การจัดการนวัตกรรมและความรับผิดชอบต่อลูกค้า
การจัดการนวัตกรรมและความรับผิดชอบต่อลูกค้า
ความท้าทาย ความเสี่ยง
และผลกระทบ
อุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีมีความสำคัญและมีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล แต่ปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายหลากหลายด้านที่ถาโถมเข้ามา ทั้งภาวะเศรษฐกิจถดถอยส่งผลให้กำลังซื้อลดลง ราคาพลังงานผันผวนที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนวัตถุดิบ ค่าขนส่ง และกำไร ความไม่แน่นอนทางนโยบายการเมือง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นทุนต่ำมาแข่งขันในเวทีโลก ทำให้สินค้าล้นตลาดและราคาผันผวน และที่สำคัญ คือ ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) และปัญหาการจัดการขยะพลาสติก (Plastic Waste)
กลุ่มไทยออยล์ในฐานะผู้นำในอุตสาหกรรมพลังงานของไทย จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มสูง โดยมุ่งหวังในการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ใหม่จากผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เป็นการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ และตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์



ความมุ่งมั่น และเป้าหมาย
เป้าหมาย
ปี 2567 เน้นเรื่องการนำไอเดียสร้างสรรค์มาปฏิบัติให้เกิดขึ้นจริงเป็นโครงการต้นแบบ (Prototype) เพื่อนำไปทดสอบกับผู้ใช้งานหรือลูกค้าและเก็บข้อคิดเห็นจากผู้ใช้งานจริงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานต่อไป โดยในปีนี้ มีการวัดระดับนวัตกรรมองค์กรอีกครั้งเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
ปี 2568 นำผลการวัดระดับนวัตกรรมขององค์กรที่ได้มาพัฒนา ปรับปรุง และส่งเสริมให้พนักงานมีความพร้อม เพื่อยกระดับสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมระดับที่ 4 (เชี่ยวชาญ) ภายในปี 2569 ตามเป้าหมายที่กำหนด
ปี 2569 วัดระดับนวัตกรรมองค์กรครั้งที่ 3

ระดับนวัตกรรม
เป้าหมายปี 2569
ระดับที่ 4 (ระดับเชี่ยวชาญ) (จากทั้งหมด 5 ระดับ)
ระดับ

รักษาความผูกพันของลูกค้ากลุ่มไทยออยล์
เป้าหมายปี 2567
92
ร้อยละ
แนวทางการบริหารจัดการและผลการดำเนินงาน

