การบริหารจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทาน

การวิเคราะห์รายจ่าย

การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่กลุ่มไทยออยล์ใช้ สำหรับการหาโอกาสในการลดต้นทุน บริหารจัดการความเสี่ยงและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งเป็นพื้นฐานในการจัดหาคัดเลือกคู่ค้า ข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ ทำให้เห็นภาพรวมของการใช้จ่ายขององค์กร
ทั้งยังช่วยผลักดันในด้าน การปรับปรุงประสิทธิภาพ การปฏิบัติตามสัญญา และการจัดการต้นทุน

กลุ่มไทยออยล์ทำการวิเคราะห์ข้อมูลค่าใช้จ่าย โดยจัดกลุ่มคู่ค้า ตามประเทศ ภาคส่วน และสินค้าโภคภัณฑ์ และใช้ปริมาณค่าใช้จ่ายเป็นส่วนหนึ่ง
ของการจำแนกประเภทคู่ค้าที่มีนัยสำคัญ (คู่ค้าเชิงกลยุทธ์/คู่ค้าสำคัญ)

 

 

   

•  การส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน

กลุ่มไทยออยล์บริหารการจัดซื้อจัดจ้างโดย การคัดเลือกวัสดุ, อุปกรณ์ และ บริการ ควบคู่ไปกับการพัฒนาสินค้า ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(Green Products) เพื่อลดของเสียจากกระบวนการผลิตต้นทางและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา กลุ่มไทยออยล์ได้รับ
ใบรับรองมาตรฐานแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ISO 20400:2017 สำหรับการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมดที่ไม่ใช่น้ำมันดิบ และมีการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่การผลิต โดยการสื่อสารนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างกับคู่ค้าในงานสัมนาคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ประจำปี 
สำหรับการจัดซื้อสินค้าในหมวดวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำนักงาน มีการพิจารณาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Products) ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คู่ค้าได้มีการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการซื้อพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 98 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 95) ของค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ และเมื่อเทียบกับปี 2565 มีรายการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยค่าใช้จ่ายรวมของปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 จากปีก่อนหน้า ทั้งนี้ กลุ่มไทยออยล์จึงสามารถหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (GHG Scope 3) ได้ถึง 1,586.47 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน - ทิศทางกลยุทธ์

 

 

กลุ่มไทยออยล์มีความมุ่งมั่นที่จะ “สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงาน
และเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน" สอดคล้องกับหลักการและแนวทางความรับผิดชอบ
ต่อสังคมโดยการสร้างความร่วมมือ ความไว้วางใจ และการส่งมอบคุณค่า
ให้กับผู้มีส่วนได้เสีย ผ่านการดำเนินการที่เป็นเลิศ โปร่งใส และการสร้าง
นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง กลุ่มไทยออยล์เชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการบริหารจัด
การด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและธรรมภิบาล (ESG) ควบคู่ไปกับการคำนึงถึง
ถึงผู้มีส่วนได้เสียอย่างรอบด้าน จะทำให้กลุ่มไทยออยล์ บรรลุเป้าหมายการ
เป็นองค์กรที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

การดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างกลุ่มไทยออยล์ยังมุ่งมั่นในการบริหารจัดการตลอด
ห่วงโซ่อุปทานที่ไม่สร้างผลกระทบทางลบต่อ สิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับ
ดูแลกิจการที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจหลักอย่างเข้มแข็ง และ
การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และมอบผลตอบแทนที่ยั่งยืน
 

กลุ่มไทยออยล์จึงบริหารความสัมพันธ์กับคู่ค้า รวมถึงการบริหารจัดการความเสี่ยงทางด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ยังมี
การบริหารจัดการ คู่ค้าภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 อาทิเช่น มาตรการการป้องกันการแพร่ระบาด, การ
บริการจัดการเมื่อเกิดการแพร่ระบาด, แนวทางการปฏิบัติงานที่บ้านสำหรับพนักงานและผู้รับเหมา การประเมินความเสี่ยงและติดตามกลุ่ม
สินค้าที่มีระยะเวลาการผลิตนาน การบริหารจัดการคู่ค้าที่ปฏิบัติงานในช่วงงานซ่อมบำรุง เป็นต้น

กลุ่มไทยออยล์ได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการบริหารอย่างยั่งยืน จึงได้มีการกำหนดกลยุทธ์เพื่อควบคุมกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมสังคม
และธรรมาภิบาล ผ่านนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่มไทยออยล์ ซึ่งอนุมัตโดยประธานกรรมการ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร
และกรรมการผู้จัดการใหญ่ โดยนโยบายนี้ได้ประกาศใช้และสื่อสารให้กับผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งหมดได้นำไปปฏิบัติตาม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายความสำเร็จอย่างยั่งยืน

กลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ยังครอบคลุมถึงการจัดซื้อจัดจ้าง โดยได้มีการกำหนดนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่าง
ยั่งยืนของกลุ่มไทยออยล์ซึ่งอนุมัติโดยประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และสื่อสารผู้ที่เกี่ยวของผ่าน แนวทางกลยุทธ์
จัดซื้อจัดจ้างประกอบไปด้วย supply chain ESG strategy และ supplier ESG Program.

