คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัท
คณะกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 9 เมษายน 2568
ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 15 ท่าน
กรรมการอิสระ
ประธานกรรมการ
ประธานกรรมการ
คณะกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 9 เมษายน 2568
ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 15 ท่าน
การปลูกฝังเรื่องการกำกับดูแลกิจการที่ดี จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ และการต่อต้านการทุจริต ตั้งแต่เริ่มทำงานวันแรก โดยผนวกเนื้อหาเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรปฐมนิเทศสำหรับพนักงานใหม่พร้อมกับส่งมอบคู่มือ CG ผ่านระบบ CG Reporting ส่งผลให้พนักงานใหม่ได้รับการสื่อสารข้อมูลและฝึกอบรม ครบร้อยละ 100
การจัดกิจกรรมมอบองค์ความรู้ให้กับลูกค้าทั้งในรูปแบบ Online และ On-Site ในหัวข้อต่างๆ อาทิ Fundamental of Refinery Process และ Business Overview & Refinery Overview เพื่อให้ลูกค้ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของภาพรวมธุรกิจของธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน และสถานการณ์ตลาดมากยิ่งขึ้น
การจัดกิจกรรม “Safety and Happy Hours” ให้กับพนักงานขับรถ ประจำปี 2567 เพื่อสร้างความตระหนักถึงความปลอดภัยในการเข้ารับผลิตภัณฑ์ ให้กับกลุ่มลูกค้าที่ปฏิบัติงานอยู่ที่สถานีจ่ายน้ำมัน ผู้ประสานงานขนส่ง เจ้าหน้าที่ห้องตั๋วและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรม ผ่านโครงการ “Cultural Activity” ด้วยรูปแบบกิจกรรมที่เสริมสร้างการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ของชาติ รวมถึงงานศิลปกรรม ร่วมกับลูกค้า ณ พิพิทธภัณฑ์เจ้าสามพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบ e – Mail รายเดือนเพื่อเพิ่มความรู้ทางด้าน BCG ซึ่งเป็นโมเดลเศรษฐกิจใหม่ที่ประกอบไปด้วยนโยบายการส่งเสริมระบบเศรษฐกิจ 3 ระบบของรัฐบาลไทย ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio Economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เช่น รถไฟฟ้า พลังงานไฮโดรเจน และนวัตกรรมในการลดโลกร้อนต่าง ๆ โดยในปี 2567 ภาพรวมความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ดีมาก (97 จาก 100 คะแนนเต็ม)
เป็นสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e – Mail) รายสัปดาห์ ส่งให้แก่พนักงานทุกคนในกลุ่มไทยออยล์ โดยมีเนื้อหาที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ความคิดนอกกรอบ และกรอบความคิดแบบเติบโต (Growth Mindset) เพื่อบ่มเพาะคุณสมบัติต่างๆ ที่นวัตกรพึงมีและสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของนวัตกรรมในยุคปัจจุบัน รวมถึงการให้ข้อมูลเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยในปี 2567 มีการเผยแพร่บทความ TOP Innovation e-Newsletter ทั้งหมด 39 ฉบับ มียอดผู้อ่านบทความรวมกว่า 24,707 ครั้ง โดยได้คะแนนความพึงพอใจจากผู้อ่านอยู่ในระดับดีมาก (97 จาก 100 คะแนนเต็ม)
การจัดกิจกรรม Workshop สำหรับผู้บริหาร เพื่อเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อนำไปสู่การสร้าง Innovation Culture Awareness ให้กับพนักงานในสายงาน/ ฝ่ายของตนเอง ผ่านพฤติกรรมหลัก “Lead to Innovation Culture” รวมถึงการแลกเปลี่ยนประสบการณ์จากวิทยากรภายนอกถึงแนวคิดการสร้างนวัตกรรม การสื่อสาร และการฝึกปฏิบัติการใช้พฤติกรรม i-LEAD as a Role Model
เพื่อพัฒนาครูผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีศักยภาพปฏิบัติหน้าที่ในฐานะครูผู้ช่วยสอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมต้น
โครงการ Teach for Thailand
