โรงกลั่นน้ำมัน
ไทยออยล์เริ่มต้นจากการเป็นโรงกลั่นขนาดเล็กที่มีกำลังการผลิต 35,000 บาร์เรลต่อวัน มาเป็นโรงกลั่นนํ้ามันแบบครบวงจรขนาด 275,000 บาร์เรลต่อวัน ที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
โรงกลั่นนํ้ามันไทยออยล์ได้รับการออกแบบให้สามารถสร้างมูลค่าสูงสุดจากกระบวนการผลิต สามารถปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปแต่ละชนิดให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและมีความยืดหยุ่นสูงในการใช้วัตถุดิบหรือนํ้ามันดิบจากแหล่งต่างๆ

ก่อตั้งบริษัท
โรงกลั่นน้ำมันไทย จำกัด
พ.ศ. 2504
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจโรงกลั่นนํ้ามัน
กำลังการผลิต
275,000
*หน่วยบาร์เรลต่อวัน
ผลิตภัณฑ์
Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.

นํ้ามันเบนซิน
นํ้ามันเบนซินเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้อย่างแพร่หลายสำหรับ รถยนต์เครื่องยนต์เบนซิน และรถจักรยานยนต์ ปัจจุบัน ไทยออยล์สามารถผลิตนํ้ามันเบนซินตามมาตรฐานยูโร 5 ลดปริมาณกำมะถันจากเดิม 50 ส่วนในล้านส่วน (ppm) ลงเหลือไม่เกิน 10 ppm ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx) ออกสู่บรรยากาศและช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO) และไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ด้วย นอกจากนี้ยังมีการปรับลดปริมาณสารเบนซีน ซึ่งเป็นสารที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งด้วย
นอกจากนี้ ไทยออยล์ยังผลิตนํ้ามันเบนซิน พื้นฐาน (Gasoline Base หรือ G-Base) ซึ่งเมื่อนำไปผสมกับเอทานอลใน สัดส่วน 10% 20% และ 85% จะได้เป็น นํ้ามันแก๊ซโซฮอล์ (Gasohol) E10 E20 และ E85 ตามลำดับ และสามารถผลิตและจำหน่ายนํ้ามันเบนซิน ออกเทน 95 นํ้ามันเบนซิน พื้นฐานออกเทน 95 และนํ้ามันเบนซินพื้นฐานออกเทน 91 ให้แก่ผู้บริโภค ในประเทศเป็นหลัก

นํ้ามันดีเซล

นํ้ามันอากาศยาน
นํ้ามันอากาศยานเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องบินไอพ่น แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ นํ้ามันเครื่องบินไอพ่นพาณิชย์ (Jet A-1) ซึ่งจะใช้กับเครื่องบินโดยสาร หรือเครื่องบินพาณิชย์ทั่วไป และนํ้ามันเครื่องบินไอพ่นทหาร (JP-8) ที่ใช้ในกิจกรรมทางการทหาร เช่น เครื่องบินรบ และเครื่องบินขับไล่ ซึ่งเป็นนํ้ามันที่มีคุณสมบัติพิเศษกว่า ที่จะช่วยให้เครื่องบินทหารสามารถเคลื่อนที่ด้วยอัตราความเร็วสูงได้

นํ้ามันก๊าด
นํ้ามันก๊าดเป็นนํ้ามันเชื้อเพลิงที่มีลักษณะคล้ายกับนํ้ามันอากาศยาน ปัจจุบันใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องทำความร้อนในประเทศเมืองหนาวเพื่อให้ความอบอุ่นในบ้านเรือน ตลอดจนใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับหุงต้ม

