Skip links

ธุรกิจของเรา

จากหยดน้ำมันผ่านกระบวนการกลั่นเพื่อดึงคุณค่าให้สูงสุด สู่พลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
และสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ของไทยออยล์ในการ
“สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน”

ไทยออยล์

โรงกลั่นน้ำมันแบบบูรณาการ
ชั้นนำของประเทศไทย

โรงกลั่นน้ำมันแบบบูรณาการ
ชั้นนำของประเทศไทย

และเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
มีกำลังการผลิต 275,000 บาร์เรลต่อวัน

0

ปี

แห่งความเชี่ยวชาญ
ด้านพลังงาน
และเคมีภัณฑ์

ปี 2568
บาร์เรลต่อวัน
35000
ด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากว่า 60 ปี ไทยออยล์ก้าวจากโรงกลั่นเล็กๆ ขนาดกำลังการผลิต 35,000 บาร์เรลต่อวัน มาเป็นโรงกลั่นนํ้ามันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) ขนาด 275,000 บาร์เรลต่อวัน และมีความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ทั้งนํ้ามันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี นํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน โรงกลั่นนํ้ามันไทยออยล์ได้รับการออกแบบให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุดจากระบวนการผลิต สามารถปรับเปลี่ยนระดับการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิดให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมีความยืดหยุ่นสูงในการใช้วัตถุดิบหรือนํ้ามันดิบจากแหล่งต่างๆ

ไทยออยล์มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน
ควบคู่ไปกับการดำเนินงานภายใต้
กลยุทธ์ ESG

การบริหารจัดการความยั่งยืนของกลุ่มไทยออยล์แสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environment, Social, and Governance : ESG) ที่สอดคล้องกับทิศทางของโลก เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และสร้างคุณค่าร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนในระยะยาว

ไทยออยล์ตอกย้ำเส้นทางสู่ความยั่งยืน ด้วยรางวัลแห่งความสำเร็จ ในทุกมิติ

สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต
ด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน

นักลงทุนสัมพันธ์

มุ่งสื่อสารอย่างมีประสิทธิผลเพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุน ตลอดจนประโยชน์สูงสุดให้แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว
TOP26.00 บาท
เปลี่ยนแปลง :-

% เปลี่ยนแปลง :-%

ปริมาณ (หุ้น) :12,642,715

ปรับปรุงเมื่อ: 17/03/2025 16:50:34

115,943

ล้านบาท

รายได้จากการขาย

8,182

ล้านบาท

EBITDA

4,554

ล้านบาท

กำไรสุทธิ

เอกสารนำเสนอ

แบบ 56-1 One Report ประจำปี 2566

งบการเงินปี 2567

ข่าวสารและประกาศ

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณณ […]

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ประกาศผลการดำเนินงานไตรมา […]

29
ต.ค. 67

บริษัทผู้รับเหมาช่วงเรียกร้องค่าตอบแทนค้างจ่ายจาก UJV - Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd., Petrofac South East Asia Pte. Ltd. และ Saipem Singapore Pte. Ltd.

24
ต.ค. 67

บริษัทผู้รับเหมาช่วงเรียกร้องค่าตอบแทนค้างจ่ายจาก UJV - Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd., Petrofac South East Asia Pte. Ltd. และ Saipem Singapore Pte. Ltd.

16
ต.ค. 67

บริษัทผู้รับเหมาช่วงแถลงข่าวเรียกร้องค่าตอบแทนค้างจ่ายจาก UJV - Samsung E&A (Thailand) Co., Ltd. (“Samsung”), Petrofac South East Asia Pte. Ltd. (“Petrofac”) และ Saipem Singapore Pte. Ltd. (“Saipem”) ณ โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีทส์ ศรีราชา-แหลมฉบัง จ.ชลบุรี

รายงานความยั่งยืนแบบบูรณาการประจำปี 2567

จุลสารชุมชนของเรา 84

จุลสารชุมชนของเรา 83

วิธีลงทะเบียนคู่ค้าไทยออยล์

วิดีโอแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์

CEO ให้สัมภาษณ์ในรายการ ห้องข่าวเศรษฐกิจ ออกอากาศ 1 มิย. 63 เวลา 12.30 น.ทางเนชั่นทีวี 22

เมื่อเร็วๆ นี้ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) นำโดย คุณณ […]

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ประกาศผลการดำเนินงานไตรมา […]

ร่วมสร้างคุณค่า
และเติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืน

นักลงทุนสัมพันธ์

ข่าวสารและประกาศ

ติดต่อเรา

ร่วมงานกับเรา

การปลูกฝังเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี

การปลูกฝังเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และการต่อต้านการทุจริต ตั้งแต่เริ่มทำงานวันแรก โดยผนวกเนื้อหาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปฐมนิเทศสำหรับพนักงานใหม่พร้อมกับส่งมอบคู่มือ CG ผ่านระบบ CG Reporting ส่งผลให้พนักงานใหม่ได้รับการสื่อสารข้อมูลและฝึกอบรม ครบร้อยละ 100 

การจัดกิจกรรมมอบองค์ความรู้ให้กับลูกค้าทั้งในรูปแบบ Online และ On-Site ในหัวข้อต่างๆ

การจัดกิจกรรมมอบองค์ความรู้ให้กับลูกค้าทั้งในรูปแบบ Online และ On-Site ในหัวข้อต่างๆ อาทิ Fundamental of Refinery Process และ Business Overview & Refinery Overview เพื่อให้ลูกค้ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของภาพรวมธุรกิจของธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน และสถานการณ์ตลาดมากยิ่งขึ้น

การจัดกิจกรรม "Safety and Happy Hours” ให้กับพนักงานขับรถ ประจำปี 2567

การจัดกิจกรรม “Safety and Happy Hours” ให้กับพนักงานขับรถ ประจำปี 2567 เพื่อสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยในการเข้ารับผลิตภัณฑ์ ให้กับกลุ่มลูกค้าที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถานีจ่ายน้ำมัน ผู้ประสานงานขนส่ง เจ้าหน้าที่ห้องตั๋วและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง

การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผ่านโครงการ “Cultural Activity”

การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผ่านโครงการ “Cultural Activity” ด้วยรูปแบบกิจกรรมที่เสริมสร้างการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ของชาติ รวมถึงงานศิลปกรรม ร่วมกับลูกค้า ณ พิพิทธภัณฑ์เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

โครงการ Thaioil Innovation Awards ประจำปี 2567

Innovation Talk

เป็นกิจกรรมที่มีการเชิญวิทยากรภายนอกที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมมาให้ความรู้กับพนักงาน เช่น อาจารย์ธงชัย โรจน์กังสดาล จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คุณธนา สราญเวทย์พันธุ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด, คุณณัฐภัทร ธเนศวรกุล ที่ปรึกษาด้านการวัดระดับนวัตกรรมองค์กร จาก บริษัท ไรส์ แอคเซล จำกัด และคุณซีเค เจิง CEO ของ บริษัท ฟาสต์เวิร์ค เทคโนโลยีส์ จำกัด เป็นต้น โดยในปี 2567 มีการจัดกิจกรรมทั้งหมด 4 ครั้ง โดยจำนวนพนักงานที่เข้าร่วมกิจกรรมนี้มีเพิ่มมากขึ้นจากปีที่แล้วถึงร้อยละ 15 และความพึงพอใจโดยรวมเพิ่มขึ้นจาก 93 เป็น 94 จาก 100 คะแนนเต็ม และในแต่ละครั้งมีพนักงานเข้าร่วมกิจกรรมมาก ถือว่าได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง

TOP BCG Updates

เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ e – Mail รายเดือนเพื่อเพิ่มความรู้ทางด้าน BCG ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่ประกอบไปด้วยนโยบายการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจ 3 ระบบของรัฐบาลไทย ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เช่น รถไฟฟ้า พลังงานไฮโดรเจน และนวัตกรรมในการลดโลกร้อนต่าง ๆ โดยในปี 2567 ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ดีมาก (97 จาก 100 คะแนนเต็ม)

TOP Innovation E-newsletter

เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e – Mail) รายสัปดาห์ ส่งให้แก่พนักงานทุกคนในกลุ่มไทยออยล์ โดยมีเนื้อหาที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความคิดนอกกรอบ และกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) เพื่อบ่มเพาะคุณสมบัติต่างๆ ที่นวัตกรพึงมีและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมในยุคปัจจุบัน รวมถึงการให้ข้อมูลเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยในปี 2567 มีการเผยแพร่บทความ TOP Innovation e-Newsletter ทั้งหมด 39 ฉบับ มียอดผู้อ่านบทความรวมกว่า 24,707 ครั้ง โดยได้คะแนนความพึงพอใจจากผู้อ่านอยู่ในระดับดีมาก (97 จาก 100 คะแนนเต็ม)

กิจกรรม Innovation and Learning Day 2024 ประจำปี 2567

กิจกรรม Innovation Failure Challenge

กิจกรรม Innovation Roadshow

กิจกรรม Innovation Idea Challenge

Generating New Actionable Ideas through Change Agent SME
Idea Facilitation & LO Inspirer Workshop

การจัดกิจกรรม Workshop การพัฒนา Change Agent โดยคัดเลือกตัวแทนหน่วยงานที่ได้รับการคัดเลือก โดยกลุ่มของ Change Agent จะได้รับการพัฒนา ให้ความรู้ ทักษะ และเครื่องมือ เพื่อใช้ในการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมและคิดค้นไอเดียใหม่ๆ ภายในหน่วยงานตนเอง

CEO Townhall และ Management Meeting

การจัดกิจกรรมการสื่อสารโดย CEO ถึงพนักงานทั่วทั้งองค์กร เพื่อเน้นย้ำทิศทาง กลยุทธ์ รวมถึงแผนและผลการดำเนินงาน เพื่อให้พนักงานเกิดความเข้าใจและตระหนักถึงความมุ่งมั่นของผู้บริหารระดับสูงในการนำการเปลี่ยนแปลงลงมาสู่องค์กรและพนักงานทุกคน รวมถึงการรายงานความคืบหน้าของโครงการ Innovation Culture Awareness ในที่ประชุมผู้บริหารระดับสูงอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระตุ้นผู้บริหารระดับสูงสนับสนุนการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมให้แก่พนักงานอย่างต่อเนื่อง

Building Innovation Culture Awareness through Top
Management Workshop (Management Outing Workshop)

การจัดกิจกรรม Workshop สำหรับผู้บริหาร เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การสร้าง Innovation Culture Awareness ให้กับพนักงานในสายงาน/ ฝ่ายของตนเอง ผ่านพฤติกรรมหลัก “Lead to Innovation Culture” รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากวิทยากรภายนอกถึงแนวคิดการสร้างนวัตกรรม การสื่อสาร และการฝึกปฏิบัติการใช้พฤติกรรม i-LEAD as a Role Model

โครงการ Teach for Thailand

วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาครูผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีศักยภาพปฏิบัติหน้าที่ในฐานะครูผู้ช่วยสอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมต้น

ประเภทโครงการ

โครงการ Teach for Thailand

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนที่จะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงติดต่อกันเป็นปีที่ 6 ซึ่งในปี 2567 บริษัทฯ ได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่ครูผู้สอนจำนวน 2 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้ช่วยสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 

3 ที่โรงเรียนวัดมโนรม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่ตั้งใกล้กับโรงกลั่น เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมีผลการประเมินการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจ ดังนี้
1. นักเรียนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 489 คนในปีการศึกษา 2567
2. พัฒนาการด้านวิชาการ และคุณลักษณะนิสัย และทักษะที่จำเป็นของนักเรียนปรับเพิ่มขึ้น โดยคะแนนเฉลี่ย Post-test อยู่ที่ 28.51 คะแนน เมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ย Pre-test ในภาคเรียนที่ 1 ที่ 27.57 คะแนน และพบว่า ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถสร้างและพัฒนาคุณลักษณะนิสัยของนักเรียน ทั้งด้านความพยายาม กรอบความคิดแบบเติบโต และการเป็นเจ้าของการเรียนรู้ เช่นเดียวกับการสร้างและพัฒนาทักษะที่จำเป็นของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยการคิดวิเคราะห์ ความร่วมมือ และการตระหนักรู้ในตนเอง
3. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการสอน เช่น วีดิทัศน์ บอร์ดเกม โปรแกรมออนไลน์ เป็นต้น ส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการและมีทัศนคติที่ดีต่อสาขาวิชาที่เรียนมากขึ้น โดยสามารถตอบคำถาม จำแนกตัวอย่าง และทำงานร่วมกันเป็นทีมกับเพื่อนในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี
4. นักเรียนส่วนใหญ่เล็งเห็นถึงความตั้งใจและพัฒนาการในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญของครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
5. ผู้อำนวยการและบุคลากรในโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยมีคะแนนรวมความพึงพอใจ 9.1 คะแนนจาก 10 คะแนน และเล็งเห็นว่า ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความรู้ ความสามารถ และลักษณะนิสัยที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานในบริบทที่ท้าทาย ร้อยละ 92 นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนกันอย่างสม่ำเสมอ

โครงการส่งเสริมด้านการศึกษา (PTT Group Model School) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)

วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำในภาคการศึกษา และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศผ่านการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และวางแผนพัฒนาโรงเรียนร่วมกับผู้บริหารโรงเรียน

ประเภทโครงการ

โครงการส่งเสริมด้านการศึกษา (PTT Group Model School) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์ดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการ PTT Group Model School และ CONNEXT ED ในปี 2567 ดังนี้
1. โครงการเตรียมความพร้อมสู่ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) พื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การให้ความรู้แก่เยาวชนให้เข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) และสนับสนุนให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และ IoT ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศในอนาคต โดยมีโรงเรียนภายใต้โครงการ CONNEXT ED ของกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมกิจกรรม 2 แห่ง และมีครูผู้สอน 2 คน และนักเรียน 6 คน เข้าร่วมโครงการฯ
2. โครงการจิตอาสากลุ่มไทยออยล์ โดยนำพนักงานจิตอาสาไปบรรยายให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ และคลินิกฟุตบอล ฟุตซอล เทเบิลเทนนิส และวอลเลย์บอล ให้แก่นักเรียนในชุมชนรอบโรงกลั่น

โครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต

วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย และเป็นการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนในพื้นที่รอบแปลงปลูกป่า

ประเภทโครงการ

โครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์ดำเนินโครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต จำนวน 8,656.22 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น
1.  การปลูกป่า จำนวน 8,300 ไร่ในจังหวัดแพร่ ร่วมกับกรมป่าไม้
2. การปลูกป่าชายเลน จำนวน 356.22 ไร่ในจังหวัดตรังและจังหวัดชลบุรี ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ซึ่งคาดว่า จะสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 88,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี และช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพจากการคัดเลือกชนิดไม้พื้นถิ่นเข้ามาปลูกเพิ่มเติมในพื้นที่แปลงปลูกป่า

