คำถามที่พบบ่อย

ทำไมเวลาพูดถึงตลาดนํ้ามัน ต้องดูราคานํ้ามันดิบเวสต์เท็กซัสที่ตลาดไนเม็กซ์ของสหรัฐฯ

นํ้ามันดิบเวสต์เท็กซัสมีการซื้อขายกันที่ตลาดไนเม็กซ์ของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นตลาดซื้อขายล่วงหน้า (Futures market) นับเป็นตลาดที่มีสภาพคล่องมากที่สุดและมีปริมาณการซื้อขายล่วงหน้ากัน มากที่สุดในโลก โดยราคานํ้ามันดิบเวสต์เท็กซัสนั้นถูกใช้เป็นราคาอ้างอิง (benchmark)ในการซื้อขายนํ้ามันดิบหลายชนิดในทวีปอเมริกาเหนือ
และละตินอเมริกา

โดยปกติราคานํ้ามันดิบเบรนท์ที่เป็นราคาอ้างอิงของประเทศในฝั่งยุโรปและแอฟริกา และราคานํ้ามันดิบดูไบ ที่ใช้อ้างอิงราคาของประเทศในทวีปเอเชีย และตะวันออกกลางมักจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับราคานํ้ามันดิบ เวสต์เท็กซัสโดยราคานํ้ามันดิบเบรนท์จะมีราคาถูกกว่าราคานํ้ามันดิบเวสต์เท็กซัสประมาณ 1-2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรลส่วนนํ้ามันดิบดูไบซึ่งถือเป็นนํ้ามันดิบที่มีคุณภาพด้อยที่สุดในบรรดา นํ้ามันดิบที่กล่าวมาเนื่องจาก เป็นนํ้ามันดิบชนิดหนักและให้สัดส่วนนํ้ามันเตาจำนวนมากดังนั้นราคานํ้ามันดิบดูไบจึงมีราคา ถูกที่สุด โดยมักจะต่ำ กว่านํ้ามันดิบเวสต์เท็กซัสประมาณ 2-3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล อนึ่งในบางช่วงเวลานํ้ามันดิบเวสต์เท็กซัสอาจ มีราคาถูกกว่านํ้ามันดิบเบรนท์หรือนํ้ามันดิบดูไบได้ หากปัจจัยของอุปสงค์หรือ อุปทานของตลาดนํ้ามัน ในแต่ละภูมิภาคเกิดความผันผวน

ทำไมต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ และตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ มีผลอย่างไรต่อราคานํ้ามัน

ราคานํ้ามันดิบโดยพื้นฐานจะถูกกำหนดโดยอุปสงค์/อุปทานใน ตลาด (Fundamentals) ถ้าอุปสงค์ (Demand หรือ ความต้องการใช้) ปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลให้ราคาปรับสูงขึ้น ในทางกลับกัน ถ้าอุปทาน (Supply หรือ ปริมาณนํ้ามัน) ปรับเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ราคาปรับลดลง ตัวเลขเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่ง ที่จะบ่งบอกถึงปริมาณ ความต้องการใช้ (อุปสงค์) นํ้ามันในอนาคต กล่าวคือถ้า ตัวเลขเศรษฐกิจออกมาดี แสดงว่า เศรษฐกิจมีการขยายตัว ดังนั้นการใช้นํ้ามันก็จะปรับ ตัวสูงขึ้นตามไปด้วย โดยปกติ เมื่อสหรัฐฯ ประกาศตัวเลขเศรษฐกิจออกมาปรับตัวดีขึ้น ราคานํ้ามันดิบในวันนั้นก็จะปรับขึ้นตามไปด้วย

โดยตัวเลขเศรษฐกิจที่มีความสำคัญ และมีผลกระทบมากต่อราคานํ้ามันดิบ ได้แก่ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ
(จีดีพี) อัตรากการว่างงาน ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค รวมทั้ง
ตัวเลขในภาคอสังหาริมทรัพย์ เช่น ยอดขอสร้างบ้านใหม่ เป็นต้น

ปัจจัยอะไรบ้าง ที่ส่งผลกระทบต่อราคานํ้ามันในตลาดโลก

 

เราสามารถแบ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคานํ้ามันดิบได้เป็นประเภทใหญ่ 3 ประเภท  

1. ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamentals) ประกอบด้วย อุปสงค์และอุปทาน

