สิทธิมนุษยชน

 การเคารพสิทธิมนุษยชนของกลุ่มไทยออยล์

  กลุ่มไทยออยล์มีความมุ่งมั่นต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนในสถานประกอบการ และทุกการดำเนินงานตลอดสายโซ่อุปทาน และทุกพื้นที่ที่กลุ่มไทยออยล์ดำเนินธุรกิจ ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในเส้นทางการดำเนินธุรกิจ โดยบริษัทฯได้ประกาศใช้นโยบายสิทธิมนุษยชนและแนวปฏิบัติการประเมินและจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มไทยออยล์ในปีพ.ศ. 2558 ซึ่งได้มีการทบทวนให้เป็นปัจจุบันในปีพ.ศ. 2564 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) อนุสัญญาหลักขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (The Core Conventions of the International Labour Organization: ILO) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) บรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ (International Finance Corporation: IFC) และแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน ระยะที่ 1 (NAP 1) 

กลุ่มไทยออยล์เชื่อว่า แม้รัฐจะมีหน้าที่สำคัญในการคุ้มครองและกำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน แต่บริษัทฯก็มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติและเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชนเช่นกัน นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนให้ “สายโซ่อุปทานของธุรกิจกลุ่มไทยออยล์” (Thaioil Value Chain) เคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน ด้วยเหตุนี้ กลุ่มไทยออยล์จึงได้พัฒนาเครื่องมือและจัดให้มี “การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน” (Human Rights Due Diligence: HRDD) ในกิจกรรมทางธุรกิจและคู่ค้าในสายโซ่อุปทานของธุรกิจ ทุก 3 ปี และติดตามผลเป็นประจำทุกปี โดยกลุ่มไทยออยล์ได้ทำการพัฒนาเครื่องมือดังกล่าวให้สอดคล้องกับคู่มือการประเมินและจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของบรรษัทเงินทุนระหว่างประเทศ  กรอบการดำเนินการของสหประชาชาติ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษชน (NAP Implementation) และเกณฑ์การบริหารความเสี่ยงขององค์กร โดยได้มีการกำหนดไว้อย่างชัดเจนเป็น “แนวปฏิบัติการประเมินและจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มไทยออยล์” (Human Rights Impact Assessment and Management: HRIAM)

  1. 1. การบูรณาการหลักสิทธิมนุษยชนเข้ากับนโยบายใหม่และนโยบายที่มีอยู่ในปัจจุบัน  
  2. นโยบายสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงาน (มีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2564) กำหนดแนวทางการปฏิบัติของไทยออยล์ให้มีการเคารพสิทธิมนุษยชนของพนักงาน ผู้รับเหมา และสมาชิกในชุมชน ในขณะที่นโยบายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนสำหรับคู่ค้า (มีผลบังคับใช้ในเดือนมิถุนายน 2564) ซึ่งได้ขยายขอบเขตความคาดหวังครอบคลุมไปถึงพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทฯ ประกอบด้วยซัพพลายเออร์ ลูกค้า และพันธมิตรอื่นๆ เช่น พันธมิตรร่วมทุน ซึ่งนโยบายดังกล่าวได้กำหนดมาตรฐานขั้นต่ำที่คู่ค้าทางธุรกิจจะต้องปฏิบัติตาม
  3. นโยบายทั้งสองฉบับสามารถสรุปได้ในตาราง ดังนี้

