ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความท้าทาย ความเสี่ยง และผลกระทบ
ปัจจุบันโลกกำลังสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ที่ส่งผลให้ชนิดและจำนวนของพืชและสัตว์ลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงพื้นที่คุ้มครองที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงที่ได้รับผลกระทบเช่นกัน ซึ่งถือเป็นความท้าทายของกลุ่มไทยออยล์ที่ต้องดำเนินการประกอบกิจการให้สอดคล้องกับเป้าหมายของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงการไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียต่อความหลากหลายทางชีวภาพทั้งทางบก ทางน้ำและการสูญเสียป่าไม้ ซึ่งผลกระทบเหล่านี้อาจมาจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ก็เป็นได้ ทั้งนี้บริษัทได้ตระหนักถึงผลกระทบในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ จึงมีการกำหนดความมุ่งมั่น เป้าหมาย การประเมินผลกระทบ กำหนดแผนงาน และการดำเนิน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ในด้านความหลากหลายทางชีวภาพ และนอกจากนี้ทางบริษัทมุ่งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ทั้งภาคการศึกษา ชุมชน หน่วยงานภาครัฐ ในการร่วมปกป้องและฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศทั้งทางบก และทางน้ำ
ความมุ่งมั่น
กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ดังนั้น บริษัทฯ จึงบูรณาการการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงพื้นที่ป่าไม้ เข้าไปในการดำเนินธุรกิจ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการฟื้นฟูหรือปลูกป่าไม้ เพื่อชดเชยกรณีมีการสูญเสียป่าไม้ จากการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น (No Net Deforestation) เพื่อยืนยันว่าการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ได้มีการควบคุมให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และมุ่งสู่การไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าสุทธิต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No Net Loss: NNL) ทั้งบนบกและในน้ำที่ถือว่าเป็นทรัพยากรอันล้ำค่าของทุกคน
ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้ยกระดับความรับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพผ่านนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน และ คำแสดงเจตจำนงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มไทยออยล์ โดยได้รับการพิจารณาและลงนามจากคณะกรรมการบริษัทฯ (Board of Directors) เพื่อผลักดันการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง
Click Here นโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน กลุ่มไทยออยล์
Click Here คำแสดงเจตจำนงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มไทยออยล์
แนวทางการดำเนินงาน
กลุ่มไทยออยล์ได้นำคู่มือบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการของระบบนิเวศที่ได้มีการทบทวนร่วมกับกลุ่ม ปตท. (PTT Group Biodiversity and Ecosystem Service) ซึ่งได้พัฒนาและบูรณาการมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย, GRI Sustainable Reporting Standard (GRI Standard), IPIECA และอื่นๆ เป็นต้น มาใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มไทยออยล์ โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการฟื้นฟูหรือปลูกป่าไม้ เพื่อชดเชยกรณีมีการสูญเสียป่าไม้ จากการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น (No Net Deforestation) และมุ่งสู่การไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าสุทธิต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No Net Loss) ทั้งบนบกและในน้ำ
การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
กลุ่มไทยออยล์ใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยงทางความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่ม ปตท. ซึ่งนำแนวทางการจัดทำรายงาน GRI reporting Protocols มาปรับใช้เพื่อกำหนดวิธีการและแนวทางการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพและบริการระบบนิเวศ โดยมีการใช้ข้อมูลจากแหล่งที่มาที่เชื่อถือได้ เช่น เครื่องมือการประเมินความหลากหลายทางชีวภาพ (Integrated Biodiversity Assessment Tool: IBAT) และ Protected Planet เป็นต้น
Click Here กระบวนการประเมินความเสี่ยงทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ในปี 2566 จากการประเมินพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพสำคัญ พบว่า พื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ ไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องและพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพสำคัญ จึงเป็นความเสี่ยงต่ำเนื่องจากระยะทางระหว่างพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ และพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องและพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่า 5 กิโลเมตร โดยกลุ่มไทยออยล์ได้ประเมินความเสี่ยงของพื้นที่ ดังนี้
จำนวนพื้นที่ปฏิบัติงาน | พื้นที่ปฏิบัติงาน (ไร่) | |
พื้นที่ปฏิบิติการทั้งหมด | 1 | 23,610.25 |
พื้นที่ปฏิบิติการที่ได้รับการประเมินทั้งหมด | 1 | 23,610.25 |
พื้นปฏิบิติการที่เผชิญความเสี่ยง | 0 | 0 |
แผนการบริหารจัดการ | 0 | 0 |
หมายเหตุ: พื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มไทยออยล์ครอบคลุมบริษัท TOP, TLB, TPX, LABIX, TOPSPP ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แนวทางการบรรเทาผลกระทบอย่างมีลำดับชั้น (Mitigation Hierarchy)
กลุ่มไทยออยล์ได้นำคู่มือการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการนิเวศของกลุ่มปตท.มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศรวมถึงการประเมินความเสี่ยง อีกทั้งยังได้ประยุกต์ใช้หลักการบรรเทาผลกระทบตามลำดับขั้น (Mitigation Hierarchy Principle) ในการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา ฟื้นฟู และชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ความร่วมมือกับเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ
องค์กร/ หน่วยงานภายนอก | ความร่วมมือกับเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ |
• สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา | • ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลบริเวณพื้นที่ท่าเทียบเรือ บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) |
• สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทสจ.) จังหวัดชลบุรี • กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ • ประมงจังหวัดชลบุรี • สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 • ผู้แทนสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13 |
• หารือการจัดทำแผนเฝ้าติดตามและแผนฟื้นฟู ร่วมกับหน่วยงานราชการ • กำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว • จัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับภาครัฐและประชาชน |
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
ปี | โครงการ |
---|---|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผลการดำเนินงานปี 2566
ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้
Update : กุมภาพันธ์ 2567
โครงการศึกษาติดตามผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล ที่ทุ่นผูกเรือน้ำลึกกลางทะเล (SBM-2) ต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศแนวปะการังบริเวณชายฝั่งเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
โครงการศึกษาติดตามผลกระทบของการรั่วไหลของน้ำมันดิบต่อระบบนิเวศแนวปะการังบริเวณชายฝั่งเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงความหลากหลายทางชีวภาพภายหลังเหตุการณ์น้ำมันรั่วและประเมินผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของชนิดของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแนวปะการังและชายฝั่งทะเล จำนวน 8 สถานี เกาะขามใหญ่ เกาะยายท้าว เกาะค้างคาวด้านตะวันออก เกาะค้างคาวด้านตะวันตก เกาะท้ายตาหมื่น เกาะนก เกาะลอย บางพระ ดังภาพด้านล่าง
ซึ่งการสำรวจปะการังบริเวณชายฝั่งเกาะสีชังความหลากหลายและความหนาแน่นของประชากรปลาแนวปะการัง ความหลากหลายและความหนาแน่นของสัตว์หน้าดินในทะเล พบว่าแนวปะการังมีสภาพปกติ ไม่พบคราบน้ำมัน (Oil slick) และก้อนน้ำมัน (Tar ball) บนผิวโคโลนีปะการัง หรือลักษณะผลกระทบทางกายภาพจากคราบน้ำมันต่อปะการัง อย่างไรก็ตามจะมีการศึกษาติดตามและประเมินผลกระทบของการรั่วไหลของน้ำมันต่อแนวปะการังอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นการติดตามผลกระทบระยะยาวและใช้เป็นฐานข้อมูลทรัพยากรในพื้นที่สำหรับเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตต่อไป