ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความท้าทาย ความเสี่ยง
และผลกระทบ
การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพยังคงเป็นความเสี่ยงสำคัญระดับโลกในระยะยาว โดยจัดอยู่ในห้าอันดับแรกตามรายงานของสภาเศรษฐกิจโลก (The World Economic Forum: WEF) การสูญพันธุ์หรือการลดลงของสายพันธุ์ที่เกิดขึ้นอาจส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม มนุษยชาติ และกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ขณะเดียวกัน Task Force on Nature-related Financial Disclosures (TNFD) ได้กำหนดกรอบการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพ โดยกรอบการรายงานดังกล่าวจะขับเคลื่อนและกำหนดให้องค์กรนำปัจจัยด้านการเงินมาประเมินความเสี่ยงและผลกระทบจากความหลากหลายทางชีวภาพที่อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร นอกจากนี้ ตามข้อตกลงในการปกป้องระบบสิ่งแวดล้อมโลกภายใต้กรอบความหลากหลายทางชีวภาพ คุนหมิง-มอนทรีออล ได้ผลักดันให้ประเทศต่างๆ ดำเนินมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นต่อการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ และนำไปสู่การเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว



กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ ดังนั้น บริษัทฯ จึงบูรณาการการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงพื้นที่ป่าไม้ เข้าไปในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนครอบคลุมทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม โดยหลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบต่อพื้นที่ป่าไม้สุทธิ โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการฟื้นฟูหรือปลูกป่าไม้ เพื่อชดเชยกรณีมีการสูญเสียป่าไม้ จากการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น (No Net Deforestation) เพื่อยืนยันว่าการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ได้มีการควบคุมให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และมุ่งสู่การไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าสุทธิต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No Net Loss: NNL) ทั้งบนบกและในน้ำที่ถือว่าเป็นทรัพยากรอันล้ำค่าของทุกคน
โดยกลุ่มไทยออยล์ได้ยกระดับความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบต่อความหลากหลายทางชีวภาพผ่านนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน และคำแสดงเจตจำนงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มไทยออยล์ (Thaioil and Subsidiaries’ Biodiversity Statement) โดยได้รับการพิจารณาและลงนาม
จากคณะกรรมการบริษัทฯ (Board of Directors) และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) เพื่อผลักดันการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงสุดอย่างต่อเนื่อง


แนวทางการดำเนินงาน
และผลการดำเนินงาน
กลุ่มไทยออยล์ได้นำคู่มือบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการบริการของระบบนิเวศที่ได้มีการทบทวนร่วมกับกลุ่ม ปตท.
(PTT Group Biodiversity and Ecosystem Service)
ซึ่งได้พัฒนาและบูรณาการมาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ เช่น แผนปฏิบัติการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย, GRI Sustainable Reporting Standard (GRI Standard), IPIECA และอื่นๆ เป็นต้น มาใช้ในการประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มไทยออยล์ โดยมุ่งมั่นที่จะดำเนินการฟื้นฟูหรือปลูกป่าไม้ เพื่อชดเชยกรณีมีการสูญเสียป่าไม้ จากการดำเนินธุรกิจเกิดขึ้น (No Net Deforestation) และมุ่งสู่การไม่ก่อให้เกิดความสูญเสียคุณค่าสุทธิต่อความหลากหลายทางชีวภาพ (No Net Loss) ทั้งบนบกและในน้ำ
การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบ
ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
- ความเสี่ยงทางธุรกิจ: การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอันเนื่องมากจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ การแปรปรวนของฤดูกาล อาจส่งผลกระทบต่อการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นสำหรับการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์
- ความเสี่ยงด้านกฎระเบียบ: การยกระดับความเข้มงวดของกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับความหลากหลายทางชีวภาพอาจส่งผลให้ต้นทุนทางธุรกิจและความซับซ้อนในการดำเนินงานสูงขึ้น
