การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
การบริหารจัดการสายโซ่อุปทาน
ความท้าทาย ความเสี่ยง
และผลกระทบ
ทำให้การดำเนินงานต้องพิจารณาถึงโอกาสและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการกำกับดูแลกิจการ (Governance) หรือ ESG ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้เสียและมอบผลตอบแทนที่ยั่งยืน นอกจากนี้ เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม หน่วยงานจัดซื้อจัดจ้างจึงมีการวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินความเสี่ยงด้านต่างๆ ของกลุ่มงานสินค้าและบริการทั้งหมดเป็นประจำสม่ำเสมอ อาทิเช่น ความเสี่ยงด้านอุปทาน (Supply Risks) ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (Sustainability Risks) เป็นต้น ทำให้สามารถทราบความเสี่ยงและความท้าทายที่จะเกิดขึ้น โดยประเด็นความท้าทายที่พบ อาทิ คู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนสูง ซึ่งอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อบริษัทฯ จึงจำเป็นต้องดำเนินการปิดประเด็นความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้าให้เรียบร้อยก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง นอกจากนี้ หากตรวจพบในภายหลังและอยู่ในระหว่างการดำเนินงานตามสัญญา บริษัทฯ จะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงกับคู่ค้า หากพบว่ามีประเด็นจริง จะขอให้คู่ค้าแก้ไขประเด็นที่ตรวจพบทันที โดยกำหนดแผนงานและระยะเวลาที่ชัดเจน เป็นต้น
นอกจากนี้ ในการดำเนินการกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง มีความเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจร้องเรียนในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง บริษัทฯ มีช่องทางการร้องเรียนที่ชัดเจนให้แก่คู่ค้า ประกาศอยู่บนเว็บไซต์ของไทยออยล์และมีการกํากับดูแลผ่านกระบวนการตรวจสอบภายในเพื่อแสดงความโปร่งใสในการดําเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม



ความมุ่งมั่น และเป้าหมาย
ควบคู่กับการดำเนินธุรกิจตามหลักการงานจัดซื้อจัดจ้างคือ ความโปร่งใส (Clear) เป็นธรรม (Fair) อย่างมืออาชีพ (Professional) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างเป็นส่วนหนึ่งในการบรรลุกลยุทธ์ทางธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งครอบคลุมและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามหลักการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน (ISO 20400: Sustainable Procurement) ช่วยลดโอกาสของการหยุดชะงักทางธุรกิจและการดำเนินงานที่ล่าช้า อันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด อีกทั้งยังเป็นการบริหารจัดการการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน สร้างประโยชน์ในระยะยาวสำหรับกลุ่มไทยออยล์และคู่ค้า และส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้มีส่วนได้เสีย จึงได้กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานให้สอดคล้องและเชื่อมโยงกับดัชนีวัดประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร ดังนี้
เป้าหมาย

คู่ค้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Supplier หรือ Significant Supplier) ที่ตอบรับ SCOC
เป้าหมายปี 2567
100%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
100%

คู่ค้าหลัก (Key Supplier) ที่ตอบรับ SCOC
เป้าหมายปี 2567
85%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
90%

คู่ค้ารายใหม่ที่ผ่านการขึ้นทะเบียน ตอบรับ SCOC
เป้าหมายปี 2567
100%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
100%

คู่ค้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic Supplier หรือ Significant Supplier) ที่ตอบรับ SCOC
เป้าหมายปี 2567
100%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
100%

คู่ค้าหลัก (Key Supplier) ที่ตอบรับ SCOC
เป้าหมายปี 2567
85%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
90%

คู่ค้ารายใหม่ที่ผ่านการขึ้นทะเบียน ตอบรับ SCOC
เป้าหมายปี 2567
100%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
100%

ข้อร้องเรียนในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับโครงการที่สำคัญของบริษัทฯ ที่พบว่าเป็นจริง
เป้าหมายปี 2567
0
กรณี
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
0
กรณี

คู่ค้าเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับการเข้าตรวจประเมินความเสี่ยงด้าน ESG
เป้าหมายปี 2567
90%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
100%

ข้อร้องเรียนในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างสำหรับโครงการที่สำคัญของบริษัทฯ ที่พบว่าเป็นจริง
เป้าหมายปี 2567
0
กรณี
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
0
กรณี

คู่ค้าเชิงกลยุทธ์ที่ได้รับการเข้าตรวจประเมินความเสี่ยงด้าน ESG
เป้าหมายปี 2567
90%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
100%

ความพึงพอใจโดยรวมของคู่ค้าต่อไทยออยล์
เป้าหมายปี 2567
มากกว่า 90%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
95%

การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของคู่ค้า
เป้าหมายปี 2566
มากกว่า 90%
เป้าหมายระยะยาวปี 2569
95%
กลุ่มไทยออยล์ให้ความสำคัญต่อการเปิดเผยผลการดำเนินงานอย่างโปร่งใสผ่านการรายงานและการติดตามตรวจสอบความสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากการประเมินประเด็นที่สำคัญต่อความยั่งยืน (Materiality Assessment) ไทยออยล์ได้ตั้งเป้าหมายการดำเนินงานในระยะยาวของ 3 เรื่องสำคัญ (Material issue) ซึ่งส่งผลกระทบต่อองค์กรสูงที่สุดและสามารถสร้างคุณค่าต่อองค์กรในระยะยาว ดังนี้
Non-hydrocarbon


1. ความเป็นเลิศทางธุรกิจ (Business Excellence)
- พัฒนา Procurement One Platform บูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและการทำงานที่อยู่บนหลายระบบรวมเข้าสู่แพลตฟอร์มเดียวกัน ทำให้การวิเคราะห์ข้อมูลรวดเร็ว เพื่อตอบโจทย์การทำงานที่ทันสมัย
- พัฒนาแพลตฟอร์มกลยุทธ์กลุ่มงานจัดหาสินค้าและบริการ (Category Development) เพิ่มความแข็งแกร่งโดยดำเนินการผ่าน Procurement Management Review (PMR) ซึ่งเป็นกลยุทธ์การลดต้นทุนค่าใช่จ่ายจากการจัดซื้อสินค้าและบริการ
2. พันธมิตรทางธุรกิจและความยั่งยืน (Sustainability & Partnership Enrichment)
ยกระดับความร่วมมือระหว่างบริษัทฯ กับคู่ค้าควบคู่ไปกับงานจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นเลิศและเป็นธรรมอย่างยั่งยืน เพื่อให้เกิดการเพิ่มคุณค่าด้าน ESG และนวัตกรรมร่วมกัน ได้แก่
- ยกระดับ ESG (ESG Enhancement) ผ่านความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสีย เช่น คู่ค้า พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อบูรณาการให้ ESG เป็นส่วนหนึ่งของงานจัดซื้อจัดจ้าง พร้อมยกระดับการสร้างความสัมพันธ์กับคู่ค้าเพื่อเพิ่มคุณค่าด้าน ESG ร่วมกัน
- สนับสนุนกลยุทธ์เศรษฐกิจหมุนเวียนของบริษัทฯ “Thaioil CE WE GO” ในส่วน Green Procurement โดยจัดซื้อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คู่ค้าพัฒนากระบวนการผลิตให้ได้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน
- Long-Term Partnerships ส่งเสริมความร่วมมือเชิงกลยุทธ์เพื่อการเติบโตร่วมกันในระยะยาว โดยมุ่งเน้นกลุ่มคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ และความร่วมมือจัดหาร่วมกันระหว่างบริษัทในกลุ่ม ปตท. เพิ่มอำนาจในการเจรจาต่อรอง

กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน
1. People บุคลากรของหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร และคู่ค้า จะได้รับการพัฒนาศักยภาพเพื่อสนับสนุนเป้าหมายด้านความยั่งยืน (ESG) ของบริษัทฯ
2. Patronage การส่งมอบคุณค่า เพื่อตอบสนองความต้องการของคู่ค้า
3. Platform การนำระบบที่น่าเชื่อถือและใช้งานทั่วโลก อาทิ ระบบ SAP Ariba, DocuSign มาใช้ในการดำเนินธุรกิจกับคู่ค้า เพื่อเพิ่มความถูกต้อง รวดเร็ว โปร่งใส เป็นธรรม และตอบโจทย์รูปแบบการทำงานที่เปลี่ยนไป (Digital Workplace)
4. Partner การสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจ และได้กำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน (KPI) ให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดขององค์กร
นอกจากนี้ ไทยออยล์ยังได้ดำเนินการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน (Sustainable Supply Chain Management) โดยบูรณาการแนวปฏิบัติด้านจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเข้ากับการดำเนินงานภายในห่วงโซ่อุปทาน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความโปร่งใสและความรับผิดชอบในทุกขั้นตอนของห่วงโซ่อุปทาน พร้อมสร้างความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสีย สุดท้ายนี้ การดำเนินการนี้ จะช่วยให้บริษัทฯ ได้รับมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ในขณะเดียวกันยังสามารถสร้างผลกระทบที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย โดยกระบวนการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนของกลุ่มไทยออยล์ (Thaioil Group’s Sustainable Supply Chain Management Process) ทางกลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการผ่าน Supplier ESG Program ซึ่งมีหมด 5 ขั้นตอนหลัก ดังนี้

