สิทธิมนุษยชน

สิทธิมนุษยชน

ความท้าทาย ความเสี่ยง และผลกระทบ

การเปลี่ยนแปลงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญเกิดขึ้นตั้งแต่สหประชาชาติได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเมื่อ 70 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดแนวคิดเกี่ยวกับกรอบสิทธิมนุษยชน “สากล” ขึ้น ต่อมาในปี 2560 รัฐบาลไทยได้ประกาศความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติด้านสิทธิมนุษยชน โดยจัดทำแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 4 และแผนปฏิบัติการแห่งชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน และในปี 2562 รัฐบาลได้กำหนดแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 ซึ่งเป็นแผนที่มีการปฏิบัติในช่วงระหว่างปี 2562 - 2565 และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ซึ่งได้มีการประกาศใช้ในปี 2566 เพื่อการมีส่วนร่วมและตอบรับนโยบายแห่งชาติดังกล่าว ประกอบกับการเผชิญความท้าทายด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และผลกระทบที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะในบริบทด้านความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในหลายมิติ อาทิ การจ้างแรงงานหรือการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (Labour Practices) การจ้างหรือการปฏิบัติต่อแรงงานต่างชาติอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (Migrant Worker and Forced Labour) อีกทั้งการดำเนินการโครงการพลังงานสะอาดซึ่งอยู่ในขั้นตอนการก่อสร้าง ซึ่งอาจส่งผลต่อการอยู่ร่วมกับชุมชน (Community Rights) รวมถึงการดูแลความมั่นคงปลอดภัยและใส่ใจในความรู้สึกของพนักงานก็เป็นสิ่งสำคัญที่กลุ่มไทยออยล์ต้องคำนึงถึง (Employee Engagement and Equality) ด้วยเหตุผลและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น กลุ่มไทยออยล์จึงกำหนดแผนดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชนให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 2 เพื่อยกระดับและให้ความสำคัญในการป้องกันและการปกป้องสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

ความมุ่งมั่น และเป้าหมาย

ความมุ่งมั่นที่กลุ่มไทยออยล์มีต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนในสถานประกอบการ และทุกพื้นที่ที่กลุ่มไทยออยล์ดำเนินธุรกิจ ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในเส้นทางการดำเนินธุรกิจ โดยประกาศใช้นโยบายสิทธิมนุษยชน และแนวปฏิบัติการประเมินและจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มไทยออยล์ ในปี 2558 ซึ่งได้มีการทบทวนให้เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) อนุสัญญาหลักขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (The Core Conventions of the International Labour Organization: ILO) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (National Action Plan on Business and Human Rights: NAP)

เพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนให้ “สายโซ่อุปทานของธุรกิจกลุ่มไทยออยล์” (Thaioil Group Value Chain) เคารพและปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน กลุ่มไทยออยล์ได้พัฒนาเครื่องมือและจัดให้มี “การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน” (Human Rights Due Diligence: HRDD) ในกิจกรรมทางธุรกิจและผู้ค้าในสายโซ่อุปทานของธุรกิจ ทุก 3 ปี และติดตามผลประจำทุกปี โดยกลุ่มไทยออยล์ได้ทำการพัฒนาเครื่องมือดังกล่าวให้สอดคล้องกับคู่มือการประเมินและจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ กรอบการดำเนินการของสหประชาชาติ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษชน (NAP) และเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงขององค์กร โดยกำหนดไว้อย่างชัดเจนเป็น “แนวปฏิบัติการประเมินและจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มไทยออยล์” (Human Rights Impact Assessment and Management: HRIAM)

เป้าหมาย

กลุ่มไทยออยล์ต้องปราศจากข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน

ตัวชี้วัด หน่วย

เป้าหมายปี 2566

เป้าหมายระยะยาวปี 2573

ข้อร้องเรียนจากพนักงานเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำนวนข้อร้องเรียน 0 0
ข้อร้องเรียนจากคู่ค้าเกี่ยวกับประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน จำนวนข้อร้องเรียน 0 0

แนวทางการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงาน

แนวทางการบริหารจัดการ

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และลดความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน กลุ่มไทยออยล์ได้ประกาศนโยบาย 2 ฉบับ และกำหนดแผนดำเนินการด้านสิทธิมนุษยชน (Thaioil Group Human Rights Roadmap) ที่ครอบคลุมการป้องกันและการปกป้องทุกสิทธิที่ผู้มีส่วนได้เสียพึงมี ได้แก่ พนักงานและผู้รับเหมา สังคมและชุมชน คู่ค้าและพนักงานของคู่ค้า รวมถึงด้านความปลอดภัย ความมั่นคงและสิ่งแวดล้อม อันจะเป็นรากฐานนำไปสู่การเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมรวมถึงจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจตามวิสัยทัศน์ของกลุ่มไทยออยล์

นโยบายสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงาน กำหนดแนวทางการปฏิบัติของไทยออยล์ให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนของพนักงาน ผู้รับเหมา และสมาชิกในชุมชน ในขณะที่นโยบายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนสำหรับคู่ค้า ซึ่งได้ขยายขอบเขตความคาดหวังครอบคลุมไปถึงพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทฯ ประกอบด้วยคู่ค้า ผู้รับเหมา ลูกค้า และพันธมิตรอื่นๆ เช่น พันธมิตรร่วมทุน ซึ่งนโยบายดังกล่าวได้กำหนดมาตรฐานที่คู่ค้าทางธุรกิจจะต้องปฏิบัติตาม โดยนโยบายทั้งสองฉบับสามารถสรุปได้ในตาราง ดังนี้

  1. นโยบาย
    นโยบายสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงาน
    นโยบายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนสำหรับคู่ค้า
    ที่มา นโยบายทั้งสองฉบับได้มีการทบทวนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) อนุสัญญาหลักขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (The Core Conventions of the International Labour Organization: ILO) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global  Compact: UNGC)
    ขอบเขต ทุกกิจกรรมในการดำเนินงานของไทยออยล์ รวมถึงกิจการร่วมค้าที่ไทยออยล์มีอำนาจควบคุมการจัดการ กิจกรรมในการดำเนินงานของคู่ค้าทางธุรกิจของไทยออยล์ เช่น คู่ค้า ลูกค้า ผู้ร่วมลงทุนที่ไม่มีอำนาจในการจัดการ
    ประเด็นสาระสำคัญ
    • • พนักงานกลุ่มไทยออยล์ต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัด 
    • • กลุ่มไทยออยล์ต้องให้ความรู้ความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชนสากลแก่พนักงานเพื่อให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติในการดำเนินงาน รวมถึงหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน 
    • • กลุ่มไทยออยล์จัดรวบรวมกฎหมาย กฎและระเบียบของทางราชการให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้พนักงานศึกษาและให้การอบรมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่พนักงานอย่างเหมาะสมพอควร
    • • พนักงานทุกระดับของกลุ่มไทยออยล์ต้องทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตนโดยตรงให้ถี่ถ้วน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากไม่แน่ใจให้ขอคำปรึกษาจากสำนักกฎหมาย ห้ามปฏิบัติไปตามความเข้าใจของตนเองโดยไม่มีคำแนะนำ
    • • เมื่อพนักงานต้องไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ พนักงานควรศึกษากฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศปลายทางก่อนการเดินทางเพื่อให้แน่ใจว่า สินค้า ตัวอย่าง สินค้า และอุปกรณ์ที่นำไปด้วย เอกสารในการเดินทางวัตถุประสงค์ของการเดินทางและการปฏิบัติงานในประเทศปลายทางไม่ผิดกฎหมาย ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศปลายทาง
    • • นโยบายนี้ยังครอบคลุมถึงสิทธิแรงงานอื่นๆ การสื่อสารด้านนโยบาย และขั้นตอนการร้องทุกข์หรือข้อร้องเรียน
    • • คู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัด โดยกลุ่มไทยออยล์คาดหวังให้คู่ค้าปฏิบัติตามที่นโยบายฉบับนี้กำหนด

    • กลุ่มไทยออยล์ต้องหมั่นตรวจตราดูแลการดำเนินกิจการของคู่ค้ามิให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน

    • นโยบายครอบคลุมถึงสิทธิแรงงาน สิทธิชุมชนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของลูกค้า ตลอดจนการต่อต้านการทุจริต การสื่อสารนโยบาย และกลไกการร้องทุกข์

    หมายเหตุ
    • • ในกรณีที่มาตรฐานกฎหมายของประเทศไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล ไทยออยล์จะพยายามดำเนินการด้วยมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสูงสุดเท่าที่สามารถปฏิบัติได้ 
    • • ในกรณีที่ไทยออยล์ไม่มีอำนาจควบคุมการจัดการของกิจการร่วมค้า ไทยออยล์จะสนับสนุนให้กิจการร่วมค้าและผู้ร่วมทุนปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลเดียวกัน
  2. นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้บูรณาการหลักสิทธิมนุษยชนเข้ากับแนวทางอื่น ๆ เช่น แนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์