- ความเสี่ยงด้านภาพลักษณ์: หากกลุ่มไทยออยล์ไม่สามารถบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างสมดุล อาจส่งผลให้ภาพลักษณ์ในเชิงลบต่อการดำเนินธุรกิจกลุ่มไทยออยล์ รวมถึงส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นจากผู้มีส่วนได้เสีย เช่น นักลงทุน และพันธมิตรทางธุรกิจ เป็นต้น ที่ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
- ความเสี่ยงทางสิ่งแวดล้อมและชุมชน: การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพอาจก่อให้เกิดประเด็นปัญหาต่อความเป็นอยู่ของชุมชนและส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจขิงกลุ่มไทยออยล์ในระยะยาว
การประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่พึ่งพาบริการจากธรรมชาติ (Dependency-related biodiversity risks considered in risk assessment)
การประเมินความเสี่ยงด้านความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานที่พึ่งพาบริการจากธรรมชาติของกลุ่มอุตสาหกรรมแต่ละประเภท ณ พื้นที่ตั้งต่างๆ นั้น สามารถประเมินโดยใช้เครื่องมือที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น WWF Biodiversity Risk Filter และ Encore เป็นต้น
กลุ่มไทยออยล์ได้ประเมินความเสี่ยงดังกล่าวผ่านเครื่องมือ WWF Biodiversity Risk Filter สำหรับการประเมิน Dependency โดยเครื่องมือนี้จะจัดอันดับระดับการพึ่งพาบริการจากธรรมชาติตามประเภทของอุตสาหกรรม เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงไฟฟ้า และปิโตรเคมี เป็นต้น โดยระดับการพึ่งพามีตั้งแต่ระดับต่ำไปถึงสูงมาก (1-5) และมีระดับที่ไม่พึ่งพาเลย (0) ทั้งนี้ ผลการประเมินพบว่า กลุ่มไทยออยล์เป็นพื้นที่ที่มีระดับการพึ่งพาสูงถึงสูงมาก ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
- การขาดแคลนน้ำ (Water Scarcity)
- อากาศร้อนจัด (Extreme Heat)
- การเปลี่ยนแปลงของการใช้ประโยชน์ที่ดิน น้ำจืด และน้ำทะเล (Land, Freshwater and Sea Use Change)
- การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ (Tree Cover Loss)
- มลพิษ (Pollution)
อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 ผลการประเมินพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพ มีความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากพื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มไทยออยล์ไม่ได้อยู่ในเขตพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องและพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพสำคัญ โดยระยะทางระหว่างพื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มไทยออยล์และพื้นที่ที่ได้รับการปกป้องและพื้นที่ความหลากหลายทางชีวภาพมากกว่า 5 กิโลเมตร ดังแสดงในตาราง
จำนวนพื้นที่ปฏิบัติงาน | พื้นที่ปฏิบัติงาน | ||
---|---|---|---|
ไร่ | เฮกตาร์ | ||
พื้นที่ปฏิบิติการทั้งหมด | 1 | 1,890 | 302.4 |
พื้นที่ปฏิบิติการที่ได้รับการประเมินทั้งหมด | 1 | 1,890 | 302.4 |
พื้นปฏิบิติการที่เผชิญความเสี่ยง | 0 | 0 | 0 |
แผนการบริหารจัดการ | 0 | 0 | 0 |
พื้นที่ปฏิบิติการทั้งหมด
จำนวนพื้นที่ปฏิบัติงาน
1
จำนวน
พื้นที่ปฏิบัติงาน
23,610.25
ไร่
พื้นที่ปฏิบิติการที่ได้รับการประเมินทั้งหมด
จำนวนพื้นที่ปฏิบัติงาน
1
จำนวน
พื้นที่ปฏิบัติงาน
23,610.25
ไร่
พื้นปฏิบิติการที่เผชิญความเสี่ยง
จำนวนพื้นที่ปฏิบัติงาน
0
จำนวน
พื้นที่ปฏิบัติงาน
0
ไร่
แผนการบริหารจัดการ
จำนวนพื้นที่ปฏิบัติงาน
0
จำนวน
พื้นที่ปฏิบัติงาน
0
ไร่
หมายเหตุ: พื้นที่ปฏิบัติการของกลุ่มไทยออยล์ครอบคลุมบริษัท TOP, TLB, TPX, LABIX, TOPSPP ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
แนวทางการบรรเทาผลกระทบ
อย่างมีลำดับชั้น (Mitigation Hierarchy)
กลุ่มไทยออยล์ได้นำคู่มือการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการนิเวศของกลุ่มปตท. รวมถึงแบบประเมินDJSI มาประยุกต์ใช้เพื่อเป็นแนวทางการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศรวมถึงการประเมินความเสี่ยง
อีกทั้งยังได้ประยุกต์ใช้หลักการบรรเทาผลกระทบตามลำดับขั้น (Mitigation Hierarchy Principle) ในการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา ฟื้นฟู และชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า และทำการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยังได้ประยุกต์ใช้หลักการบรรเทาผลกระทบตามลำดับขั้น (Mitigation Hierarchy Principle) ในการป้องกัน หลีกเลี่ยง บรรเทา ฟื้นฟู และชดเชยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพตลอดห่วงโซ่คุณค่า
ความร่วมมือกับเครือข่าย
ด้านความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อลดผลกระทบต่อระบบนิเวศ
องค์กร/ หน่วยงานภายนอก
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