การบริหารจัดการนวัตกรรม
แนวทางการบริหารจัดการ
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์มีการกำหนด เป้าหมายดัชนีวัดผลการดำเนินงานระดับองค์กร (Corporate KPI) ด้านนวัตกรรม เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางธุรกิจอย่างยั่งยืน โดยระดับที่ 1 มีไอเดียที่สร้างสรรค์และโครงการต้นแบบ (Prototype) รวมกัน 20 โครงการ, ระดับที่ 2 มีไอเดียที่สร้างสรรค์และโครงการต้นแบบรวมกัน 30 โครงการ, ระดับที่ 3 คือ สร้างหรือผลิตโครงการต้นแบบแล้วเสร็จ 30 โครงการ ส่วนระดับที่ 4 และ 5 คือ มีผลประโยชน์ที่เป็นไปได้จากการลงมือทำโครงการต้นแบบให้เกิดขึ้นจริงเป็นเงิน 100 และ 200 ล้านบาทต่อปี ตามลำดับ
เป้าหมายด้านนวัตกรรมขององค์กรถูกถ่ายทอดไปเป็นเป้าหมายของฝ่ายต่าง ๆ อย่างทั่วถึงทั้ง 35 ฝ่ายในบริษัทฯ โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนไอเดียเป็นโครงการต้นแบบ และนำไปทดสอบกับผู้ใช้งานหรือลูกค้าเพื่อเก็บข้อคิดเห็นจากผู้ใช้งานจริง รวมถึงนำไปสู่การพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ตอบโจทย์ผู้ใช้งานต่อไป โดยผลลัพธ์ที่ได้ในปี 2567 คือ พนักงานในกลุ่มไทยออยล์ทั้ง 35 ฝ่ายมีการสร้างโครงการต้นแบบ (Prototype) แล้วเสร็จทั้งหมด 53 โครงการ โดยมีผลรวมของผลประโยชน์ที่เป็นไปได้ (Potential Benefit) อยู่ที่ 233 ล้านบาทต่อปี ซึ่งถือว่าบรรลุเป้าหมายขององค์กรด้านนวัตกรรมในระดับสูงสุดตามที่กำหนดไว้
นอกจากนี้ ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการประเมินระดับนวัตกรรมองค์กรอีกครั้งหลังจากที่เคยประเมินครั้งแรกไปในปี 2565 เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินการพัฒนาด้านนวัตกรรมองค์กรในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอย่างใกล้ชิด โดยผลของระดับนวัตกรรมองค์กรประจำปี 2567 เห็นพัฒนาการอย่างชัดเจน จาก 56 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน) ที่ได้ในปี 2565 เพิ่มขึ้นมาเป็น 67 คะแนน โดยยังคงอยู่ในระดับที่ 3 (ระดับท้าทาย) จากทั้งหมด 5 ระดับ แต่ใกล้เคียงระดับที่ 4 (ระดับเชี่ยวชาญ) ที่ต้องได้คะแนนมากกว่า 70 คะแนน ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวที่กลุ่มไทยออยล์กำหนดไว้ภายในปี 2569
การเพิ่มขึ้นของคะแนนระดับนวัตกรรมองค์กรถึง 11 คะแนนในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ถือเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งในการผลักดันนวัตกรรมองค์กรอย่างจริงจังตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งกลุ่มไทยออยล์ถือเป็นบริษัทเดียวในกลุ่ม Oil & Gas ของไทยที่คะแนนเพิ่มขึ้นในระดับ “TOP Quartile” หรือมากกว่า 5 คะแนนต่อปี ซึ่งความสำเร็จนี้มีผลมาจากความมุ่งมั่นในการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานทุกระดับชั้น เพื่อยกระดับนวัตกรรมองค์กรให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง ทัดเทียมบริษัทชั้นนำทั้งไทยและต่างประเทศในด้านนวัตกรรม
วัฒนธรรมนวัตกรรม
แนวทางการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมภายในองค์กร
กลุ่มไทยออยล์สนับสนุนพนักงานให้ร่วมกันสร้างสรรค์นวัตกรรมเรื่อยมา โดยมีกิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2567 บริษัทฯ ได้จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างสรรค์นวัตกรรม ดังต่อไปนี้
โครงการ i-LEAD
เพื่อตอบสนองต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มุ่งเน้นการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเป็นฐานสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจให้เติบโตและก้าวหน้าอย่างยั่งยืน กลุ่มไทยออยล์จึงให้ความสำคัญกับ “นวัตกรรม” โดยมุ่งเน้นให้บุคลากรพัฒนาต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ สร้างแนวคิดและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีมูลค่าเพิ่มในอนาคต
กลุ่มไทยออยล์จึงได้ผลักดันการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ ผ่านพฤติกรรม “i-LEAD” (เรียน ลอง คล่อง กล้า) ซึ่งเป็นชุดพฤติกรรมที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองมาจากตัวแทนของพนักงานทุกระดับ เพื่อให้พนักงานเข้าใจ จดจำ และแสดงออกถึงพฤติกรรมการมีนวัตกรรมได้อย่างชัดเจน และสอดคล้องกันทั้งองค์กร ในปี 2567 ได้ดำเนินการยกระดับและส่งเสริมให้พนักงานได้นำพฤติกรรมดังกล่าวไปปฏิบัติในการทำงานจนเป็นนิสัย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้บริษัทฯ ก้าวสู่การเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม ผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลาย ดังนี้
กิจกรรมส่งเสริมความรู้ด้านนวัตกรรมผ่านทาง E-Learning บนแพลตฟอร์ม Thaioil Academy ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์ของกลุ่มไทยออยล์ โดยสนับสนุนให้พนักงานได้เรียนรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวทาง และแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์นวัตกรรม จากผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมที่ผ่านการคัดสรรมาแล้ว เพื่อเป็นพื้นฐานและสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างนวัตกรรมให้แก่พนักงาน