กลุ่มไทยออยล์สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนที่จะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงติดต่อกันเป็นปีที่ 6 ซึ่งในปี 2567 บริษัทฯ ได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่ครูผู้สอนจำนวน 2 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้ช่วยสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-
3 ที่โรงเรียนวัดมโนรม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่ตั้งใกล้กับโรงกลั่น เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมีผลการประเมินการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจ ดังนี้
1. นักเรียนในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 489 คนในปีการศึกษา 2567
2. พัฒนาการด้านวิชาการ และคุณลักษณะนิสัย และทักษะที่จำเป็นของนักเรียนปรับเพิ่มขึ้น โดยคะแนนเฉลี่ย Post-test อยู่ที่ 28.51 คะแนน เมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ย Pre-test ในภาคเรียนที่ 1 ที่ 27.57 คะแนน และพบว่า ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงสามารถสร้างและพัฒนาคุณลักษณะนิสัยของนักเรียน ทั้งด้านความพยายาม กรอบความคิดแบบเติบโต และการเป็นเจ้าของการเรียนรู้ เช่นเดียวกับการสร้างและพัฒนาทักษะที่จำเป็นของนักเรียน ซึ่งประกอบด้วยการคิดวิเคราะห์ ความร่วมมือ และการตระหนักรู้ในตนเอง
3. ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการสอน เช่น วีดิทัศน์ บอร์ดเกม โปรแกรมออนไลน์ เป็นต้น ส่งผลให้นักเรียนมีพัฒนาการและมีทัศนคติที่ดีต่อสาขาวิชาที่เรียนมากขึ้น โดยสามารถตอบคำถาม จำแนกตัวอย่าง และทำงานร่วมกันเป็นทีมกับเพื่อนในชั้นเรียนได้เป็นอย่างดี
4. นักเรียนส่วนใหญ่เล็งเห็นถึงความตั้งใจและพัฒนาการในการปฏิบัติงานอย่างมีนัยสำคัญของครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง
5. ผู้อำนวยการและบุคลากรในโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยมีคะแนนรวมความพึงพอใจ 9.1 คะแนนจาก 10 คะแนน และเล็งเห็นว่า ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความรู้ ความสามารถ และลักษณะนิสัยที่เหมาะสมในการปฏิบัติงานในบริบทที่ท้าทาย ร้อยละ 92 นอกจากนั้น ยังมีการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนกันอย่างสม่ำเสมอ
เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำในภาคการศึกษา และเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อนการศึกษาของประเทศผ่านการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และวางแผนพัฒนาโรงเรียนร่วมกับผู้บริหารโรงเรียน
โครงการส่งเสริมด้านการศึกษา (PTT Group Model School) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)
กลุ่มไทยออยล์ดำเนินกิจกรรม ภายใต้โครงการ PTT Group Model School และ CONNEXT ED ในปี 2567 ดังนี้
1. โครงการเตรียมความพร้อมสู่ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) พื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การให้ความรู้แก่เยาวชนให้เข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (Internet of Things) และสนับสนุนให้เยาวชนเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยี ผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีต่อการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การศึกษา และวัฒนธรรม รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนรุ่นใหม่ในการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาต่อยอดเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และ IoT ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีของประเทศในอนาคต โดยมีโรงเรียนภายใต้โครงการ CONNEXT ED ของกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมกิจกรรม 2 แห่ง และมีครูผู้สอน 2 คน และนักเรียน 6 คน เข้าร่วมโครงการฯ
2. โครงการจิตอาสากลุ่มไทยออยล์ โดยนำพนักงานจิตอาสาไปบรรยายให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะ และคลินิกฟุตบอล ฟุตซอล เทเบิลเทนนิส และวอลเลย์บอล ให้แก่นักเรียนในชุมชนรอบโรงกลั่น
เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งจะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย และเป็นการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกด้วยการเพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ชุมชนในพื้นที่รอบแปลงปลูกป่า
โครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต
กลุ่มไทยออยล์ดำเนินโครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต จำนวน 8,656.22 ไร่ โดยแบ่งออกเป็น
1. การปลูกป่า จำนวน 8,300 ไร่ในจังหวัดแพร่ ร่วมกับกรมป่าไม้
2. การปลูกป่าชายเลน จำนวน 356.22 ไร่ในจังหวัดตรังและจังหวัดชลบุรี ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
ซึ่งคาดว่า จะสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 88,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี และช่วยเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพจากการคัดเลือกชนิดไม้พื้นถิ่นเข้ามาปลูกเพิ่มเติมในพื้นที่แปลงปลูกป่า
ทั้งนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้สนับสนุนการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชน 4 แห่ง เพื่อดำเนินการปลูกและบำรุงรักษาป่า ซึ่งจะช่วยกระจายรายได้และสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่ ทั้งยังให้การสนับสนุนองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ผืนป่า นอกจากนั้น ยังมีการสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการต่อยอดอาชีพ ตลอดจนให้การสนับสนุนด้านการศึกษา ด้านสังคมและวัฒนธรรมอีกด้วย
เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงานและสร้างนิสัยที่ดีในการอยู่ร่วมกันในองค์กร
โครงการ Thaioil CE WE GO รณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้ โครงการ Thaioil CE WE GO ในปี 2567 ดังนี้
1. จัดอบรมการฝึกอบรมสำนักงานสีเขียว (Green Office) สำหรับพื้นที่อาคารออดิทอเรียม และศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชน จำนวน 2 ครั้ง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการขึ้นทะเบียนโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) กับกรมควบคุมมลพิษ ในปี 2568 ให้กับศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชน และอาคารออดิทอเรียม โรงกลั่นไทยออยล์
2. จัดกิจกรรมนำผู้แทนครัวเรือนนำร่อง 10 ครัวเรือนและคณะกรรมการชุมชนบ้านนาเก่าไปเยี่ยมชมการดำเนินโครงการชุมชนต้นแบบการจัดการขยะในจังหวัดระยอง
เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy: CE) และสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องให้แก่ชุมชนและสังคม
โครงการไทยออยล์ สร้างเยาวชนรักษ์โลก (Thaioil CE School Model)
กลุ่มไทยออยล์จัดกิจกรรมสร้างเสริมองค์ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการจัดการของเสียและการจัดการระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนให้แก่นักเรียนระดับชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาในโรงเรียน 3 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบุญจิตวิทยา โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 และโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง – เช็ง พรประภา) จังหวัดชลบุรี ผ่านกิจกรรมการจัดการของเสีย 4 ฐานการเรียนรู้ ได้แก่ การคัดแยกขยะ การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร การรีไซเคิลน้ำมันพืชที่ใช้แล้ว และการแปลงขยะเป็นรายได้ ซึ่งจากการเก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2565 – เดือนตุลาคม 2567 พบว่า โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ มีปริมาณขยะรีไซเคิลรวม 12,240.24 กิโลกรัม หรือคิดเป็นปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 27,725 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนั้น ยังมีการติดตามผลการดำเนินโครงการฯ และนำองค์ความรู้ไปต่อยอดในการทำกิจกรรมอื่นๆ อีกด้วย