1.1 อุปสงค์ (Demand) คือ ความต้องการใช้นํ้ามัน ซึ่งจะมี 2 ส่วน คือ ความต้องการใช้นํ้ามันดิบ (โรงกลั่นนํ้ามัน) และ ความต้องการใช้นํ้ามัน สำเร็จรูป (ผู้บริโภค)ซึ่งการประกาศหรือการประมาณการความต้อง การใช้นํ้ามันนั้น โดยปกติแล้วจะเป็นความต้องการใช้นํ้ามันสำเร็จรูป ซึ่งอุปสงค์นํ้ามันจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับราคานํ้ามัน กล่าวคือ ราคานํ้ามันจะปรับสูงขึ้น เมื่ออุปสงค์นํ้ามันปรับเพิ่มขึ้น เวลาพิจารณาว่าอุปสงค์จะเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้น จะดูจากการเติบโตทาง เศรษฐกิจ กล่าวคือ ในช่วงที่เศรษฐกิจขยายตัว ปริมาณการใช้นํ้ามัน จะปรับสูงขึ้น ส่วนในช่วงเศรษฐกิจหดตัว ความต้องการใช้นํ้ามันก็จะปรับ ลดลง โดยเฉพาะ

1.2 อุปทาน (Supply) คือ ปริมาณการผลิตนํ้ามัน ซึ่งจะประกอบด้วยปริมาณนํ้ามันดิบ (จากบ่อนํ้ามัน) และปริมาณนํ้ามันสำเร็จรูป (ผลิตภัณฑ์จากโรงกลั่น) ซึ่งในการประกาศหรือการประมาณการอุปทานนํ้ามันนั้น โดยปกติแล้วจะเป็นอุปทาน นํ้ามันดิบ ซึ่งอุปทานนํ้ามันจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางตรงกันข้ามกับราคานํ้ามัน กล่าวคือ ราคานํ้ามันจะปรับสูงขึ้นเมื่ออุปทานนํ้ามันปรับลดลง  

เวลาพิจารณาทิศทางของอุปทานนํ้ามันดิบนั้น จะดูจากปริมาณการผลิตนํ้ามันดิบของผู้ผลิตนํ้ามันดิบสองกลุ่มได้แก่ ผู้ผลิตกลุ่มโอเปค (OPEC) และผู้ผลิตนอกกลุ่มโอเปค (Non-OPEC) โดยปกติผู้ผลิตกลุ่มโอเปคจะผลิตนํ้ามันดิบคิดเป็นประมาณ 35% ของกำลังการผลิตของโลก ซึ่งโอเปคจะเป็นผู้สร้างสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานในตลาด เช่นถ้าปริมาณการผลิตนํ้ามันดิบของผู้ผลิต นอกกลุ่มโอเปคปรับสูงขึ้น ผู้ผลิตกลุ่มโอเปคจะร่วมกันลดกำลังการผลิตของกลุ่มลง เพื่อไม่ให้เกิดภาวะอุปทานสูงเกินไป จนล้นตลาดและทำให้ราคานํ้ามันดิบตกต่ำลงไป

เนื่องจากกลุ่มโอเปคมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสมดุลย์ของปริมาณนํ้ามันดิบในตลาด ดังนั้นตลาดจึงให้ความ สำคัญต่อการประชุมโอเปค ที่ปกติจะจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียโดยในการประชุมจะมีการตัดสินใจเรื่องโควตา การผลิตนํ้ามันดิบ โดยโอเปคจะอาศัยการปรับเปลี่ยนโควต้าการผลิตในการกำหนดราคานํ้ามันดิบให้อยู่ในระดับที่โอเปค เห็นว่าเหมาะสม เช่น ในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 ที่ราคานํ้ามันดิบปรับตัวปรับตัวลดลงมากนั้น โอเปคได้ตัดสินใจปรับ ลดกำลังการผลิตหลายต่อหลายครั้ง รวมทั้งสิ้นลดลง 4.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปริมาณการผลิตสูงสุดในเดือน ก.ย. 2551 เพื่อลดปริมาณนํ้ามันดิบส่วนเกินออกจากตลาด ซึ่งผลของการปรับลดโควตาการผลิตนํ้ามันดิบนั้น มีส่วนสำคัญ ที่ช่วยผยุงราคานํ้ามันดิบในขณะนั้นไม่ให้ปรับลดลงไป