ทั้งนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้สนับสนุนการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 4 แห่ง เพื่อดำเนินการปลูกและบำรุงรักษาป่า ซึ่งจะช่วยกระจายรายได้และสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งยังให้การสนับสนุนองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ผืนป่า นอกจากนั้น ยังมีการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการต่อยอดอาชีพ ตลอดจนให้การสนับสนุนด้านการศึกษา ด้านสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย

โครงการ Thaioil CE WE GO รณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน

วัตถุประสงค์

เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงานและสร้างนิสัยที่ดีในการอยู่ร่วมกันในองค์กร

ประเภทโครงการ

โครงการ Thaioil CE WE GO รณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน 

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้ โครงการ Thaioil CE WE GO ในปี 2567 ดังนี้

1. จัดอบรมการฝึกอบรมสำนักงานสีเขียว (Green Office) สำหรับพื้นที่อาคารออดิทอเรียม และศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชน จำนวน 2 ครั้ง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขึ้นทะเบียนโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) กับกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2568 ให้กับศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชน และอาคารออดิทอเรียม โรงกลั่นไทยออยล์
2. จัดกิจกรรมนำผู้แทนครัวเรือนนำร่อง 10 ครัวเรือนและคณะกรรมการชุมชนบ้านนาเก่าไปเยี่ยมชมการดำเนินโครงการชุมชนต้นแบบการจัดการขยะในจังหวัดระยอง

โครงการไทยออยล์ สร้างเยาวชนรักษ์โลก (Thaioil CE School Model)

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy: CE) และสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องให้แก่ชุมชนและสังคม

ประเภทโครงการ

โครงการไทยออยล์ สร้างเยาวชนรักษ์โลก (Thaioil CE School Model)

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์จัดกิจกรรมสร้างเสริมองค์ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการของเสียและการจัดการระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาในโรงเรียน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบุญจิตวิทยา โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 และโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง – เช็ง พรประภา) จังหวัดชลบุรี ผ่านกิจกรรมการจัดการของเสีย 4 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร การรีไซเคิลน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และการแปลงขยะเป็นรายได้ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2565 – เดือนตุลาคม 2567 พบว่า โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีปริมาณขยะรีไซเคิลรวม 12,240.24 กิโลกรัม หรือคิดเป็นปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 27,725 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนั้น ยังมีการติดตามผลการดำเนินโครงการฯ และนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการทำกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย

โครงการ "Waste To Value” เปลี่ยนขยะให้มีคุณค่า

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความตระหนักถึงการคัดแยกขยะและรีไซเคิลให้แก่นักเรียน เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อม และ สนับสนุนการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดและยั่งยืน

ประเภทโครงการ

โครงการ “Waste To Value” เปลี่ยนขยะให้มีคุณค่า

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์ต่อยอดจากกิจกรรม “Thaioil Run For the Green Future 2024” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เพื่อลดขยะพลาสติกในโรงเรียน และสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้เยาวชน โดยบริษัทฯได้ส่งมอบอุปกรณ์คัดแยกขวดน้ำพลาสติกให้โรงเรียนในพื้นที่แหลมฉบังจำนวน 8 แห่ง จากนั้น โรงเรียนจะส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคัดแยกและรีไซเคิลขยะพลาสติก เพื่อนำส่งให้บริษัทฯ นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ซึ่งนักเรียนสามารถนำขวดพลาสติกดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์การเรียนและของใช้ที่เป็นประโยชน์ เช่น ถุงเท้า อุปกรณ์การเรียน ชุดกีฬา อุปกรณ์ทำความสะอาด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองและโรงเรียนอีกทางหนึ่งด้วย

โครงการเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม TOP GREEN X ชุบชีวิตใหม่ให้น้องขยะ

วัตถุประสงค์

เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบของขยะพลาสติกที่มีต่อธรรมชาติและระบบนิเวศ และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการลด ละ เลิกการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียว

ประเภทโครงการ

โครงการเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม TOP GREEN X ชุบชีวิตใหม่ให้น้องขยะ

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จัดกิจกรรมแปรรูปขยะเป็นไม้กวาด ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ลักษณะของขยะแต่ละประเภท และร่วมประดิษฐ์ไม้กวาดจากขวดพลาสติก เพื่อสร้างเสริมจิตสำนึกอันดีในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 70 คน

โครงการสนับสนุนกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มประมง

วัตถุประสงค์

เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์

ประเภทโครงการ

โครงการสนับสนุนกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มประมง

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์ร่วมสนับสนุนการปล่อยพันธุ์สัตว์ทะเลของกลุ่มประมงที่อยู่อาศัยในชุมชนบ้านอ่าวอุดม เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์ทะเลและความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเล เพื่อสร้างสมดุลทางทะเลในเขตอ่าวอุดม โดยในปี 2567 บริษัทฯ ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ อาทิ พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กุ้งขาว ลูกปูม้า หมึก ในเทศกาลที่สำคัญต่างๆ พร้อมทั้งร่วมเก็บขยะบริเวณชายหาดชุมชนติดชายฝั่งทะเลอีกด้วย

โครงการด้านการศึกษา

วัตถุประสงค์

เพื่อสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบังและอำเภอศรีราชา และสนับสนุนเยาวชนให้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองและสังคม เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต

ประเภทโครงการ

โครงการด้านการศึกษา

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาที่มีความประพฤติดี ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 252 ทุน และกองทุนกลุ่มไทยออยล์เพื่อสถาบันการศึกษาให้แก่สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังและอำเภอศรีราชา จำนวน 11 กองทุน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,900,000 บาท ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กลุ่มไทยออยล์มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี

โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมศักยภาพชุมชน ด้วยการสร้างอาชีพให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่ศรีราชา ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชน

ประเภทโครงการ

โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์ดำเนินโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในปี 2567 ดังนี้

1. ร่วมมือกับคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐาน และร่วมกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เพื่อจัดนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์เทียนหอม โดยมุ่งเน้นการนำเสนอขั้นตอนการพัฒนาและคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงศักยภาพทางด้านนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
2. จัดหลักสูตรทำเทียนหอมสำหรับจัดชุดของชำร่วย โดยใช้สแลคแว็กซ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มไทยออยล์ มาเป็นวัตถุดิบ นอกจากนั้น ยังมีการจัดหลักสูตรผู้ประกอบการยุค 2024 ประกอบด้วยหลักสูตรทำเหรียญโปรยทาน และหลักสูตรสลายเศษด้วยถัง สลายมันด้วยฟอง ซึ่งเป็นการผลิตน้ำยาล้างและทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนรอบโรงกลั่น ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน

โครงการเดิน - วิ่ง 1 แสนกิโล

วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชุมชนออกกำลังกายด้วยการเดิน – วิ่ง เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และได้รับองค์ความรู้ด้านสุขภาพใหม่ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองและครอบครัว

ประเภทโครงการ

โครงการเดิน – วิ่ง 1 แสนกิโล

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์เชิญชวนประชาชนในชุมชนรอบโรงกลั่นมาออกกำลังกายด้วยการเดิน – วิ่งและร่วมกันสะสมระยะทาง โดยการบันทึกข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน “นับก้าว” ให้ได้ระยะทางรวม 100,000 กิโลเมตร โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 175 คน และมีการนัดหมายเพื่อติดตามผลที่ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชนรวม 2 ครั้ง

โรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพรอบกลุ่มไทยออยล์

วัตถุประสงค์

เพื่อส่งเสริมสุขภาพในช่องปากของนักเรียน

ประเภทโครงการ

โรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพรอบกลุ่มไทยออยล์

การดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์ให้บริการทันตกรรม ตรวจสุขภาพช่องปาก อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรซ์ ขูดหินปูน และส่งเสริมป้องกันฟันผุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพในช่องปากให้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 4,520 รายที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนรอบโรงกลั่นทั้ง 8 แห่ง

โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

วัตถุประสงค์

เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ร่วมกับกลุ่ม ปตท

ความเป็นมาของโครงการ

กลุ่มไทยออยล์ได้ร่วมมือกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในการเตรียมความช่วยเหลือ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติต่างๆ ในประเทศ

กรอบการดําเนินงาน

1. ติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศ
2.ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ
3. ประสานงานกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่นอกเหนือจาก พื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ

ผลการดําเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์ได้ร่วมกับกลุ่ม ปตท. บรรจุและส่งมอบถุงยังชีพกว่า 20,800 ถุง ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม และยารักษาโรคที่จำเป็น ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดแพร่ น่าน สุโขทัย พะเยา พิษณุโลก หนองคาย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส

โครงการ “คุณริเริ่ม...เราเติมเต็ม ปี 4”

วัตถุประสงค์

ส่งเสริมค่านิยมให้พนักงานดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยจิตอาสาและส่งเสริมภาพลักษณ์การช่วยเหลือสังคม

ความเป็นมาโครงการ

พนักงานถือเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงานของบริษัทฯ ซึ่งมีการสั่งสมประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ขณะเดียวกัน ก็มีค่านิยม “วัฒนธรรมจิตอาสา” ที่ยึดถือปฏิบัติร่วมกันมาอย่างยาวนาน จึงก่อให้เกิดโครงการจิตอาสา “คุณริเริ่ม…เราเติมเต็ม” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เนื่องในวาระที่ไทยออยล์กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 60 ของการก่อตั้ง และมีการดำเนินการโครงการฯ ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 เพื่อสานต่อ “วัฒนธรรมจิตอาสา” ขององค์กร

กรอบการดำเนินงาน

1. ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการฯ ในช่วงระหว่างเดือน มี.ค. – ก.ค. 2567
2. เปิดโอกาสให้พนักงานดำเนินโครงการฯ ในช่วงระหว่างเดือน มี.ค. – ธ.ค. 2567
3. บริษัทฯ สนับสนุนงบประมาณสำหรับดำเนินกิจกรรมจิตอาสา 30,000 – 100,000 บาทต่อสายงาน

ผลการดำเนินงานในปี 2567

กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นที่จะกระตุ้นและปลูกฝังให้พนักงานมีจิตอาสาตามค่านิยมองค์กรหัวข้อ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” (Social Responsibility) จึงได้ดำเนินโครงการ “คุณริเริ่ม…เราเติมเต็ม” เพื่อเชิญชวนให้ผู้บริหาร พนักงานและพนักงานผู้รับเหมาเข้าร่วมกิจกรรมทำความดีเพื่อสังคมต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยในปี 2567 มีการดำเนินงานภายใต้แนวคิด “Team Spirit+” โดยให้ผู้บริหารระดับสูงเชิญชวนพนักงานและพนักงานผู้รับเหมาภายในสายงานร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญ และแรงกายแรงใจของตนเอง ซึ่งกลุ่มไทยออยล์จะสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,000 – 100,000 บาทต่อสายงาน เพื่อใช้เป็นค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินงาน โดยมีพนักงานเข้าร่วมงานทั้งหมด 30 ฝ่ายงาน ภายใต้งบประมาณรวม 1,000,000 บาท โดยนำงบประมาณไปใช้จัดกิจกรรม CSR ให้แก่โรงเรียน มูลนิธิการกุศล ชุมชน และอื่นๆ

โครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่หน่วยงานสาธารณสุขและสถานศึกษา (Sustainable Energy for Healthcare and Education)

วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับหน่วยงานสาธารณสุขและสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมให้การบริการแก่ประชาชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ความเป็นมาของโครงการ

กลุ่มไทยออยล์นำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม รวมถึงประสบการณ์ด้านการจัดการพลังงานมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่หน่วยงานสาธารณสุขและสถานศึกษา มาตั้งแต่ปี 2561 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานสาธารณสุขและสถานศึกษาเข้าถึงการใช้พลังงานทางเลือก ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า และนำผลประหยัดมาต่อยอดโครงการเพื่อสังคม ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

กรอบการดําเนินงาน

1. ศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่เป้าหมาย
2. จัดทำรายงานความเป็นไปได้ (Feasibility) และความคุ้มค่าทางการลงทุน ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ร่วมกับที่ปรึกษาโครงการฯ
3. ขออนุมัติการดำเนินโครงการและงบประมาณ
4. คัดเลือกผู้รับเหมาและดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่หน่วยงานสาธารณสุขและสถานศึกษาที่ผ่านการประเมิน
5. ส่งมอบโครงการฯ
6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอใบอนุญาต (ในกรณีที่เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)

ผลการดําเนินงานในปี 2567

ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 3 แห่ง และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 3 แห่งในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 94 กิโลวัตต์ ซึ่งสร้างผลประหยัดเป็นมูลค่ารวม 0.9 ล้านบาทต่อปี โดยนำผลประหยัดที่ได้จากค่ากระแสไฟฟ้าที่ลดลงไปจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ พัฒนาระบบงานบริการสุขภาพผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs รวมทั้งสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้ ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่า 51 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี

โครงการดำเนินการเกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล

วัตถุประสงค์

เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล รวมถึงฟื้นฟูธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ และ ความหลากหลายทางชีวภาพ

ความเป็นมาของโครงการ

ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล บริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล (SBM-2) บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพื่อลดผลกระทบให้แก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงฟื้นฟูธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

กรอบการดําเนินงาน

1. จัดตั้งคณะทำงานบริหารข้อร้องเรียน เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและเดือดร้อน
2. ลงพื้นที่เพื่อรับฟังความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบ
3. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาช่วยเหลือตามกรอบแนวทางที่เหมาะสมและเป็นธรรม และดำเนินการมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ
4. จัดตั้งคณะทำงานการฟื้นฟู เพื่อจัดทำแผนและขอบเขตการฟื้นฟูธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และความหลากหลายทางชีวภาพ

ผลการดําเนินงานในปี 2567

ภายหลังจากการปิดรับคำร้องของผู้ได้รับผลกระทบ ปรากฏว่า มีผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 905 ราย โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบไปแล้วกว่าร้อยละ 80 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 58 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานการฟื้นฟูขึ้น เพื่อจัดทำแผนและขอบเขตการฟื้นฟูธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยดำเนินการรวบรวมความคิดเห็นจากนักวิชาการ หน่วยงานราชการ ผู้ได้รับผลกระทบ องค์กรอิสระ และ NGO กลุ่มต่างๆ รวมถึงการประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้ อยู่ในระหว่างการวางแผนงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการดำเนินการต่อไป

โครงการสร้างเด็กแหลมฉบังเป็นแชมป์กระโดดเชือก

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้เยาวชนได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพแข็งแรง เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจในอนาคต
2. ส่งเสริมให้เยาวชนออกกำลังกายด้วยกีฬากระโดดเชือก เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์

ความเป็นมาของโครงการ

กลุ่มไทยออยล์ดำเนินโครงการสร้างเด็กแหลมฉบังเป็นแชมป์กระโดดเชือก ได้ร่วมกับมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชชูปถัมภ์ เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบังทั้ง 8 โรงเรียนออกกำลังกายด้วยกีฬากระโดดเชือก มาตั้งแต่ปี 2554 ทั้งนี้ ภายหลังได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานกับสมาคมกีฬาจัมพ์โร้ปไทย เพื่อสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนและเทศบาลนครแหลมฉบัง

กรอบการดําเนินงาน

1. จัดประชุมร่วมกับผู้อำนวยการและคุณครูผู้ฝึกสอนกีฬาพลศึกษาของโรงเรียนรอบโรงกลั่นทั้ง 8 แห่งในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ประกอบด้วยโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนวัดแหลมฉบัง โรงเรียนบ้านชากยายจีน โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 โรงเรียนวัดบ้านนา (ฟินวิทยาคม) และโรงเรียนบุญจิตวิทยา
2. วางแผนโครงการ พร้อมขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินการ
3. ดำเนินการจัดค่ายฝึกทักษะพัฒนาศักยภาพนักกีฬากระโดดเชือก เพื่อคัดเลือกนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานระดับประเทศ
4. สร้างนักกีฬาหน้าใหม่ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระโดดเชือก ซึ่งช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงให้กับเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง

ผลการดําเนินงานในปี 2567

1. นักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทานประเภทมือใหม่ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 เมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ณ ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเหรียญทองจำนวน 4 เหรียญ เหรียญเงินจำนวน 10 เหรียญ และเหรียญทองแดงจำนวน 4 เหรียญ นอกจากนั้น โรงเรียนบุญจิตวิทยายังได้รับถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จำนวน 4 ถ้วย และมีคะแนนรวมสูงสุดเป็นอันดับที่ 2
2. โครงการพัฒนาทักษะนักกีฬาสู่แชมป์กระโดดเชือก ประจำปี 2567 เพื่อคัดเลือกและฝึกซ้อมนักกีฬากระโดดเชือกจากโรงเรียนรอบโรงกลั่น 8 แห่งที่จะเข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานระดับประเทศ
3. นักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 ณ สนามยิมเนเซียม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เพื่อให้เยาวชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสนับสนุนการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยกิจกรรมนี้มีเยาวชนเข้าร่วมกว่า 60 คน
4. นักกีฬากระโดดเชือกแหลมฉบังได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระโดดเชือก Jump Rope China Open 2024 ณ เมืองหูเป่ย (Huaibei) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งนักกีฬาตัวแทนชาวแหลมฉบังได้คว้าเหรียญทองมาได้ 2 รายการ เหรียญเงิน 1 รายการ และเหรียญทองแดง 4 รายการ ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและเทศบาลนครแหลมฉบัง

การรับมือต่อสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19

  •  การดำเนินการตามแผนการเฝ้าระวังติดตามและแผนเผชิญเหตุรองรับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 0 ไม่พบผู้ติดเชื้อ เน้นการป้องกันและเฝ้าระวัง ระยะที่ 1 พบผู้ต้องสงสัยหรือผู้ติดเชื้อในกลุ่มไทยออยล์ แต่ไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เน้นการควบคุมและป้องกันการแพร่กระจาย และระยะที่ 2 พบผู้ติดเชื้อจำนวนมากในกลุ่มไทยออยล์ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ เน้นการกอบกู้สถานการณ์และการฟื้นฟู ต้องเปิดศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉินและความต่อเนื่องทางธุรกิจ

การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย

  • การพัฒนาความรู้ ความสามารถและทักษะของพนักงานและผู้รับเหมา ผ่านศูนย์ฝึกอบรมความปลอดภัยที่มีความพร้อมทั้งภาคทฤษฎี (Theory) และภาคปฏิบัติ (Practice) และประเมินความรู้ความสามารถของพนักงานและผู้รับเหมาที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย ตามระบบใบอนุญาตในการทำงานต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา และการจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤตตามบทบาทหน้าที่ ผ่านกระบวนการ Competency Assurance System
  • การยกระดับวัฒนธรรมความปลอดภัยในการทำงาน ด้วย Behavior Based Safety (BBS) โดยได้ทำการฝึกอบรมหลักสูตร BBS ให้กับพนักงานกลุ่มเป้าหมาย (Train for the Trainer) เพื่อนำไปถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างให้กับพนักงานและพนักงานผู้รับเหมาสำหรับใช้สังเกตพฤติกรรมในการทำงานและสั่งหยุดงานเมื่อพบว่าไม่ปลอดภัย
  • การจัดให้การฝึกอบรมหลักสูตรการขออนุญาตในการทำงาน (Permit to Work System and Clearance Certificate Signatory) สำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ในระบบใบอนุญาตในการทำงาน
  • การจัดโครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุจากการทำงาน (30-60-90 Days with No Harm No Leak) อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเน้นย้ำและกระตุ้นให้พนักงานและผู้รับเหมาเกิดความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างเข้มข้น โดยมีเป้าหมาย คือ ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการทำงานถึงขั้นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลทางการแพทย์ (Medical Treatment Case: MTC)
  • การจัดกิจกรรม Thaioil Group QSHE Day ประจำปี 2566 เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยฯ ของพนักงานและผู้รับเหมา โดยการมอบโล่และเกียรติบัตรให้แก่ผู้ที่มีผลการดำเนินงานดีเด่นด้าน QSHE ประจำปี 2566 และจัดบูธนิทรรศการ เพื่อให้ความรู้และเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยฯ ให้กับพนักงานและผู้รับเหมา
  • การปรับปรุงกฎความปลอดภัยพื้นฐาน 12 ข้อ (12 Life Saving Rules) โดยนำวิถีอันตราย (Line of Fire) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกฎความปลอดภัยพื้นฐาน ตามแนวทางการปฏิบัติของกลุ่มธุรกิจน้ำมันและก๊าซของ IOGP
  • การรณรงค์และเสริมสร้างการตระหนักถึงอันตราย ได้แก่ วิถีอันตราย และการปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยพื้นฐาน 12 ข้อ อย่างเคร่งครัด พร้อมทั้งรณรงค์ให้มีการเขียนรายงาน Potential Incident Report (PIR) โดยมุ่งเน้นถึงการกระทำที่ไม่ปลอดภัย (Unsafe Act) และสภาพการณ์ที่มีศักยภาพจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ (Unsafe Condition) ซึ่งเป็นมาตรการป้องกันก่อนเกิดเหตุ
  • การจัดทำตารางการอบรมความปลอดภัยในการทำงานของผู้รับเหมา (Contractor Training Matrix) เพื่อให้มั่นใจว่าผู้รับเหมาที่เข้ามาปฏิบัติงานในพื้นที่กลุ่มไทยออยล์มีความรู้ความสามารถที่เหมาะสมกับตำแหน่งงาน 
  • การจัดฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานสำหรับพนักงานและผู้รับเหมารายใหม่ เพื่อสร้างความตระหนักถึงอันตรายและความเสี่ยงขั้นพื้นฐานของการปฏิบัติงานในพื้นที่กลุ่มไทยออยล์ รวมถึงรู้และเข้าใจมาตรการด้านความปลอดภัยที่กำหนดขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงในกิจกรรมการทำงาน เช่น หลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน (Basic Safety in Refinery) หลักสูตรดับเพลิงขั้นต้น (Basic Firefighting) หลักสูตรความปลอดภัยในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ (Confined Space) และหลักสูตรการปฐมพยาบาล (First Aid) เป็นต้น
  • การอบรมหลักสูตรด้านความปลอดภัยเฉพาะ สำหรับพนักงานและผู้รับเหมา เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัยและสอดคล้องตามข้อกำหนด เช่น หลักสูตรผู้อนุมัติใบรับรองความปลอดภัย (Authorized Engineer (AE)/ Authorized Gas Safety Inspector (AGSI) Course) หลักสูตรผู้อนุมัติใบอนุญาตทำงาน (Clearance Certificate Signatory) หลักสูตรผู้ตรวจวัดแก๊ส (Authorized Gas Tester) หลักสูตรความปลอดภัยเกี่ยวกับไฟฟ้า เป็นต้น
  • กลุ่มไทยออยล์ยังคงให้ความสำคัญกับกลยุทธ์เชิงรุกโดยการยกระดับกิจกรรม Management Walk and Talk เป็น GEMBA Walk โดยผู้บริหารระดับสูง ดำเนินการตรวจสอบด้วยการพูดคุยสอบถามถึงกิจกรรมสำคัญ โดยใช้ชุดคำถามที่มีความเฉพาะ มุ่งเน้นการสร้างความเข้าใจ แนะนำวิธีปฏิบัติที่ปลอดภัยในกิจกรรมที่มีความเสี่ยงทั้งด้านความปลอดภัยส่วนบุคคลและความปลอดภัยในกระบวนการผลิต และดำเนินกิจกรรม QSHE Roll Out อย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นการเข้าถึง รวมถึงการรณรงค์ส่งเสริมจิตสำนึกด้านคุณภาพความมั่นคง ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมของผู้ปฏิบัติงานหรือภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน เพื่อขยายขอบเขตให้ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติงานและการมีส่วนร่วมของผู้ปฏิบัติงานภายใต้กิจกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ณ ขณะนั้น อีกทั้ง กลุ่มไทยออยล์ยังนำระบบการจัดการต่างๆ ที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป และมีการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ข้างต้นให้ผู้บริหารได้รับทราบและร่วมหาแนวทางการแก้ไขเป็นประจำ รวมถึงจะมีกระบวนการทบทวน (Management Review) เป็นประจำทุกปี เพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงและจัดทำแผนงานประจำปีต่อไป พร้อมทั้งมีการสื่อสารให้พนักงานรับทราบเป็นระยะ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่มีประสิทธิผลต่อไป

การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย

  • การทบทวนระบบใบอนุญาตในการทำงาน (Permit to Work System) โดยเฉพาะใบอนุญาตที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อนหรือประกายไฟ (Hot Work) รวมถึงรายการตรวจสอบ (Checklist) ที่เกี่ยวข้อง ให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในระดับสากล
  • จากการประเมินระดับวัฒนธรรมความปลอดภัย ในปี 2565 ผลการประเมินที่ 4.16 คะแนนจากคะแนนเต็ม 5.00 คะแนน ซึ่งนำมาด้วยแผนงานพัฒนาวัฒนธรรมความปลอดภัย ในปี 2566 ทางบริษัทฯ ได้ดำเนินการตามแผนงานที่ระบุไว้เพื่อให้พนักงานและผู้รับเหมามีความตระหนักและให้องค์กรก้าวเข้าสู่องค์กรที่ปราศจากอุบัติเหตุ
  • การตรวจสอบระบบใบอนุญาต (Permit to Work Inspection) โดยพนักงานเจ้าของพื้นที่ (Area Operation) และทีมตรวจสอบความปลอดภัย (Safety Audit Team) เพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติสอดคล้องตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในใบอนุญาตให้ทำงานอย่างต่อเนื่อง
  • การจัดทำการ์ดมอบอำนาจสิทธิในการสั่งหยุดงาน (Stop Work Authority) ให้กับพนักงานและพนักงานผู้รับเหมาทุกคน เมื่อพบว่าพื้นที่ปฏิบัติงานมีสภาพการณ์หรือสภาวะที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพและความปลอดภัยต่อตนเองและเพื่อนร่วมงาน ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือทรัพย์สินของกลุ่มไทยออยล์ โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เพื่อเป็นการแสดงความมุ่งมั่นและเน้นย้ำถึงการป้องกันและแก้ไขก่อนเกิดอุบัติเหตุหรืออุบัติการณ์
  • การประเมินดัชนีชี้วัดสมรรถนะด้านสุขภาพ (Health Performance Indicators) ตามหลักเกณฑ์และแนวทางของ International Association of Oil and Gas Producers (IOGP) ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล โดยได้รับคะแนนการประเมินในปี 2566 ที่ 3.85 คะแนน จากคะแนนเต็ม 4.00 คะแนน พร้อมจัดทำแผนงานพัฒนาและยกระดับระบบการบริหารจัดการให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดของ IOGP ต่อไป
  • การยกระดับการบริหารจัดการความปลอดภัยผู้รับเหมา (Contractor Safety Management) ให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในระดับสากล มีการตรวจประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยประจำปีของบริษัทผู้รับเหมา โดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอก (Third Party) ทั้งในส่วนของระบบบริหารจัดการและการปฏิบัติงานในพื้นที่ สำหรับใช้ในการแบ่งระดับผู้รับเหมา (Contractor Banding) เป็นสีเขียว สีเหลือง และสีแดง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาการดำเนินธุรกิจร่วมกันอย่างต่อเนื่อง กรณีที่บริษัทผู้รับเหมา มีผลการประเมินฯ ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (สีเหลือง หรือ สีแดง) จะเปิดโอกาสให้ผู้รับเหมานำเสนอแผนงานและทำการปรับปรุงแก้ไขประเด็นปัญหาให้สอดคล้องตามข้อกำหนดและตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ปรับปรุงเอกสารการประเมินผลด้านเทคนิคของความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมสำหรับการประมูลผู้รับเหมา (Contract SSHE Bidding and Close Out Evaluation)
  • การทบทวนวิธีปฏิบัติงานที่ปลอดภัย สำหรับกิจกรรมหรืองานที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ งานยกของหนักโดยปั้นจั่น งานนั่งร้าน งานที่ต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าภายในเขตพื้นที่โรงกลั่น เป็นต้น และทำการฝึกอบรมและสื่อสารให้กับพนักงานและผู้รับเหมาที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องตามข้อกำหนดอย่างครบถ้วน
  • การยกระดับการแจ้งเตือนสถานการณ์ผิดปกติหรือฉุกเฉินสำหรับผู้อยู่เวรคอยเหตุฉุกเฉินและผู้เกี่ยวข้อง ด้วยระบบ SMS เพื่อให้ผู้อยู่เวรคอยเหตุฉุกเฉินทราบถึงเหตุการณ์อย่างรวดเร็ว และสามารถเข้ามาสนับสนุนการระงับเหตุได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
  • การยกระดับการแจ้งเตือนสถานการณ์ผิดปกติกรณีเกิดฝนฟ้าคะนองในรัศมี 5 กิโลเมตร เพื่อเป็นการแจ้งเตือนให้พนักงานทราบและดำเนินการตามมาตรการความปลอดภัยที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งเป็นการแจ้งเตือนเพื่อเตรียมความพร้อมของทีมระงับเหตุฉุกเฉิน กรณีเกิดไฟไหม้ที่บริเวณขอบถังน้ำมันชนิดหลังคาลอย (Rim Seal Fire)
  • การทบทวนแผนเผชิญเหตุล่วงหน้า (Pre Incident Plan) ระดับที่ 1 และระดับที่ 2 ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และมาตรฐานสากล รวมถึงการฝึกซ้อมตามแผนที่กำหนด เพื่อเป็นการซักซ้อมการรับมือเหตุฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีนี้มีการจัดทำแผนเผชิญเหตุล่วงหน้า ระดับที่ 2 เพิ่มเติม เพื่อรองรับหน่วยผลิตใหม่ของโครงการ CFP
  • การทบทวนคู่มือการบริหารจัดการเหตุฉุกเฉินและภาวะวิกฤติ (Emergency and Crisis Management Manual) และการวางแผนเผชิญเหตุล่วงหน้าให้ครอบคลุมเหตุฉุกเฉินด้านสิ่งแวดล้อมและชุมชุน เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับโครงการ CFP ที่จะทำการ Commissioning และ Start up ในอนาคต