กลุ่มไทยออยล์ได้ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ภายใต้หลักการบริหารจัดการความเสี่ยงขององค์กรที่สอดคล้องกับหลักการสากลของสหประชาชาติอย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการประเมินและจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มไทยออยล์ (HRIAM) ตามกระบวนการติดตามตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) โดยบริษัทฯ ได้ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านทั้งในกิจกรรมทางธุรกิจและผู้ค้าในสายโซ่อุปทานของธุรกิจทุก 3 ปี และติดตามผลการดำเนินการเป็นประจำทุกปี

  1. การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในสถานประกอบการ ประจำปี 2566
  2. ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (HRDD) ทุกกิจกรรมทางธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 100 ของกิจกรรมที่เป็นธุรกิจหลักและกิจกรรมอื่นของทุกหน่วยธุรกิจ รวมถึงกิจการร่วมค้า ได้รับการประเมินด้านสิทธิมนุษยชน ผลการประเมิน พบว่า กิจกรรมของกลุ่มไทยออยล์มีความเสี่ยงที่หลงเหลืออยู่ (Residual Risks) อยู่ที่ร้อยละ 36.4 จากกิจกรรมทั้งหมด โดยมีการจัดทำมาตรการในการควบคุมความเสี่ยงในประเด็นต่างๆ ครบถ้วนอยู่ที่ร้อยละ 100

  3. ขอบเขตกิจกรรมที่ได้รับประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงาน ได้แก่

  • ธุรกิจโรงกลั่น (บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน))
    กลุ่มปิโตรเคมีคอล (บริษัท ไทยลูบเบส จำกัด (มหาชน) บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด บริษัท ท็อป เน็กซ์จำกัด และบริษัท ศักดิชัยสิทธิ์ จำกัด) 
    กลุ่มธุรกิจไฟฟ้าและไอน้ำ (บริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด)
    กลุ่มธุรกิจสนับสนุน (บริษัท ไทยออยล์ เอนเนอร์ยี่ เซอร์วิส จำกัด และ บริษัท ไทยออยล์ ศูนย์บริหารเงิน จำกัด)

ขอบเขตผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอก ได้แก่ พนักงาน คู่ค้า ลูกค้า ชุมชน รวมตลอดถึงกลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้หญิง เด็ก แรงงานต่างด้าว ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และกลุ่มความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+)

  1. การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในสายโซ่อุปทาน ประจำปี 2566
  2. กลุ่มไทยออยล์ประเมินความเสี่ยงที่เกิดจากกิจกรรมของ “คู่ค้าทางธุรกิจลำดับแรก (Tier 1 Supplier)” ของกลุ่มไทยออยล์ ซึ่งครอบคลุมร้อยละ 100 ของคู่ค้าลำดับแรกในกิจกรรมการจัดซื้อน้ำมันดิบและการจัดซื้อจัดจ้างทั่วไป โดยประเมินความรุนแรงและโอกาสเสี่ยงผ่านเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนภายใต้ขอบเขตที่สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินธุรกิจของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (Sustainable Code of Conduct for Supplier of Thaioil and Subsidiaries: SCOC) ผลการประเมินความเสี่ยงในปี 2566 พบว่ามีกิจกรรมที่มีโอกาสเสี่ยงอยู่ที่ร้อยละ 1.5 ของกิจกรรมทั้งหมด โดยพบว่าความเสี่ยงเป็นประเด็นเรื่องสภาพการทำงาน ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย เป็นหลัก ทั้งนี้ ได้มีการจัดทำมาตรการเพื่อปิดความเสี่ยงครบทุกประเด็นความเสี่ยงที่ตรวจพบอยู่ที่ร้อยละ 100
  3. การบริหารจัดการด้านการปฏิบัติต่อแรงงานที่ดี (สิทธิแรงงานและความเท่าเทียม)
  4. กลุ่มไทยออยล์ให้ความสำคัญต่อสิทธิแรงงานและความเท่าเทียม เนื่องจากความท้าทาย ความเสี่ยง และผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์วิกฤติทั่วโลกที่มีผลจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ตลอดจนการดำเนินการก่อสร้างโครงการพลังงานสะอาด ที่อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชนในหลายมิติ โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว กลุ่มไทยออยล์จึงได้จัดการฝึกอบรม การสื่อสาร และกิจกรรมเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ให้แก่ผู้บริหารและพนักงาน เพื่อให้เข้าใจถึงนโยบายและข้อปฏิบัติของบริษัทฯ และเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนในสถานประกอบการและห่วงโซ่คุณค่า นอกจากนี้ เพื่อรักษาบุคลากรที่มีศักยภาพไว้กับองค์กร กลุ่มไทยออยล์พิจารณาค่าตอบแทนและสวัสดิการสำหรับพนักงานให้สามารถแข่งขันกับกลุ่มอุตสาหกรรมใกล้เคียงและบริษัทชั้นนำในประเทศเป็นประจำทุกปี ตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงาน ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติต่อพนักงานด้วยความเสมอภาค นโยบายการจ่ายที่เท่าเทียม ประกอบกับนโยบายการไม่เลือกปฏิบัติและห้ามมิให้มีการทารุณกรรม รวมถึงส่งเสริมการไม่เลือกปฏิบัติ การให้เสรีภาพในการรวมตัวต่อรองและเจรจาเป็นสมาคม และการจ้างงานคนพิการตามขั้นตอนที่กฎหมายของรัฐเปิดโอกาสไว้ จากการดำเนินการดังกล่าว ส่งผลให้คะแนนความพึงพอใจของพนักงานที่มีต่อบริษัทฯ ในปี 2566 คิดเป็นร้อยละ 94
  5. ในปี 2566 บริษัทมีพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานโรงกลั่นน้ำมันไทย คิดเป็นร้อยละ 75 ของพนักงานบริษัทไทยออยล์ทั้งหมด จากการตรวจสอบตามกระบวนการของทุกกิจกรรมทางธุรกิจ และไม่มีการประท้วงหรือนัดหยุดงาน

