ์ช่วงเปลี่ยนผ่าน (The Physical Scenario)

5. ผลการดำเนินงานปี 2566

เพื่อมุ่งสู่การปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ กลุ่มไทยออยล์มุ่งลดก๊าซเรือนกระจกทางตรงในกระบวนการผลิตเป็นหลัก โดยมีผลการดำเนินงานในปี 2566 ดังนี้

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางตรง (ขอบเขตที่ 1)

กลุ่มไทยออยล์ดำเนินโครงการการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตผ่านดัชนีชี้วัดการใช้พลังงาน (EII) ขององค์กร ที่ได้ดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั้งหมด 23 โครงการ สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 28,003 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

ทั้งนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการลดก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งกำเนิดสำคัญเพิ่มเติม ได้แก่ การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ผลิตภัณฑ์ของโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ (Carbon Footprint of Product for TOP Refinery) แบบ Business-to-Business (B2B) ซึ่งเป็นการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตั้งแต่ขั้นตอนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิตจนถึงหน้าโรงงาน โดยใช้ฐานข้อมูลปี 2565 และในปี 2566 โครงการดังกล่าวได้รับการรับรองการขึ้นทะเบียนจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. (TGO) แล้ว อย่างไรก็ตาม กลุ่มไทยออยล์ได้วางแผนขยายขอบเขตการศึกษาสำหรับคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ไปยังแต่ละบริษัทในกลุ่มไทยออยล์ต่อไป

นอกจากนั้น กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินโครงการด้านพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) เพื่อรองรับเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนและเข้าร่วมกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกกับหน่วยงานภาครัฐ ดังกล่าวไว้ข้างต้น เพื่อสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจกของกลุ่มไทยออยล์และเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เช่น

  • โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program:
    T-VER) โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ภายใต้ชื่อโครงการ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาอาคารของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (Solar Rooftop at Thaioil’s Buildings) ที่ดำเนินการแล้วเสร็จ ได้แก่ อาคารสำนักงานวิศวกรรม (Engineering Building Center) อาคารสัฏฐิวรรษวิรุฬห์ (Thaioil Sriracha Building) และอาคารห้องปฏิบัติการ (Laboratory) เพื่อสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ขนาดกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 1 MWp ซึ่งผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิตจากการลดก๊าซเรือนกระจกครั้งที่หนึ่งในปี 2566 นี้ได้ทั้งสิ้นกว่า 554 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 
  • โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) โดยองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ภายใต้ชื่อโครงการ โรงไฟฟ้าพลังงานร่วมขนาด 239 เมกะวัตต์ ณ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ของบริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด ซึ่งผ่านการประเมินและได้รับการรับรองคาร์บอนเครดิตจากการลดก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่ปี 2562 – 2565 รวมปริมาณคาร์บอนเครดิตสะสมที่ได้รับทั้งสิ้นกว่า 1,310,492 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดยจะดำเนินขอการรับรองครั้งถัดไปภายในปี 2567
  • โครงการ Low Emission Supporting Scheme (LESS) จากการดำเนินกิจกรรมประเภทอนุรักษ์พลังงานด้านการเพิ่มประสิทธิภาพของกลุ่มไทยออยล์ จากการคัดเลือกโครงการประเภทกิจกรรมเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ การปรับลดอุณหภูมิเตาความร้อนของหน่วยแยกกำมะถันที่ 3 (Sulfur Recovery Unit-3) ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) การพิจารณาหยุดระบบ Fuel Oil Circulation ของบริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด และการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้งานของหอกลั่น C-58401 ของบริษัท ลาบิกซ์ จำกัด ซึ่งการดำเนินโครงการดังกล่าวนี้สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้กว่า 639.308 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)

​ทั้งนี้ การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวข้างต้น สามารถควบคุมก๊าซมีเทนให้อยู่ภายใต้เป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากก๊าซมีเทนของกลุ่มไทยออยล์ส่วนใหญ่มาจากแหล่งกำเนิดเดียวกันกับแหล่งกำเนิดก๊าซเรือนกระจก

จากการดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตดังกล่าวส่งผลให้ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์สามารถบรรลุเป้าหมายก๊าซเรือนกระจก ขอบเขตที่ 1 และ 2 ที่กำหนดไว้ โดยมีการกำหนดเป้าหมายระยะยาว ระยะกลาง และเป้าหมายรายปี ซึ่งเป้าหมายรายปี มีการประเมินจากปริมาณพลังงานที่ใช้ของแผนธุรกิจในแต่ละปี ดังนี้

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2)

กลุ่มไทยออยล์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) ที่เกิดจากการซื้อพลังงานไฟฟ้าในโครงการ โดยมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 2) อยู่ที่ 8,244 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) หรือคิดเป็น ร้อยละ 0.24 ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (ขอบเขตที่ 1 และ 2)

การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 3)

การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมอื่นๆ (ขอบเขตที่ 3) ในห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มไทยออยล์ มีดังนี้