TOP Class to be Innovative Squad 101 (E-Learning Challenge)
กิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานชื่นชมพฤติกรรม i-LEAD “เรียน ลอง คล่อง กล้า” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ สุขชื่นชม ในแอพพลิเคชั่น Spark Joy โดยเปิดโอกาสให้พนักงานในทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหาร หัวหน้างาน และเพื่อนพนักงาน ได้ชื่นชม ยกย่อง รวมถึงให้กำลังใจกัน เมื่อมีการแสดงออกถึงพฤติกรรม i-LEAD

การชื่นชมพฤติกรรม i-LEAD ผ่าน “สุขชื่นชม”

กิจกรรม Innovation Idea Challenge

กิจกรรม Innovation Roadshow

กิจกรรม Innovation Failure Challenge

กิจกรรม Innovation and Learning Day 2024 ประจำปี 2567
โครงการส่งเสริมการสร้างความรู้ด้านนวัตกรรมแก่พนักงาน
กลุ่มไทยออยล์ส่งเสริมพนักงานให้เป็นนวัตกรที่มีคุณภาพ ให้มีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญของนวัตกรรม องค์ความรู้เพื่อการต่อยอดพัฒนา และแรงบันดาลใจเกี่ยวกับนวัตกรรม ผ่านกิจกรรมดังต่อไปนี้

TOP Innovation E-newsletter

TOP BCG Updates

Innovation Talk
การเชิญวิทยากรภายนอกที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมมาให้ความรู้กับพนักงาน
โครงการ Thaioil Innovation Awards ประจำปี 2567