นํ้ามันเตา
เป็นนํ้ามันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในอุตสาหกรรม โดยนํ้ามันเตาของไทยออยล์แบ่งเป็น 3 เกรด คือ
- นํ้ามันเตาชนิดที่ 1 หรือ นํ้ามันเตา A (FOA) เป็นนํ้ามันเตาใส ที่มีความหนืดต่ำไม่เกิน 80 เซนติสโตกส์ ที่อุณหภูมิ 50 °C และมีปริมาณกำมะถันต่ำ จึงเหมาะกับอุปกรณ์เผาไหม้สะอาดไม่มีเขม่า ควันดำ ละออง ถ่าน หรือ กำมะถันสูง เช่นอุตสาหกรรมทำกระเบี้อง
- นํ้ามันเตาชนิดที่ 2 หรือ นํ้ามันเตา C (FOC) เป็นนํ้ามันเตาที่มีความหนืดปานกลาง คือ ไม่เกิน 180 เซนติสโตกส์ ที่อุณหภูมิ 50 °C และมีปริมาณกำมะถัน ไม่เกิน 2% โดยนํ้าหนักมักใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ เช่น ใช้เป็นพลังงานในการขับเครื่องจักรหรือกังหันไอนํ้า (Steam Turbine) เพื่อผลิตไฟฟ้า และใช้เป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาและเตาหลอม เช่น ในการหลอมโลหะ และการผลิตปูนซิเมนต์
- นํ้ามันเตาชนิดที่ 3 หรือ (Bunker Fuel) เป็นนํ้ามันเตาที่มีความหนืดสูง คือ ไม่เกิน 380 เซนติสโตกส์ ซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเรือเดินสมุทร มีทั้งที่มีกำมะถันไม่เกิน 3.5% และ 4.0% โดยนํ้าหนัก