1.3 ปริมาณนํ้ามันคงคลัง (Inventory หรือ สต๊อกนํ้ามัน) ประกอบไปด้วย ปริมาณนํ้ามันดิบคงคลัง และปริมาณนํ้ามัน สำเร็จรูปคงคลัง โดยปริมาณนํ้ามันคงคลังของสหรัฐฯ ที่ประกาศโดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ (EIA) ซึ่งจะประกาศเป็นประจำทุกวันพุธ จะส่งผลกระทบโดยตรงต่อราคานํ้ามันดิบเวสต์เท็กซัส นอกจากนี้ ปริมาณนํ้ามันคงคลังของยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ ซึ่งมีขนาดใหญ่ ก็จะมีผลกระทบต่อราคานํ้ามันดิบ และนํ้ามันสำเร็จรูป ในแต่ละภูมิภาคนั้นๆ เช่นกัน โดยข้อมูลผันแปรตามการเปลี่ยนแปลงของปริมาณนํ้ามันคงคลังนั้น

 


2. ปัจจัยด้านตลาดเงินและตลาดทุน (Financial/Investment flows) ตลาดเงินและตลาดทุน มีความเชื่อมโยงกับตลาดนํ้ามันในปัจจุบัน เนื่องจากการซื้อขายนํ้ามันมีลักษณะเป็นซื้อขาย เพื่อการลงทุนมากขึ้น โดยนักลงทุนจะตัดสินใจลงทุนในตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดโดยจะขายหรือถอนเงิน จากตลาดที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า

2.1 ตลาดเงิน: โดยปกติราคานํ้ามันดิบจะเคลื่อนไหวในทิศทางตรงกันข้ามกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ กล่าวคือ ราคานํ้ามันดิบจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง สาเหตุที่ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง แล้วราคานํ้ามันดิบจะปรับตัวสูงขึ้นนั้น มองได้ 4 มุมมอง ดังนี้

(1) มุมมองของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน: นักลงทุนจะเลือกลงทุนในตลาดที่คาดว่าจะให้ผลตอบแทนสูงสุด ดังนั้นในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจดี นักลงทุนจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าโดยจะเทขายเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และย้ายเงินลงทุนไปลงทุนในสินทรัพย์ที่ มีความเสี่ยงสูงขึ้น เช่น ตลาดหุ้น และ ตลาดนํ้ามัน ส่งผลให้ดัชนีราคาหุ้นและราคานํ้ามันปรับสูงขึ้น ในขณะที่ค่าเงิน ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากการถูกเทขาย
(2) มุมมองของการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ: เนื่องจากปัจจัยหลักที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น มาจากต้นทุนพลังงาน ซึ่งส่วนใหญ่คือ ราคานํ้ามัน นักลงทุนจึงเลือกลงทุนในนํ้ามันซึ่งโดยทั่วไปจะได้ผลตอบ แทนมากกว่าหรือเท่ากับเงินเฟ้อ ดังนั้นการลงทุนในนํ้ามันจึงเป็นการป้องกันความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่แท้ จริงไม่ให้ติดลบ ใขณะที่การลงทุนในสินทรัพย์อื่น เมื่อเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้น อาจจะส่งผลให้ผลตอบแทนที่แท้จริง (หักเงินเฟ้อออก) ติดลบ
(3) มุมมองของผู้ผลิต: เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินหลักในการซื้อขายนํ้ามัน ดังนั้น เมื่อค่าเงิน ดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ผู้ผลิตจะได้รับเงินเป็นจำนวนน้อยลงจากการขายนํ้ามันในปริมาณเท่าเดิม ดังนั้น ผู้ผลิตจะยินยอมขายนํ้ามันดิบในราคาที่ปรับสูงขึ้น เพื่อให้ได้ปริมาณเม็ดเงินกลับเข้ามาในมูลค่าที่เท่าเดิม จึงส่งผลให้ราคานํ้ามันปรับเพิ่มขึ้น
(4) มุมมองของผู้บริโภค: เนื่องจากเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นสกุลเงินหลักในการซื้อขายนํ้ามัน ถ้าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าลง ผู้บริโภคจะสามารถซื้อนํ้ามันในปริมาณเท่าเดิมโดยมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง ดังนั้นจะส่งผลให้การใช้นํ้ามันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น และจะส่งผลให้ราคานํ้ามันปรับเพิ่มขึ้นด้วย


