หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ
หมวดที่ 3 บทบาทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
บริษัทฯ ได้มีการดูแลและคํานึงถึงผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยคํานึงถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายหรือข้อตกลงที่มีกับบริษัทฯ และได้ กําหนดแนวทางการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มไว้อย่างชัดเจนใน "คู่มือหลักการกํากับดูแลกิจการ" เพื่อให้บุคลากรทุกระดับยึดถือเป็นแนวปฏิบัติโดยถือเป็นภาระหน้าที่ที่สําคัญของทุกคนดังนี้
|
||
ต่อผู้ถือหุ้นบริษัทฯ มุ่งมั่นเป็นตัวแทนของผู้ถือหุ้นในการดําเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส มีระบบบัญชีและการเงินที่มีความเชื่อถือได้ สร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้นโดยคํานึงถึงการเจริญเติบโตของบริษัทฯ ในระยะยาว และผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่องโดยคณะกรรมการ |
||
ต่อลูกค้าสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้าโดยการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ |
||
ต่อคู่ค้ากำหนดและปฏิบัติตามระเบียบวิธีการปฏิบัติการจัดหาพัสดุและการบริการอย่างเคร่งครัด และมีการจัดทำนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างของบริษัทในกลุ่มไทยออยล์ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการของบริษัทในกลุ่มให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเพื่อให้มั่นใจว่า การปฏิบัติต่อคู่ค้าเป็นไปอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกคู่ค้าที่มีกระบวนการคัดกรองคู่ค้าตามเกณฑ์ด้านคุณสมบัติ คุณลักษณะ และมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินศักยภาพคู่ค้าอย่างชัดเจน กำหนดวิธีการคัดเลือก และการบันทึกผลการคัดเลือกอย่างเป็นระบบตามที่กำหนดไว้ รวมถึงจัดทำแนวทางการดำเนินธุรกิจของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (Supplier Code of Conduct) และจรรยาบรรณว่าด้วยการจัดซื้อ เพื่อให้การปฏิบัติงานด้านการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปอย่างมืออาชีพ โปร่งใส เป็นธรรม นอกจากนั้น มีการสำรวจความคิดเห็นของคู่ค้าหลักของกลุ่มไทยออยล์ เพื่อให้ทราบถึงมุมมองในภาพรวม และแนวทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ เพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานร่วมกัน และมีการตั้ง "แผนกคู่ค้าสัมพันธ์" ทำหน้าที่ดูแลและสื่อสารโดยตรงกับคู่ค้า ต่อคู่แข่งทางการค้าปฏิบัติต่อคู่แข่งทางการค้าด้วยความเสมอภาค ภายใต้กฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางการค้าและกรอบกติกาสากลของการแข่งขันอย่างเสรี ยึดถือกติกาการแข่งขันอย่างเป็นธรรม ไม่แสวงหาข้อมูลที่เป็นความลับของคู่แข่งทางการค้า และไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าด้วยการกล่าวหาในทางเสื่อมเสียโดยปราศจากความจริง รวมทั้งไม่ทำความตกลงใดๆ กับคู่แข่งหรือบุคคลใดที่มีลักษณะเป็นการลดหรือจำกัดการแข่งขันทางการค้า ต่อเจ้าหนี้ดำเนินธุรกิจอย่างมืออาชีพและมีวินัย โดยปฏิบัติต่อเจ้าหนี้ตามสัญญาและข้อผูกพันต่างๆ มีความรับผิดชอบในเงื่อนไขการค้ำประกันต่างๆ และรายงานฐานะทางการเงินแก่เจ้าหนี้ด้วยความถูกต้องและตรงเวลา ทั้งยังกำหนดวิธีการจัดการในกรณีที่จะไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ โดยจะแจ้งและเจรจากับเจ้าหนี้ล่วงหน้า เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
|
||
ต่อพนักงานพัฒนาเสริมสร้างวัฒนธรรมและบรรยากาศการทํางานที่ดี รวมทั้ง - ให้ผลตอบแทนที่เป็นธรรมและเหมาะสมตามความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ และผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
|
ต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมคํานึงถึงความปลอดภัยของสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตประชาชน รวมถึงให้ความสําคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ต่อชนรุ่นหลัง ตลอดจนส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยบริษัทฯ กําหนดแนวทางปฏิบัติดังนี้ - ในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ บริษัทฯ - ไม่กระทําการใดๆ ที่ส่งผลเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมเกินกว่าที่กฎหมายกําหนด - ปฏิบัติและให้ความร่วมมือ หรือควบคุมให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย และกฎระเบียบที่ออกโดยหน่วยงานที่กํากับดูแล
|
|
