ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน
ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน
ความท้าทาย ความเสี่ยง และผลกระทบ
- การดำเนินการก่อสร้างโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) ในปี 2566 มีความคืบหน้าอย่างมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายในการรักษาสถานภาพองค์กรให้มั่นคง สามารถดำเนินงานอย่างมีความยืดหยุ่นและคล่องตัว เนื่องจากการก่อสร้างมีกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่โดยรอบ เช่น การจราจรคับคั่ง ฝุ่นและเสียงจากการก่อสร้าง นอกจากนี้ ในปี 2566 ไทยออยล์ยังประสบเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล (SBM-2) เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย ที่ต้องบริหารจัดการสถานการณ์ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการช่วยเหลือและเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
- ที่กลุ่มไทยออยล์ต้องบริหารจัดการเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิทธิและความปลอดภัยของชุมชนที่อาศัยอยู่รอบโครงการฯ รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจของชุมชนผ่านโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนต่างๆ โดยในปีนี้กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินงานภายใต้กรอบกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG) เพื่อรักษาเสถียรภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร และควบคุมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน โดยเฉพาะการบริหารงานก่อสร้างโครงการ CFP ที่มุ่งเน้นการดูแลชุมชนรอบสถานประกอบการ
ความมุ่งมั่น และเป้าหมาย
กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปี 2573 “สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงาน และเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน” โดยมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ภายใต้กรอบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศและยึดมั่นในหลักบรรษัทภิบาล มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม อันนำไปสู่องค์กรที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ดังนี้
- 1. ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยเน้นโครงการที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์อย่างมีนัยสำคัญ
- 2. ครอบคลุมกิจกรรม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และด้านคุณภาพชีวิตของชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
- 3. สร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับ กลุ่ม ปตท. สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับของสังคม
- 4. สร้างเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เช่น หน่วยงานราชการ ลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม
สำหรับปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้วางแผนงานการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการผ่านโครงการและกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดปณิธานงานเพื่อสังคมตามวิสัยทัศน์องค์กร การดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชน สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีการใช้เครื่องมือประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) อย่างเป็นระบบ
เป้าหมาย
ตัวชี้วัด | หน่วย | เป้าหมายปี 2566 | เป้าหมายระยะยาวปี 2573 |
ข้อร้องเรียนจากชุมชนต้องได้รับการตอบสนอง แก้ไข และหาแนวทางในการป้องกันเหตุเกิดซ้ำต่อไป | ร้อยละ | 100 | 100 |
ดัชนีความผูกพันของชุมชนต่อองค์กร | ร้อยละ | มากกว่าหรือเท่ากับ 85 | 90 |
ผลประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ในโครงการเพื่อสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic CSR) | เท่า | 2:1(1) | 2:1(1) |
- หมายเหตุ: (1) การลงทุนในโครงการทุกๆ 1 บาท จะสร้างมูลค่าให้กับสังคม 2 บาท
-
แนวทางการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงาน
- แนวทางการบริหารจัดการ
-
กลุ่มไทยออยล์กำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee) รับทราบทุกครึ่งปี
-
การวิเคราะห์ความคาดหวังของชุมชนและการมีส่วนร่วมกับชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน
-
-
กลุ่มไทยออยล์ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการชุมชนในพื้นที่รอบโรงกลั่น ตามหลัก 3 ประสาน และแนวคิด 5 ร่วม เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้จนเกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง และเพื่อลดผลกระทบด้านต่างๆ จากการดำเนินงานของบริษัทฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนนำมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยได้ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนตามความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น สื่อสารและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมตามแนวทางต่างๆ อาทิ การประชุมเฉพาะกลุ่ม การรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย การลงเยี่ยมบ้านติดรั้วโครงการก่อสร้าง การตอบแบบสอบถามความผูกพันของชุมชนต่อบริษัทฯ เป็นต้น จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานชุมชนต่อไป
-
-
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการมีส่วนร่วม กลุ่มคณะกรรมการชุมชน - 1. การประชุมสามประสาน เดือนละ 1 ครั้ง
- 2. การประชุมร่วมกับประธานชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง
- 3. การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ลงพื้นที่ ไลน์กลุ่ม โทรศัพท์ หนังสือทางการ E-Card
- 4. การเข้าเยี่ยมชมธุรกิจ (Open House)
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน - 1. การประชุมเครือข่าย อสม. ทุกๆ สองเดือน
- 2. กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเครือข่าย อสม.