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน – แสดงความมุ่งมั่น (COMMIT)

 

ความมมุ่งมั่นของผู้บริหารมีส่วนสำคัญที่จะทำให้การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
ประสบผลสำเร็จ ผู้บริหารต้องมีความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมการดำเนินการ
จัดซื้อจัดจ้างให้สอดคล้องกับเป้าหมายทางธุรกิจและมีการพัฒนาปรับปรุงอย่าง
ต่อเนื่อง ดังนั้น จึงได้มีการกำหนดเป้าหมายความยั่งยืนให้เป็นส่วนหนึ่งของทิศ
ทางกลยุทธ์และนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้บุคลากรและหน่วยงานที่เกี่ยว
ข้องได้นำไปเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน

จากทิศทางกลยุทธ์และนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน กลุ่มไทยยอยล์
ได้คำนึงถึงความสำคัญในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานเพื่อให้เกิดการจัด
ซื้อจัดจ้างงอย่างยั่งยืน โดยได้ดำเนินการผ่านทางกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม
สังคม และธรรมาภิบาล และการพัฒนากลุ่มคู่ค้าตามแนวทางปฏิบัติอย่าง
ยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (Sustainable Code of Conduct
for Suppliers of Thaioil Group: SCOC)

ตั้งแต่มี 2558 คู่ค้ารายใหม่ทุกรายที่ขึ้นทะเบียนผ่านระบบต้องยอมรับ SCOC และมีการติดตามผล เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนา
อย่างต่อเนื่อง

ในปี 2563 กลุ่มไทยออยล์ได้รับการรับรองมาตรฐานแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ISO20400: Sustainable Procurement
Procurement 
สืบเนื่องจากการนำมาตรฐานดังกล่าวไปปฏิบัติและเป็นส่วนหนึ่งในการะบวนการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเคร่งครัดสอคล้อง
กับนโยบายการบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่มไทยออยล์

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแนวทางการจัดซื้อจัดจ้าง
อย่างยั่งยืน ISO 20400 : Sustainable Procurement ครอบคลุมกลุ่มสินค้าและงานบริการ สำหรับการจัดซื้อทั้งหมดที่ไม่ใช่น้ำ
มันดิบ คณะผู้บริหารกลุ่มไทยออยล์ โดยรองกรรมการผู้จัดการใหญ่-ด้านบริหารศักยภาพองค์กร และผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง
และสัญญา ได้เป็นตัวแทนกลุ่มไทยออยล์ในการเข้ารับการรับรองอย่างเป็นทางการตามมาตรฐาน ISO20400: Sustainable
Procurement จากสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ

กลุ่มไทยออยล์คาดหวังให้คู่ค้าทุกราย ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (Sustainable Code of Conduct
for Suppliers of Thaioil Group: SCOC) เพื่อให้แน่ใจว่าคู่ค้าเข้าใจในแนวทาง SCOC ทางกลุ่มไทยออยล์จึงได้มีการสื่อสาร แนวทาง
ดังกล่าว ผ่านทาง website และงานสัมนาประจำปี

 

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน – ประเมินขอบเขต (ASSESS)

 

ไทยออยล์มีกระบวนการประเมินความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานครอบคลุมคู่ค้าทั้ง
หมดทุกปีเพื่อที่จะสามารถจำแนกกลุ่มของคู่ค้าแต่ละประเภทของอุปทาน

ตั้งแต่ปี 2563 ที่ผ่านมา ไทยออยล์ประเมินความเสี่ยงคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้าน
ESG สูง สำหรับคู่ค้าใหม่ 100% และมีการประเมินความเสี่ยงประจำรอบ3 ปี
สำหรับคู่ค้าทั้งหมด 100% การประเมินดังกล่าวใช้วิธีการประเมินความเสี่ยง
ตามกลุ่มสินค้าและงานบริการของคู่ค้าแต่ละรายโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ซึ่งครอบคลุม 7 หัวข้อหลักในมาตรฐานการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน
ISO20400 ได้แก่ หลักธรรมมาภิบาล หลักสิทธิมนุษยชน หลักการปฏิบัติ
ทางด้านแรงงานด้านสิ่งแวดล้อม การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม การคำนึงถึง
ประเด็นด้านผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน

 

กลุ่มไทยออยล์จัดให้มีการคัดเลือกและประเมินคู่ค้าประจำปี ซึ่งจะดำเนินการโดยแผนกจัดซื้อจัดจ้าง (ที่ไม่ใช่น้ำมันดิบ) ร่วมกับแผนก
ความยั่งยืน

 

Supplier Screening Supplier Risk Assessment Supplier Improvement
Group all suppliers based on
Country, Sector and Commodity.

Screen each supplier group according to Country, Sector and Commodity ESG risks,supply risks, spending and business relevance (e.g., financial) etc.
Assess the level of likelihood and
negative impacts of risks posed to
suppliers to identify potential
sustainability (ESG) risks.
Conduct supplier desk or on-site
assessment. If there is potential negative impacts, supplier shall provide corrective actions or improvement plan.

