ผลิตภัณฑ์และบริการ

นํ้ามันเบนซิน (Gasoline)

          นํ้ามันเบนซิน  เป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้อย่างแพร่หลายสำหรับรถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน และรถจักรยานยนต์ บริษัทฯ เป็นโรงกลั่นแห่งแรกในประเทศไทยที่สามารถผลิตนํ้ามันเบนซินตามมาตรฐานยูโร 4 ได้ โดยมีการปรับเปลี่ยนลักษณะและคุณภาพ ได้แก่ปรับลดปริมาณกำมะถันจากเดิม 500 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ลงเหลือไม่เกิน 50 ppmซึ่งจะช่วยลดการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) ออกสู่บรรยากาศ และช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ด้วย นอกจากนี้ยังมีการปรับลดปริมาณสารเบนซีน ซึ่งเป็นสาร     ที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งด้วย

          นอกจากนี้บริษัทฯ ยังผลิตนํ้ามันเบนซินพื้นฐาน (Gasoline Base หรือ G-Base)   ซึ่งเมื่อนำไปผสมกับเอทานอลในสัดส่วน 10% 20% และ 85% จะได้เป็นนํ้ามันแก๊ซโซฮอล์ (Gasohol) E10 E20 และ E85 ตามลำดับ ปัจจุบันบริษัทฯสามารถผลิต และจำหน่ายนํ้ามันเบนซินออกเทน 95 นํ้ามันเบนซินพื้นฐานออกเทน 95 และนํ้ามันเบนซินพื้นฐานออกเทน 91 ให้แก่      ผู้บริโภคในประเทศเป็นหลัก

 

นํ้ามันดีเซล (Diesel / Gas Oil)

 

          นํ้ามันดีเซลเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้กับรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซล รถบรรทุก           รถแทรกเตอร์ เรือโดยสาร เรือประมง รถไฟ และโรงงานอุตสาหกรรม โดยปัจจุบันการจำหน่ายนํ้ามันดีเซลในประเทศไทยจะต้องมีส่วนผสมของไบโอดีเซล ประมาณ 7% โรงกลั่นไทยออยล์เป็น     ผู้ผลิตและจำหน่ายนํ้ามันดีเซลมาตรฐานยูโร 4 เป็นรายแรกของประเทศ โดยนํ้ามันดีเซลมาตรฐานยูโร 4 นั้น มีสัดส่วนกำมะถันในนํ้ามันที่ต่ำกว่ามาตรฐานเดิมถึง 7 เท่า จะช่วยลดการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) รวมทั้งเขม่าควันดำออกสู่บรรยากาศและยังช่วยให้เครื่องยนต์ดีเซลทำงานได้ราบรื่นขึ้นด้วย

นํ้ามันอากาศยาน (Jet Fuel)

 

          นํ้ามันอากาศยานเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องบินไอพ่น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
นํ้ามันเครื่องบินไอพ่นพาณิชย์ (Jet A-1) ซึ่งจะใช้กับเครื่องบินโดยสาร หรือเครื่องบิน
พาณิชย์ทั่วไป และนํ้ามันเครื่องบินไอพ่นทหาร (JP-8) ที่ใช้ในกิจกรรมทางการทหาร
เช่น เครื่องบินรบ และเครื่องบินขับไล่ ซึ่งเป็นนํ้ามันที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่า ที่จะช่วยให้
เครื่องบินทหารสามารถเคลื่อนที่ด้วยอัตราความเร็วสูงได้

นํ้ามันก๊าด (Kerosene)

 

          นํ้ามันก๊าดเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะคล้ายกับนํ้ามันอากาศยาน ปัจจุบันใช้เป็น
เชื้อเพลิงสำหรับเครื่องทำความร้อนในประเทศเมืองหนาวเพื่อให้ความอบอุ่นในบ้านเรือน ตลอดจนใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม

นํ้ามันเตา (Fuel Oil)

           เป็นนํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม โดยนํ้ามันเตาของไทยออยด์แบ่งเป็น      3 เกรด คือ

1. นํ้ามันเตาชนิดที่ 1 หรือ นํ้ามันเตา A (FOA) เป็นนํ้ามันเตาใส ที่มีความหนืดต่ำไม่เกิน 80        เซนติสโตกส์ ที่อุณหภูมิ 50℃ และมีปริมาณกำมะถันต่ำ จึงเหมาะกับอุปกรณ์เผาไหม้สะอาดไม่มีเขม่า ควันดำ ละออง ถ่าน หรือ กำมะถันสูง เช่นอุตสาหกรรมทำกระเบี้อง

2. นํ้ามันเตาชนิดที่ 2 หรือ นํ้ามันเตา C (FOC) เป็นนํ้ามันเตาที่มีความหนืดปานกลาง
คือ ไม่เกิน 180 เซนติสโตกส์ ที่อุณหภูมิ 50℃ และมีปริมาณกำมะถัน ไม่เกิน 2% โดยนํ้าหนักมักใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เช่น ใช้เป็นพลังงานในการขับเครื่องจักรหรือกังหันไอนํ้า (Steam Turbine) เพื่อผลิตไฟฟ้า และใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาและเตาหลอม เช่น ในการหลอมโลหะ และการผลิตปูนซิเมนต์

3. นํ้ามันเตาชนิดที่ 3 หรือ (Bunker Fuel) เป็นนํ้ามันเตาที่มีความหนืดสูง คือ ไม่เกิน 380       เซนติสโตกส์ ซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเรือเดินสมุทร มีทั้งที่มีกำมะถันไม่เกิน 3.5% และ 4.0%   โดยนํ้าหนัก

 

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)

          ก๊าชปิโตรเลียมเหลวเป็นก๊าซที่ถูกนำมาอัดเป็นของเหลว เพื่อความสะดวกในการเก็บ และขนส่งใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม นอกจากนี้ก๊าชปิโตรเลียมเหลวยังถูกนำไปใช้ เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม และเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของโรงงานปิโตรเคมีอีกด้วย โดยในก๊าชปิโตรเลียมเหลวจะประกอบไปด้วยก๊าซโพรเพน และก๊าซบิวเทนในอัตราส่วน 60 ต่อ 40 โดยแหล่งที่มาของก๊าซปิโตรเลียมเหลวนั้นมาจาก 3 แหล่ง คือจากโรงกลั่นนํ้ามัน จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ และจากการนำเข้า