1. Supplier Portfolio Management
เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดซื้อสินค้าและบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กรจึงเริ่มต้นด้วยขั้นตอนการบริหารจัดการพอร์ตโฟลิโอของคู่ค้าที่
กลุ่มไทยออยล์ทำธุรกิจด้วย โดยขั้นตอนนี้จะรวมถึงการส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินงานภายใต้แนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (Sustainable Code of Conduct for Suppliers of Thaioil Group: SCOC) ซึ่งครอบคลุม 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) มิติด้านสังคม (Social) และมิติด้านการกำกับดูแลกิจการ (Governance) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน ส่งเสริมความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ และการเติบโตร่วมกันในระยะยาว โดยคู่ค้ารายใหม่ทุกรายที่ขึ้นทะเบียนผ่านระบบต้องตอบรับ SCOC และยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (SCOC) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลง และเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าเข้าใจในแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ กลุ่มไทยออยล์จึงได้มีการสื่อสารแนวทาง SCOC ดังกล่าว ผ่านเว็บไซต์ของไทยออยล์และงานสัมมนาคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ประจำปี
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (SCOC) เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลและสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลง และเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าเข้าใจในแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ กลุ่มไทยออยล์จึงได้มีการสื่อสารแนวทาง SCOC ดังกล่าว ผ่านเว็บไซต์ของไทยออยล์และงานสัมมนาคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ประจำปี

กลุ่มไทยออยล์มีกระบวนการคัดเลือกคู่ค้าผ่านระบบ Ariba ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกคู่ค้าผ่านแบบประเมินคุณสมบัติคู่ค้าเบื้องต้น ทั้งด้านคุณภาพของสินค้าและบริการ สถานะทางการเงินของคู่ค้า รวมไปถึงหลักเกณฑ์ด้านการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมถึงประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ อันได้แก่ ข้อมูลด้านการจัดส่ง การบริหารจัดการด้านความปลอดภัย การยอมรับแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (SCOC) และผลการตรวจประเมินจากบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือ (Third Party) เช่น ISO9001, ISO14001, ISO/IEC17025, OHSAS18001, ISO50001 เป็นต้น อีกทั้ง สำหรับคู่ค้าที่มีความเสี่ยงทางด้านการกำกับดูแลกิจการได้มีกระบวนการตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายและแนวทางการป้องกันการคอร์รัปชันของบริษัทคู่ค้า เช่น คู่ค้าที่ต้องดำเนินการติดต่อกับหน่วยงานภาครัฐ เป็นต้น
2. Supplier Screening
นอกเหนือจากนี้ ยังมีการจัดกลุ่มคู่ค้าทางตรงที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ (Significant Tier-1 Supplier) ซึ่งเป็นคู่ค้าที่จัดหาสินค้าหรือบริการให้กับกลุ่มไทยออยล์โดยตรง ซึ่งมีเกณฑ์การคัดเลือกดังนี้
- เป็นคู่ค้าอยู่ในกลุ่มคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ (Strategic/Critical Suppliers) มีความสำคัญต่อธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์อยู่ในระดับสูง
- เป็นคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้าน ESG ระดับสูงขึ้นไป (Very High/High ESG Risk Suppliers)
สุดท้ายนี้ กลุ่มไทยออยล์ยังให้ความสำคัญกับคู่ค้าทางอ้อมที่มีนัยสำคัญต่อธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์ (Significant Non-Tier 1 Supplier) คือ คู่ค้าที่ไม่ได้จัดจำหน่ายสินค้าและบริการแก่กลุ่มไทยออยล์โดยตรง แต่จัดจำหน่ายสินค้าและบริการที่มีความสำคัญต่อคู่ค้าทางตรงที่มีนัยสำคัญของไทยออยล์
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน

3. Source to Contract Process
กลุ่มไทยออยล์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของความยั่งยืนและมีส่วนร่วมในการสร้างสังคมที่ยั่งยืน จึงได้นำหลักการ ESG มาบูรณาการเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าจะดำเนินงานสอดคล้องกับนโยบายและกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของกลุ่มไทยออยล์อย่างเคร่งครัด อาทิ
- มีการกำหนดเกณฑ์หรือคุณสมบัติด้านความยั่งยืนเข้าไปในเอกสารหรือข้อกำหนดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อลดความเสี่ยงด้าน ESG ที่อาจจะเกิดขึ้นและส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในช่วงระหว่างการจัดหาสินค้าและบริการ
- มีการนำข้อกำหนดด้าน ESG เข้ามาใช้ในขั้นตอนการทำสัญญาเพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าจะปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความยั่งยืนตลอดระยะเวลาของสัญญา และหลังลงนามสัญญา ยังมีการตรวจสอบคู่ค้าตลอดอายุสัญญาว่า คู่ค้ายังมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดด้าน ESG ของกลุ่มไทยออยล์ และมีการทบทวนประสิทธิภาพด้าน ESG อย่างต่อเนื่อง
- มีการประเมินผลการปฎิบัติงานของคู่ค้าหลังจากส่งมอบสินค้าและบริการตามความสำคัญของสินค้าและบริการ โดยเกณฑ์การประเมินจะครอบคลุมประเด็นด้านความยั่งยืน อาทิ การบริหารจัดการทางด้านความมั่นคง ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และอาชีวอนามัย (Security Safety Health and Environment: SSHE) การบริหารจัดการด้านความยั่งยืน (ESG) การปฏิบัติตามกฎระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการขนส่งสินค้าและบริการ และการจัดส่งสินค้าอันตราย (Hazardous Goods) เป็นต้น
4. Supplier Assessment and Development
4.1 การตรวจประเมินคู่ค้า (Supplier Assessment)
กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นในการดำเนินการตรวจประเมินด้านความยั่งยืนกับคู่ค้าและสนับสนุนให้คู่ค้าได้แสดงถึงศักยภาพการบริหารจัดการด้าน ESG โดยกลุ่มไทยออยล์ได้จัดทำแผนระยะยาวสำหรับการเข้าตรวจประเมินคู่ค้าเชิงกลยุทธ์แบบเชิงรุก ซึ่งเป็นผลมาจากการวิเคราะห์คู่ค้าที่มีความเสี่ยงต่อการดำเนินงาน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการความเสี่ยงในห่วงโซ่อุปทานและบรรลุเป้าหมายการตรวจประเมินคู่ค้าเชิงกลยุทธ์ที่ต้องได้รับการเข้าตรวจประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ให้ครบร้อยละ 100 ภายในปี 2569
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการตรวจประเมินด้านความยั่งยืนกับคู่ค้า ดังนี้
1. Supplier Desk Assessment ตรวจสอบใบรับรองและรายงานการตรวจประเมินจากหน่วยงานอิสระหรือสถาบันรับรองที่น่าเชื่อถือ (Independent Accredited Auditing Body) ที่เข้าตรวจประเมินคู่ค้า เช่น ISO14001, ISO50001, ISO45001, OHSAS18001, ISO9001, ISO17025, ISO27001, ประเมินโรงงานอุตสาหกรรมสีเขียวโดยกระทรวงอุตสาหกรรม และการรับรองจากโครงการ CAC โดย Thai Private Sector Collective Action Against Corruption, Corporate Social Responsibility, Department of Industrial Work Award (CSR-DIW Award) โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นต้น
2. Supplier On-Site Assessments กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการตรวจประเมินด้านความยั่งยืนภาคสนามกับคู่ค้า โดยแบ่งเป็น 2 ลักษณะ ดังนี้
- 2nd Party Supplier On-site Assessments การตรวจประเมินภาคสนามโดยหน่วยงานภายในของกลุ่มไทยออยล์ เช่น การตรวจประเมินการจัดการของเสีย (Waste Management Audit) ที่บริษัทคู่ค้า โดยหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมกลุ่มไทยออยล์, การตรวจประเมินด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (Security, Safety, Occupational Health, Environment: SSHE) ขณะที่คู่ค้าปฏิบัติงานในพื้นที่กลุ่มไทยออยล์ โดยหน่วยงานด้านความปลอดภัยกลุ่มไทยออยล์ และการตรวจประเมินการดำเนินงานตามสัญญาและข้อกำหนดต่างๆ ขณะที่คู่ค้าปฏิบัติงานในพื้นที่กลุ่มไทยออยล์ โดยหน่วยงานผู้ใช้งาน หน่วยงานปฏิบัติการ และหน่วยงานความปลอดภัย และยิ่งไปกว่านั้น สำหรับงานซ่อมบำรุงใหญ่ (Major Turn Around: MTA) จะมีผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มไทยออยล์เข้าตรวจประเมินภาคสนามร่วมกับคู่ค้า หรือที่เรียกว่า Management Site Walk เพื่อให้มั่นใจได้ว่าคู่ค้าที่มีนัยสำคัญได้ปฏิบัติงานสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (SCOC)
- 3rd Party Supplier On-site Assessments การตรวจประเมินภาคสนามโดยหน่วยงานอิสระหรือสถาบันรับรองที่น่าเชื่อถือ (Third Party Auditing Organizations that are Accredited by the Standard-Setting Organization) ซึ่งในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ได้ให้สถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) เข้าตรวจประเมินการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนกับคู่ค้าที่มีความเสี่ยงทางด้านความยั่งยืน (ESG) และ/หรือ คู่ค้าที่สำคัญเชิงกลยุทธ์ (Strategic/Significant Supplier) ณ พื้นที่ปฏิบัติงานของคู่ค้า โดยใช้แบบประเมินที่พัฒนามาจากมาตรฐาน ISO20400 แนวทางการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ครอบคลุมประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) สังคม (Social) และการกำกับดูแลกิจการ (Governance)
หลังจากการตรวจประเมินกับคู่ค้าแล้ว หากพบว่าคู่ค้าไม่ผ่านเกณฑ์การตรวจประเมิน ทางกลุ่มไทยออยล์จะแนะนำแนวทางการแก้ไขและการปรับปรุง (Corrective and Improvement Actions) ให้แก่คู่ค้าทั้งในรูปแบบการประชุมออนไลน์หรือที่บริษัทคู่ค้า (Remote/On-site) พร้อมจัดส่งแบบฟอร์มการบันทึกแผนการแก้ไขข้อบกพร่อง (Corrective Action Plan: CAP) ให้แก่คู่ค้าเพื่อให้คู่ค้าได้ดำเนินการแก้ไขได้อย่างเป็นระบบ ซึ่งคู้ค่าจะต้องบันทึกข้อบกพร่อง (Non-compliance Issues) สาเหตุของปัญหา (Root Causes) วิธีการแก้ปัญหา (Solid Solutions) และระบุวันที่ที่คาดว่าจะแก้ไขเสร็จสิ้น (Deadline) จากนั้นทางคู่ค้าจะต้องดำเนินการส่ง CAP ให้แก่กลุ่มไทยออยล์ภายในระยะเวลาที่กำหนด และ กลุ่มไทยออยล์จะจัดประชุมกับคู่ค้าเป็นประจำสม่ำเสมอ เพื่อติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการ (Implementation Progress) พร้อมสนับสนุนให้คำแนะนำแนวทางพัฒนาและปรับปรุงร่วมกันต่อไป ซึ่งจะลดความเสี่ยงด้าน ESG ที่อาจจะเกิดขึ้น พร้อมผลักดันการปฏิบัติงานสู่ความเป็นเลิศ และส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามแนวทางการปฏิบัติของกลุ่มไทยออยล์อันเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจระหว่างกลุ่มไทยออยล์กับคู่ค้าอีกด้วย


ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์มีผลการดำเนินการตรวจประเมินด้านความยั่งยืนกับคู่ค้า ดังนี้

4.2 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของคู่ค้า (Supplier Development and Capacity Building Program)
กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นพัฒนาและยกระดับศักยภาพให้แก่คู่ค้าในการบริหารจัดการความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งครอบคลุมประเด็น ESG โดยมีการดำเนินงานดังนี้
- สื่อสารข้อมูลความรู้และโครงการด้านความยั่งยืน (Supplier ESG Program) รวมถึงกระบวนการงานจัดซื้อจัดจ้างและความต้องการของกลุ่มไทยออยล์ให้แก่คู่ค้าเป็นประจำสม่ำเสมอผ่านช่องทางต่างๆ ได้แก่ งานสัมมนาคู่ค้าประจำปี การฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เว็บไซต์ของไทยออยล์ ESG News ผ่านช่องทาง Facebook ของบริษัทฯ และ SRM Newsletters ผ่านช่องทางอีเมล์ เป็นต้น
- มีการนำข้อมูลของคู่ค้าทั้งหมดที่ได้จากการตรวจประเมินมาเปรียบเทียบกัน (Supplier ESG Benchmark) ในแต่ละด้านของความยั่งยืน และจัดการประชุมเพื่อแบ่งปันข้อมูลของคู่ค้าที่มีผลการปฏิบัติงานด้านความยั่งยืนระดับดีเยี่ยมในแต่ละด้านให้แก่คู่ค้ารายอื่น และเปิดโอกาสให้มีการถามตอบระหว่างการดำเนินกิจกรรม เพื่อให้คู่ค้านำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของคู่ค้าและสนับสนุนผลระดับการปฏิบัติงานของคู่ค้าให้ดีขึ้นต่อไป
- มีการสนับสนุนคู่ค้าในการดำเนินการตามแผนการแก้ไขข้อบกพร่องผ่านช่องทางออนไลน์ (Supplier support (remote/onsite) on implementation of corrective/improvement actions) พนักงานจัดซื้อจัดจ้างของกลุ่มไทยออยล์จะดำเนินการจัดการประชุมกับคู่ค้าเพื่อติดตามความคืบหน้าและให้คำแนะนำสำหรับการปรับปรุงเพิ่มเติมผ่านระบบออนไลน์ เพื่อช่วยเหลือในการพัฒนาการดำเนินการแก้ไขแผนปรับปรุง เพื่อให้คู่ค้าสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ
- มีการจัดโปรแกรมสนับสนุนทางด้านเทคนิคเชิงลึกเพื่อสร้างความสามารถและประสิทธิภาพ ด้าน ESG ให้กับคู่ค้า (In-depth technical support programs to build capacity and ESG performance) เพื่อปรับปรุงแนวทางปฏิบัติงานและประสิทธิภาพขอคู่ค้าอย่างเป็นระบบ ในหัวข้อ ด้าน ESG ผ่านการฝึกอบรม การประเมินเบื้องต้น การพัฒนาระบบร่วมกัน และการวัดผล เพื่อเพิ่มศักยภาพของคู่ค้าในการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว ด้วยแนวทางปฏิบัติที่เป็นระบบ
ในปี 2567 ได้มีการสื่อสารข้อมูลและจัดโปรแกรมด้านความยั่งยืนให้แก่คู่ค้า เช่น

งานสัมมนาคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี โดยในปี 2567 ได้จัดงานในรูปแบบ Hybrid เพื่อสื่อสารวิสัยทัศน์ของกลุ่มไทยออยล์และสถานการณ์ในปัจจุบันตั้งแต่วิสัยทัศน์และทิศทางกลยุทธ์กลุ่มไทยออยล์, แผนงานจัดซื้อจัดจ้างกลุ่มไทยออยล์ ปี 2568, การบริหารจัดการความยั่งยืนกลุ่มไทยออยล์, กลยุทธ์ 3Vs (Value Maximization, Value Enhancement, Value Diversification)) แนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ (Sustainable Code of Conduct for Suppliers of Thaioil Group: SCOC) อีกทั้งยังมีบูธกิจกรรมในการให้ความรู้ด้าน ESG ต่างๆ อาทิ ข้อมูลด้านคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม (QSHE) ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) สิทธิมนุษยชน (Human Rights) และการกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance) และ ESG Best Practices โอกาสและความท้าทายของห่วงโซ่อุปทานกับการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero) และ Best Practicesเป็นต้น นอกจากนี้ เพื่อให้คู่ค้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความยั่งยืน นำความรู้ที่ได้รับในการสัมมนาครั้งนี้ไปประยุกต์ใช้ในบริษัทของคู่ค้า และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกลุ่มไทยออยล์

SSHE Contractor Workshop for Incident Preventionโปรแกรมการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (SSHE) ซึ่งเป็นการยกระดับศักยภาพด้าน SSHE ให้แก่คู่ค้าและมีการติดตามผลลัพธ์อย่างต่อเนื่องร่วมกันระหว่างกลุ่มไทยออยล์กับคู่ค้า โดยโปรแกรมนี้มีการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2564 เป็นโปรแกรมการพัฒนาศักยภาพด้านเทคนิคเชิงลึก (In-depth Technical Capacity Development Program) โดยมีกระบวนการพัฒนาอย่างเป็นระบบผ่าน 5 ขั้นตอน ได้แก่ Coach, Up & Re-Skills, Control, Recognize และ Share

การจัดอบรมคู่ค้าเพื่อขอการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) โดยโครงการนี้เป็นความร่วมมือกับกลุ่มปตท. ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี จะดำเนินการอบรมทั้งภาคทฤษฎีแบบออนไลน์และเชิงปฏิบัติการตลอดทั้งปีให้แก่คู่ค้า โดยสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ สถาบันเครือข่ายของกระทรวงอุตสาหกรรม (สรอ.) เพื่อผลักดันและสนับสนุนให้คู่ค้าดำเนินกิจการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การจัดอบรมความรู้ด้าน ESG ให้แก่คู่ค้า โดยที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านความยั่งยืน เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คู่ค้ามีความรู้ความเข้าใจและประยุกต์ความรู้ด้านความยั่งยืนไปในกระบวนการทำงานและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเป็นหนึ่งใน (In-depth technical support programs to build capacity and ESG performance)

โปรแกรมการอบรมระบบงานจัดซื้อจ้าง (E-procurement Training Program) ได้แก่ SAP Ariba Network สำหรับการขึ้นทะเบียนคู่ค้า การยื่นข้อเสนอ (Online Proposal Submission) และการรับใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (Online PO) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมจากการใช้กระดาษมาใช้ระบบ โดยโปรแกรมนี้จะครอบคลุมระบบต่างๆ ที่เกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างทั้งหมด และแยกการอบรมตามระบบให้เหมาะสมกับการใช้งานของคู่ค้า

PTT Group CG Day โครงการความร่วมมือกับกลุ่ม ปตท. ซึ่งจัดเป็นประจำทุกปี เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คู่ค้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) โดยในปี 2567 ได้เชิญคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ จำนวน 2,064 ราย เข้าร่วมงานนี้ ผ่านระบบ Online

การสื่อสารผ่านกิจกรรมสานสัมพันธ์ เพื่อให้ได้คู่ค้าได้รับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตามเจตนารมณ์ด้านความโปร่งใสในงานจัดซื้อจัดจ้างกลุ่มไทยออยล์ อาทิ นโยบายการงดรับของขวัญและของกำนัล (No Gift Policy) เป็นต้น