  4. นโยบาย
    นโยบายสิทธิมนุษยชนในสถานที่ทำงาน
    นโยบายธุรกิจและสิทธิมนุษยชนสำหรับคู่ค้า
    ที่มา นโยบายทั้งสองฉบับได้มีการทบทวนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการชี้แนะแห่งสหประชาชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) อนุสัญญาหลักขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (The Core Conventions of the International Labour Organization: ILO) ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global  Compact: UNGC)
    ขอบเขต ทุกกิจกรรมในการดำเนินงานของไทยออยล์ รวมถึงกิจการร่วมค้าที่ไทยออยล์มีอำนาจควบคุมการจัดการ กิจกรรมในการดำเนินงานของคู่ค้าทางธุรกิจของไทยออยล์ เช่น ซัพพลายเออร์ ลูกค้า ผู้ร่วมลงทุนที่ไม่มีอำนาจในการจัดการ
    ประเด็นสาระสำคัญ
    • • พนักงานกลุ่มไทยออยล์ต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัด 
    • • กลุ่มไทยออยล์ต้องให้ความรู้ความเข้าใจในหลักสิทธิมนุษยชนสากลแก่พนักงานเพื่อให้เข้าใจและนำไปปฏิบัติในการดำเนินงาน รวมถึงหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน 
    • • ลุ่มไทยออยล์จัดรวบรวมกฎหมาย กฎและระเบียบของทางราชการให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้พนักงานศึกษาและให้การอบรมด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องแก่พนักงานอย่างเหมาะสมพอควร
    • • พนักงานทุกระดับของกลุ่มไทยออยล์ต้องทำความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับหน้าที่และความรับผิดชอบของตนโดยตรงให้ถี่ถ้วน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด หากไม่แน่ใจให้ขอคำปรึกษาจากสำนักกฎหมาย ห้ามปฏิบัติไปตามความเข้าใจของตนเองโดยไม่มีคำแนะนำ
    • • เมื่อพนักงานต้องไปปฏิบัติงานในต่างประเทศ พนักงานควรศึกษากฎหมายขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศปลายทางก่อนการเดินทางเพื่อให้แน่ใจว่า สินค้า ตัวอย่าง สินค้า และอุปกรณ์ที่นำไปด้วย เอกสารในการเดินทางวัตถุประสงค์ของการเดินทางและการปฏิบัติงานในประเทศปลายทางไม่ผิดกฎหมาย ไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของประเทศปลายทาง
    • • นโยบายนี้ยังครอบคลุมถึงสิทธิแรงงานอื่นๆ การสื่อสารด้านนโยบาย และขั้นตอนการร้องทุกข์หรือข้อร้องเรียน
    • • คู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ต้องปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากลอย่างเคร่งครัด โดยกลุ่มไทยออยล์คาดหวังให้คู่ค้าปฏิบัติตามที่นโยบายฉบับนี้กำหนด

    • กลุ่มไทยออยล์ต้องหมั่นตรวจตราดูแลการดำเนินกิจการของคู่ค้ามิให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน

    • นโยบายครอบคลุมถึงสิทธิแรงงาน สิทธิชุมชนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยของลูกค้า ตลอดจนการต่อต้านการทุจริต การสื่อสารนโยบาย และกลไกการร้องทุกข์

    หมายเหตุ
    • • ในกรณีที่มาตรฐานกฎหมายของประเทศไม่สอดคล้องกับหลักสิทธิมนุษยชนสากล ไทยออยล์จะพยายามดำเนินการด้วยมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสูงสุดเท่าที่สามารถปฏิบัติได้ 
    • • ในกรณีที่ไทยออยล์ไม่มีอำนาจควบคุมการจัดการของกิจการร่วมค้า ไทยออยล์จะสนับสนุนให้กิจการร่วมค้าและผู้ร่วมทุนปฏิบัติตามมาตรฐานสิทธิมนุษยชนสากลเดียวกัน
  5. นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้บูรณาการหลักสิทธิมนุษยชนเข้ากับแนวทางอื่น ๆ เช่น แนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์


  6. 2. การหารือร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน 
  7. ไทยออยล์หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้มีส่วนได้เสียในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน โดยในระดับโครงการ บริษัทฯ จะมีการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านใน 2 กิจกรรมทางธุรกิจ ประกอบด้วย การได้มาซึ่งทรัพย์สินและการควบรวมกิจการ (Mergers and Acquisitions: M&A) และ การพัฒนาหน่วยธุรกิจใหม่รวมทั้งการพัฒนาเพิ่มเติมโครงการที่มีอยู่เดิม (สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมในข้อที่ 4. การประเมินความเสี่ยงระหว่างกิจกรรมต่างๆ ของธุรกิจ) 

  8. 3. การฝึกอบรมและพัฒนาศักยภาพด้านสิทธิมนุษยชนแก่พนักงาน 
  9. ไทยออยล์จัดให้มีการฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนแก่พนักงานอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายและการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน เพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงหลักการสิทธิมนุษยชนสากล การระบุผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น และการประเมินความรุนแรงและความเป็นไปได้ของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