2 การกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบเพื่อแสดงเจตนารมณ์ที่จะดำเนินการตามกรอบของกฎหมาย มีจริยธรรม และความโปร่งใสในการปฏิบัติภารกิจหลักขององค์กร ไทยออยล์ประกาศใช้นโยบายการกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทในกลุ่ม (Compliance Policy) อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่ปฏิบัติงานให้กลุ่มไทยออยล์ทุกคนและทุกระดับยึดถือเป็นหลักในการปฏิบัติงาน โดยไทยออยล์จัดให้มีหน่วยงานกำกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ (Compliance) ทำหน้าที่สนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์สอดคล้องกับกฎหมาย ข้อบังคับ ประกาศ ระเบียบในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงติดตามการเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาครัฐและการบัญญัติกฎหมายใหม่อย่างเป็นระบบ เพื่อให้ไทยออยล์สามารถรับมือได้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึงสร้างความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการปฏิบัติตามกฎหมายให้แก่พนักงานและผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ทั้งยังจัดทำการประเมินตนเอง เพื่อทวนสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผลของความสอดคล้องระหว่างการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ กับนโยบายภาครัฐ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายต่างๆ ที่นำมาปฏิบัติอีกด้วย 3 การต่อต้านคอร์รัปชั่นไทยออยล์ได้กำหนด "นโยบายการต่อต้านคอร์รัปชัน" รวมถึงคำนิยาม บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ แนวปฏิบัติ และมาตรการดำเนินการ โดยมีการประกาศใช้ทั่วทั้งองค์กร เพื่อให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานรับทราบ และยึดถือเป็นแนวทางสำคัญในการปฏิบัติ ทั้งนี้ มีการทบทวนนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันดังกล่าวอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อปรับปรุงพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนโยบายแล้ว ไทยออยล์ยังกำหนดแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันในจรรยาบรรณธุรกิจ เช่น จรรยาบรรณว่าด้วยความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เป็นต้น ซึ่งนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชันและจรรยาบรรณข้างต้นนั้นได้รับการบรรจุอยู่ในคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจ ซึ่งมีการส่งมอบให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานกลุ่มไทยออยล์ทุกคน ไทยออยล์ได้นำนโยบายแนวปฏิบัติ และมาตรการดำเนินการด้านการต่อต้านคอร์รัปชันมาดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ - สื่อสาร ให้ความรู้ และฝึกอบรมด้านการต่อต้านคอร์รัปชัน ทั้งภายในและภายนอกองค์กร ภายใน การปฐมนิเทศพนักงาน การให้ความรู้ด้านการต่อต้านคอร์รัปชันผ่านสื่อภายในต่างๆ การสื่อสาร “นโยบายงดรับของขวัญ (No Gift Policy)” เพื่อรณรงค์การงดรับของขวัญ หรือของกำนัลทุกประเภท ผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ e - Newsletter เว็บไซต์ของบริษัทฯ รวมถึงจัดทำป้ายประชาสัมพันธ์ติดตั้งตามจุดต่างๆ ทั้งที่สำนักงานกรุงเทพและโรงกลั่นศรีราชา ภายนอก จัดส่งหนังสือขอความร่วมมืองดให้ของขวัญหรือของกำนัลแก่ผู้บริหารและพนักงานของกลุ่มไทยออยล์แก่คู่ค้า ลูกค้า สถาบันทางการเงิน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางธุรกิจ รวมถึงสื่อสารนโยบายและแนวปฏิบัติที่สำคัญด้านการต่อต้านคอร์รัปชันสู่ภายนอก ผ่านการเชิญ คู่ค้า ลูกค้า ร่วมงาน PTT Group CG Day ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี งานสัมมนาคู่ค้า (SRM Seminar) และประชุมวิเคราะห์ Analyst Meeting ซึ่งเป็นการสร้างความเข้าใจที่ตรงกันระหว่างบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม - กำหนดให้มีหน่วยงานบริหารความเสี่ยงองค์กร เพื่อทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงทั้งกลุ่มไทยออยล์ ครอบคลุมตั้งแต่กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ การลงทุน และการปฏิบัติการในทุกๆ ด้าน รวมถึงด้านคอร์รัปชันด้วย โดยเน้นการบริหารความเสี่ยงทั้งกลุ่มไทยออยล์ ภายใต้ “กรอบความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite)” ครอบคลุม 7 ด้าน ได้แก่ ด้านการดำเนินงานและการลงทุน (Performance and Investment) ด้านการปฏิบัติตามกฎหมาย (Compliance) ด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Safety, Occupational Health, and Environment) ด้านชื่อเสียงองค์กร (Reputation) ด้านการทุจริตและคอร์รัปชัน (Fraud and Corruption) ด้านความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล (ICT