Supplier Screening

- กลุ่มไทยออยล์ดำเนินการคัดกรองความเสี่ยงคู่ค้า(Supplier Screening) กับคู่ค้าทางตรงทั้งหมด (Tier 1 Supplier) 1,015 ราย ซึ่งครอบ
คลุมการประเมินความเสี่ยงตามประเทศ (Country Specific Risk), ความเสี่ยงตามกลุ่มอุตสาหกรรม (Sector Specific Risk) และความเสี่ยง
ตามกลุ่มสินค้าและบริการ (Commodity-Specific Risk)เพื่อจัดลำดับความสำคัญของคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนได้อย่างเหมาะสม
ตลอดห่วงโซ่อุปทาน

Supplier Risk assessment

- มีการประเมินผลกระทบ (ด้านบวก/ด้านลบ) ในแต่ละด้านทั้ง สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

เมทริกซ์การประเมินความเสี่ยง (RAM) สำหรับการจัดหาที่ไม่ใช่น้ำมันดิบ แสดงไว้ตามรูปด้านล่าง

- ตัวแทนแผนกจัดซื้อจัดจ้างแต่ละกลุ่ม ทำการคัดเลือกประเด็นหัวข้อ ESG 3-5 ประเด็น ที่คู่ค้าส่วนใหญ่ของแต่ละกลุ่มย่อยมีความ
เกี่ยวข้อง โดยประเด็นที่ถูกเลือกนั้นจะนำพิจารณาในมุมมอง ด้านสิ่งแวดล้อม, ด้านแรงงานและสิทธิมนุษชน และด้านธรรมาภิบาล
โดยจะครอบคลุม 7 หัวข้อตาม ISO20400 ได้แก่  ธรรมาภิบาล, สิทธิมนุษยชน, การปฏิบัติด้านแรงงาน, สิ่งแวดล้อม, การปฏิบัติ
ที่เป็นธรรม, ปัญหาต่อผู้บริโภค และการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน

 

Environment Social Governance
Operations
• Energy Consumptions
• Greenhouse Gas Emissions: GHGS
• Water Consumptions
• Biodiversity
• Materials, Chemical & Waste
• Air Emission
• Spill
• Biodiversity
• Resource Efficiency
• Pollution
Product
• Product use
• Product end-of-life
Human Resources
• Employee Health & Safety
• Working Conditions
Human Rights
• Child Labor
• Forced Labor
• Human Trafficking
• Diversity
• Discrimination
• Freedom of association
• Collective bargaining
• Local communities
• Working hours
• Remuneration
Customer Issue
• Sustainable Consumption
• Education and awareness
• Protecting consumers
“Health and safety”
• Occupational health and safety
Community Involvement and Development
• Employment creation and skills development
• Technology development and access
• Wealth and income creation
• Health
• Social investment
Ethics
• Corruption
• Anticompetitive practices
• Client data privacy
• Bribery
• Conflict of interest
• Anti-competitive practices
Sustainable Procurement
• Supplier environmental practices
• Supplier social practices
Fair Operating Practices
• Promoting sustainability in
the value chain
• Respect for property rights

 

Supplier Screening FY 2023 (numerical)
1.1 Total number of Tier-1 suppliers 1,015 
1.2 Total number of significant suppliers in Tier-1 37 
1.3 % number of total spend on significant suppliers in Tier-1 11%
1.4 Total number of significant suppliers in non Tier-1 -
1.5 Total number of significant suppliers (Tier-1 and non Tier-1) 37 

 

 

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน – กำหนดกลุ่มคู่ค้า (DEFINE)

 

ไทยออยล์มีกระบวนการแบ่งกลุ่มคู่ค้า และทบทวนเป็นประจำ ซึ่งได้กำหนดกลุ่ม
ประเภทของคู่ค้าทางตรง (Tier-1 Supplier Classification) เป็น 3 กลุ่มดังนี้

1) คู่ค้าเชิงกลยุทธ์Strategic Suppliers (Critical Suppliers):
คู่ค้าที่มีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญกับธุรกิจกลุ่มไทยออยล์

2) คู่ค้าหลัก Key Suppliers:
คู่ค้าหลักที่จัดหาสินค้าและงานบริการให้กับธุรกิจกลุ่มไทยออยล์

3) คู่ค้าทั่วไป Managed Suppliers:
คู่ค้าทั่วไปที่จัดหาสินค้า และงานบริการให้กับธุรกิจกลุ่มไทยออยล์

 

นอกจากนั้นยังมีการจัดหมวดหมู่ของกลุ่มคู่ค้าที่เป็น Critical Non-tier 1 Supplier ซึ่งเป็นผู้จัดหาสินค้าและงานบริการให้กับคู่ค้าของกลุ่ม
ไทยออยล์ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าและงานบริการที่มีความสำคัญกับธุรกิจกลุ่มไทยออยล์

 

• การแบ่งกลุ่มสินค้าและงานบริการ (Supply Positioning Model)
กลุ่มไทยออยล์มีการแบ่งกลุ่มสินค้าและงานบริการ โดยประเมินจาก ปริมาณค่าใช้จ่าย ความเสี่ยงและโอกาสจัดทำเป็น Supply Positioning
Model เพื่อให้เห็นนัยสำคัญและผลกระทบหากคู่ค้าเหล่านั้นเกิดปัญหา โดยกลุ่มไทยออยล์ได้ใช้ข้อมูลนี้ในการจัดลำดับความสำคัญคู่ค้า
สำหรับพัฒนากลยุทธ์และการบริหารจัดการ แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ 
 
 


1. Critical; High Expenditure – High Supply Risks & ESG Risks
2. Bottleneck; Low Expenditure – High Supply Risks & ESG Risks
3. Leverage; High Expenditure – Low Supply Risks & ESG Risks
4. Routine; Low Value – Low Supply Risks & ESG Risks

