การต่อต้าน
การทุจริตคอร์รัปชัน
การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
ความท้าทาย ความเสี่ยง
และผลกระทบ



ความมุ่งมั่น และเป้าหมาย
เป้าหมาย
กรณีที่พนักงานกลุ่มไทยออยล์ กระทำการใดๆ ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดของกฎหมาย กฎระเบียบที่สำคัญ และการกระทำการทุจริตคอร์รัปชันในองค์กร (Case of Non-Compliance and Fraud Incidents)
เป้าหมายปี 2567
0
กรณี
เป้าหมายระยะยาวปี 2573
0
กรณี
แนวทางการบริหารจัดการ
และผลการดำเนินงาน
นอกจากการกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติต่างๆ แล้ว บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการนำนโยบาย แนวปฏิบัติ และมาตรการต่อต้านคอร์รัปชันมาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม รวมถึงการติดตามผลการปฏิบัติเพื่อนำมาทบทวนปรับปรุงแผนงานให้เหมาะสมอย่างสม่ำเสมอ ทั้งการประเมินความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน การมีระบบควมคุมภายในเพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านคอร์รัปชัน การสื่อสารให้ความรู้และการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทุจริตคอร์รัปชันทั้งภายในและภายนอกองค์กร รวมถึงการติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบาย แนวปฏิบัติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง


แนวทางการบริหารจัดการ
การกำกับดูแลกิจการที่ดี
หลักการ | คำอธิบาย |
---|---|
Responsibility | มีความสำนึกรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยขีดความสามารถและประสิทธิภาพที่เพียงพอ |
Equitable Treatment | ปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันด้วยความเป็นธรรม |
Accountability | มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำของตนเองและของผู้อื่นที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน สามารถชี้แจงและอธิบายการตัดสินใจนั้นได้ |
Creation of Long Term Value | มีวิสัยทัศน์ในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กรในระยะยาว |
Transparency | มีความโปร่งใสในการดำเนินงานที่สามารถตรวจสอบได้ และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง |
Ethics | มีจริยธรรมและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ |
นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้บรรจุนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดีและนโยบายการต่อต้านการทุจริตเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มไทยออยล์ (TOP Group Way of Conduct) เพื่อเป็นแนวทางในการมอบหมายให้บุคลากรของบริษัทฯ เป็นผู้แทนบริษัทฯ ในการเข้าไปดูแลและบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มไทยออยล์ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สามารถบรรลุเป้าหมายระยะยาวและเติบโตอย่างยั่งยืน
จรรยาบรรณธุรกิจและการปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

มาตรการการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส และการติดตามตรวจสอบและการรับเรื่องร้องเรียน
กลุ่มไทยออยล์ได้จัดให้มีมาตรการการร้องเรียนและ/หรือการแจ้งเบาะแส โดยเผยแพร่ไว้ในคู่มือ CG และเว็บไซต์ของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มช่วยติดตาม ดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานกลุ่มไทยออยล์ให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ หลักการกำกับดูแลกิจการ จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และไม่กระทำการใดๆ ที่อาจส่อถึงการทุจริต ผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิและได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ ผู้มีส่วนได้เสีย พนักงาน เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงบุคคลภายนอกที่พบเห็นหรือทราบเบาะแส สามารถแจ้งผ่านช่องทางการร้องเรียนและการแจ้งเบาะแส ตามรายละเอียดกระบวนการร้องเรียนและ/หรือการแจ้งเบาะแสในคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในเว็บไซต์ของบริษัทฯ ที่ https://www.thaioilgroup.com/corporate-governance/corporate-governance-and-code-of-conduct-manual/
โดยในปี 2567 คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อนุมัติการปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน ให้มีความชัดเจน สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ยังได้กำหนดให้มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเรื่องร้องเรียน ผู้แจ้งเบาะแส หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องที่เหมาะสมและเป็นธรรมจากกลุ่มไทยออยล์ เช่น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง หรือการกระทำอื่นใดที่ไม่เป็นธรรม กลุ่มไทยออยล์จะเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนเป็นความลับ และไม่เปิดเผยต่อผู้ไม่เกี่ยวข้อง เว้นแต่ที่จำเป็นต้องเปิดเผยตามข้อกำหนดของกฎหมาย โดยมีเรื่องร้องเรียนที่ตรวจสอบคงค้างจากปี 2566 จำนวน 2 เรื่อง โดยผลจากการพิจารณาสืบสวนข้อเท็จจริงตามกระบวนการบริหารจัดการเรื่องร้องเรียน ไม่พบการกระทำความผิด 1 เรื่อง และพบการกระทำผิด 1 เรื่อง โดยเป็นการกระทำผิดเกี่ยวกับการฝ่าฝืนจรรยาบรรณในการดำเนินธุุรกิจ ซึ่งพบว่าเป็นการกระทำความผิดวินัยตามนโยบายและระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการบุคคล และบริษัทฯ ได้พิจารณาโทษทางวินัยอย่างเป็นธรรมและสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน และได้แจ้งผลการพิจารณาให้แก่ผู้ร้องเรียนเรียบร้อยแล้ว
ประเภทของข้อร้องเรียน | จำนวนเรื่องที่ตรวจสอบ | จำนวนเรื่องที่ไม่สอดคล้อง |
---|---|---|
การทุจริตและคอร์รัปชัน | 0 | 0 |
การเลือกปฏิบัติ | 0 | 0 |
การรักษาความลับและการใช้ข้อมูลภายใน | 0 | 0 |
ข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า | 0 | 0 |
ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ | 1 | 0 |
การผูกขาดและการแข่งขันทางการค้า | 0 | 0 |
การฟอกเงิน | 0 | 0 |
คุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม | 0 | 0 |
ฝ่าฝืนระเบียบบริษัทฯ | 1 | 0 |
ฝ่าฝืนจรรยาบรรณในการดำเนินธุุรกิจอื่นๆ | 0 | 0 |
การป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์