โครงการ Thaioil Innovation Awards ประจำปี 2567
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านน้ำมันดิบ (Crude Excellence Center)
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสารเร่งปฏิกิริยาและสารดูดซับ (Catalyst & Adsorbent Excellence Center)
- ศูนย์ความเป็นเลิศด้านปัญญาประดิษฐ์และหุ่นยนต์ (AI/Robotics Solution Provider)
- ศูนย์งานวิจัยด้านผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value Product/High Value Business)
- ศูนย์งานวิจัยด้านพอลิเมอร์และอนุพันธ์ของโอเลฟิน (Polymer & Olefin Derivatives) และ
- ศูนย์งานวิจัยด้านความยั่งยืนและธุรกิจใหม่ (Sustainability & New Business)
1. โครงการพัฒนาหุ่นยนต์ทำความสะอาดท่อรับความร้อนของเตาอุ่นน้ำมันในกระบวนการกลั่นน้ำมัน เป็นหุ่นยนต์ที่พัฒนาร่วมกับสถาบันวิทยสิริเมธี (Vidyasirimedhi Institute of Science and Technology: VISTEC) โดยหุ่นยนต์นี้มีความพิเศษคือสามารถทำความสะอาดด้วยการเคลื่อนที่ไปตามความยาวของท่อโดยที่ไม่ต้องมีการตั้งนั่งร้านเพื่อทำความสะอาด ทำให้ช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุในการปฏิบัติงานบนนั่งร้านได้ รวมถึงช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากเผาไหม้เชื้อเพลิงเพื่อให้ความร้อนกับอุปกรณ์เตาอุ่นน้ำมันในกระบวนการผลิตอีกด้วย
2. โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันยาง (Rubber Process Oil: RPO) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ในกลุ่มของอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ (Automotive part) จากผลิตภัณฑ์ของ บมจ. ไทยลู้บเบส โดยปรับปรุงคุณสมบัติของน้ำมันยางพาราฟินิก (Paraffinic Oil) ประกอบด้วย ความหนืด (Viscosity) ความเป็นกรด (Acid number) ค่าความกัดกร่อน (Copper Strip Corrosion) ให้มีความเหมาะสมกับสูตรและกระบวนการผลิตของลูกค้า เพื่อทดแทนการนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันยางจากต่างประเทศ โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตมีปริมาณสารก่อมะเร็งอยู่ในปริมาณที่ต่ำกว่าค่ามาตรฐานด้านสุขภาพที่กำหนด ผลิตภัณฑ์นี้ได้เริ่มจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ (Commercialization) ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2567 เป็นต้นมา โดยคิดเป็นผลประโยชน์ที่ได้ 0.3 ล้านบาท
3. โครงการพัฒนาวัสดุเปลี่ยนเฟส (Phase Change Materials: PCMs) จากผลิตภัณฑ์ Slack Wax ของ บมจ.ไทยลู้บเบส เป็นโครงการความร่วมกับศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยใช้ผลิตภัณฑ์ Slack Wax เป็นสารตั้งต้น จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า Slack Wax มีคุณสมบัติเป็นสารเปลี่ยนเฟส กล่าวคือมีคุณสมบัติในการดูดซับหรือปล่อยความร้อนที่เรียกว่า ความร้อนแฝง ทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะทางกายภาพ เช่น จากของแข็งเป็นของเหลว และเมื่อลดความร้อนลง สารดังกล่าวก็จะเปลี่ยนสถานะกลับมาเป็นของแข็งตามเดิม
4. โครงการทดสอบสารเร่งปฏิกิริยาสำหรับการผลิตน้ำมันยูโร 5 เป็นโครงการความร่วมมือกับวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (The Petroleum and Petrochemical College: PPC) โดยได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของสารเร่งปฏิกิริยาด้วยหน่วยจำลองทดสอบ (Pilot Unit) ของผู้ผลิตสารเร่งปฏิกิริยาที่เสนอเข้าร่วมประมูลการเปลี่ยนแปลงสารเร่งปฏิกิริยาในหน่วยผลิตน้ำมันยูโร 5 ผลการทดสอบที่ได้ทำให้โรงกลั่นสามารถคัดเลือกผู้ผลิตสารเร่งปฏิกิริยาที่เหมาะสมต่อกระบวนการผลิตและสภาวะการผลิตได้
5. โครงการเปลี่ยนเอทิลีนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปเป็นเอทิลีนคาร์บอเนต สำหรับใช้เป็นสารละลายในแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนด้วยกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อเทียบกับกระบวนการผลิตภายใต้เทคโนโลยีปัจจุบัน โครงการนี้เป็นโครงการความร่วมมือกับสถาบันวิทยสิริเมธี (VISTEC) และได้มีการยื่นจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญากับกรมทรัพย์สินทางปัญญาแล้ว
นวัตกรรมเชิงผลิตภัณฑ์

ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดคราบไฮโดรคาร์บอนและลดไอระเหยของสารประกอบไฮโดรคาร์บอน (Hydrocarbon Decontamination Chemical)

ผลิตภัณฑ์อเนกประสงค์สำหรับล้างมือโดยไม่ใช้น้ำ (Waterless Hand Cleaner)

การพัฒนาสารกันเสียชีวภาพจากแบคทีเรีย สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์สีและน้ำยาเคลือบวัสดุ (Paint & Coating)
นวัตกรรมเชิงกระบวนการ

โครงการเพิ่มมูลค่าของกากจุลินทรีย์ในระบบบำบัดน้ำเสีย

โครงการที่ประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ (AI) เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของแบบผังร่าง (PDF Drawing diagram)

โครงการ RHCU Pilot Plant (Residue Hydrocracking)

เชื้อเพลิงทางเลือก (Alternative Fuels)
โครงการศึกษาและพัฒนาเชื้อเพลิงทางเลือกมีเป้าหมายเพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในหลากหลายภาคส่วน เพื่อสนับสนุนไปสู่การเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และสร้างความยั่งยืนทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในระยะยาวด้วยการผลิตเชื้อเพลิงที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ทั้งนี้การดำเนินงานของบริษัทฯ ประกอบด้วย:
- โครงการศึกษาและพัฒนาเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน Sustainable Aviation Fuel (SAF) projects ผ่านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาในเชิงพาณิชย์ดังต่อไปนี้:
- การศึกษาเทคโนโลยี Hydrotreated Esters and Fatty Acids (HEFA) ในการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจาก น้ำมันพืชใช้แล้ว, กรดน้ำมันปาล์ม, น้ำเสียจากขบวนการผลิตน้ำมันปาลม์ และไขมันสัตว์ ผ่านการร่วมมือกับกลุ่ม ปตท.
- การศึกษาเทคโนโลยี Alcohol-to-Jet (ATJ) ในการเปลี่ยนแอลกอฮอล์ที่มาจากแหล่งชีวภาพ (bio-based) เช่น เอทานอล ให้กลายเป็นเชื้อเพลิงอากาศยานที่สะอาด ซึ่งร่วมมือกับพันธมิตรด้านกลยุทธ์ของไทยออยล์ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอุตสาหกรรมการบิน
- การศึกษาเทคโนโลยีการผลิตร่วม (Co-Processing) ในการผลิต SAF โดยใช้วัตถุดิบชนิดเดียวกันกับเทคโนโลยี HEFA ผ่านเข้าสู่หน่วยการผลิตน้ำมันชนิด Hydroprocessing units นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับกฎระเบียบ เทคโนโลยี และการจัดหาวัตถุดิบอย่างน้ำมันพืชใช้แล้ว (UCO: Used Cooking Oil) ได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน รวมถึงศึกษาวัตถุดิบของเสียทางเลือกอื่น เช่น POME (Palm Oil Mill Effluent), PFAD (Palm Fatty Acid Distillate) และวัตถุดิบของเสียอื่นๆ
- โครงการสำรวจพลังงานรูปแบบใหม่ ที่มุ่งลดหรือไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกจากการเผาไหม้ เช่น ไฮโดรเจนสะอาดและอนุพันธ์อย่างแอมโมเนีย รวมถึงเชื้อเพลิงคาร์บอนต่ำอื่นๆ ที่ผลิตจากไฮโดรเจนสะอาด โดยโครงการนี้ได้ทำการสำรวจและศึกษาเบื้องต้นเกี่ยวกับปัจจัยด้านต้นทุน เทคโนโลยี แหล่งการผลิต และห่วงโซ่อุปทานทั้งหมด ซึ่งมีความสำคัญในเชิงกลยุทธ์ รวมถึงการพิจารณาแหล่งพลังงานทางเลือกอื่นๆ เช่น เชื้อเพลิงชีวภาพ เพื่อใช้ในการผลิตพลังงานทดแทน ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมลงทุนด้านการปลูกป่า เพื่อสร้างคาร์บอนเครดิต ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในด้านสิ่งแวดล้อมและช่วยสนับสนุนความยั่งยืนของบริษัทฯ ในระยะยาว

ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ (Bio-based Products)

การดักจับและกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture and Storage :CCS)

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Efficiency Projects)
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานมีเป้าหมายเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงและปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) และเป้าหมายด้านความยั่งยืนในระยะยาว พร้อมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
ในปี 2024 มีโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานจำนวน 39 โครงการ โดยสามารถลดการใช้พลังงานโดยรวมได้ 494,794 กิกะจูล ซึ่งเท่ากับ 28,985 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 223 ล้านบาท จากงบลงทุนรวมทั้งหมด 189.62 ล้านบาท
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.


การบริหารจัดการลูกค้าและคุณภาพของผลิตภัณฑ์
แนวทางการบริหารจัดการ
กลุ่มไทยออยล์ให้ความสำคัญกับการดูแลลูกค้าดั่งครอบครัวเดียวกัน ภายใต้กลยุทธ์ “Partner for Life” ในทุกด้าน ทั้งการเข้ารับผลิตภัณฑ์ การบริการ และการดำเนินการในโครงการต่างๆ ให้กับลูกค้าเพื่อที่จะเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพและความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์และบริการตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานสากล เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบทางลบต่อลูกค้าและสังคม ภายใต้หลักเกณฑ์การพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้าน คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environment, Social and Governance: ESG) และนอกเหนือจากสิ่งอื่นใด บริษัทฯ รับฟังเสียงลูกค้าและดำเนินการนำไปพัฒนาปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และการบริการอย่างต่อเนื่อง มีการตอบสนองความต้องการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้าและสร้างความผูกพันระหว่างกลุ่มไทยออยล์และลูกค้าที่ยั่งยืน

ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ยังคงดำเนินการตามแผนงาน Partner for Life เพื่อสนับสนุนการบริการลูกค้าใน 3 ด้าน ดังนี้
1. Partner for Growth การสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้าประจำปี และนำผลการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้ามาวิเคราะห์และระดมความคิดร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความคิดมาต่อยอดเพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยโครงการที่มีการนำมาพัฒนาต่อยอด ได้แก่ มีการนำระบบดิจิทัลมาอำนวยความสะดวกในกระบวนการทางด้านการเงิน การจัดกิจกรรมร่วมสนุกกับลูกค้าผ่านทาง Social Media ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ มีการวัดผลความพึงพอใจลูกค้าในแต่ละกิจกรรมที่เข้าร่วม เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงในกิจกรรมต่อๆ ไป
2. Partner for Knowledge การให้ความรู้ทางวิชาการ และสนับสนุนข้อมูลต่างๆ (Knowledge Sharing) ทั้งในด้านเทคนิค ด้านการปฏิบัติการ ด้านตลาด ด้านการเงิน โดยได้จัดอบรมให้แก่ลูกค้าในหัวข้อ Fundamental of Refinery Process และหัวข้อ Business Overview & Refinery Overview เป็นต้น
3. Partner for Service
การดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง (Customer Relations Management: CRM) โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ดังนี้
1. ด้านปฏิบัติการ (Operation) ดำเนินการยกระดับการพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ได้ดำเนินการพัฒนากระบวนการขึ้นทะเบียนลูกค้าใหม่ ให้มีประสิทธิภาพ โดยมีการนำระบบดิจิทัลมาใช้ เพื่อให้กระบวนการพิจารณาเป็นไปอย่างรวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้ อีกทั้งได้มีการพัฒนาระบบ Voice of Customer (VOC) ให้ลูกค้าได้รับความสะดวกต่อการใช้งานมากยิ่งขึ้น และได้รับการตอบสนองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รวดเร็ว นอกจากนี้มีการจัดทำมาตรฐานด้านผลิตภัณฑ์และการให้บริการในการส่งมอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทร่วมกันกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (Service Level Agreement: SLA) ได้แก่ ด้านงานขาย ด้านคุณภาพ ด้านปฏิบัติการ ด้านแผนการจัดส่ง ด้านบัญชี ด้านสนับสนุนการขาย ด้านดิจิทัล และด้านบริหารลูกค้าสัมพันธ์ ตั้งแต่รับคำสั่งซื้อ การบริหารจัดการให้ลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ครบถ้วน ถูกต้องตามเวลาที่กำหนด โดยทุกหน่วยงานปฏิบัติตามข้อตกลงมาตรฐานการให้บริการของแต่ละหน่วยงานได้ร้อยละ 100 อีกทั้งในไตรมาสที่ 4 ของปี บริษัทฯ ได้เปิดบริการหน่วยสูบจ่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทางรถเพิ่มขึ้น อีก 2 ช่องจ่าย (Gentry) เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้ารับผลิตภัณฑ์เพิ่มมากขึ้นและช่วยลดเวลาในการรอเรียกรถเข้ารับน้ำมันของลูกค้า และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้มีความสะดวกและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
2. ด้านวิเคราะห์ (Analytic) ได้มีการนำผลการสำรวจความพึงพอใจและความผูกพันของลูกค้าประจำปี มาวิเคราะห์และระดมความคิดร่วมกันกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความคิดมาต่อยอดเพื่อพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์และการบริการให้ดียิ่งขึ้นต่อไป โดยโครงการที่มีการนำมาพัฒนาต่อยอด ได้แก่ มีการนำระบบดิจิทัลมาอำนวยความสะดวกในกระบวนการทางด้านการเงิน การจัดกิจกรรมร่วมสนุกกับลูกค้าผ่านทาง Social Media ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้มีการวัดผลความพึงพอใจลูกค้าในแต่ละกิจกรรมที่เข้าร่วม เพื่อนำมาพัฒนาและปรับปรุงในกิจกรรมต่อๆ ไป
3. ด้านความร่วมมือร่วมกัน (Collaboration) ดำเนินการแบ่งปันองค์ความรู้เกี่ยวกับตลาดปิโตรเลียมให้กับลูกค้า รวมถึงร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการเข้ารับผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมทางรถ
4. ด้านการจัดเก็บฐานข้อมูล (Customer Data Platform) ดำเนินการภายใต้ระบบ Platform ที่เป็น มาตรฐานสากล สำหรับจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานของลูกค้าเพื่อนำมาใช้ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า
โครงการที่โดดเด่น
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ได้จัดทำโครงการลูกค้าสัมพันธ์ภายในกลยุทฑ์ “Partner for Life” เพื่อรักษาความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้า ได้แก่

การจัดกิจกรรมส่งเสริมวัฒนธรรมและจิตอาสา ผ่านโครงการ “คุณริเริ่ม เราเติมเต็ม”

การจัดกิจกรรมให้กับพนักงานขับรถ (Happy Hours) ประจำปี 2566

การจัดกิจกรรมมอบองค์ความรู้ให้กับลูกค้าทั้งในรูปแบบ Online และ On-Site ในหัวข้อต่างๆ

การจัดกิจกรรมสันทนาการสำหรับลูกค้ากลุ่มต่างๆ
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินงานด้านต่างๆ ครอบคลุมทั้งด้านผลิตภัณฑ์และการให้บริการส่งผลให้การประเมินความผูกพันของลูกค้าต่อกลุ่มไทยออยล์ดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้

หมายเหตุ:
(1) ความผูกพันของลูกค้ากลุ่มไทยออยล์ ประกอบด้วย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) (TOP) บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) (TLB) และบริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด (TPX) ดำเนินการสำรวจโดยบริษัทภายนอก (Third Party Company) ที่ให้บริการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า
(2) ความพึงพอใจของลูกค้าบริษัท ท็อป โซเว้นท์ จำกัด (บริษัท ท็อปเน็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด) ปี 2564-2565 คะแนนเต็ม 5.0 ดำเนินการสำรวจโดย บริษัท ท็อป โซเว้นท์ จำกัด
(3) ความผูกพันของลูกค้า บริษัท ท็อปเน็กซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ปี 2566-2567 คะแนนเต็มร้อยละ 100 ดำเนินการสำรวจโดยบริษัทภายนอก (Third Party Company) ที่ให้บริการสำรวจความพึงพอใจของลูกค้า