• การจัดการแบ่งกลุ่มประเภทของคู่ค้า (Supplier Classification)
กลุ่มไทยออยล์มีคู่ค้าที่ยังใช้งานตามระบบทั้งหมด 1,015 ราย ตามบันทึกค่าใช้จ่ายในปี 2566 โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1) คู่ค้าเชิงกลยุทธ์ Strategic Supplier (Critical Supplier) : คู่ค้าที่มีความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญกับธุรกิจกลุ่มไทยออยล์โดยมีเงื่อนไข
• มูลค่าสั่งซื้อสูง
• มีการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง
• กลุ่มสินค้ามีความสำคัญสูง (High Supply and ESG risks)

2) คู่ค้าหลัก Key Supplier : คู่ค้าที่จัดหาสินค้าและงานบริการให้กับธุรกิจกลุ่มไทยออยล์โดยมีเงื่อนไข
มูลค่าสั่งซื้อสูง
• กลุ่มสินค้ามีความสำคัญปานกลาง (Moderate Supply and ESG risks)

3) คู่ค้าเชิงการจัดการ Managed Supplier : คู่ค้าที่จัดหาสินค้าและงานบริการให้กับธุรกิจกลุ่มไทยออยล์โดยมีเงื่อนไข
มูลค่าสั่งซื้อต่ำ
มีการสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง
กลุ่มสินค้ามีความสำคัญปานกลางถึงน้อย (Moderate to Low Supply and ESG risks)

นอกเหนือจากนี้ ยังได้มีการจัดหมวดหมู่คู่ค้า Critical Non-tier 1 Supplier คือ คู่ค้าที่จัดหาสินค้าและงานบริการให้กับคู่ค้าของกลุ่ม
ไทยออยล์ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าและงานบริการที่มีความสำคัญสูงกับธุรกิจกลุ่มไทยออยล์

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน – ลงมือปฏิบัติ (IMPLEMENT)

 

กลุ่มไทยออยล์ได้นำหลักความยั่งยืนไปเป็นส่วนหนึ่งของ ขั้นตอนการ
จัดซื้อจัดจ้าง เช่น นโยบาย, แนวทางกลยุทธ์, ขั้นตอนการทำงาน, 
การประเมินความเสี่ยงและโอกาส เป็นต้น เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ

ตั้งแต่ปี 2563 กลุ่มไทยออยล์ได้เข้าร่วม ISO 20400 (การจัดซื้อ
จัดจ้างอย่างยั่งยืน) สำหรับสินค้าทุกประเภท ที่ไม่ใช่น้ำมันดิบ เพื่อให้
แน่ใจว่ากลุ่มไทยออยล์มีการบริหารจัดการความยั่งยืนอย่างเป็นระบบ
ตามมาตรฐานระหว่างประเทศ โดยจะได้มีการเชิญผู้รับรองมาตรฐาน
ภายนอก มาทำการตรวจประเมินทุกๆ 3 ปี
 

การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนถือเป็นโอกาสที่จะสร้างคุณค่า ให้แก่กลุ่มไทยออยล์ โดยการนำมาซึ่งการพัฒนา การผลิต, การประเมิน
มูลค่าและประสิทธิภาพ, การสื่อสารระหว่างผู้ซื้อ ผู้ขาย และผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ดังนั้น
กลุ่มไทยออยล์จึงได้จัดให้มีการทำการประเมินความเสี่ยงตามกลุ่มสินค้า/บริการและกลุ่มคู่ค้าเป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อให้แน่ใจว่าแนวทาง
ความยั่งยืนได้ถูกนำไปใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล โดยจัดการประเมินความเสี่ยงผ่านทาง Strategic 
Sourcing, SRM program และ Supplier ESG program

แนวทางการบริหารระบบ (Management System Approach)

กลุ่มไทยออยล์ได้กำหนดแนวทางการบริหารจัดการสายโซ่อุปทาน ซึ่งครอบคลุมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามหลักการจัดซื้อ
จัดจ้าง อย่างยั่งยืน (ISO20400: 2017 Sustainable Procurement) ในขอบข่ายการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับธุรกิจน้ำมันปิโตรเลียมและ
ปิโตรเคมี (ไม่รวมการจัดซื้อน้ำมันดิบ) ครอบคลุมกลุ่มสินค้าหลัก 9 กลุ่ม และกลุ่มบริการหลัก 11 กลุ่ม โดยได้นำเกณฑ์มาตรฐานมาใช้
ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในทุกกลุ่มวัสดุหลักและกลุ่มบริการหลัก (ยกเว้นกลุ่มน้ำมันดิบ) เพื่อความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงานของ
บริษัทฯ ด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนตามแนวทางมาตรฐานสากล ซึ่งแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนช่วยให้องค์กรสามารถ
บูรณาการ การดำเนินการอย่างยั่งยืนเข้ากับนโยบายวัตถุประสงค์ กลยุทธ์และกระบวนการด้านจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร ทั้งยังเป็นเครื่อง
มือในการส่งเสริมการเพิ่มผลิตภาพ การลดต้นทุนและเสริมสร้างนวัตกรรม เนื่องจากสินค้าและบริการที่จัดซื้อจัดจ้าง จะส่งผลกระทบต่อ
องค์กร ทั้งขีดความสามารถ สวัสดิภาพของพนักงาน ชื่อเสียง และความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย และยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
สิ่งแวดล้อมและสังคมด้วย