เพื่อสร้างความตระหนักถึงการคัดแยกขยะและรีไซเคิลให้แก่นักเรียน เพื่อให้เยาวชนตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลสิ่งแวดล้อม และ สนับสนุนการจัดการขยะพลาสติกอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดปริมาณขยะในโรงเรียนและสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดและยั่งยืน
โครงการ “Waste To Value” เปลี่ยนขยะให้มีคุณค่า
กลุ่มไทยออยล์ต่อยอดจากกิจกรรม “Thaioil Run For the Green Future 2024” เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2567 เพื่อลดขยะพลาสติกในโรงเรียน และสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมให้เยาวชน โดยบริษัทฯได้ส่งมอบอุปกรณ์คัดแยกขวดน้ำพลาสติกให้โรงเรียนในพื้นที่แหลมฉบังจำนวน 8 แห่ง จากนั้น โรงเรียนจะส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการคัดแยกและรีไซเคิลขยะพลาสติก เพื่อนำส่งให้บริษัทฯ นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างถูกต้อง ซึ่งนักเรียนสามารถนำขวดพลาสติกดังกล่าวมาแลกเปลี่ยนเป็นอุปกรณ์การเรียนและของใช้ที่เป็นประโยชน์ เช่น ถุงเท้า อุปกรณ์การเรียน ชุดกีฬา อุปกรณ์ทำความสะอาด เป็นต้น ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองและโรงเรียนอีกทางหนึ่งด้วย
เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะผลกระทบของขยะพลาสติกที่มีต่อธรรมชาติและระบบนิเวศ และกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการลด ละ เลิกการใช้พลาสติกแบบครั้งเดียว
โครงการเยาวชนรักษ์สิ่งแวดล้อม TOP GREEN X ชุบชีวิตใหม่ให้น้องขยะ
กลุ่มไทยออยล์ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จัดกิจกรรมแปรรูปขยะเป็นไม้กวาด ด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะ ลักษณะของขยะแต่ละประเภท และร่วมประดิษฐ์ไม้กวาดจากขวดพลาสติก เพื่อสร้างเสริมจิตสำนึกอันดีในการรักษาสิ่งแวดล้อมให้แก่เยาวชน โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 70 คน
เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
โครงการสนับสนุนกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มประมง
กลุ่มไทยออยล์ร่วมสนับสนุนการปล่อยพันธุ์สัตว์ทะเลของกลุ่มประมงที่อยู่อาศัยในชุมชนบ้านอ่าวอุดม เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มปริมาณสัตว์ทะเลและความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเล เพื่อสร้างสมดุลทางทะเลในเขตอ่าวอุดม โดยในปี 2567 บริษัทฯ ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ อาทิ พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์กุ้งขาว ลูกปูม้า หมึก ในเทศกาลที่สำคัญต่างๆ พร้อมทั้งร่วมเก็บขยะบริเวณชายหาดชุมชนติดชายฝั่งทะเลอีกด้วย
เพื่อสนับสนุนโอกาสทางการศึกษาแก่เยาวชนในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบังและอำเภอศรีราชา และสนับสนุนเยาวชนให้มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองและสังคม เพื่อเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต
โครงการด้านการศึกษา
กลุ่มไทยออยล์มอบทุนการศึกษาให้แก่นักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษาที่มีความประพฤติดี ขยันหมั่นเพียรในการศึกษาเล่าเรียน จำนวน 252 ทุน และกองทุนกลุ่มไทยออยล์เพื่อสถาบันการศึกษาให้แก่สถานศึกษาที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครแหลมฉบังและอำเภอศรีราชา จำนวน 11 กองทุน รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 1,900,000 บาท ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กลุ่มไทยออยล์มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