- 3. การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ ไลน์กลุ่ม โทรศัพท์ หนังสือทางการ E-card
หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ - 1. การประชุมสามประสาน เดือนละ 1 ครั้ง
- 2. การประสานงานเพื่อลงชุมชนกรณีชุมชนเกิดข้อกังวลใจต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ
กลุ่มผู้สูงอายุ -
1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ2. การทำกิจกรรมและรับฟังข้อคิดเห็นร่วมกับเครือข่าย อสม. ในพื้นที่ชุมชน
กลุ่มประมง 1. กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับกลุ่มประมง2. การสื่อสารผ่านประธานกลุ่มประมงในพื้นที่ และสื่อสารชี้แจงการดำเนินงานพร้อมรับฟังความคิดเห็น3. การสื่อสารผ่านประธานคณะกรรมการชุมชนNGOs / คณะกรรมการตรวจติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม 1. การประชุมคณะกรรมการประสานความเข้าใจ2. การประชุมคณะกรรมการตรวจติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามระเบียบ EIAs- กลุ่มผู้ประกอบการเรือ
-
1. การประชุมเฉพาะกิจ กรณีที่จะส่งผลกระทบ2. การสื่อสารผ่านประธานคณะกรรมการชุมชน
- เครือข่ายสมาชิกและกรรมการเยาวชนอาสาฯ
- 1. ประชุมเครือข่ายเยาวชนอาสา เดือนละ 1 ครั้ง
- 2. กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชน
- 3. การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ ไลน์กลุ่ม Facebook โทรศัพท์
กลุ่มผู้อาศัยในพื้นที่ติดรั้วโรงกลั่น - 1. เวทีเสวนาชุมชน เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่บริษัทฯ ดำเนินการอยู่และรับฟังข้อคิดเห็น
- 2. การเยี่ยมบ้านชุมชน ลงชุมชนเพื่อสื่อสารให้ชุมชนได้รับทราบและเข้าใจลักษณะงานก่อสร้างฯ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาระหว่างการก่อสร้าง
ประชาชนทั่วไป -
1. การดำเนินกิจกรรมและโครงการชุมชนสัมพันธ์2. การสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นผ่านคณะกรรมการชุมชน
กลุ่มไทยออยล์ดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างระมัดระวัง สำหรับการดูแลชุมชนในกรณีที่เกิดผลกระทบ มีหน่วยงานกลางเพื่อรับเรื่องแจ้งเหตุและเรื่องร้องเรียน บูรณาการกับหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อเกิดปัญหาร้องเรียนด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม ผ่านโครงการและกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ตามกรอบการดำเนินงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสังคม ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม ด้านสุขภาวะ ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถตอบสนองและบริหารความคาดหวังของชุมชนได้เป็นระบบ
-
การสร้างคุณค่าร่วมทางสังคมของการพัฒนางานชุมชนและสังคม
-
โครงการเพื่อสังคมและชุมชนที่สำคัญตามกรอบกลยุทธ์การดำเนินงานด้าน CSR ในปี 2566 ประเด็น การศึกษา
(SDG target 4.3)สิ่งแวดล้อม
(SDG target 13.1)
(SDG target 13.3)
(SDG target 15.2)พลังงาน
(SDG target 7.2)คุณภาพชีวิต
(SDG target 3.8)
(SDG target 8.3)แนวทาง ส่งเสริมโครงการพัฒนาด้านการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษา และสนับสนุนทุนการศึกษา อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้และทรัพยากรทางธรรมชาติ และสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก พัฒนาพลังงานทางเลือก และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาชุมชนในการสร้างอาชีพและการเข้าถึงสาธารณสุขที่ดี เป้าหมาย เป้าหมายภายในปี 2567• พัฒนาและสนับสนุนทักษะให้ครูและเยาวชนในด้านต่างๆ อาทิ วิชาการพื้นฐาน ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ การกีฬา ศิลปกรรม และอื่นๆสนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2603• สนับสนุนการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำผ่านโครงการฟื้นฟู อนุรักษ์ และเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ รวมถึงสร้างความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างระบบนิเวศให้สมดุลสนับสนุนโครงการส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ในจังหวัดชลบุรี ภายในปี 2567• สนับสนุนโครงการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐเป้าหมายภายในปี 2567• ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในโรงพยาบาล สถานพยาบาล 3 แห่ง และโรงเรียนชุมชนห่างไกล 5 แห่งเป้าหมายภายในปี 2567- • จัดอบรมหลักสูตร อาชีพเสริม 12 หลักสูตร