ในปี 2563 มีการเริ่มใช้ระบบการบริหารจัดการคู่ค้าตลอดห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ในขั้นตอนการขึ้นทะเบียน
คู่ค้า การประเมินคุณสมบัติคู่ค้า การบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ค้าซึ่งสอดคล้องกับข้อบังคับและกฎหมายข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมและ
สังคม ข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลการดำเนินงาน จากแหล่งข่าวและฐานข้อมูลภายนอก โดยกลุ่มไทยออยล์จะทำการพิจารณาความเสี่ยง
ติดตามและเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง เช่น การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย การใช้แรงงานเด็ก หรือการทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

Organizing the procurement function towards sustainability

• วัฒนธรรมองค์กร

การจะทำให้นโยบายและกลยุทธ์การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนมีประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องได้รับการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย ทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง
กับการจัดซื้อจัดจ้าง, ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร และคู่ค้าทางธุรกิจ เช่น แผนก SSHE, ผู้ถือสัญญา, กลุ่ม ปตท. หรือ บุคคลอื่น ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้า เป็นต้น ตลอดจนความเข้าใจในหลักการและเหตุผลของการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ดังนั้น กลุ่มไทยออยล์
จึงได้มีการสื่อสารอย่างใกล้ชิดและร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในองค์กรทุกราย เพื่อทำความเข้าใจว่าแต่ละบุคคลมีส่วนในการดำเนินการ
การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนอย่างไร งานที่ได้รับมอบหมายมีความสำคัญอย่างไร ด้วยความสนับสนุนผ่านวัฒนธรรมองค์กร, การบริหาร
จัดการประสิทธิภาพ, การให้ความรู้การศึกษาและการจัดฝึกอบรม

      Developing Sustainable Procurement      ISO20400 Workshop for procurement       ESG Auditor Workshop for
      Practices in allignment with ISO20400     & contract and internal stakeholders         PTT Group Procurement

• ระเบียบและระบบ (Procedures and systems)

กลุ่มไทยออยล์ได้จัดเตรียมระบบและขั้นตอนการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางความยั่งยืนและเป้าหมายงานจัดซื้อจัดจ้าง เช่น
นโยบาย, กลยุทธ์, แผนงาน, ขั้นตอนการทำงาน แบบฟอร์มต่างๆ เป็นต้น นอกเหนือจากนั้นยังได้ใช้ระบบสากลต่างๆ เช่น SAP, Ariba system,
TOPTEN, Contractor Management System, SRM Platform เป็นต้น เพื่อให้ขั้นตอนการทำงานต่างๆ เป็นไปอย่างราบรื่น

    Supplier Database Management       Sustainable Procurement                         SRM Platform
          Work Instruction                      Work Intruction        

• การมีส่วนร่วมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Engaging the supply chains)

เพื่อที่จะบริหารจัดการโอกาสและความเสี่ยงอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน กลุ่มไทยออยล์ได้ร่วมมือกับคู่ค้าเพื่อคิดค้นริเริ่มสิ่งต่างๆมากไปกว่า
เพียงข้อกำหนดตามสัญญา ยกตัวอย่างเช่น เช่น การเชิญคู่ค้าเข้าร่วม All SAFE White Green Program, PTT CG Day, CAC Seminar,
Green Industry Applications และ CSR Activities เป็นต้น

Supplier Capacity Building

Safe White Green Program: ตั้งแต่ปี 2564 โปรแกรม “Safe White Green” เป็นความคาดหวังขั้นพื้นฐานของกลุ่มไทยออยล์ต่อบริษัท คู่ค้า
ที่จะต้องจัดให้มีนโยบายด้าน Security, Safety, Occupational Health and Environment (SSHE). โดยผ่านกระบวนการ 5 ขั้นตอน ดังนี้

1) Coach : การให้คำมั่นสัญญาระหว่าผู้บริหารของกลุ่มไทยออยล์และคู่ค้า
2) Up & Re-Skills : การประเมินหาโอกาสสร้างความร่วมมือเพื่อยกระดับ การบริหารจัดการ, ความรู้, ความถนัด, พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงาน และการจัดอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ
3) Control : การติดตามตรวจสอบคู่ค้าเพื่อให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามกฎหมาย, ข้อกำหนดและมาตรฐานต่างๆ โดยการประเมินโดยบุคคลที่สามที่เป็นอิสระ และการประเมินผลการดำเนินงานคู่ค้าผ่านระบบ Contractor Management System (CMS)
4) Recognize : การให้รางวัลชมเชยแก่บริษัทคู่ค้าและผู้ปฏิบัติงาน
5) Share : สนับสนุนการมีส่วนร่วม และ การแบ่งปัน lesson learned และ best practices.
 