  • หาโอกาสในการเพิ่มมูลค่าของเสียจากการฝังกลบเป็นการจัดการโดยวิธีการ 3Rs เพื่อควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการฝังกลบกากของเสีย โดยในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์สามารถบรรลุเป้าหมายการฝังกลบของเสียเป็นศูนย์ตามที่ตั้งไว้อย่างต่อเนื่อง 
  • ประเมินความเสี่ยงและจัดทำแผนงาน เพื่อลดการสูญเสียน้ำมันดิบระหว่างการขนส่งจากผู้ผลิตสู่โรงกลั่น (Ocean Loss) รวมถึงออกแบบระบบขนถ่ายผลิตภัณฑ์ผ่านท่อขนส่งผลิตภัณฑ์ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งการผลิตและการขนส่งผลิตภัณฑ์ทางรถและเรือตามลำดับ โดยคณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและลดการสูญเสียน้ำมัน (Energy and Loss Committee)
  • สนับสนุนการจัดซื้อผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมจากคู่ค้า และเพิ่มมูลค่าของเสียโดยการ Upcycling เช่น Upcycling Plastic Waste เป็นเสื้อ QSHE สำหรับพนักงานและพนักงานผู้รับเหมา, Upcycling เศษอาหารเป็นปุ๋ย และอื่นๆ ภายใต้โครงการ Thaioil CE WE GO 
  • จำหน่ายผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ เพื่อลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกขั้นปลายจากผู้ใช้ ได้แก่ แก๊สโซฮอล ไบโอดีเซล ไบโอเอทานอล เป็นต้น 

​นอกจากนั้น ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ทั้งหมด 5 ประเภท 14 ผลิตภัณฑ์ ดังนี้

ประเภทผลิตภัณฑ์สีเขียว รายชื่อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไทยออยล์ บริษัท
  • ยอดขาย
  • (ล้านบาท)
ปริมาณ
ผลิตภัณฑ์ที่ใช้พืชหรือผลผลิตจากการเกษตรทดแทนวัตถุดิบจากปิโตรเลียม (Bio-based Product) เอทานอลจากมันสัมปะหลัง Thaioil Ethanol Company Limited (TET)  1,833.64  63.12 ล้านลิตร
Ethanol 99.5% (จากมันสัมปะหลังและข้าวโพด) TOPNEXT International Company Limited (TX)  2.43 51.84 ตัน
ผลิตภัณฑ์ที่สามารถแตกสลายได้โดยชีวภาพ (Biodegradable Product) Linear Alkyl Benzene (LAB) LABIX Company Limited (LABIX) 7,984.00 148,951.00 ตัน
Heavy Alkyl Benzene (HAB) 77.00 1,922.00 ตัน
ผลิตภัณฑ์ที่สามารถย่อยสลายได้โดยชีวภาพ (Compostable Product)  ผลิตภัณฑ์สารชะล้างทำความสะอาด (KEEEN) TOPNEXT International Company Limited (TX) 0.39  2.20 ตัน
ผลิตภัณฑ์ที่ลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม (Emission Reduction) สารทำละลายที่ปราศจากสารเบนซีน ได้แก่ TOPNEXT International Company Limited (TX)    
-  TOPSol BF: Benzene Free 60.21 1.33 ตัน
-  Xylene (Isomer): Low Ethylbenzene 988.49 29,466.83 ตัน
-  Methyl Cyclohexane (MCH) TOP Solvent (Vietnam) Limited liability Company (TSV) 6.08 112.38 ตัน
สารทำละลายที่มีสารประกอบกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรเมติก ไฮโดรคาร์บอน ในปริมาณต่ำ (TOPSol A 150 ND: Low PAHs) TOPNEXT International Company Limited (TX) 33.89 513.28 ตัน
น้ำมันยางสะอาด (TDAE, TRAE, AROS) ที่มีปริมาณ PCA ต่ำกว่าค่ามาตรฐานสากล จึงไม่ก่อให้เกิดมะเร็งและการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมในมนุษย์ Thai Lube Base Public Company Limited (TLB) 2,599.75 93,204.24 ตัน
น้ำมันเตากำมะถันต่ำที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกินร้อยละ 0.5 (LSFO หรือ FO IMO)  Thai Oil Public Company Limited (TOP) 3,047.19 160.46 ล้านลิตร
ผลิตภัณฑ์ที่ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำกว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มเดียวกันในตลาด (Avoided GHG Emission Product) Cyclopentane CP80, CP97 ซึ่งเป็นสารทดแทน CFC และ HCFC TOPNEXT International Company Limited (TX) 10.47 154.75 ตัน
แก๊สโซฮอล (Gasohol) Thai Oil Public Company Limited (TOP)  52,686.21  1,695.07 ล้านลิตร
ไบโอดีเซล (Biodiesel) 116,222.44

4,164.74 ล้านลิตร

 

Update : กุมภาพันธ์ 2567