​การประเมินความเสี่ยงด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

  • การทบทวนการบ่งชี้และประเมินความเสี่ยงและอันตรายที่มีศักยภาพจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง พร้อมทั้งกำหนดมาตรการควบคุมและป้องกัน และมีการตรวจติดตามประสิทธิผลของมาตรการควบคุมและป้องกันอย่างต่อเนื่อง การตรวจสอบความปลอดภัย การวิเคราะห์ รวมถึงเสนอแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำโดยพนักงานและผู้รับเหมา ทั้งนี้ ผู้บริหารจะมีการทบทวนและตรวจสอบผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยเป็นประจำทุกเดือน
  • การประเมินความเสี่ยงและอันตรายร้ายแรง และทบทวนมาตรการควบคุมและป้องกันด้านความปลอดภัย โดยกำหนดแผนและมาตรการความมั่นคงและความปลอดภัยเชิงป้องกันในระดับต่างๆ (Defense in Depth) ให้ครอบคลุมความเสี่ยงและอันตรายร้ายแรง โดยเฉพาะการรั่วไหลของสารเคมี โดยมีการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินในระดับต่างๆ และต่อยอดการฝึกซ้อมแผนฉุกเฉินไปสู่ระดับการบริหารจัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management) ร่วมกับหน่วยงานภายนอกและหน่วยงานราชการในพื้นที่ เพื่อป้องกันและลดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ รวมถึงเพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มไทยออยล์ยังคงบริหารจัดการและควบคุมความเสี่ยงร้ายแรงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ตลอดเวลา
  • การทบทวนบัญชีอุบัติเหตุที่มีศักยภาพก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรง (Major Accident Event) ให้สอดคล้องกับความเสี่ยง และการทบทวนและฝึกซ้อมตามแผนฉุกเฉินและภาวะวิกฤต รวมถึงแผนเผชิญเหตุล่วงหน้าให้สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในระดับสากล (International Best Practice) ตลอดจนปรับปรุงศูนย์ควบคุมเหตุฉุกเฉิน (Emergency Control Center) ให้ทันสมัยและพร้อมใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การทบทวนวิธีปฏิบัติการบริหารจัดการอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ให้ครอบคลุมอุบัติการณ์ทุกประเภท ได้แก่ การบาดเจ็บจากการทำงาน โรคหรือการเจ็บป่วยจากการประกอบอาชีพ เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุและอุบัติการณ์อื่นๆ รวมถึงอุบัติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในกระบวนการผลิต มีการประเมินระดับความรุนแรงและความเสี่ยง โดยใช้ตารางการประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment Matrix) เพื่อกำหนดทีมสอบสวนฯ และวิธีการสอบสวนฯ ที่เหมาะสมตามระดับความรุนแรงและความเสี่ยงของอุบัติการณ์นั้น และต้องระบุสาเหตุที่แท้จริง พร้อมกำหนดมาตรการแก้ไขและป้องกันที่เหมาะสมเพื่อป้องกันการเกิดซ้ำ

การขับเคลื่อนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ (O2Bx)

  • การปรับแผนกลยุทธ์เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ (O2Bx) เพื่อเตรียมพร้อมที่จะขับเคลื่อนโรงกลั่นชั้นนำระดับโลก และปรับเป้าหมายความปลอดภัยระดับองค์กรให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ใหม่ดังกล่าว คือ No Harm, No Leak, Goal Zero
  • การทบทวนแผนงาน 5 ปี ด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย การจัดการเหตุฉุกเฉินและวิกฤตให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก ความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงแผนกลยุทธ์และเป้าหมายระดับองค์กรใหม่
  • การมอบหมายให้ผู้บริหารระดับสูงนำเสนอกรณีศึกษาและประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความปลอดภัยทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบเป็นประจำทุกเดือน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและปรับปรุงมาตรการด้านความปลอดภัยของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
  • การเยี่ยมผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะผู้บริหารระดับสูง ทั้งในระหว่างการปฏิบัติงานตามปกติ การหยุดซ่อมบำรุงหน่วยผลิต และงานโครงการก่อสร้าง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นและสนับสนุนความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงเป็นตัวอย่างที่ดีด้านภาวะผู้นำความปลอดภัย

SMILE Activity

Working with the right to health

Working with the right to health: กลุ่มไทยออยล์บริหารจัดการและป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และมีมาตรการการดูแลรักษาพนักงานอย่างต่อเนื่องจนหายป่วย และสามารกลับเข้าทำงานได้อย่างปลอดภัย (Return to work) โดยกำหนดมาตรการและนโยบายที่สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของภาครัฐ พร้อมสร้างความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พนักงาน ผู้รับเหมา คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มไทยออยล์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งมีการกำหนดนโยบายการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home Policy) เพื่อให้พนักงานมีสิทธิในการเลือกรูปแบบการทำงานที่เหมาะสมกับตน
นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้จัดทำนโยบายสนับสนุนพนักงานกลุ่มไทยออยล์ “People First for Employee Support Policy” เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและให้ความช่วยเหลือแก่พนักงาน ครอบครัวพนักงาน และสมาชิกชมรมพนักงานเกษียณกลุ่มไทยออยล์ ที่เผชิญกับอุปสรรคทั้งด้านการเงิน กฎหมาย สุขภาพกาย สุขภาพใจ แอลกอฮอล์ หรือยาเสพติด ปัญหาการสมรส ความเจ็บป่วย ของสมาชิกในครอบครัว การดูแลบุตร ฯลฯ ทั้งในรูปแบบของสิทธิประโยชน์สวัสดิการ และมิใช่สวัสดิการ ตลอด 24 ชั่วโมงของทุกวัน

Improving mental health care

Improving mental health care: โครงการ 5 สุข เพื่อยกระดับการดูแลสุขภาวะของพนักงานวิถีใหม่ (New Normal Work Life) และเพื่อให้พนักงานได้เข้าใจสิทธิที่พนักงานควรได้รับทั้งการดูแลพนักงานรวมถึงพนักงานที่เกษียณอายุในทุกด้านผ่าน โครงการ 5 สุขของกลุ่มไทยออยล์ ได้แก่

Ensuring education for all

Ensuring education for all: การให้ความรู้และสร้างความตระหนักด้านสิทธิมนุษยชน สำหรับพนักงานผ่าน Human Rights E-learning ใน “Thaioil Academy Application” และสำหรับผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ผ่านการจัดกิจกรรมการบรรยายเพื่อยกระดับความรู้ความเข้าใจด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่คู่ค้าอย่างต่อเนื่อง ในงานสัมนาคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ ประจำปี 2566 (Supplier Seminar 2023) ณ หอประชุมไทยออยล์ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี อีกทั้งการสร้างความตระหนักรู้ผ่านการยอมรับแนวปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (Supplier Code of Conduct) เป็นต้น

การร่วมมือกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ร่วมจัดงาน PTT Group CG Day 2023 ภายใต้แนวคิด “Good to Great : CG Empowering for the Future"

การร่วมมือกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ร่วมจัดงาน PTT Group CG Day 2023 ภายใต้แนวคิด “Good to Great : CG Empowering for the Future ผสานพลังร่วม รวมพลังสร้าง สู่อนาคตยั่งยืน” ผ่านการจัดงานในรูปแบบ Hybrid เพื่อส่งเสริม เผยแพร่การดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของกลุ่ม ปตท. และเน้นย้ำให้บุคลากรทุกระดับในกลุ่ม ปตท. นำหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาใช้ในการปฏิบัติงาน โดยมีคณะกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน ตัวแทนบริษัทคู่ค้า และแขกรับเชิญจากหน่วยงานกำกับฯ เช่น ตัวแทนจากมูลนิธิต่อต้านการทุจริต สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าร่วมงานกว่า 400 คน รวมทั้งมีการเชิญคู่ค้า ลูกค้า และพนักงานเข้าร่วมชมการถ่ายทอดสดผ่านเว็บไซต์ของงานอีกด้วย