  10. 4. การประเมินความเสี่ยงระหว่างกิจกรรมต่างๆ ของธรุกิจ
  11. ไทยออยล์ได้พัฒนาเครื่องมือและจัดให้มี “การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน” (Human Rights Due Diligence: HRDD) ในกิจกรรมทางธุรกิจและผู้ค้าในสายโซ่อุปทานของธุรกิจ ทุก 3 ปี และติดตามผลประจำทุกปี การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้านครอบคลุมไปถึงกิจกรรมทางธุรกิจและคู่ค้าในสายโซ่อุปทาน เพื่อระบุ ป้องกัน และบรรเทาผลที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบ
  12.  
  13. 5. การประเมินผลกระทบในการดำเนินงานที่มีความเสี่ยงสูง
  14. ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญได้รับการประเมินอย่างรอบด้านในด้านผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก เพื่อประเมินและพิจารณาสาระสำคัญของประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย พนักงานของกลุ่มไทยออยล์ พนักงานผู้รับเหมา พนักงานผู้รับเหมาช่วง ชุมชน คู่ค้า ลูกค้า สตรีและเด็ก ชุมชนท้องถิ่น แรงงานต่างด้าว ผู้พิการ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และบุคคลข้ามเพศ 
  15. นอกจากนี้ ไทยออยล์ได้ระบุมาตรการบรรเทาผลกระทบสำหรับประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่สำคัญครบถ้วน สำหรับการปฏิบัติที่ดีต่อชุมชน บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานร่วมกับชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน โดยใช้ หลักการ 3 ประสาน ประกอบด้วย ตัวแทนกลุ่มบริษัทไทยออยล์ ตัวแทนผู้นำชุมชนทั้ง 10 ชุมชนรอบโรงกลั่น และหน่วยงานราชการ ตามกรอบแนวคิด 5 ร่วม เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้ จนเกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง อีกทั้งยังเป็นช่องทางในการสื่อสารความคืบหน้าของการก่อสร้างโครงการขยายของบริษัทฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนเพื่อนำมาแก้ไขร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ไทยออยล์ยังให้ความสำคัญกับการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในทุกโครงการที่สำคัญ พร้อมกำหนดมาตรการบรรเทาผลกระทบอีกด้วย


  16. 6. การประสานกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนผ่านคณะทำงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามนโยบายสิทธิมนุษยชน 
  17. คณะทำงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามนโยบายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Working Team) เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบในการประสานงานกิจกรรมด้านสิทธิมนุษยชนในกลุ่มไทยออยล์ สำหรับการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบ คณะทำงานมีหน้าที่ดูแลให้มั่นใจว่าผลลัพธ์ถูกบูรณาการระหว่างการทำงาน กระบวนการภายในที่เกี่ยวข้อง และการดำเนินการที่เหมาะสมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจที่อาจเกิดขึ้น

  18. 7. การติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน 
  19. ผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนถูกติดตามโดยคณะทำงานกำกับดูแลการปฏิบัติงานตามนโยบายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Working Team) โดยผลกระทบเชิงลบด้านสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยืนยันทั้งหมดจะถูกรายงานต่อคณะทำงานเมื่อเกิดขึ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังรายงานความเสี่ยงและผลการประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำทุกปี ตลอดจนข้อร้องเรียนต่อผู้มีส่วนได้เสียผ่านรายงาน HRIAM ตามเอกสารแนบด้านล่าง

  20. 8. กลไกการรับข้อร้องเรียน 
  21. กลุ่มไทยออยล์มีช่องทางการรับเรื่องแจ้งเหตุโดยตรงตามกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย (ดุรายละเอียดเพิ่มเติมในบท “ผู้มีส่วนได้เสียและประเด็นด้านความยั่งยืน” ในรายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการ) นอกจากนี้ มาตรการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแสของบริษัทฯ ได้มีกาเปิดเผยต่อสาธารณะ โดยเมื่อผู้ร้องเรียนได้ยื่นเรื่องร้องทุกข์ บริษัทฯ จะตรวจสอบเรื่องร้องเรียน ประเมินการแก้ไขที่เหมาะสม วางแผนและดำเนินการแก้ไข และบันทึกเหตุการณ์เพื่อปรับปรุงแนวทางปฏิบัติของเราเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบต่อสิทธิมนุษยชนในอนาคต
  22.