 

Supplier Seminar 2023 :

การบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง (Integrating sustainability into the procurement process)

Supplier ESG program ได้ถูกกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดกการคู่ค้าตลอดระยะเวลาของสัญญา (เช่น การระบุการปฏิบัติ
ตาม SCOC ในข้อสัญญา, การให้คะแนนการปฏิบัติตาม SCOC ในการประเมินผลงานคู่ค้า, การให้รางวัลคู่ค้าที่มีผลงานด้าน ESG
โดดเด่น และกำหนดให้ ESG เป็นส่วนหนึ่งของการคัดเลือกคู่ค้าและประกวดราคาในอนาคต รวมถึงการระงับ/กำหนดบัญชีดำ สำหรับคู่ค้า
ที่ไม่ปฏิบัติตาม ESG และเพิกเฉยต่อการแก้ไข ฯลฯ) ควบคู่ไปกับการจัดการความเสี่ยงคู่ค้า

กลุ่มไทยออยล์ได้จัดการและควบคุมกระบวนการเหล่านี้ตามมาตรฐาน ISO9001 เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการทั้งหมดและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้รับ
การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เช่น การทบทวนผลงานคู่ค้าประจำปี, การประเมินความเสี่ยงคู่ค้า (ความเสี่ยงด้านอุปทาน/ความเสี่ยงด้าน ESG)
เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีการปรับปรุงอยู่เสมอ และปกป้องห่วงโซ่อุปทานของกลุ่มไทยออยล์จากความไม่แน่นอนรวมทั้งหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักทางธุรกิจ

• การจัดการวงจรชีวิตของคู่ค้า (Supplier Life Cycle Management)

กลุ่มไทยออยล์ได้รวมโปรแกรม ESG ของคู่ค้าเข้ากับกระบวนการการจัดการวงจรชีวิตของคู่ค้า

 

Supplier Registration Supplier Qualification Sourcing Process Contract and Performance
Management
Supplier Development Supplier
Phase-Out
Acknowledged SCOC by suppliers. Verify current accreditations held for supplier’s management systems (e.g., ISO9001, ISO14001, ISO18001) by SCOC by Thaioil group.

Verify supplier’s QSHE policy and procedures by Thaioil group.
Integrate ESG requirements into specifications/ITB.

Past Supplier ESG performance is one of standard criteria for supplier selection. Supplier who receive better past ESG performance is recognized and will have higher score during evaluation (1)
Integrate Thaioil Group ESG requirements into contract clauses to ensure that supplier fully comply.

Continuously review ESG performance. If suppliers cannot achieve minimum ESG requirements and not remedy within a specific timeframe, those suppliers will suspend or terminate.
If supplier ESG performance is not achieved, supplier shall develop or improve ESG performance within a specific timeframe.

All performance results are recorded in the system for supplier selection in the future sourcing.
In case suppliers cannot achieve minimum ESG requirements within a specific timeframe, those suppliers will be in the list of suspension or blacklist.

Remark: (1) This acitivty will be fully implement in 2023

เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการทั้งหมดและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้รับการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ กลุ่มไทยออยล์ได้จัดการและควบคุมกระบวนการเหล่านี้ตาม
มาตรฐาน ISO9001 เช่น มีการทบทวน Profile ของคู่ค้า การประเมินความเสี่ยงของค้า (เช่น ความเสี่ยงด้านอุปทาน, ความเสี่ยงด้าน ESG) ) เป็นประจำทุกปี เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลเป็นปัจจุบันอยู่เสมอและปกป้องห่วงโซ่อุปทานจากความไม่แน่นอน และหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักทางธุรกิจ

ยิ่งไปกว่านั้น แนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างและสัญญาต่อคู่ค้าได้รับการทบทวนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (SCOC) และเพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นกับข้อกำหนด ESG

โดยในทุก ๆ 3 ปี กระบวนการจัดซื้อและสัญญาจะถูกประเมินโดยบุคคลที่สาม เพื่อให้แน่ใจว่ากระบวนการทั้งหมดสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (SCOC) และข้อกำหนด ESG

• การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของคู่ค้า

กลุ่มไทยออยล์มีการดำเนินการเพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใส (Clear) เป็นธรรม (Fair) และมีความเป็นมืออาชีพ (Professional)
โดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์ (“E-Procurement”) ให้คู่ค้าเข้ามามีส่วนร่วม ผ่านเครือข่ายอารีบา (SAP Ariba Network) ซึ่งเป็นระบบที่น่าเชื่อถือ
และใช้กันทั่วโลก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และนำไปสู่ผลลัพธ์ของการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนที่ดียิ่งขึ้นร่วมกัน

ในปี 2564 ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 เพื่อให้กลุ่มไทยออยล์สามารถดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าได้อย่างต่อเนื่องพร้อมทั้ง
สนับสนุนมาตรการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด 19 กลุ่มไทยออยล์จึงนำเทคโนโลยีมาใช้ในงานประกวดราคา โดยให้คู่ค้าสามารถยื่นซองประกวดราคา
ผ่านระบบ และตลอดปี 2564 ที่ผ่านมา มีคู่ค้าเข้าร่วมประกวดราคามากกว่า 200 บริษัท ซึ่งส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการใช้งานอย่างมาก
เนื่องจากช่วยลดทั้งค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการดำเนินงานให้แก่คู่ค้า และคู่ค้ายังสามารถตรวจสอบผ่านระบบได้ ทำให้มั่นใจได้ถึงความโปร่ง
ใสและเป็นธรรม นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ยังมีการนำระบบ E-Catalogue มาใช้งาน เพื่อให้สามารถยืนยันใบสั่งซื้อ (Purchase Order) แก่คู่ค้า
ผ่านระบบ E-Procurement (Online PO) ให้มากที่สุดได้ เพื่อช่วยลดขั้นตอนระหว่างกัน เพิ่มความสะดวก และรวดเร็วให้แก่คู่ค้าพร้อมสนับสนุน
ด้านสิ่งแวดล้อมจากการลดการใช้กระดาษ นำไปสู่การใช้ทรัพยากรและพลังงานที่ลดลง