  6. จากการดำเนินการข้างต้น ในช่วง 60 กว่าปีที่ผ่านมา บริษัทฯ ไม่มีข้อพิพาทด้านแรงงานที่สำคัญ ส่งผลให้กลุ่มไทยออยล์ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านสิทธิมนุษยชนดีเด่น ประเภทภาคธุรกิจขนาดใหญ่ ประจำปี 2566 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4

  7. การปฏิบัติที่ดีต่อชุมชน (สิทธิชุมชน)

  8. กลุ่มไทยออยล์ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานร่วมกับชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยใช้ หลักการ 3 ประสาน ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มบริษัทไทยออยล์ ตัวแทนผู้นำชุมชนทั้ง 10 ชุมชนรอบโรงกลั่น และหน่วยงานราชการ ตามกรอบแนวคิด 5 ร่วม เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้ จนเกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสื่อสารความคืบหน้าของการก่อสร้างโครงการขยายกำลังการผลิตของบริษัทฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนเพื่อนำมาแก้ไขร่วมกัน ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์บริหารจัดการผลกระทบต่อชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการมีส่วนร่วมกับชุมชน ร่วมสร้างคุณภาพชีวิตผ่านโครงการและกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมสุขภาวะ ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม โดยคำนึงถึงสิทธิชุมชนซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ

  9. นอกจากนั้น กลุ่มไทยออยล์ได้จัดทำการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment) ในทุกโครงการสำคัญของบริษัทฯ และมีการจัดทำแผนบรรเทาผลกระทบตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของชุมชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้เสียสำคัญของบริษัทฯ ทั้งนี้ ในปี 2566 ได้จัดกิจกรรมการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ การประชุมร่วมกับตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในชุมชน เช่น กลุ่มคณะกรรมการชุมชน กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) กลุ่มประมง และกลุ่มเยาวชน ตลอดจนการเชิญชุมชนเยี่ยมชมความคืบหน้างานก่อสร้างของบริษัทฯ พร้อมชี้แจงแผนการดำเนินงานของบริษัทฯ ที่จะเกิดขึ้น (Open House) และการลงพื้นที่เยี่ยมชุมชนรอบโครงการก่อสร้าง เป็นต้น

  10. กลไกการรับข้อร้องเรียน

  11. วัตถุประสงค์ของการจัดการข้อร้องเรียน-ร้องทุกข์ของกลุ่มไทยออยล์ คือ การจัดการข้อร้องเรียน-ร้องทุกข์ในด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับจากผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มไทยออยล์ เพื่อลดความเสี่ยงทางสังคมต่อธุรกิจ กระบวนการร้องเรียน-ร้องทุกข์ในด้านสิทธิมนุษยชน เป็นช่องทางที่จัดขึ้นสำหรับคู่ค้าในสายโซ่อุปทานของกลุ่มไทยออยล์ ที่จะเก็บข้อมูลของผู้ร้องเรียนเพื่อส่งต่อความกังวลใจ และแสดงความโปร่งใสในกระบวนการจัดการข้อร้องเรียน-ร้องทุกข์ภายในของกลุ่มไทยออยล์ เพื่อลดความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้น และเสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างคู่ค้าคู่ธุรกิจ

