ชาวไทยออยล์ทุกคนตระหนักถึงความรับผิดชอบในการประกอบธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมี ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาและดูแลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี จึงให้ความสําคัญกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และมีกระบวนการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อป้องกันและลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึง บริษัทฯ ได้ปลูกฝังแนวคิดและการปฏิบัติของบุคลากร ในการยึดถือและปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ อันถือเป็นดัชนีชี้วัดที่สำคัญในการประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคน รวมถึงมีการกำหนด I-Integrity ในค่านิยมองค์กร POSITIVE ซึ่งมีการส่งเสริมให้พนักงานปฏิบัติตามและยังนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของการประเมินโบนัส (Variable Bonus) ของพนักงานระดับผู้จัดการขึ้นไปอีกด้วย
นอกจากนั้น ไทยออยล์มีการทบทวนนโยบาย หลักการ และแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีที่เกี่ยวข้องอย่างสมํ่าเสมอเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ ประกาศ และแนวทางการกำกับดูแลกิจการที่ดีของหน่วยงานกำกับดูแล หลักการและเกณฑ์ประเมินด้านการกำกับดูแลกิจการของสถาบันต่างๆ
จากการดำเนินการต่างๆข้างต้น ส่งผลให้ไทยออยล์ได้รับการประเมินจากหน่วยงานภายนอก (Third Party Verification) ในด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี ผ่านการประเมินการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัท ดำเนินการโดยการประเมินการกำกับดูแลกิจการของบริษัทจดทะเบียนไทย (Corporate Governance Report of Thai Listed Companies: CGR) โดยในปี 2566 ไทยออยล์ได้รับผลการประเมิน CGR ที่ 112 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนสูงสุดในกลุ่มบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าตามราคาตลาด 10,000 ล้านบาทขึ้นไปต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 และอยู่ในระดับ “ดีเลิศ” (มากกว่า 80 คะแนน) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 15
การประเมิน CGR ริเริ่มโดย สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในปี 2566 เกณฑ์การประเมิน CGR ได้รับการพัฒนาโดยอ้างอิงหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีขององค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ (The Organization for Economic Cooperation and Development: OECD) และหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีสำหรับบริษัทจดทะเบียน ปี 2560 (CG Code 2017) เป็นกรอบในการพิจารณา โดยแบ่งออกเป็น 4 หมวดดังนี้
(1) สิทธิของผู้ถือหุ้นและการปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างเท่าเทียมกัน (น้ำหนัก 25%)
(2) การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียและการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน (น้ำหนัก 25%)
(3) การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส (น้ำหนัก 15%)
(4) ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ (น้ำหนัก 35%)
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สามารถศึกษาที่ได้ คู่มือหลักเกณฑ์การสำรวจโครงการสำรวจกิจการบริษัทจดทะเบียนไทย ประจำปี 2566
ระบบการกำกับการปฏิบัติงานของบริษัทฯ ได้รับการประเมินผ่านคำถามต่างๆ เช่น
- บริษัทกำหนดนโยบายและแนวปฎิบัติเกี่ยวกับการควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง (หมวด 4 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
หมวดย่อย 4.2 การปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแล ข้อ 31.)
- บริษัทเปิดเผยกระบวนการประเมินความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชันและผลการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
(หมวด 2 การคำนึงถึงบทบาทของผู้มีส่วนได้เสียและการพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน หมวดย่อย 2.3 การจัดการด้านความยั่งยืน
ในมิติสังคม ข้อ 29.)
- บริษัทจัดให้มีผู้รับผิดชอบ หรือหน่วยงานกำกับการปฏิบัติงาน (Compliance) (หมวด 4 ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ หมวดย่อย
4.2 การปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแล ข้อ 34.)
- คณะกรรมการกำหนดนโยบายการกำากับดูแลบริษัท ย่อยและบริษัทร่วม รวมถึงเปิดเผยผลการติดตามการปฏิบัติ (หมวด 4 ความรับผิด
ชอบของคณะกรรมการ หมวดย่อย 4.2 การปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแล ข้อ 28.)
|