เพื่อส่งเสริมศักยภาพชุมชน ด้วยการสร้างอาชีพให้กับประชาชนทั่วไปในพื้นที่ศรีราชา ณ ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชน
โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
กลุ่มไทยออยล์ดำเนินโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในปี 2567 ดังนี้
1. ร่วมมือกับคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เพื่อร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัตถุดิบในท้องถิ่น เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้มาตรฐาน และร่วมกิจกรรมเปิดบ้านวิชาการกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา เพื่อจัดนิทรรศการแสดงผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์เทียนหอม โดยมุ่งเน้นการนำเสนอขั้นตอนการพัฒนาและคุณสมบัติพิเศษของผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงศักยภาพทางด้านนวัตกรรมและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ
2. จัดหลักสูตรทำเทียนหอมสำหรับจัดชุดของชำร่วย โดยใช้สแลคแว็กซ์ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ของบริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) บริษัทในกลุ่มไทยออยล์ มาเป็นวัตถุดิบ นอกจากนั้น ยังมีการจัดหลักสูตรผู้ประกอบการยุค 2024 ประกอบด้วยหลักสูตรทำเหรียญโปรยทาน และหลักสูตรสลายเศษด้วยถัง สลายมันด้วยฟอง ซึ่งเป็นการผลิตน้ำยาล้างและทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหาร เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในชุมชนรอบโรงกลั่น ซึ่งมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 50 คน
เพื่อให้ชุมชนออกกำลังกายด้วยการเดิน – วิ่ง เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และได้รับองค์ความรู้ด้านสุขภาพใหม่ๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับตนเองและครอบครัว
โครงการเดิน – วิ่ง 1 แสนกิโล
กลุ่มไทยออยล์เชิญชวนประชาชนในชุมชนรอบโรงกลั่นมาออกกำลังกายด้วยการเดิน – วิ่งและร่วมกันสะสมระยะทาง โดยการบันทึกข้อมูลผ่านแอปพลิเคชัน “นับก้าว” ให้ได้ระยะทางรวม 100,000 กิโลเมตร โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม 175 คน และมีการนัดหมายเพื่อติดตามผลที่ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชนรวม 2 ครั้ง
เพื่อส่งเสริมสุขภาพในช่องปากของนักเรียน
โรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพรอบกลุ่มไทยออยล์
กลุ่มไทยออยล์ให้บริการทันตกรรม ตรวจสุขภาพช่องปาก อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรซ์ ขูดหินปูน และส่งเสริมป้องกันฟันผุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพในช่องปากให้แก่นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 4,520 รายที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนรอบโรงกลั่นทั้ง 8 แห่ง
เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ ร่วมกับกลุ่ม ปตท
กลุ่มไทยออยล์ได้ร่วมมือกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในการเตรียมความช่วยเหลือ เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติต่างๆ ในประเทศ
1. ติดตามสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในประเทศ
2.ดำเนินการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ
3. ประสานงานกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในการให้ความช่วยเหลือในพื้นที่นอกเหนือจาก พื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทฯ
กลุ่มไทยออยล์ได้ร่วมกับกลุ่ม ปตท. บรรจุและส่งมอบถุงยังชีพกว่า 20,800 ถุง ซึ่งประกอบด้วยเครื่องอุปโภคบริโภค น้ำดื่ม และยารักษาโรคที่จำเป็น ให้แก่ผู้ประสบอุทกภัยในจังหวัดแพร่ น่าน สุโขทัย พะเยา พิษณุโลก หนองคาย ปัตตานี ยะลา นราธิวาส