กลุ่มไทยออยล์ได้มีการพัฒนาระบบ Contractor Management System (CMS) เพื่อสนับสนุนกระบวนการดำเนินงานตามสัญญาของคู่ค้า
(Post-Award) โดยคู่ค้าสามารถยื่นขอทำบัตรผู้รับเหมาเพื่อขอเข้าพื้นที่ทำงานในกลุ่มไทยออยล์ผ่านระบบ CMS ได้ทุกที่ทุกเวลา ทำให้ข้อมูล
ผู้รับเหมาถูกจัดเก็บอยู่บนระบบ สามารถตรวจสอบได้ และเป็นไปตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ ยังมีการประเมินผลงานคู่ค้า
ผ่านระบบ C-PMS (Contractor-Performance Management System) ซึ่งหลังจบงานตามสัญญา กลุ่มไทยออยล์จะนำ KPI ในด้านต่างๆ
อาทิเช่น ESG, SSHE, Quality ที่ได้ตกลงร่วมกับคู่ค้า มาประเมินผลการดำเนินงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับคู่ค้า เพื่อนำไปสู่การปรับปรุง
การทำงานที่ดียิ่งขึ้นร่วมกันต่อไป

สุดท้ายนี้ เพื่อมั่นใจว่ากลุ่มไทยออยล์ทราบถึงความต้องการของคู่ค้า กลุ่มไทยออยล์ได้สร้างการมีส่วนร่วม การสื่อสาร และการรับฟังข้อคิดเห็น
ในประเด็นต่างๆ โดยการสำรวจมุมมองของคู่ค้าที่มีต่อกลุ่มไทยออยล์ ในมุมมองหลักการบริหารงานจัดซื้อจัดจ้าง การบริการ ความโปร่งใสและ
ยุติธรรม ซึ่งนำข้อคิดเห็นที่ได้รับมาบูรณาการเข้ากับกระบวนการตัดสินใจและดำเนินการของบริษัท ในปี 2566 ไทยออยล์ได้ดำเนินการสำรวจ
มุมมองและความคิดเห็นของคู่ค้าผ่านบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในงานวิจัย พบว่าผลการสำรวจมุมมองของคู่ค้าต่อการดำเนินงานร่วมกับ
กลุ่มไทยออยล์ มีดังนี้

 

 

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน – วัดผลและติดตาม (MEASURE)
 

ในวิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ไทยออยล์
ยังคงมีการตรวจติดตามการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืน
ของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (SCOC) จากหลักฐานและใบรับรองต่างๆ 
เช่น ISO14001, ISO18001, ISO26000, ISO50001, ISO20400,
ISO27001, รางวัลอุตสาหกรรมสีเขียวของกรมโรงงานอุตสาหกรรม,
โครงการ CAC เป็นต้น

นอกเหนือจากนั้นไทยออยล์ยังได้มีการตรวจประเมินด้านความปลอดภัย
และประสิทธิภาพการทำงานของคู่ค้าขณะปฏิงานภาคสนาม เพื่อให้แน่ใจ
ว่าคู่ค้ายังคงปฏิบัติตามแนวทางความยั่งยืน SCOC

 

เมื่อจบงานในแต่ละสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ผู้ใช้งานจะทำการประเมินประสิทธิภาพของคู่ค้า ด้วยตัวชี้วัดทางด้านความปลอดภัย, ความยั่งยืน
ESG และการปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (SCOC) และบันทึกลงในฐานข้อมูล

แนวทางการประเมิน ESG แบบ Desk Assessment

จากผลการประเมินความเสี่ยง กลุ่มไทยออยล์ได้จัดกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้าน ESG และกลุ่มคู่ค้าที่มีความสำคัญ Tier-1 เพื่อเข้าร่วม ESG Verification Program เพื่อที่ตรวจประเมินและจัดการบริหารความเสี่ยงอย่างเหมาะสม

ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้ทบทวนการประเมินด้านความยั่งยืนสืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 โดยการปรับเปลี่ยน
เป็นการตรวจประเมินจากบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือ (3rd Party) โดยดูหลักฐานจากรายงานการตรวจประเมิน เช่น ISO14001, ISO50001,
ISO45001, OHSAS18001, ISO9001, ISO17025, ISO27001, ประเมินโรงงานอุตสาหกรรมสีเขียวโดยกระทรวงอุตสาหกรรม, การรับรอง
จากโครงการ CAC โดย Thai Private Sector Collective Action Against Corruption, Corporate Social Responsibility, Department
of Industrial Work Award by Department of Industrial Works, Ministry of Industry และการตรวจประเมินการจัดการของเสียโดย
ผู้บริหารด้านความปลอดภัยกลุ่มไทยออยล์ เป็นต้น ทั้งนี้ มีคู่ค้าจำนวนทั้งหมด 91 รายที่ผ่านการตรวจประเมิน โดยมีคู่ค้าที่มีความสำคัญ
Tier-1 ที่ผ่านการตรวจประเมินคิดเป็นร้อยละ 86.49

 

  Total Suppliers No. of Supplier - Passed
the verification
Percentage - Passed the verification
Critical Suppliers 37 32 86.49%
Other Suppliers 978 59 6.03%
Grand Total 91  
       