2.2 ตลาดทุน: ราคาน้ำมันดิบโดยปกติจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกันกับตลาดหุ้น (ซึ่งดัชนีราคาหุ้นหลักของสหรัฐฯ คือดัชนีดาวโจนส์) เนื่องจาก หุ้นและน้ำมัน ถือเป็นสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งให้ผลตอบแทนสูง ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจสดใส นักลงทุนมีความมั่นใจต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ ก็จะหันมาลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากขึ้น โดยการซื้อหุ้นและน้ำมัน เนื่องจากให้ผลตอบแทนสูงกว่าการลงทุนอื่นๆ เช่น การซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ การซื้อพันธบัตรรัฐบาล นอกจากนี้ หุ้นกลุ่มพลังงานถือเป็นสัดส่วนค่อนข้างใหญ่ของตลาดหุ้น เมื่อราคาน้ำมันดิบขึ้น หุ้นกลุ่มพลังงานก็จะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งก็จะดึงดัชนีหุ้นโดยรวมขึ้นตามไปด้วย 

3. ปัจจัยทางด้านความรู้สึกของตลาด (Sentiment) ตลาดเงินและตลาดทุน มีความเชื่อมโยงกับตลาดนํ้ามันในปัจจุบัน เนื่องจากการซื้อขายนํ้ามันมีลักษณะเป็นซื้อขาย เพื่อการลงทุนมากขึ้น โดยนักลงทุนจะตัดสินใจลงทุนในตลาดที่ให้ผลตอบแทนสูงที่สุดโดยจะขายหรือถอนเงิน จากตลาดที่ให้ผลตอบแทนต่ำกว่า

ความรู้สึกของตลาด หรือ เราเรียกว่า ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา เป็นอีกปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อราคานํ้ามัน อย่างมากโดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา เนื่องจาก ความรู้สึกของนักลงทุนต่อข่าวหรือเหตุการณ์ต่างๆ และการคาดการณ์เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ในอนาคต ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ ความต้องการใช้นํ้ามันในอนาคต ปริมาณนํ้ามัน ที่จะผลิตออกมาสู่ตลาด ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของประเทศผู้ผลิตนํ้ามันดิบที่อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตนํ้ามันดิบ ซึ่งเรื่องเหล่านี้จะส่งผลในแง่จิตวิทยาต่อนักลงทุน ทำให้มีแรงซื้อนํ้ามันเพิ่มขึ้นจำนวนมากเพื่อเก็งกำไรในอนาคต โดยนักลงทุนอาจเกรงว่า ข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลให้ราคานํ้ามันในอนาคตมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น จึงรีบเข้าไป ซื้อนํ้ามันล่วงหน้าไว้ก่อน เพื่อเตรียมขายเมื่อราคาสูงขึ้นในภายหลัง ส่งผลให้ราคานํ้ามันปรับตัวขึ้นทันที จากแรงซื้อที่เพิ่มขึ้น
ในทางกลับกันหากข่าวหรือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นถูกมองว่าจะส่งผลให้ให้เกิดอุปทานมากขึ้นกว่าอุปสงค์ อาจจะส่งผลให้มี การเทขายนํ้ามันออกมามากก็ได้ เพราะเชื่อว่าราคานํ้ามันจะปรับลดลงในอนาคต ทำให้นักลงทุนรีบเทขายนํ้ามันทันที ทำให้ราคานํ้ามันตกลง เช่น ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลกปี 51 ราคานํ้ามันดิบได้ปรับลดลงไปมาก สาเหตุมาจากการ ที่นักลงทุนกังวลว่า เศรษฐกิจโลกถดถอยจะส่งให้ความต้องการใช้นํ้ามันของโลกมีแนวโน้มปรับลดลง ดังนั้นจึงได้เทขายนํ้ามันออกมา แต่หลังจากนั้นในช่วงไตรมาส 2 ของปี 52 ราคานํ้ามันก็ได้เริ่มปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนคาดการณ์ว่า ความต้องการใช้นํ้ามัน ในอนาคตของสหรัฐฯ จะเริ่มปรับตัวดีขึ้น (แม้ว่าการใช้นํ้ามันของสหรัฐฯ ในขณะนั้นยังคงตกต่ำอยู่ก็ตาม) หรือจะเป็นกรณี การขู่ยิงขีปนาวุธของอิหร่าน หรือ การที่สหรัฐฯ จะเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรต่ออิหร่าน ก็ส่งผลจิตวิทยาในแง่ที่ว่า การผลิตนํ้ามันดิบของอิหร่านอาจ จะได้รับผลกระทบจากความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น (แม้ว่าการผลิตของอิหร่านในขณะนั้นยังอยู่ในระดับปกติก็ตาม)
ตัวเลขปริมาณนํ้ามันคงคลังของสหรัฐฯ ประกาศโดยสถาบันใด และมีผลต่อราคานํ้ามัน ดิบอย่างไร