ส่งเสริมค่านิยมให้พนักงานดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยจิตอาสาและส่งเสริมภาพลักษณ์การช่วยเหลือสังคม
พนักงานถือเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงานของบริษัทฯ ซึ่งมีการสั่งสมประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ ขณะเดียวกัน ก็มีค่านิยม “วัฒนธรรมจิตอาสา” ที่ยึดถือปฏิบัติร่วมกันมาอย่างยาวนาน จึงก่อให้เกิดโครงการจิตอาสา “คุณริเริ่ม…เราเติมเต็ม” ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563 เนื่องในวาระที่ไทยออยล์กำลังก้าวเข้าสู่ปีที่ 60 ของการก่อตั้ง และมีการดำเนินการโครงการฯ ต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 4 เพื่อสานต่อ “วัฒนธรรมจิตอาสา” ขององค์กร
1. ประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการฯ ในช่วงระหว่างเดือน มี.ค. – ก.ค. 2567
2. เปิดโอกาสให้พนักงานดำเนินโครงการฯ ในช่วงระหว่างเดือน มี.ค. – ธ.ค. 2567
3. บริษัทฯ สนับสนุนงบประมาณสำหรับดำเนินกิจกรรมจิตอาสา 30,000 – 100,000 บาทต่อสายงาน
กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นที่จะกระตุ้นและปลูกฝังให้พนักงานมีจิตอาสาตามค่านิยมองค์กรหัวข้อ “ความรับผิดชอบต่อสังคม” (Social Responsibility) จึงได้ดำเนินโครงการ “คุณริเริ่ม…เราเติมเต็ม” เพื่อเชิญชวนให้ผู้บริหาร พนักงานและพนักงานผู้รับเหมาเข้าร่วมกิจกรรมทำความดีเพื่อสังคมต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยในปี 2567 มีการดำเนินงานภายใต้แนวคิด “Team Spirit+” โดยให้ผู้บริหารระดับสูงเชิญชวนพนักงานและพนักงานผู้รับเหมาภายในสายงานร่วมกันทำกิจกรรมเพื่อสังคมด้วยความรู้ ความเชี่ยวชาญ และแรงกายแรงใจของตนเอง ซึ่งกลุ่มไทยออยล์จะสนับสนุนงบประมาณจำนวน 30,000 – 100,000 บาทต่อสายงาน เพื่อใช้เป็นค่าวัสดุและอุปกรณ์ในการดำเนินงาน โดยมีพนักงานเข้าร่วมงานทั้งหมด 30 ฝ่ายงาน ภายใต้งบประมาณรวม 1,000,000 บาท โดยนำงบประมาณไปใช้จัดกิจกรรม CSR ให้แก่โรงเรียน มูลนิธิการกุศล ชุมชน และอื่นๆ
เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับหน่วยงานสาธารณสุขและสถานศึกษา เพื่อส่งเสริมให้การบริการแก่ประชาชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
กลุ่มไทยออยล์นำความรู้ ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม รวมถึงประสบการณ์ด้านการจัดการพลังงานมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่หน่วยงานสาธารณสุขและสถานศึกษา มาตั้งแต่ปี 2561 เพื่อส่งเสริมให้หน่วยงานสาธารณสุขและสถานศึกษาเข้าถึงการใช้พลังงานทางเลือก ช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านไฟฟ้า และนำผลประหยัดมาต่อยอดโครงการเพื่อสังคม ตลอดจนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
1. ศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมของพื้นที่เป้าหมาย
2. จัดทำรายงานความเป็นไปได้ (Feasibility) และความคุ้มค่าทางการลงทุน ผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ร่วมกับที่ปรึกษาโครงการฯ
3. ขออนุมัติการดำเนินโครงการและงบประมาณ
4. คัดเลือกผู้รับเหมาและดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่หน่วยงานสาธารณสุขและสถานศึกษาที่ผ่านการประเมิน
5. ส่งมอบโครงการฯ
6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง พร้อมขอใบอนุญาต (ในกรณีที่เป็นระบบที่มีการเชื่อมต่อกับระบบสายส่งของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค)