- • ชุมชนเข้าร่วมอบรมหลักสูตรอาชีพเสริมมากกว่า 300 คน
- • จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมากกว่า 10 กิจกรรม
- • ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมากกว่า 500 คน
- คุณค่าต่อสังคม
- ในปี 2566
โครงการส่งเสริมด้านการศึกษา (PTT Group Model School) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)
- • ในปี 2566 ได้ดำเนินโครงการจำนวน 5 โครงการภายใต้ PTT Group Model School และ CONNEXT ED เพื่อพัฒนาเพื่อพัฒนาทักษะครูผู้สอน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงส่งเสริมทักษะนักเรียนด้านกีฬา
โครงการ Teach for Thailand
สนับสนุนงบประมาณให้แก่ครูผู้สอนจำนวน 2 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้ช่วยสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ ที่โรงเรียนวัดมโนรม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต
- • ในปี 2566 ได้มีการดำเนินโครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต ซึ่งรวมแล้วสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 92,800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี
- โครงการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
- • ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนมาตรการฟื้นฟูสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล
โครงการ Sustainable for Health Care
- • ในปี 2566 ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 3 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 72 กิโลวัตต์ และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 5 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 20.7 กิโลวัตต์
โครงการส่งเสริมสุขภาพ
- ในปี 2566 ได้ดำเนินจัดภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้
- • กิจกรรมจิตแจ่มใส กายยืดหยุ่น ปรับสมดุล ด้วยโยคะ จำนวน 39 ครั้ง ผู้เข้าร่วมครั้งละ 40 คน
- • กิจกรรม 5 เดือน มุ่งมั่น เดินวิ่ง 1 แสนกิโล จำนวน 3 ครั้ง ผู้เข้าร่วมครั้งละ 150 คน
- โครงการส่งเสริมอาชีพ
- • โครงการอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ จำนวน 3 ครั้ง ผู้เข้าร่วม ครั้งละ 30 คน
- • กิจกรรมตลาดนัดชุมชน จำนวน 8 ครั้ง
- โครงการสำรวจสุขภาวะชุมชน
- ในปี 2566 ได้ดำเนินจัดภายใต้โครงการสำรวจสุขภาวะชุมชน ดังนี้
- • ชุมชนได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสถานะสุขภาพเบื้องต้น จำนวน 205 หลังคาเรือน
- • ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง) และเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพจำนวน 736 คน
คุณค่าต่อธุรกิจ
ปี 2566- • มูลค่าการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อภาพลักษณ์องค์กร (PR value) ของการดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคม ปี 2566 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 43.16 ล้านบาท
- • วัฒนธรรมการทำงานเพื่อสังคม ในปี 2566 มีพนักงานจิตอาสาของกลุ่มไทยออยล์ 911 คน ร่วมทำ 89 กิจกรรม ภายใต้โครงการเพื่อสังคม คิดเป็น 7,488 ชั่วโมงจิตอาสา
โครงการที่โดดเด่น
-
ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินโครงการเพื่อสังคมและชุมชนที่สำคัญตามกรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ดังนี้
-
งานบริหารชุมชนรอบโรงกลั่น (Community Management)
-
• โครงการดำเนินการเกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล
-
โครงการกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR Management)
-
• โครงการไทยออยล์ สร้างเยาวชนรักษ์โลก (Thaioil CE School Model)
-
การพัฒนาวัฒนธรรมจิตอาสา (Employee Voluntary Culture)
-
การสร้างเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร (CSR Networking & Branding)
-
- ผลการดำเนินงานปี 2566
๊Update : กุมภาพันธ์ 2567
โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนตามกรอบการทำงานด้าน CSR ปี 2566
|