การจัดทำการสำรวจวัฒนธรรมองค์กรด้านการบูรณาการ GRC

การจัดทำการสำรวจวัฒนธรรมองค์กรด้านการบูรณาการ GRC (GRC Culture Survey) ประจำปี 2566 เพื่อประเมินวัฒนธรรมองค์กรด้านการบูรณาการการดำเนินงานด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน และการปฏิบัติตามกฎหมายกฎระเบียบและข้อบังคับ (GRC) ในภาพรวม โดยผลการสำรวจที่ได้รับจะถูกนำมาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนงานเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร และเพิ่มประสิทธิภาพด้านการกำกับดูแลกิจการอย่างเหมาะสมต่อไป

การสื่อสารให้ข้อมูลหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

การสื่อสารให้ข้อมูลหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจ และการต่อต้านการทุจริต ผ่านช่องทางการสื่อสารภายในบริษัทฯ อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี เช่น คอลัมน์ GRC Corner ในวารสารอัคนี (วารสารภายในองค์กร) GRC Newsletter รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง

การสื่อสารนโยบายงดรับของขวัญ (No Gift Policy)

การสื่อสารนโยบายงดรับของขวัญ (No Gift Policy) ให้พนักงานทุกคนรับทราบผ่านช่องทางสื่อสารภายในองค์กร ในหลากหลายรูปแบบ เช่น คลิปวีดิโอ E-newsletter เป็นต้นตลอดจนการจัดส่ง “หนังสือขอความร่วมมืองดมอบของขวัญหรือของกำนัลแก่ผู้บริหารและพนักงานของกลุ่มไทยออยล์” แก่คู่ค้า ลูกค้า สถาบันการเงิน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ เพื่อหลีกเลี่ยงและป้องกันเหตุปัจจัยที่อาจนำไปสู่การกระทำที่ขัดต่อนโยบายการต่อต้านทุจริต

การปรับปรุงสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-learning)

การปรับปรุงสื่อการเรียนรู้อิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) ได้แก่ CG Orientation E-learning สำหรับพนักงานใหม่ ประกอบด้วยหัวข้อหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และการต่อต้านการทุจริต และ Anti-Fraud E-learning สำหรับพนักงานปัจจุบัน เพื่อให้ความรู้ที่มาของการเกิดทุจริต และแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดการทุจริตภายในองค์กร

การจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้

การจัดกิจกรรมเพื่อให้ความรู้ และส่งเสริมพฤติกรรมการปฏิบัติงานที่โปร่งใส เป็นธรรม ตลอดปี 2566 เช่น กิจกรรม Compliance & CG Talk หัวข้อ การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย บรรยายโดย นิติกรชำนาญการพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กิจกรรม Law Focus หัวข้อ การป้องกันการฟอกเงินและต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย บรรยายโดยผู้บริหารจากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM Bank) กิจกรรม GRC in Action บริเวณหน้างาน CEO Townhall ประจำไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 4 กิจกรรม Good to Great CG Contest เชิญชวนแบ่งปันวิธีการทำงานที่ส่งเสริมแนวทาง CG ในแบบของคุณ เป็นต้น

SAP ECC

ปรับปรุงซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ที่บริษัทฯ ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน หรือ ที่เรียกว่า SAP ECC ให้ยังคงสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงระบบ ERP ไปสู่ SAP S/4 HANA ในปี พ.ศ. 2570 (ค.ศ. 2027)

Prominence Enhancement

พัฒนาระบบที่ใช้เก็บข้อมูลการขายผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของกลุ่มไทยออยล์ โดยมีข้อมูลในหลายแง่มุม เช่น ประเภทคู่ค้า ราคา ปริมาณการซื้อขาย ช่วงเวลาการซื้อขาย รูปแบบการชำระเงิน เป็นต้น ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์โครงสร้างราคา และช่วยในการตัดสินใจสำหรับการกำหนดรูปแบบการซื้อขายที่เหมาะสมกับคู่ค้าแต่ละราย เพิ่มโอกาสในการสร้างผลกำไรที่มากขึ้น ตามแต่ละสถานการณ์ของตลาดที่มีความผันผวน

Predictive Maintenance Analytics

พัฒนาระบบประมวลผลข้อมูลการซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรที่สำคัญในกระบวนการผลิตของกลุ่มไทยออยล์ เพื่อใช้ทำนายโอกาสที่อุปกรณ์เครื่องจักรเหล่านั้นจะเกิดความเสียหายและหาทางป้องกันล่วงหน้า เพื่อไม่ไห้เกิดเหตุการณ์ Unplan Shutdown และ Unplan Maintenance ต่างๆ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้

JSKem Pte Ltd & TOPNEXT India Private Limited

JSKem Pte Ltd & TOPNEXT India Private Limited

www.jskem.com.sg 

TOPNEXT ได้ซื้อหุ้นจำนวน 60% ในJSKEM เพื่อขยายธุรกิจด้านจัดจำหน่ายสารทำละลายและเคมีภัณฑ์ในประเทศสิงคโปร์ และอินเดีย ก่อตั้งเมื่อปี 2021

PT. Tirta Surya Raya

PT. Tirta Surya Raya

TOPNEXT (TX)  ได้ซื้อหุ้นจำนวน 67% ใน PT. Tirta Surya Raya ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2019 เป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายสารทำละลายและเคมีภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Tangerang ประเทศอินโดนีเซีย

TOP Solvent Myanmar

TOP Solvent Myanmar

TOP Solvent Myanmar (TSMM) ปี พ.ศ.2560 บริษัทฯได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทน ในประเทศเมียนมา ภายใต้ชื่อ TOP Solvent Company Limited (Myanmar Representative Office) เป็นตัวแทนบริษัทฯ ในการติดต่อประสานงานกับลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อจำหน่ายสินค้า Petroleum และเคมีภัณฑ์ พร้อมทั้งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม

TOP Solvent (Vietnam) Limited Liability

TOP Solvent (Vietnam) Limited Liability

ก่อตั้ง เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2552 โดยมี บจ. ท็อป โซลเว้นท์ ถือหุ้น 100 เปอร์เซนต์ และเป็นการลงทุนต่างประเทศครั้งแรกของไทยออยล์ ให้บริการด้านการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์สารทำละลาย และเคมีภัณฑ์ หลากหลายรูปแบบ เช่น อุตสาหกรรมสี สารเคลือบผิว ทินเนอร์ กาว ตัวประสาน หมึกพิมพ์ อิเลคโทรนิค นํ้ายาทำความสะอาดต่างๆ การสกัดนํ้ามันพืช และอุตสาหกรรมเคมี เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีคลังสินค้าในนิคมอุตสาหกรรม Go Dau (เวียดนามใต้) จังหวัด Dong Nai (เวียดนามใต้) และ จังหวัด Hai Phong (เวียดนามเหนือ)

บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด

บริษัท ศักดิ์ไชยสิทธิ จำกัด

www.sakchaisit.com 

มีบริษัท ท็อป เน็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นผู้ผลิตสารทำละลายไฮโดรคาร์บอนคุณภาพสูง สำหรับอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมสี, ยางรถยนต์, กาว, น้ำมันพืช, โฟม, พลาสติก, เหมืองทองแดง เป็นต้น