สำนักงานข้อมูลสารสนเทศด้านพลังงาน (EIA) กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ จะมีการประกาศตัวเลขปริมาณนํ้ามันคงคลัง รวมถึง ปริมาณการใช้ การผลิต การนำเข้าและการส่งออก ของนํ้ามันดิบ นํ้ามันเบนซิน นํ้ามันดีเซล นํ้ามันอากาศยาน และนํ้ามันเตา ของสหรัฐฯ เป็นประจำทุกวันพุธ นอกจากนี้ทางสถาบัน ปิโตรเลียมด้านพลังงานของสหรัฐฯ (API) ก็ได้มีการประกาศตัวเลขปริมาณนํ้ามันคงคลัง เช่นเดียวกันโดยจะประกาศเป็น ประจำทุกเย็นวันอังคาร หลังจากที่ตลาดไนเม็กซ์ได้ปิดทำการไปแล้ว ดังนั้นจึงไม่มีผลต่อราคาปิดของนํ้ามันดิบเวสต์เท็กซัสในวันอังคาร

ส่วนทางรอยเตอร์ได้มีการสำรวจปริมาณนํ้ามันคงคลังจากความเห็นของนักวิเคราะห์หลายๆ สำนักเป็นประจำทุกสัปดาห์ และนำข้อมูลทั้งหมด มาเฉลี่ยกัน สำหรับปริมาณนํ้ามันดิบ นํ้ามันเบนซิน และนํ้ามันดีเซล ซึ่งถ้าตัวเลขปริมาณนํ้ามัน คงคลังที่ประกาศโดยสำนักงานข้อมูลสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐฯ ออกมาไม่เท่ากับที่คาดการณ์ไว้ ก็จะส่งผลกระทบ ต่อราคานํ้ามันดิบ ยิ่งต่างกันมาก ยิ่งกระทบต่อ ราคามาก เท่านั้นเนื่องจาก ตลาดได้รับรู้การประมาณ การปริมาณ นํ้ามันคงคลังในราคานํ้ามันดิบไปแล้วในช่วง 1-2 วันก่อนหน้า ที่จะมีการ ประกาศตัวเลขจริง ซึ่งโดยปกติ ปริมาณนํ้ามันคงคลังปรับลดลง จะส่งผลให้ราคานํ้ามันปรับ สูงขึ้น เนื่องจาก ตลาดกังวลว่า จะมีนํ้ามันไม่เพียงพอต่อ ความต้องการ ในทางกลับกัน ปริมาณนํ้ามัน คงคลังที่ ปรับเพิ่มขึ้น จะกดดันราคานํ้ามันให้ปรับลดลง เนื่องจากตลาด มองว่า มีอุปทานนํ้ามันอยู่เหลือเฟือในขณะ ที่ความต้อง การใช้ปรับลดลง
 

แต่ในบางครั้งเราจะพบว่า ปริมาณนํ้ามันคงคลังในแต่ละชนิดที่ประกาศออกมานั้นออกมาในทิศทางที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ปริมาณนํ้ามันดิบคงคลังปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ ปกติจะส่งผลให้ราคาปรับลดลง แต่ปริมาณ นํ้ามันดีเซลคงคลังกลับปรับลดลงมากกว่าคาด ปกติจะส่งผลให้ราคาปรับเพิ่มขึ้น ในกรณีที่ปริมาณนํ้ามันคงคลัง ออกกมาในลักษณะที่ทิศทางแตกต่างกันนั้นความเคลื่อนไหวของราคานํ้ามันจะขึ้นอยู่กับความรู้สึกของนักลงทุนในตลาดเป็นหลัก ว่าในช่วงเวลานั้นให้ความสำคัญกับตัวเลขนํ้ามันชนิดใด เช่น ในช่วงฤดูหนาวจะให้นํ้าหนักกับตัวเลข ปริมาณนํ้ามันดีเซลคงคลังมากกว่า เนื่องจากเป็นช่วงที่มีความต้องการใช้นํ้ามันดีเซลเพื่อทำความร้อนสูง ในขณะที่ฤดูร้อนที่มีการใช้นํ้ามันเบนซินมาก ตลาดจะให้ความสำคัญต่อปริมาณนํ้ามันเบนซินคงคลังมากกว่า
 