การตรวจประเมินด้านความยั่งยืน (ESG) ภาคสนามประจำปี 2567 หรือ Supplier ESG On-Site Assessment 2567) ณ พื้นที่ปฏิบัติงานของคู่ค้า โดยกลุ่มไทยออยล์ร่วมกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (สรอ.) เพื่อให้คู่ค้าได้รับคำแนะนำและสามารถนำไปปรับปรุงและพัฒนาด้านความยั่งยืน (ESG) ต่อไป หลังจากจบการตรวจประเมิน ได้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่คู่ค้าที่เข้าร่วมการตรวจประเมินและมีการแบ่งปันองค์ความรู้จากบริษัทคู่ค้าที่มีผลการประเมินสูงสุดในแต่ละมิติของ ESG อีกด้วย
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน


การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานกลุ่มไทยออยล์
นโยบายและกลยุทธ์การจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนจะดำเนินได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลนั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น บุคลากรของหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนผ่านการฝึกอบรมและกิจกรรมต่างๆ อาทิเช่น การเข้าร่วมอบรมการพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนตามแนวทางมาตรฐาน ISO 20400 (Sustainable Procurement) ซึ่งครอบคลุมเรื่องการบูรณาการความยั่งยืนเข้ากับนโยบาย กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ และกระบวนการด้านจัดซื้อจัดจ้างขององค์กร (Integrating Sustainability into Procurement Policy, Strategies and E2E Process) การจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความยั่งยืน (Organizing the Procurement Function towards Sustainability) และโปรแกรมด้านความยั่งยืนกับคู่ค้า (Supplier ESG Program) เป็นต้น เพื่อให้บุคลากรของหน่วยงานจัดซื้อจัดจ้าง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของตนเองในงานจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้งานจัดซื้อจัดจ้างตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทานเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กร
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์มีผลการดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่พนักงานกลุ่มไทยออยล์ดังนี้
โครงการพัฒนาบุคลากรด้านการจัดซื้อจัดจ้างผ่านการฝึกอบรม ทั้งหมด 547.52 ชั่วโมง
1. สิทธิมนุษยชนเพื่อความยั่งยืน: นโยบายสิทธิมนุษยชนของกลุ่มไทยออยล์
2. สิทธิมนุษยชนเพื่อความยั่งยืน: การตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชน (การประเมินความเสี่ยง)
3. การประชุมเชิงปฏิบัติการ กลยุทธ์ความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทานประจำปี 2567
4. การตรวจคัดกรองคู่ค้า (Supplier Screening Tool)
5. การพัฒนาอย่างยั่งยืน
6. การพัฒนาผู้ตรวจประเมินศักยภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของผู้ค้ากลุ่ม ปตท. (PTT Group ESG Auditor) ภาคทฤษฎี
7. การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การพัฒนาการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนตามแนวทางมาตรฐานสากล ISO20400
8. การพัฒนาความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน (Sustainable Supply Chain Development Program)
9. กลยุทธ์สู้ความยั่งยืนทางธุรกิจ (Sustainable Business in Action)
10. พื้นฐานการจัดการห่วงโซ่อุปทานสู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน (Supply Chain 101)
11. การประชุมเชิงปฏิบัติการ “การพัฒนาผู้ตรวจประเมินศักยภาพการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของผู้ค้ากลุ่ม ปตท. (PTT GROUP ESG AUDITOR) ภาคทฤษฎี ประจำปี 2567
12. PC Sharing Session: DJSI and ISO 20400
13. SCOC 2024 and Tips & Tricks of Supplier Registration
5. Supplier Phase Out
กลุ่มไทยออยล์มีการตรวจสอบคู่ค้าตลอดอายุสัญญาว่าคู่ค้ายังมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดด้าน ESG ของกลุ่มไทยออยล์ และมีการทบทวนประสิทธิภาพด้าน ESG ของคู่ค้าอย่างต่อเนื่อง และหากในกรณีที่คู่ค้าไม่สามารถบรรลุข้อกำหนดขั้นต่ำด้าน ESG ภายในระยะเวลาที่กำหนดได้ คู่ค้าเหล่านั้นจะถูกพิจารณาในการถูกระงับการดำเนินงานร่วมกับกลุ่มไทยออยล์หรือถูกระบุรายชื่ออยู่ในบัญชีดำ
6. การมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของคู่ค้า
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ยังดำเนินการพัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์ “E-procurement” อย่างต่อเนื่องเพื่อให้กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างมีความโปร่งใส (Clear) เป็นธรรม (Fair) อย่างมืออาชีพ (Professional) โดยได้รับความร่วมมือจากคู่ค้ามากขึ้น และทำให้คู่ค้าได้รับประโยชน์ ลดต้นทุน ประหยัดเวลาในการเดินทาง ส่งผลต่อความพึงพอใจของคู่ค้า รวมไปถึงการนำระบบเทคโนโลยีที่น่าเชื่อถือ มาใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง อาทิ นำระบบ SAP Ariba มาใช้ในการขึ้นทะเบียนคู่ค้า การยื่นซองประกวดราคา การรับใบสั่งซื้อสั่งจ้างแบบออนไลน์ และนำระบบ DocuSign มาใช้ในการลงนามสัญญาแบบ Digital Signature และได้มีจัดการฝึกอบรมคู่ค้าในการใช้งานระบบระบบ SAP Ariba อีกด้วย
กลุ่มไทยออยล์ยังผลักดันการยืนยันใบสั่งซื้อแบบออนไลน์ (Online PO) แก่คู่ค้าอย่างต่อเนื่องผ่านระบบ E-procurement ให้มากที่สุด เพื่อช่วยลดขั้นตอนระหว่างกัน เพิ่มความสะดวกและรวดเร็วให้แก่คู่ค้า พร้อมสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อม จนถึงปัจจุบัน สามารถลดการใช้กระดาษไปได้ประมาณ 164,784 แผ่น/ปี หากคิดตั้งแต่เริ่มใช้ระบบจะลดได้ประมาณ 1,100,628 แผ่น จากการทำธุรกรรมผ่าน Online PO นำไปสู่การใช้ทรัพยากรและพลังงานที่ลดลง


นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องร่วมกัน กลุ่มไทยออยล์ได้สำรวจความคิดเห็นคู่ค้าที่เคยยื่นซองประกวดราคาผ่านระบบ E-procurement (Online Bid Submission) พบว่าคู่ค้าส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อระบบอย่างมาก เนื่องจากช่วยลดต้นทุนแก่คู่ค้า เมื่อเทียบกับการยื่นชองแบบเดิมในแต่ละครั้ง ลดได้ประมาณครั้งละ 2,811.37 บาทและประหยัดเวลาในการเดินทางมา
ยื่นซอง ประมาณ 6.10 ชั่วโมง
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์มีผลการดำเนินการเสริมสร้างศักยภาพให้แก่คู่ค้า ดังนี้
เพื่อให้มั่นใจว่ากลุ่มไทยออยล์ทราบถึงความต้องการของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ได้สร้างการมีส่วนร่วม การสื่อสาร และการรับฟังข้อคิดเห็นในประเด็นต่างๆ โดยการสำรวจมุมมองของคู่ค้าที่มี
ต่อกลุ่มไทยออยล์ ในมุมมองหลักการบริหารงานจัดซื้อจัดจ้าง การบริการ ความโปร่งใสและยุติธรรม ซึ่งกลุ่มไทยออยล์ได้นำข้อคิดเห็นที่ได้รับมาบูรณาการเข้ากับกระบวนการตัดสินใจและดำเนินการของบริษัทฯ ในปี 2567 ไทยออยล์ได้ดำเนินการสำรวจมุมมองและความคิดเห็นของคู่ค้าผ่านบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในงานวิจัย พบว่า ผลการสำรวจมุมมองของคู่ค้าต่อการดำเนินงานร่วม
กับกลุ่มไทยออยล์ มีดังนี้

การบริหารจัดการคู่ค้าน้ำมันดิบและวัตถุดิบ
กลุ่มไทยออยล์ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำมันดิบและวัตถุดิบหลักในการกลั่น และดำเนินงานร่วมกับคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์ของกลุ่มไทยออยล์จะได้รับการดูแลตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างมีความรับผิดชอบ และไม่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืนจากการจัดซื้อน้ำมันดิบและวัตถุดิบ

ตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน
ข้อมูลผู้ค้าน้ำมันดิบและวัตถุดิบ
ไทยออยล์มีการจัดแบ่งระดับคู่ค้าน้ำมันดิบและวัตถุดิบ (Supplier Classification) โดยการพิจารณาจากยอดการสั่งซื้อ (Purchase Spending) ร่วมกับระดับความเสี่ยงด้าน ESG ทั้งในลักษณะภูมิศาสตร์ ซึ่งหมายถึงประเทศที่ตั้งอยู่ (Country-specific) และลักษณะอุตสาหกรรม (Sector-specific) เพื่อสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงจากคู่ค้าได้อย่างเหมาะสม

ด้านการกำกับดูแล
กลุ่มไทยออยล์มี SCOC เป็นแนวทางในการกำกับดูแลและสื่อสารให้แก่คู่ค้าฯ เพื่อตอบรับและปฏิบัติให้สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของกลุ่มไทยออยล์ ทั้งนี้ ในปี 2567 คู่ค้าน้ำมันดิบและวัตถุดิบเชิงกลยุทธ์ ร้อยละ 100 ได้ตอบรับแนวทาง SCOC ของกลุ่มไทยออยล์ และมีการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ SCOC ของกลุ่มไทยออยล์ โดยไม่พบประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG ที่อาจสร้างผลกระทบต่อธุรกิจ