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์มีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 3 แห่ง และโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 3 แห่งในจังหวัดชลบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รวมกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้า 94 กิโลวัตต์ ซึ่งสร้างผลประหยัดเป็นมูลค่ารวม 0.9 ล้านบาทต่อปี โดยนำผลประหยัดที่ได้จากค่ากระแสไฟฟ้าที่ลดลงไปจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ พัฒนาระบบงานบริการสุขภาพผู้ป่วยกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) และกลุ่มเสี่ยงโรค NCDs รวมทั้งสร้างโอกาสทางการศึกษาให้กับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้ ยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเทียบเท่า 51 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล รวมถึงฟื้นฟูธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ และ ความหลากหลายทางชีวภาพ
ตามที่ได้เกิดเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล บริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล (SBM-2) บริษัทฯ ได้ดำเนินการเพื่อลดผลกระทบให้แก่ผู้ที่ได้รับความเดือดร้อน รวมถึงฟื้นฟูธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ
1. จัดตั้งคณะทำงานบริหารข้อร้องเรียน เพื่อเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและเดือดร้อน
2. ลงพื้นที่เพื่อรับฟังความเดือดร้อนของผู้ได้รับผลกระทบ
3. กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาช่วยเหลือตามกรอบแนวทางที่เหมาะสมและเป็นธรรม และดำเนินการมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ
4. จัดตั้งคณะทำงานการฟื้นฟู เพื่อจัดทำแผนและขอบเขตการฟื้นฟูธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และความหลากหลายทางชีวภาพ
ภายหลังจากการปิดรับคำร้องของผู้ได้รับผลกระทบ ปรากฏว่า มีผู้แจ้งเรื่องร้องเรียนทั้งหมด 905 ราย โดยบริษัทฯ ได้ดำเนินการมอบเงินช่วยเหลือให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบไปแล้วกว่าร้อยละ 80 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 58 ล้านบาท นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้แต่งตั้งคณะทำงานการฟื้นฟูขึ้น เพื่อจัดทำแผนและขอบเขตการฟื้นฟูธรรมชาติ ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ โดยดำเนินการรวบรวมความคิดเห็นจากนักวิชาการ หน่วยงานราชการ ผู้ได้รับผลกระทบ องค์กรอิสระ และ NGO กลุ่มต่างๆ รวมถึงการประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ซึ่งขณะนี้ อยู่ในระหว่างการวางแผนงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาถึงความเหมาะสมในการดำเนินการต่อไป
1. เพื่อให้เยาวชนได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพแข็งแรง เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจในอนาคต
2. ส่งเสริมให้เยาวชนออกกำลังกายด้วยกีฬากระโดดเชือก เพื่อใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
กลุ่มไทยออยล์ดำเนินโครงการสร้างเด็กแหลมฉบังเป็นแชมป์กระโดดเชือก ได้ร่วมกับมูลนิธิหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชชูปถัมภ์ เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนในพื้นที่เทศบาลนครแหลมฉบังทั้ง 8 โรงเรียนออกกำลังกายด้วยกีฬากระโดดเชือก มาตั้งแต่ปี 2554 ทั้งนี้ ภายหลังได้เข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานกับสมาคมกีฬาจัมพ์โร้ปไทย เพื่อสร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนและเทศบาลนครแหลมฉบัง
1. จัดประชุมร่วมกับผู้อำนวยการและคุณครูผู้ฝึกสอนกีฬาพลศึกษาของโรงเรียนรอบโรงกลั่นทั้ง 8 แห่งในเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง ประกอบด้วยโรงเรียนวัดใหม่เนินพยอม โรงเรียนวัดมโนรม โรงเรียนวัดแหลมฉบัง โรงเรียนบ้านชากยายจีน โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 โรงเรียนวัดบ้านนา (ฟินวิทยาคม) และโรงเรียนบุญจิตวิทยา
2. วางแผนโครงการ พร้อมขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินการ
3. ดำเนินการจัดค่ายฝึกทักษะพัฒนาศักยภาพนักกีฬากระโดดเชือก เพื่อคัดเลือกนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานระดับประเทศ
4. สร้างนักกีฬาหน้าใหม่ เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระโดดเชือก ซึ่งช่วยเสริมสร้างชื่อเสียงให้กับเขตเทศบาลนครแหลมฉบัง
1. นักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทานประเภทมือใหม่ ครั้งที่ 2 ประจำปี 2567 เมื่อเดือนมิถุนายน 2567 ณ ศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเหรียญทองจำนวน 4 เหรียญ เหรียญเงินจำนวน 10 เหรียญ และเหรียญทองแดงจำนวน 4 เหรียญ นอกจากนั้น โรงเรียนบุญจิตวิทยายังได้รับถ้วยพระราชทานของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ จำนวน 4 ถ้วย และมีคะแนนรวมสูงสุดเป็นอันดับที่ 2
2. โครงการพัฒนาทักษะนักกีฬาสู่แชมป์กระโดดเชือก ประจำปี 2567 เพื่อคัดเลือกและฝึกซ้อมนักกีฬากระโดดเชือกจากโรงเรียนรอบโรงกลั่น 8 แห่งที่จะเข้าร่วมการแข่งขันชิงถ้วยพระราชทานระดับประเทศ
3. นักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทาน ครั้งที่ 15 ประจำปี 2567 ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2567 ณ สนามยิมเนเซียม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ เพื่อให้เยาวชนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงและสนับสนุนการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยกิจกรรมนี้มีเยาวชนเข้าร่วมกว่า 60 คน
4. นักกีฬากระโดดเชือกแหลมฉบังได้รับการคัดเลือกเป็นตัวแทนการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระโดดเชือก Jump Rope China Open 2024 ณ เมืองหูเป่ย (Huaibei) สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งนักกีฬาตัวแทนชาวแหลมฉบังได้คว้าเหรียญทองมาได้ 2 รายการ เหรียญเงิน 1 รายการ และเหรียญทองแดง 4 รายการ ซึ่งนับเป็นโอกาสสำคัญในการสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศและเทศบาลนครแหลมฉบัง
ปรับปรุงซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ของระบบ Enterprise Resource Planning (ERP) ที่บริษัทฯ ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน หรือ ที่เรียกว่า SAP ECC ให้ยังคงสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และเป็นส่วนหนึ่งของแผนการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงระบบ ERP ไปสู่ SAP S/4 HANA ในปี พ.ศ. 2570 (ค.ศ. 2027)
พัฒนาระบบประมวลผลข้อมูลการซ่อมบำรุงอุปกรณ์เครื่องจักรที่สำคัญในกระบวนการผลิตของกลุ่มไทยออยล์ เพื่อใช้ทำนายโอกาสที่อุปกรณ์เครื่องจักรเหล่านั้นจะเกิดความเสียหายและหาทางป้องกันล่วงหน้า เพื่อไม่ไห้เกิดเหตุการณ์ Unplan Shutdown และ Unplan Maintenance ต่างๆ และลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้
TOPNEXT ได้ซื้อหุ้นจำนวน 60% ในJSKEM เพื่อขยายธุรกิจด้านจัดจำหน่ายสารทำละลายและเคมีภัณฑ์ในประเทศสิงคโปร์ และอินเดีย ก่อตั้งเมื่อปี 2021
TOPNEXT (TX) ได้ซื้อหุ้นจำนวน 67% ใน PT. Tirta Surya Raya ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2019 เป็นบริษัทผู้จัดจำหน่ายสารทำละลายและเคมีภัณฑ์ในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Tangerang ประเทศอินโดนีเซีย
TOP Solvent Myanmar (TSMM) ปี พ.ศ.2560 บริษัทฯได้จัดตั้งสำนักงานตัวแทน ในประเทศเมียนมา ภายใต้ชื่อ TOP Solvent Company Limited (Myanmar Representative Office) เป็นตัวแทนบริษัทฯ ในการติดต่อประสานงานกับลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อจำหน่ายสินค้า Petroleum และเคมีภัณฑ์ พร้อมทั้งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
มีบริษัท ท็อป เน็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จังหวัดระยอง เป็นผู้ผลิตสารทำละลายไฮโดรคาร์บอนคุณภาพสูง สำหรับอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ ได้แก่ อุตสาหกรรมสี, ยางรถยนต์, กาว, น้ำมันพืช, โฟม, พลาสติก, เหมืองทองแดง เป็นต้น
Adding {{itemName}} to cart
Added {{itemName}} to cart