หน่วยงานหรือองค์กรที่มีความสำคัญต่อตลาดนํ้ามันของโลกประกอบด้วยอะไรบ้าง


สำนักงานข้อมูลสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา (EIA: Energy Information Agency) ก่อตั้งโดยสภาคอง เกรสในปี พ.ศ. 2520 เป็นองค์กรอิสระสังกัดกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลสถิติเกี่ยวกับพลังงาน ทั้งทางด้านอุปสงค์ อุปทาน การจัดจำหน่าย ราคา เทคโนโลยี รวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจและการเงิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อคาดการณ์ วิเคราะห์ และผลักดันนโยบายพลังงานที่เหมาะสม และให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ พลังงาน รวมถึงผลกระทบของพลังงานต่อภาวะเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม โดยทั้งมีการจัดทำรายงานการ คาดการณ์ตลาดนํ้ามันในระยะสั้นและระยะยาว โดยรายงานสถานการณ์ตลาดนํ้ามันประจำเดือน จะออกในวันอังคารที่ 2 ของทุกเดือน ซึ่งจะมีการประมาณการความต้องการใช้นํ้ามันและปริมาณการผลิตนํ้ามันดิบของโลก
สำนักงานพลังงานสากล (IEA: International Energy Agency) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2517 มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นองค์กรภายใต้องค์การเพื่อความร่วมมือทาง เศรษฐกิจและการพัฒนา หรือ โออีซีดี โดยแรกเริ่มก่อตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการป้องกันภาวะการขาด แคลนนํ้ามันของประเทศสมาชิก และให้ข้อมูลทางด้านสถิติเกี่ยวกับ ตลาดนํ้ามันและพลังงาน นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาทาง ด้านนโยบายพลังงานให้กับ 28 ประเทศสมาชิก และประเทศที่ไม่ ได้เป็นสมาชิก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จีน อินเดีย และรัสเซีย โดยนโยบายพลังงานจะเน้นไปในทางความมั่นคงทางด้านพลังงาน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการปกป้องสิ่งแวดล้อม โดยให้ความ สำคัญกับการป้องกันภาวะโลกร้อน การใช้พลังงานทดแทน และความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีระหว่างประเทศ

กลุ่มโอเปค (OPEC: Organization of Petroleum Exporting Countries) ได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2503 มีสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วย ซาอุดีอาระเบีย อิรัก อิหร่าน คูเวต และเวเนซุเอลา ต่อมา กลุ่มโอเปคมีสมาชิก เพิ่มเติมอีก 8 ประเทศ คือ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กาตาร์ ไนจีเรีย แอลจีเรีย ลิเบีย อินโดนีเซีย เอกวาดอร์ และล่าสุดประเทศแองโกลารวมเป็น 13 ประเทศ สำนักงานใหญ่ของกลุ่มโอเปคตั่งอยู่ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย อนึ่งประเทศอินโดนิเซียได้ถอนตัวออกจากกลุ่มโอเปคในปี 2551 หลังจากที่อินโดนีเซียเปลี่ยนจากผู้ส่งออกนํ้ามันดิบมา เป็นผู้นำเข้านํ้ามันดิบ กลุ่มโอเปคมีการผลิตนํ้ามันดิบประมาณ 29 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ถ้าไม่นับรวมอิรัก หรือ เรียกว่า กลุ่มโอเปก-11 ผลิตนํ้ามันดิบรวม 26.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ซึ่งคิดเป็นประม๊ณ 35% ของปริมาณการผลิตนํ้ามันโลก

โอเปค ตั้งขึ้นเพื่อประสานและสร้างเอกภาพด้านนโยบายน้ำมันระหว่างประเทศสมาชิก  โดยมุ่งรักษาเสถียรภาพของราคาน้ำมันสำหรับประเทศผู้ผลิต  และจัดหาน้ำมันป้อนประเทศผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพและสม่ำเสมอ  รวมถึงเพื่อรักษาผลตอบแทนที่เป็นธรรมให้แก่ผู้ลงทุนในธุรกิจน้ำมันด้วย  ตามปกติการประชุมรัฐมนตรีของประเทศสมาชิกถูกกำหนดไว้รอบปีละ 2 ครั้ง และสมาชิกทั้งหลายจะต้องปฏิบัติตามมติของที่ประชุม