ความร่วมมือกับเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลบริเวณพื้นที่ท่าเทียบเรือ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
โครงการศึกษาผลกระทบของการรั่วไหลของน้ำมันดิบต่อระบบนิเวศแนวปะการัง และทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล บริเวณชายฝั่งเกาะสีชัง และเกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรี
องค์กร/ หน่วยงานภายนอก
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทสจ.) จังหวัดชลบุรี
กรมวิทยาศาสตร์ทหารเรือ
ประมงจังหวัดชลบุรี
สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2
ผู้แทนสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 13
ความร่วมมือกับเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
หารือการจัดทำแผนเฝ้าติดตามและแผนฟื้นฟู ร่วมกับหน่วยงานราชการ
กำหนดแผนการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว
จัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับภาครัฐและประชาชน
ร่วมพิธีลงนาม บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU) กับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ในฐานะภาคีเครือข่ายป่าชายเลน ประเทศไทย
องค์กร/ หน่วยงานภายนอก
สํานักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ (สจป. 3 สาขาแพร่)
ความร่วมมือกับเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
ดําเนินโครงการปลูกป่า ประจําปี 2567 ในจังหวัดแพร่ร่วมกับประธานและสมาชิกวิสาหกิจชุมชน
องค์กร/ หน่วยงานภายนอก
ศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนที่ 22 (ปะเหลียน ตรัง)
บริษัท ซีแมน จํากัด
ความร่วมมือกับเครือข่ายด้านความหลากหลายทางชีวภาพ
จัดประชุมเพื่อประชาสัมพันธ์ สร้างกระบวนการรับรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนใน โครงการปลูกป่าชายเลนฯ ที่หมู่ที่ 2 บ้านหยงสตาร์และหมู่ที่ 4 บ้านทุ่งรวงทอง อําเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
ปรับปรุงและฟื้นฟูป่าชายเลนรวมถึงระบบนิเวศ
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
ปี | โครงการ |
---|---|
2563 | • ร่วมกับกลุ่ม ปตท. ในการพัฒนาคู่มือแนวทางการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศของกลุ่ม ปตท. • ประยุกต์ใช้เครื่องมือการประเมินความเสี่ยงของกลุ่ม ปตท. เพื่อประเมินความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มไทยออยล์ |
2564 | • ทบทวนผลการประเมินความเสี่ยงทางความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศของกลุ่มไทยออยล์ |
2565 | • ประกาศคำแสดงเจตจำนงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มไทยออยล์ประจำปี 2565 |
2566 | • ยกระดับนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน กลุ่มไทยออยล์ และคำแสดงเจตจำนงด้านความหลากหลายทางชีวภาพของกลุ่มไทยออยล์ โดยได้รับการลงนามจากคณะกรรมการบริษัทฯ (Board of Director) • ดำเนินโครงการศึกษาติดตามผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหล ที่ทุ่นผูกเรือน้ำลึกกลางทะเล (SBM-1) ต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศแนวปะการังบริเวณชายฝั่งเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี • ศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลบริเวณพื้นที่ท่าเทียบเรือ บริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) |
2567 | • พัฒนาและจัดทำคู่มือแนวทางการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและบริการของระบบนิเวศของกลุ่มไทยออยล์ • ทบทวนการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบทางความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงการประเมิน Dependency ของกลุ่มไทยออยล์ • โครงการศึกษาผลกระทบของการรั่วไหลของน้ำมันดิบต่อระบบนิเวศแนวปะการัง และทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล บริเวณชายฝั่งเกาะสีชัง และเกาะค้างคาว จังหวัดชลบุรี ระยะเวลา 3 ปี • โครงการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลบริเวณพื้นที่ท่าเทียบเรือ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ระยะเวลา 3 ปี • โครงการฟื้นฟูทรัพยากร และระบบนิเวศชายฝั่ง บริเวณเกาะสีชัง ศูนย์เรียนรู้ธนาคารสัตว์ทะเลเกาะสีชัง โดยชุมชน เพื่อชุมชนยั่งยืนฯ • จัดสัมมนาคู่ค้า (Supplier Relationship Seminar: SRM) และสื่อสารแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนให้กับคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (Sustainable Code of Conduct for Suppliers of Thaioil Group: SCOC) ประจำปี 2567 |
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินโครงการด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ดังนี้