High Risk Suppliers - - -

แนวทางการประเมิน ESG แบบ On-Site Assessment 

จากผลการประเมินความเสี่ยง กลุ่มไทยออยล์ได้ทำติดตามและประเมินความเสี่ยง ESG ภาคสนามร่วมกับคู่ค้า เช่น การประเมิน SSHE
(Security, Safety, Occupational Health, and Environment) ที่ไซต์งานของทั้งไทยออยล์บริษัทคู่ค้า

ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับงาน Major Turn Around (MTA) จะมีผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มไทยออยล์ร่วมตรวจสอบภาคสนามกับคู่ค้า เพื่อให้
แน่ใจคู่ค้าที่มีนัยสำคัญได้ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับ แนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (SCOC)

                         Thaioil Group Site                                            Supplier Site  

Supplier Assessment

                Number of significant             Number of significant suppliers        Number of suppliers with 
              supliers assessed via desk              assessed and found               potential negative impacts 
          assessments/on-site assessments         potential negative impacts              that were suspended

       % of significant suppliers assessed     % of significant suppliers supported          Number of suppliers with 
                                                    in CA implementation                  potential negative impacts 
                                                                                            that were terminated

          Suppliers Corrective Action Progress                                   Supplier in Capacity Building Programs

            Number of significant supliers                                           Number of significant suppliers  
           supported in CA implementation                                          in capacity building programs

              % of significant suppliers                                           % of significant suppliers in suppliers
             supported in CA implementation                                        in capacity building programs

 

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน – เปิดเผยข้อมูล (COMMUNICATE)

 

 

การสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับคู่ค้า เช่น นโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง,
กลยุทธ์และทิศทางงานจัดซื้อจัดจ้างจ้าง, หลักการงานจัดซื้อจัดจ้าง, 
CSR in Supply Chain, มารตรการการป้องกัน COVID-19 สำหรับ
คู่ค้ากลุ่มกลุ่มไทยออยล์ ถูกสื่อสารผ่านเว็ปไซต์ กิจกรรมสานสัมพันธ์
คู่ค้างานสัมมนาคู่ค้าประจำปี รวมไปถึงข่าวสารผ่านอีเมล์กลางคู่ค้า
สัมพันธ์

ในปี 2565 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการสื่อสารอย่างต่อเนื่อง และใกล้
ชิดกับคู่ค้า ผู้รับเหมากลุ่มไทยออยล์ ทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่าง
มีคุณภาพปลอดภัย และตามกำหนดเวลาที่ได้วางแผนไว้ โดยทำให้
งานซ่อมบำรุงสำเร็จลุล่วงตามแผนงานที่ได้วางไว้ และมีพิธีมอบ
ใบรับรองและโล่เกียรติยศให้กับบริษัทผู้รับเหมาที่ประสบความสำเร็จ 
ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงการพลิกฟื้นครั้งใหญ่ของปี 2562-2565

Supplier Activities

• Contractor Management : KOM with Contractor Management 2020

• Contractor Management : KOM with Contractor Management 2021

• Contractor Management : KOM with Contractor Management 2022

การประชุมผู้รับเหมากับผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มไทยออยล์ เพื่อเน้นย้ำการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย และเตรียมความพร้อม
สำหรับงานหยุดซ่อมบำรุงใหญ่ (Major Turnaround) ของบริษัทไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทไทยลู้ปเบส จำกัด (มหาชน)
เพื่อส่งมอบตามแผนงาน

• Contractor Management : Management Site Walk at Labix Y2022

 

• Contractor Management : Management Site Walk at TLB Y2022

• Contractor Award 2020

• Contractor Award 2022

• Annual supplier conference 2019-2023 :
การสื่อสารวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ทิศทางการดำเนินงานจัดซื้อจัดจ้างกลุ่มไทยออยล์ รวมไปถึงการจัดการเชิงรุกทางด้าน
SSHE สิทธิมนุษยชนสำหรับคู่ค้า และการกำกับดูแลกิจการ ผ่านงานสัมมนาคู่ค้าประจำปี ในธีมงานเพื่อนแท้สู่ความยั่งยืน
(Partner For Life)
 

• PTT Group CG Day : 

การเชิญคู่ค้าหลัก จำนวน 2,100 ราย เข้าร่วมงาน PTT Group CG Day เพื่อแลกเปลี่ยนเรียบรู้และสร้างเครือข่าย

• Regular Communicate COVID-19 measures : 
จัดการสื่อสารมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ผ่านทางอีเมล์ การประชุมออนไลน์ อย่างต่อเนื่อง
อีกทั้งยัง มีการบริหารจัดการอย่างใกล้ชิด การส่งเสริมให้คู่ค้าปฏิบัติตามมาตการได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และดำเนินการ
ได้อย่างต่อเนื่อง อาทิเช่น การจัดฝึกอบรมการตรวจ ATK ให้กับบริษัทผู้รับเหมา

• No Gift Policy Communication : 
การสื่อสารผ่านกิจกรรมสานสัมพันธ์ เพื่อให้คู่ค้าได้รับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามเจตนารมณ์ด้านความโปร่งใสในงานจัดซื้อจัดจ้าง
กลุ่มไทยออยล์ อาทิ นโยบายงดรับของขวัญและของกำนัล (No Gift Policy)