การตรวจสอบระบบการกำกับการปฏิบัติตามกฎหมาย และกฎระเบียบ
การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน


การจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างมีจริยธรรม
การประเมินความเสี่ยงด้านทุจริตคอร์รัปชัน



การร่วมมือกับภาคีเครือข่ายด้านการการกำกับดูแลกิจการและการต่อต้านคอร์รัปชัน
การพัฒนาศักยภาพด้านมาตรฐานจริยธรรม


โครงการที่โดดเด่น

จัดทำเป็นคลิปละครสั้น “GRC The Series” ทั้งหมด 4 ตอน ให้ความรู้ในแต่ละด้านของ GRC เพื่อสร้างความตระหนักรู้ และส่งเสริมแนวทางการทำงานแบบ GRC โดยนำเสนอผ่านช่องทางต่างๆ ภายในบริษัทฯ เช่น ระบบ Thaioil Academy งาน CEO Townhall ประจำไตรมาสที่ 2 และ 3 เป็นต้น

จัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ด้านกฎหมาย และส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่โปร่งใส เป็นธรรม ปราศจากคอร์รัปชัน ตลอดปี 2567 เช่น จัดอบรมให้ความรู้เรื่องมาตรการคว่ำบาตรทางและการต่อต้านการฟอกเงิน (Sanction and Anti-Money Laundering) จัดอบรมให้ความรู้เรื่องข้อกำหนดทางการค้าระหว่างประเทศ (Incoterms®) จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานแบบ GRC และความรู้ในเชิงปฏิบัติการในเรื่อง No Gift Policy เรื่อง Conflict of Interest เรื่องกระบวนการ Whistleblowing เรื่องกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และเรื่องนโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านการบุคคล ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน และนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของกลุ่มไทยออยล์ จัดให้มีการสื่อสาร CG Do & Don’t ตัวอย่างพฤติกรรมที่ควรทำและไม่ควรทำของแต่ละจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ เป็นต้น

จัดกิจกรรม GRC in Action เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้ทั้งพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียภายนอก โดยจัดบูทประชาสัมพันธ์และเล่นเกมส์ตอบคำถาม บริเวณหน้างานสำคัญต่างๆ ของกลุ่มไทยออยล์ ได้แก่ งาน CEO Townhall ประจำไตรมาสที่ 2–4 งาน Thaioil Innovation and Learning Day ประจำปี 2567 และงานสัมมนาคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ ประจำปี 2567 เป็นต้น

สื่อสารนโยบายงดรับของขวัญ (No Gift Policy) ให้พนักงานทุกคนรับทราบผ่านช่องทางสื่อสารภายในองค์กร ในหลากหลายรูปแบบ เช่น คลิปวีดิโอ E-newsletter เป็นต้น ตลอดจนการจัดส่ง “หนังสือขอความร่วมมืองดมอบของขวัญหรือของกำนัลแก่ผู้บริหารและพนักงานของกลุ่มไทยออยล์” แก่คู่ค้า ลูกค้า สถาบันการเงิน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันเหตุปัจจัยที่อาจนำไปสู่การกระทำที่ขัดต่อนโยบายการต่อต้านทุจริต

สื่อสารให้ข้อมูลหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจ และการต่อต้านการทุจริต ผ่านช่องทางการสื่อสารภายในบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เช่น คอลัมน์ GRC Corner ในวารสารอัคนี (วารสารภายในองค์กร) GRC Newsletter รวมทั้งสิ้น 10 ครั้งเป็นต้น

จัดทำการสำรวจวัฒนธรรมองค์กรด้านการบูรณาการ GRC (GRC Culture Survey) ประจำปี 2567 เพื่อประเมินวัฒนธรรมองค์กรด้านการบูรณาการการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบและข้อบังคับ (GRC) ในภาพรวม โดยผลการสำรวจที่ได้รับจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนงานเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการกำกับดูแลกิจการอย่างเหมาะสมต่อไป

ร่วมกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ร่วมจัดงาน PTT Group CG Day ประจำปี 2567 ภายใต้แนวคิด “CG CITIZEN SUSTAINABILITY CONNECT เปิดกว้าง ● เชื่อมโยง ● โปร่งใส” ผ่านการจัดงานในรูปแบบ Hybrid เพื่อส่งเสริม และเผยแพร่การดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) ของกลุ่ม ปตท. และยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลกิจการ ตลอดจนแสดงออกถึงความมุ่งมั่นขับเคลื่อนธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาล โดยมีคณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และแขกรับเชิญจากหน่วยงานภายนอก เช่น มูลนิธิต่อต้านการทุจริต เป็นต้น เข้าร่วมงานกว่า 400 คน รวมทั้งมีการเชิญคู่ค้า ลูกค้า และพนักงานเข้าร่วมชมการถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์ของงานอีกด้วย
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน

