การกำกับดูแลกิจการ

การกำกับดูแลกิจการ

ความท้าทาย ความเสี่ยง และผลกระทบ

กลุ่มไทยออยล์ได้เผชิญความท้าทายในการกำกับดูแลกิจการ จากการเปลี่ยนแปลงลักษณะการดำเนินธุรกิจและการขยายธุรกิจไปสู่ตลาดต่างประเทศ (Business Transformation) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่างๆ ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญและมีความเข้มข้นมากขึ้น ส่งผลให้กลุ่มไทยออยล์ต้องให้ความสำคัญต่อหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบ และสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินธุรกิจในอนาคต

ความมุ่งมั่น 

กลุ่มไทยออยล์เชื่อมั่นว่าการบริหารจัดการธุรกิจโดยยึดถือหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและจริยธรรมธุรกิจ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีความสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ถือหุ้น อันก่อให้เกิดความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ

แนวทางการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงาน

แนวทางการบริหารจัดการ 

กลุ่มไทยออยล์ยึดถือแนวปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการดำเนินธุรกิจ เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเป็นธรรม โปร่งใส และเสริมสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพ อันเป็นหัวใจที่นำไปสู่ความสำเร็จและการเติบโตอย่างยั่งยืน

โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

พื่อให้บริษัทฯ ได้รับผลประโยชน์สูงสุดจากการอุทิศและทุ่มเทเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการได้อย่างมีประสิทธิภาพ บริษัทฯ กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทฯ ดำรงตำแหน่งกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ไม่เกิน 3 บริษัท โดยจำนวนดังกล่าวให้นับรวมการเป็นกรรมการของบริษัทฯ ด้วยคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 5 คน และไม่เกิน 15 คน โดยกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจะต้องมีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย และกรรมการจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ หรือไม่ก็ได้ และต้องมีอายุไม่เกิน 70 บริบูรณ์ โดยกรรมการบริษัทฯ ได้รับการแต่งตั้งจากผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี หรือแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัทฯ ในกรณีที่ตำแหน่งว่างลงนอกเหนือจากถึงคราวออกตามวาระ ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ ต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระจำนวนอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะและมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯ มีจำนวนกรรมการอิสระเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด

คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยกรรมการจำนวนไม่น้อยกว่า 5 คน และไม่เกิน 15 คน ตามที่กำหนดในข้อบังคับของบริษัทฯ โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มอบหมายให้คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน ทำหน้าที่สรรหาและคัดเลือกกรรมการและผู้บริหารสูงสุดในกรณีที่ตำแหน่งว่างลง

องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ต้องมีจำนวนสัดส่วนของกรรมการที่เป็นอิสระเพียงพอที่จะสามารถตรวจสอบ ถ่วงดุลการทำงานของคณะกรรมการบริษัทฯ และการดำเนินงานของฝ่ายจัดการ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ ต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน

คุณสมบัติของคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยบุคคลที่มีความสามารถ ได้รับความเชื่อถือ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และต้องมีความหลากหลายทั้งในทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ด้านพลังงาน /ปิโตรเลียม/ปิโตรเคมี ด้านวิศวกรรมศาสตร์ ด้านบัญชี/การเงิน ด้านกฎหมาย/นิติศาสตร์ ด้านเศรษฐศาสตร์ ด้านรัฐศาสตร์/สังคมศาสตร์ ด้านความมั่นคง ด้านเทคโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ด้านบริหารธุรกิจ/บริหารองค์กร/กำกับดูแลกิจการ ด้านวิทยาศาสตร์/นวัตกรรม/สิ่งแวดล้อม โดยประกอบด้วยผู้มีความรู้ในธุรกิจของบริษัทฯ อย่างน้อย 3 คน ด้านกฎหมายอย่างน้อย 1 คน และด้านบัญชีการเงินอย่างน้อย 1 คน รวมถึงมีการจัดทำตารางแสดงทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการบริษัทฯ (Skill Matrix)

คุณสมบัติกรรมการอิสระ  ไทยออยล์ได้กำหนดคุณสมบัติของกรรมการอิสระไว้อย่างชัดเจนสอดคล้องและเข้มกว่าที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุน และเกณฑ์การประเมินด้านความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) กำหนด

กระบวนการสรรหากรรมการบริษัทฯ ไทยออยล์กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกและกระบวนการแต่งตั้งกรรมการที่เป็นไปตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องตามข้อมูลที่ปรากฏในคู่มือ CG โดยกรรมการต้องมีคุณสมบัติที่สอดคล้องตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยพิจารณาจากประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถที่จะเป็นประโยชน์ต่อไทยออยล์ และไม่นำความแตกต่างทางเพศ เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ สัญชาติ หรือถิ่นกำเนิด มาเป็นข้อจำกัดด้านคุณสมบัติ รวมถึงพิจารณาความหลากหลายของความเชี่ยวชาญในภาพรวม โดยได้จัดทำ Board Skill Matrix สำหรับใช้ประกอบการพิจารณา เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญที่หลากหลายและสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจของไทยออยล์ รวมถึงมีการค้นหารายชื่อบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมจากบัญชีรายชื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (Directors’ Pool) และบัญชีรายชื่อกรรมการอาชีพในทำเนียบ IOD (IOD Chartered Director) ซึ่งเป็นบัญชีที่รวบรวมรายชื่อบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ นอกจากนี้ ข้อบังคับของไทยออยล์กำหนดให้คณะกรรมการบริษัทฯ จะต้องประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อยห้า (5) คน และไม่เกินสิบห้า (15) คน โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความสามารถ เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจะได้รับการเลือกตั้งจากผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี โดยในทุกปีจะมีกรรมการออกจากตำแหน่งตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับบริษัทฯ และกรรมการที่พ้นจากตำแหน่งสามารถได้รับการเสนอชื่อและเลือกให้กลับเข้ามารับตำแหน่งอีกได้โดยกรรมการ แต่ละรายได้รับการเลือกตั้งเป็นรายบุคคลและต้องได้คะแนนเสียงเห็นชอบเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและออกเสียงลงคะแนน

การกำหนดค่าตอบแทนกรรมการ คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อทำหน้าที่พิจารณาทบทวนและเสนอรูปแบบ ตลอดจนพิจารณาค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบของกรรมการ ผลการดำเนินงานของบริษัทฯ สภาพเศรษฐกิจโดยรวม และเทียบเคียงกับบริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกัน เป็นต้น เพื่อให้ค่าตอบแทนอยู่ในระดับที่สามารถจูงใจ จากนั้น จึงนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป

บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการบริษัทฯ

คณะกรรมการบริษัทฯ และผู้บริหารให้ความสำคัญในการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาตลอด โดยกำหนดพันธกิจของกลุ่มไทยออยล์ คือ “เสริมสร้างคุณภาพชีวิตของผู้มีส่วนได้เสียและมอบผลตอบแทนที่ยั่งยืนด้วยนวัตกรรม เทคโนโลยีและโครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่ง ภายใต้การบริหารจัดการชั้นแนวหน้าและความรับผิดชอบด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี” โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการเฉพาะเรื่องจำนวน 4 คณะ ประกอบด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อพิจารณากลั่นกรองงานด้านต่างๆ ตามขอบเขตที่ได้รับมอบหมายของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องแต่ละคณะ รวมถึงการรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อทราบอย่างสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ คณะกรรมการเฉพาะเรื่องต้องมีคุณสมบัติที่สอดคล้องตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่กำหนด บริษัทฯ ได้กำหนดคุณสมบัติ วาระการดำรงตำแหน่ง หน้าที่ความรับผิดชอบ การรายงานของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง รวมถึงการประเมินผลการปฏิบัติงาน ไว้ในกฎบัตรของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องแต่ละคณะของบริษัทฯ ด้วย

ในปี 2566 คณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีบทบาทในการพิจารณา ทบทวน ติดตามความคืบหน้าของแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการ ซึ่งสรุปได้ดังนี้

  • • มีการติดตามความคืบหน้าของโครงการต่างๆ ด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดี (CG) ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) และด้านความยั่งยืน (SD) รวมถึงการจัดการข้อร้องเรียนที่เกิดขึ้น โดยให้คำแนะนำและมอบหมายให้ฝ่ายจัดการนำเสนอความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง

รายชื่อคณะกรรมการบริษัทฯ และคุณสมบัติกรรมการอิสระของหน่วยงานต่างๆ 

รายชื่อคณะกรรมการบริษัทฯ
ณ วันที่ 31 มกราคม 2567
คุณสมบัติกรรมการอิสระ
DJSI ก.ล.ต บมจ. ไทยออยล์
1. ศ. ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล (ประธานกรรมการ)

2. นายดิสทัต โหตระกิตย์

3. ดร. ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์

4. พลโท อภิชาติ ไชยะดา

5. ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล

6. นางสาวพรรณนลิน มหาวงศ์ธิกุล

7. ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ

8. รศ. ดร. พสุ เดชะรินทร์

9. นายพลากร หวั่งหลี

10. นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล

11. ดร. สมภพ พัฒนอริยางกูล

12. นายสุชาติ ระมาศ

13. นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่)

องค์ประกอบของคณะกรรมการบริษัทฯ ณ วันที่ 31 มกราคม 2567

โครงสร้างของ
คณะกรรมการบริษัทฯ

   1  กรรมการที่เป็นผู้บริหาร
--------------------------------------
  12  กรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร
--------------------------------------
   7  กรรมการอิสระ

 
เพศ

 ชาย                       12
--------------------------------------
 หญิง            1

 
ระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง

เฉลี่ย                                 
            2.59  
ปี
 

 

การเข้าร่วมประชุม
คณะกรรมการบริษัทฯ 

เฉลี่ย

 

99.52%

 

การดำรงตำแหน่ง
กรรมการ

ไม่เกิน
 

  3 บริษัทจดทะเบียน
       ในตลาดหลักทรัพย์ฯ

หมายเหตุ : การเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ สำหรับปีสิ้นสุดณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566

การประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ

ไทยออยล์จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกปีตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ 4 แบบ ได้แก่

  1. 1. ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ ทั้งคณะ
  2. 2. ประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทฯ รายบุคคล (ประเมินตนเอง)
  3. 3. ประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการบริษัทฯ รายบุคคล (ประเมินกรรมการท่านอื่น)
  4. 4. ประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง (กรรมการเฉพาะเรื่องประเมินการทำงานของคณะกรรมการเฉพาะเรื่องที่ตนเองดำรงตำแหน่งเท่านั้น) ตลอดจนการกำหนดนโยบายให้มีการจัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ โดยผู้ประเมินอิสระทุก 3 ปี เพื่อนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาปรับใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ โดยในปี 2566คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีฯ เห็นชอบให้ที่ปรึกษาอิสระ ได้แก่ บริษัท ไพร้ซวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์ส เอบีเอเอส จำกัด มาดำเนินกระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ

นโยบายความหลากหลายของคณะกรรมการบริษัทฯ

ไทยออยล์ได้กำหนดนโยบายความหลากหลายของกรรมการ โดยพิจารณาจากประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถที่จะเป็นประโยชน์ต่อไทยออยล์และไม่นำความแตกต่างทางเพศ เผ่าพันธุ์ เชื้อชาติ สัญชาติ หรือถิ่นกำเนิด มาเป็นข้อจำกัดด้านคุณสมบัติ

ความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการบริษัทฯ

ไทยออยล์ได้จัดทำตารางแสดงทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ (Board Skill Matrix) ซึ่งประกอบด้วยทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญที่มีความจำเป็นและสอดคล้องกับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ เช่น ด้านพลังงาน ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี ด้านบัญชีการเงิน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ด้านนวัตกรรมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยควรประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ในธุรกิจของไทยออยล์อย่างน้อย 3 คน ด้านกฎหมายอย่างน้อย 1 คน และด้านบัญชีการเงินอย่างน้อย 1 คน ทั้งยังต้องประกอบด้วยกรรมการอิสระ โดยมีจำนวนอย่างน้อย 1 ใน 3 ของกรรมการทั้งคณะ และไม่น้อยกว่า 3 คน

 

ตารางแสดงทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ (ฺBoard Skill Matrix) ของคณะกรรมการบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

รายชื่อกรรมการ

ณ วันที่ 31 มกราคม 2567

ทักษะ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ คุณสมบัติอื่น
1.พลังงาน/ปิโตรเลียม/ปิโตรเคมี 2.วิศวกรรมศาสตร์ 3.บัญชี/การเงิน 4.กฎหมาย/นิติศาสตร์ 5.เศรษฐศาสตร์ 6.รัฐศาสตร์/สังคมศาสตร์ 7.ความมั่นคง 8.IT/Digital 9.บริหารธุรกิจ/บริหารองค์กร/กำกับดูแลกิจการ 10.วิทยาศาสตร์/นวัตกรรม/สิ่งแวดล้อม กรรมการอิสระ Director Pool สคร./IOD จำนวนตำแหน่งกรรมการในบริษัท จดทะเบียนอื่น
  • 1. ดร. สุพจน์ เตชวรสินสกุล (ประธานกรรมการ)
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 
  • 
  • 1
  • 2. นายดิสทัต โหตระกิตย์
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 
  •  
  •  
  • -
  • 3. ดร. ณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 
  • -
  • 4. พลโท อภิชาติ ไชยะดา
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 
  •  
  • 1
  • 5. ร้อยตำรวจเอก ปิยะ รักสกุล
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 
  •  
  •  
  • -
  • 6. นางสาวพรรณนลิน มหาวงศ์ธิกุล
  • 
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 1
  • 7. ดร. บุรณิน รัตนสมบัติ
  • 
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 
  •  
  • 1
  • 8. รศ. ดร. พสุ เดชะรินทร์
  •  
  •  
  • 
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 2
  • 9. นายพลากร หวั่งหลี
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 1
  • 10. นายเทอดเกียรติ พร้อมมูล
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 
  • 
  •  
  •  
  • 1
  • 11. ดร.สมภพ พัฒนอริยางกูล
  • 
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 
  •  
  •  
  • -
  • 12. นายสุชาติ ระมาศ
  • 
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 
  •  
  •  
  • -
  • 13. นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต 
  • (ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่/เลขานุการคณะกรรมการ)
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  •  
  • 1
  • Total
  • 8
  • 5
  • 3
  • 2
  • 1
  • 3
  • 2
  • 3
  • 13
  • 5
  • 7
  • 8
  •  
  • ✓ กรณีที่มีวุฒิการศึกษาในสาขานั้นๆ
  •  กรณีที่มีความเชี่ยวชาญ หรือ มีประสบการณ์ทำงานในสาขานั้นไม่ต่ำกว่า 3 ปี โดยกรุณาระบุ 5 ลำดับแรกที่มีความเชี่ยวชาญมากที่สุดเท่านั้น
  • ☑ กรณีที่มีวุฒิการศึกษา และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในสาขาวิชานั้นๆ ด้วย

ความเชี่ยวชาญของคณะกรรมการ ณ วันที่ 1 มกราคม 2567

  • • มีกรรมการบริษัทฯ จำนวน 7 คนจาก 13 คนที่มีรายชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ
  • • มีกรรมการอิสระ และกรรมการที่ไม่เป็นผู้บริหาร (ไม่รวมประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่) ที่มีความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงาน/ปิโตรเลียม/ปิโตรเคมี จำนวน 7 คน

พลังงาน/ปิโตรเลียม/ปิโตรเคมี

คน

วิศวกรรมศาสตร์
 

คน

บัญชี/การเงิน
 

คน

กฎหมาย/นิติศาสตร์
 

คน

เศรษฐศาสตร์
 

คน

รัฐศาสตร์/สังคมศาสตร์

 

3 คน

ความมั่นคง


 

คน

เทคโนโลยีสารสนเทศ/ดิจิทัล

 

คน

บริหารธุรกิจ/
บริหารองค์กรกำกับดูแลกิจการ
 

13 คน

วิทยาศาสตร์/นวัตกรรม/สิ่งแวดล้อม

 

5 คน

นอกจากนี้ บริษัทฯ กำหนดให้กรรมการอิสระจะต้องมีความเป็นอิสระจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ หรือกลุ่มของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และผู้บริหารของบริษัทฯ ที่มีความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลทางการเงินและทางธุรกิจของบริษัทฯ รวมถึงธุรกิจอื่นอย่างเพียงพอ เพื่อแสดงความคิดเห็นอย่างเสรีในการปกป้องผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นรายย่อย และสามารถเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ อย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ บริษัทฯ มีนโยบายส่งเสริมให้กรรมการทุกท่านได้รับการพัฒนาและเข้ารับการอบรมเพิ่มเติม อาทิ การเข้าอบรมหลักสูตรจากสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (Thai Institute of Directors: IOD) หรือหลักสูตรและการสัมมนาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ โดยในปี 2566 กรรมการบริษัทฯ ได้เข้าอบรมในหลักสูตรต่างๆ ของ IOD อาทิ

  • • หลักสูตร Role of the Chairman Program (RCP) รุ่นที่ 53/2023
  • • หลักสูตร Director Accreditation Program (DAP) รุ่นที่ 204/2023
  • • หลักสูตร Risk Management Program for Corporate Leaders (RCP) รุ่นที่ 31/2023
  • • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 343/2023
  • • หลักสูตร Director Certification Program (DCP) รุ่นที่ 336/2023

นอกจากนี้ บริษัทฯ จัดให้มีการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ เป็นประจำทุกปีตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยแบ่งการประเมินออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่

1) การประเมินคณะกรรมการและคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง

2) การประเมินตนเองและกรรมการท่านอื่น ตลอดจนการกำหนดนโยบายให้มีการจัดทำการประเมินผลการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ โดยผู้ประเมินอิสระทุก 3 ปี เพื่อนำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้รับมาปรับใช้ในการพัฒนาการปฏิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทฯ

ดัชนีวัดผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

กลุ่มไทยออยล์ได้กำหนดดัชนีวัดผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนประจำปี 2566 ที่เชื่อมโยงกับค่าตอบแทนของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ และคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตลอดจนการถ่ายทอดดัชนีวัดประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรเพื่อความยั่งยืนสู่พนักงานทุกระดับตามสายงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนด ทั้งด้านการบริหารจัดการประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ดังนี้

ส่วนที่ 1) ดัชนีวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์กร (ร้อยละ 70)

กลุ่มไทยออยล์กำหนดดัชนีวัดประสิทธิภาพการดำเนินงานตามหลักการของ Balanced Scorecard เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทาง “Time to TOP UP” โดยแบ่งดัชนีวัดผลการดำเนินงานออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่

1) มุมมองด้านการดำเนินธุรกิจตามปกติ (Business as Usual) ร้อยละ 45 อาทิ

ตัววัดกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (Net Operating Profit)

  • • ตัววัดกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน (Net Operating Profit
  • • ตัววัดผลตอบแทนการลงทุน เฉลี่ย 7 ปี (Return on Invested Capital (ROIC) 7-Year Average)
  • • ตัววัดผลด้านความปลอดภัย ทั้งด้านความปลอดภัยส่วนบุคคล (Total Recordable Case Frequency: TRCF) และความปลอดภัยในกระบวนการผลิต (Process Safety Event Tier 1 and Tier 2)
  • • ตัววัดผลด้านความพร้อมในการผลิต (Operational Availability)
  • • การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและความเข้มข้นการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Energy Efficiency and GHG Intensity)

2) มุมมองด้านโครงการเชิงกลยุทธ์ (Strategic Initiatives) ร้อยละ 30

3) มุมมองด้านการสนับสนุนกลยุทธ์และความยั่งยืน (Strategic Enablers & Sustainability) ร้อยละ 25 อาทิ

  • • ตัววัดผลด้านการคงอันดับความน่าเชื่อถือให้อยู่ระดับน่าลงทุน (Investment Grade Credit Rating)
  • • ความพร้อมของบุคลากร (Human Capital Index)
  • • องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
  • • ความผูกพันของผู้มีส่วนได้เสีย (ลูกค้า ชุมชน และนักลงทุน) (Stakeholder Engagement (Customer, Community & Investor))
  • • ด้านความยั่งยืนในระดับสากล (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI)

ส่วนที่ 2) ดัชนีวัดผลด้านศักยภาพความเป็นผู้นำ (Leadership Competency) (ร้อยละ 30)

การประเมินด้านความเป็นผู้นำของประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ใน 6 หัวข้อ ได้แก่ การสร้างวิสัยทัศน์ร่วม การบริหารจัดการที่มุ่งเน้นการดำเนินการตามแผนกลยุทธ์ การบริหารความเสี่ยง การบริหารทีมให้มีประสิทธิผลสูงสุด การสอนงานและการพัฒนา และความเป็นเลิศส่วนบุคคล

ทั้งนี้ การดำเนินการด้านความยั่งยืนจะได้รับการประเมินผลผ่านดัชนีวัดผลในด้านต่างๆ ทั้ง 3 ด้านของ Balance Scorecard และด้านศักยภาพความเป็นผู้นำ

ความเป็นเจ้าของของผู้บริหาร 

ไทยออยล์ได้กำหนดแนวทางการเป็นเจ้าของหุ้นบริษัทฯ เพื่อส่งเสริมให้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ รวมถึงผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ เป็นเจ้าของหุ้นบริษัทฯ ได้สูงถึง 5 - 7 เท่าของฐานเงินเดือนคำนวณรายปี เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้บริหารปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ถือหุ้นไทยออยล์ และเพื่อขับเคลื่อนให้บริษัทฯ ประสบความสำเร็จในระยะยาวอย่างยั่งยืน รวมถึงได้รับความไว้วางใจจากนักลงทุน

ในปี 2567 ได้มีการรายงานการถือหลักทรัพย์บริษัทฯ ของผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ รวมถึงคู่สมรสหรือผู้ที่อยู่กินฉันสามีภรรยา และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะในรายงานประจําปี 2566 (แบบ 56 - 1 One Report)

การถือหุ้นบริษัทฯ (ณ วันที่ 31 มกราคม 2567)
ตำแหน่ง รายชื่อ

จำนวนเท่าของฐานเงินเดือนคำนวณรายปี

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ
กรรมการผู้จัดการใหญ่

นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต

0.02

การถือรองหุ้นบริษัทฯ โดยเฉลี่ย
ของผู้บริหารอื่นๆ 

นายฉัตรฐาพงศ์ วังธนากร
นางรุ่งนภา จันทร์ชูเกียรติ
นายวิโรจน์ วงศ์สถิรยาคุณ
นายสันติ วาสนสิริ
นายสุรชัย แสงสำราญ
นางสาววันวิสาข์ ญาณจินดา

0.49

*นายบัณฑิต ธรรมประจำจิต ถือหุ้น 2,400 หุ้น นายฉัตรฐาพงศ์ วังธนากร ถือหุ้น 105,676 หุ้น นางรุ่งนภา จันทร์ชูเกียรติ จำนวน 100 หุ้น (โดยคู่สมรส) นายวิโรจน์ วงศ์สถิรยาคุณ ถือหุ้น 23,600 หุ้น นายสันติ วาสนสิริ ถือหุ้น 66,576 หุ้น (ถือหุ้น 10,976 หุ้น และโดยคู่สมรส 55,600 หุ้น) นายสุรชัย แสงสำราญ ถือหุ้น 107,000 หุ้น และนางสาววันวิสาข์ ญาณจินดา ถือหุ้น 5,424 หุ้น 

การบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มไทยออยล์ 

เพื่อการดำเนินงานที่สอดประสานกันของไทยออยล์และบริษัทในกลุ่มฯ ตลอดจนการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน เพื่อบรรลุเป้าหมายระยะยาวรวมถึงการเติบโตอย่างยั่งยืน ไทยออยล์ได้กำหนดและประกาศใช้นโยบายการบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มไทยออยล์ ตั้งแต่ปี 2558 ซึ่งครอบคลุมกว่า 40 นโยบายที่สำคัญ และนอกจากนี้ในปี 2566 ได้มีการปรับปรุงคู่มือ TOP Way of Conduct เป็น คู่มือ TOP Group Way of Conduct โดยถือเป็นแนวทางปฏิบัติด้านการกำกับดูแลการดำเนินธุรกิจสำหรับผู้บริหาร ระดับจัดการ และพนักงาน