Security) ด้านการลงทุนโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) รวมถึงกำหนดให้มีการประเมินความเสี่ยงคอร์รัปชันสำหรับหน่วยงานที่มีการติดต่อกับหน่วยงานรัฐอย่างสม่ำเสมอ - กำหนดให้มีระบบควบคุมภายใน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดคอร์รัปชัน อาทิ กำหนดอำนาจอนุมัติรายการธุรกิจ (Corporate Authorization Procedures) ไว้อย่างชัดเจน เพื่อใช้เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการอนุมัติรายการธุรกิจต่างๆ การจัดให้มีฝ่ายตรวจสอบภายใน - ติดตามประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชัน ฝ่ายตรวจสอบภายในขึ้นตรงต่อคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อความเป็นอิสระจากคณะผู้บริหาร ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ครอบคลุมกิจกรรมที่สำคัญ อาทิ กิจกรรมด้านการพาณิชย์ การจัดซื้อจัดจ้าง การจัดทำรายงานทางการเงิน เป็นต้น รวมทั้งตรวจสอบการปฏิบัติงานว่า เป็นไปตามระเบียบวิธีปฏิบัติงาน ข้อกำหนด กฎระเบียบและข้อบังคับ และให้คำแนะนำในการพัฒนาปรับปรุงระบบการปฏิบัติงานและระบบการควบคุมภายในให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อป้องกันโอกาสในการทุจริตและคอร์รัปชัน 4 การติดตามดูแลให้มีการปฎิบัติ บริษัทฯ กําหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนที่จะต้องรับทราบ และปฏิบัติตามนโยบายและข้อกําหนดที่มีอยู่ในคู่มือหลักการกํากับดูแลกิจการและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ อีกทั้งผู้บริหารทุกระดับจะต้องดูแลรับผิดชอบ |
||
|
ทั้งนี้หากพนักงานพบการกระทําผิดกฎหมาย และ/หรือ หลักการ กํากับดูแลกิจการ ให้แจ้งข้อร้องเรียนหรือข้อกล่าวหาไปยังประธานกรรมการกํากับดูแลกิจการ ประธานกรรมการตรวจสอบ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือเลขานุการบริษัทฯ บริษัทฯ จะดําเนินการตรวจสอบโดยไม่เปิดเผยชื่อผู้แจ้งเบาะแส เพื่อคุ้มครองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้แจ้งข้อร้องเรียน หรือข้อกล่าวหาดังกล่าว |
|
- บริษัทฯ กําหนดให้ผู้บริหารทุกระดับในองค์กรจะต้องดูแลรับผิดชอบ และถือเป็นเรื่องสําคัญที่จะดําเนินการให้พนักงานภายใต้สายบังคับบัญชาของตนทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามคู่มือหลักการกํากับดูแลกิจการของบริษัทฯ อย่างจริงจัง ผู้ที่กระทําผิดจริยธรรมที่กําหนดไว้จะได้ รับโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน และมีความเป็นธรรมตามหลักการกํากับดูแลกิจการ บริษัทฯ ได้จัดให้มีช่องทางรับแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน ข้อคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะใดที่แสดงว่าผู้มีส่วนได้เสียได้รับผลกระทบ หรือ มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบอันจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มจากการดําเนินธุรกิจของบริษัทฯ หรือจากการปฏิบัติของพนักงานของบริษัทฯ เกี่ยวกับการกระทําผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณ รวมถึงพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริต การปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมกัน หรือการกระทําที่ขาดความระมัดระวังและขาดความรอบคอบ - ในกรณีที่เป็นเรื่องสําคัญ เช่น เป็นเรื่องที่กระทบต่อชื่อเสียง ภาพลักษณ์ หรือฐานะทางการเงินของบริษัทฯ หรือเป็นการกระทําที่ขัดต่อ นโยบายของบริษัทฯ หรือเกี่ยวข้องกับผู้บริหารระดับสูง จะส่งเรื่องต่อไปยังหน่วยงานตรวจสอบภายใน (หรือคณะกรรมการตรวจสอบ) เพื่อ ดําเนินการหาข้อเท็จจริง ส่วนในกรณีที่เป็นคําถามทั่วไป เช่น ราคาหุ้น การจ่ายเงินปันผล หรือข้อมูลอื่นใดเกี่ยวกับ บริษัทฯ ไม่ถือว่าเป็นการร้องเรียน แต่จะส่งเรื่องให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อตอบกลับแก่ผู้สอบถาม - ทั้งนี้ ผู้แจ้งเบาะแสจะต้องระบุชื่อ วิธีการติดต่อกลับ ไม่ว่าจะเป็นทางโทรศัพท์ อีเมล์ หรือโทรสาร รวมทั้งชื่อบุคคลหรือเหตุการณ์ที่ร้องเรียน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ไม่ได้มีเจตนาในการให้ร้าย หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือต่อบริษัทฯ โดยบริษัทฯ จะดําเนินการตรวจสอบตามขั้นตอนและบันทึกการสอบสวนไว้เป็นลายลักษณ์อักษร โดยไม่เปิดเผยชื่อผู้แจ้งเบาะแส รวมทั้งดําเนินการจัดเก็บข้อมูลการร้องเรียนเป็นความลับ และบริษัทฯ จะให้ความคุ้มครองผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้แจ้งร้องเรียนอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม เช่นไม่มีการเปลี่ยนแปลงตําแหน่งงาน ลักษณะงาน สถานที่ที่ทํางาน พักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้าง หรือการกระทําอื่นใดที่ไม่เป็นธรรมแก่ผู้ร้องเรียนหรือผู้แจ้งเบาะแสดังกล่าว |