  12. สำหรับช่องทางการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสนั้น ผู้มีส่วนได้เสียสามารถแจ้งเรื่องร้องเรียนหรือเบาะแส โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเอกสารลับ ผ่านประธานกรรมการ หรือ ประธานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการ หรือ ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ หรือ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือ เลขานุการบริษัทฯ หรือผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ [email protected]

  13. นอกจากนั้น กลุ่มไทยออยล์ยังมีช่องทางการรับเรื่องแจ้งเหตุโดยตรงตามกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเป็นการเฝ้าระวัง และรับฟังความคิดเห็นอีกช่องทางหนึ่งด้วย สำหรับคู่ค้า ยังมีช่องทางในการรับข้อร้องเรียน ข้อซักถามจากคู่ค้าผ่านเว็บไซต์คู่ค้าสัมพันธ์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ [email protected]

  14. กลุ่มไทยออยล์มีหน่วยงานกลางเพื่อรับเรื่องแจ้งเหตุและเรื่องร้องเรียนจากชุมชนโดยตรงเพื่อดูแลชุมชนในกรณีที่เกิดผลกระทบ โดยใช้ระบบการบริหารจัดการข้อกังวลจากผู้มีส่วนได้เสีย (Voice of Stakeholders Management) เป็นเครื่องมือหลักในการทำงานร่วมกัน มุ่งเน้นการจัดการข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานในสภาวะปกติ และข้อร้องเรียนที่เกิดจากการก่อสร้างโครงการขยายต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมสื่อสารความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาไปยังชุมชนอย่างต่อเนื่อง ทั้งรูปแบบออนไลน์และลงพื้นที่ชุมชน มุ่งสร้างความเชื่อมั่น ความเข้าใจและลดความกังวลของชุมชนควบคู่กันไป เพื่อให้มั่นใจได้ว่ากลุ่มไทยออยล์มีการดูแลและปกป้องสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม

  15. โครงการที่โดดเด่น

  16. ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ยังคงมุ่งเน้นการสื่อสารและกิจกรรมสนับสนุนสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสียภายใต้หลักการ “3 Parts for Fulfilling Human Rights” อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 อันประกอบไปด้วย

  • • Ensuring education for all: การให้ความรู้และสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับพนักงานผ่าน Human Rights E-learning ใน “Thaioil Academy Application” และสำหรับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ผ่านการจัดกิจกรรมการบรรยายเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่คู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ในงานสัมนาคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ ประจำปี 2566 (Supplier Seminar 2023) ณ หอประชุมไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  อีกทั้งการสร้างความตระหนักรู้ผ่านการยอมรับแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (Supplier Code of Conduct) เป็นต้น
    • Improving mental health care: โครงการ 5 สุข เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาวะของพนักงานวิถีใหม่ (New Normal Work Life) และเพื่อให้พนักงานได้เข้าใจสิทธิที่พนักงานควรได้รับทั้งการดูแลพนักงานรวมถึงพนักงานที่เกษียณอายุในทุกด้านผ่าน โครงการ 5 สุขของกลุ่มไทยออยล์ ได้แก่ 

  • • Working with the right to health: กลุ่มไทยออยล์บริหารจัดการและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และมีมาตรการการดูแลรักษาพนักงานอย่างต่อเนื่องจนหายป่วย และสามารกลับเข้าทำงานได้อย่างปลอดภัย (Return to work)  โดยกำหนดมาตรการและนโยบายที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของภาครัฐ พร้อมสร้างความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พนักงาน ผู้รับเหมา คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มไทยออยล์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งมีการกำหนดนโยบายการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home Policy) เพื่อให้พนักงานมีสิทธิในการเลือกรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับตน
  1. นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้จัดทำนโยบายสนับสนุนพนักงานกลุ่มไทยออยล์ “People First for Employee Support Policy” เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและให้ความช่วยเหลือแก่พนักงาน ครอบครัวพนักงาน และสมาชิกชมรมพนักงานเกษียณกลุ่มไทยออยล์ ที่เผชิญกับอุปสรรคทั้งด้านการเงิน กฎหมาย สุขภาพกาย สุขภาพใจ แอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด ปัญหาการสมรส ความเจ็บป่วย ของสมาชิกในครอบครัว การดูแลบุตร ฯลฯ ทั้งในรูปแบบของสิทธิประโยชน์สวัสดิการ และมิใช่สวัสดิการ ตลอด 24 ชั่วโมงของทุกวัน

  2. ผลการดำเนินงานปี 2566

  3. Update : กุมภาพันธ์ 2567