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
กระบวนการกลั่นน้ำมัน คือ กระบวนการแยกโมเลกุลสารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในน้ำมันดิบและแปรสภาพสสารดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูงกว่า
โรงกลั่นน้ำมันแต่ละแห่งจะมีการออกแบบให้สามารถกลั่นน้ำมันดิบ รวมถึงวัตถุดิบอื่นๆ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ตามความต้องการของตลาด ทั้งนี้ คุณภาพของน้ำมันดิบและประเภทของหน่วยกลั่นต่างๆ ในโรงกลั่นน้ำมันจะเป็นปัจจัยในการพิจารณาวิธีการกลั่นน้ำมันและระดับความสามารถในการกลั่นน้ำมันดิบให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไป การแบ่งประเภทของน้ำมันดิบจะแบ่งตามความหนาแน่น (Density) จากต่ำไปสูง (Light to Heavy) และปริมาณกำมะถันจากต่ำไปสูง (Sweet to Sour)
สำหรับโรงกลั่นของไทยออยล์ ถือเป็นโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) ซึ่งมีกระบวนการที่สามารถแปลงสภาพวัตถุดิบที่มีราคาต่ำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง โดยมีรายละเอียดกระบวนการกลั่นโดยสังเขป ดังนี้
กระบวนการนี้เกิดขึ้นในหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Unit : CDU) โดยการป้อนน้ำมันดิบจากถังพักเข้าสู่หน่วยกลั่นและผ่านกระบวนการให้ความร้อนจนถึงระดับอุณหภูมิประมาณ 350 องศาเซลเซียสด้วยกระบวนการถ่ายเทความร้อน โดยใช้อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchangers) และเตาเผา (Fired Heaters) เมื่อนำเข้าสู่หอกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ตามจุดเดือด (Fractionation Tower) น้ำมันดิบจะถูกแยกเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่างๆ ตามจุดเดือดที่แตกต่างกัน โดยน้ำมันดิบบางส่วนจะระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปยังส่วนบนของหอและกลั่นตัวเป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันใส (Distillate) ชนิดต่างๆ เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว แนฟทา (Naphtha) น้ำมันก๊าด และน้ำมันดีเซล สำหรับน้ำมันดิบที่ไม่ระเหยจะกลายเป็นน้ำมันเตา (Residue) ซึ่งจะออกทางส่วนล่างของหอ ทั้งนี้ หากต้องการปรับปรุงคุณภาพและมูลค่าของน้ำมันใส ก็จะมีการนำน้ำมันใสเข้าสู่กระบวนการอื่นต่อไป
กระบวนการปรับปรุงคุณภาพของน้ำมันใส (Distillate) เป็นกระบวนการกำจัดสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากน้ำมันใส เช่น สารประกอบไนโตรเจน สารประกอบกำมะถัน เป็นต้น และปรับปรุงคุณสมบัติเชิงกายภาพ เช่น เสถียรภาพจากความร้อน (Thermal Stability) และเสถียรภาพของสี (Color Stability) เป็นต้น เพื่อให้น้ำมันใสกลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีระดับความบริสุทธิ์และคุณภาพตามความต้องการของตลาด ในหลายกรณี กระบวนการเหล่านี้ต้องอาศัยปฏิกิริยาของสารเร่งปฏิกิริยาเคมี (Catalytic Reaction) ซึ่งลักษณะและคุณสมบัติของสารเร่งปฏิกิริยามีความแตกต่างกันออกไป เช่น การปรับปรุงคุณภาพน้ำมันก๊าด ในหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมันก๊าด (Kerosene Merox treating unit : KMT) จำเป็นต้องใช้สารเร่งปฎิกิริยาชนิดเหลวเพื่อเร่งกระบวนการเปลี่ยนแปลง ขณะที่การกำจัดสารปนเปื้อนออกจากแนฟทาในหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมันเบนซิน (Hydrotreating Unit : HDT) และน้ำมันดีเซลในหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมันดีเซล (Hydrodesulfurization Unit : HDS) นั้น จะดำเนินการโดยใช้สารเร่งปฏิกิริยาชนิดแข็งและก๊าซไฮโดรเจนที่มีอุณหภูมิและความดันสูง
เนื่องจากแนฟทาที่ได้จากหน่วยกลั่นน้ำมันดิบจะมีค่าออกเทนต่ำและมีคุณภาพไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ผสมในน้ำมันเบนซิน จึงจำเป็นต้องผ่านกระบวนการกลั่นแยกให้เป็นแนฟทาชนิดเบา (Light Naphtha) และแนฟทาชนิดหนัก (Heavy Naphtha) จากนั้นนำเข้าสู่หน่วยปรับปรุงคุณภาพที่แตกต่างกัน โดยแนฟทาชนิดเบาจะได้รับการปรับปรุงคุณภาพที่หน่วยเพิ่มค่าออกเทนด้วยสารเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ไฮโดรเจนร่วม (Isomerization Unit : ISOM) เพื่อเพิ่มค่าออกเทนจากประมาณ 65 – 70 เป็นประมาณ 88 – 89 ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่มีสารอะโรเมติกส์ (Aromatics) เจือปน จึงเหมาะสมที่จะใช้ผสมเป็นน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ซึ่งมีปริมาณสารอะโรเมติกส์ต่ำ สำหรับแนฟทาชนิดหนักจะนำไปปรับปรุงคุณภาพที่หน่วยเพิ่มค่าออกเทนด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (Continuous Catalyst Regeneration Platformer Unit : CCR) เพื่อเพิ่มค่าออกเทนจากระดับปกติที่ประมาณ 40 – 50 เป็น 102 – 103
น้ำมันเตา (Residue) ซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากกระบวนการกลั่นแยกส่วนจากหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (CDU) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า Long Residue จะมีการส่งต่อไปยังหน่วยกลั่นสุญญากาศ (High Vacuum Unit : HVU) เพื่อแยกน้ำมันดีเซลสุญญากาศ (VGO) ออกจากน้ำมันเตาชนิดหนัก (Short Residue) ภายในหอกลั่นแยกผลิตภัณฑ์ตามจุดเดือด (Fractionation Tower) ภายใต้อุณหภูมิสูงและภาวะสุญญากาศ
น้ำมันดีเซลสุญญากาศ (VGO) จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยแตกโมเลกุลด้วยสารเร่งปฏิกิริยาแบบเคลื่อนที่ (Fluidized Catalytic Cracking Unit : FCCU) ภายใต้อุณหภูมิสูง เพื่อให้แตกโมเลกุลเป็นน้ำมันเบนซินที่มีค่าออกเทนสูงและน้ำมันดีเซล ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้เกิดถ่านโค้ก (Coke) บนสารเร่งปฏิกิริยา ดังนั้น จึงต้องมีการเผาถ่านโค้กเพื่อนำสารเร่งปฏิกิริยากลับมาใช้งานใหม่ในหน่วย Regenerator หรืออีกทางเลือกหนึ่ง จะมีการส่งน้ำมันเตาชนิดเบาไปยังหน่วยแตกโมเลกุลด้วยสารเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ไฮโดรเจนร่วม (Hydrocracking Unit : HCU) ภายใต้อุณหภูมิและความดันสูง เพื่อให้แตกโมเลกุลและปรับปรุงคุณภาพให้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันใส (White Oil) ที่มีราคาสูง ได้แก่ แนฟทา น้ำมันก๊าด น้ำมันดีเซล
ส่วนน้ำมันเตาชนิดหนัก (Short Residue) จากหน่วยกลั่นสุญญากาศ (High Vacuum Unit : HVU) จะมีการส่งไปยังหน่วยเพิ่มคุณค่าน้ำมันเตาด้วยความร้อน (Thermal Cracking Unit : TCU) เพื่อปรับปรุงคุณภาพให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าทางการตลาดที่สูงขึ้น โดยการผ่านกระบวนการภายใต้สภาวะแวดล้อมที่มีอุณหภูมิและความดันสูง เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างให้เป็นน้ำมันเตาที่มีความหนืดต่ำลง อีกทั้ง ยังทำให้ได้น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลอีกส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ได้วางแผนให้หน่วยเพิ่มคุณค่าน้ำมันเตาด้วยความร้อน (Thermal Cracking Unit : TCU) หยุดเดินการผลิต ภายหลังที่บริษัทฯ เริ่มทำการผลิตน้ำมันเตาที่มีกำมะถัน ร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนักตามมาตรฐานขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Marine Organization : IMO) เนื่องจากคุณภาพของกากน้ำมันเตาจากหน่วยเพิ่มคุณค่าน้ำมันเตาด้วยความร้อน (Thermal Crack Residue) มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมต่อการผลิตน้ำมันเตาที่มีกำมะถัน ร้อยละ 0.5 โดยน้ำหนัก ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักในกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างน้ำมันเตา คือ เพื่อลดปริมาณน้ำมันเตาที่มีคุณภาพต่ำ และเพิ่มปริมาณผลิตภัณฑ์น้ำมันใส (White Oil) เช่น น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลที่มีมูลค่าทางการตลาดสูง ทั้งยังช่วยให้โรงกลั่นน้ำมันมีความยืดหยุ่นในการเลือกชนิดน้ำมันดิบ นอกจากนี้ กระบวนการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างน้ำมันเตานี้ ยังช่วยเพิ่มกำไรขั้นต้นจากการกลั่นให้สูงกว่าโรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Hydro – Skimming) อีกด้วย
โรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ขั้นกลาง (Middle Distillation) หรือองค์ประกอบสำหรับใช้ผสมน้ำมันหลายชนิด ทำให้สามารถเลือกผสมเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูงชนิดต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์ กระบวนการผสมผลิตภัณฑ์ จึงต้องมีความแม่นยำในการผสม มีการเติมสารเติมแต่ง (Additive) และสี (Dye) เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของตลาดและข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ ปัจจุบัน ไทยออยล์ใช้ระบบการผสมแบบ In – line Blending สำหรับการผสมน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซล โดยมีระบบคอมพิวเตอร์ในการควบคุมสัดส่วนการผสม ซึ่งทำงานควบคู่กับระบบตรวจสอบวิเคราะห์ ซึ่งทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันขณะผสมได้ตลอดเวลา เพื่อปรับแต่งสัดส่วนการผสมได้อย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ส่วนน้ำมันเตายังคงใช้ระบบการผสมแบบ Batch Blending


การกลั่นน้ำมันถือเป็นธุรกิจจากฐานกำไร (Margin) โดยมีเป้าหมายของผู้กลั่นน้ำมันคือการทำให้กระบวนการกลั่นน้ำมันมีประสิทธิภาพสูงสุดและได้ผลตอบแทนจากผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุด จากวัตถุดิบที่ใช้


ธุรกิจกลั่นน้ำมันมีเป้าหมายการดำเนินงานจากการคัดเลือกน้ำมันดิบ และวัตถุดิบที่เหมาะสม ผ่านกระบวนการกลั่นน้ำมันที่มีประสิทธิภาพ เพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้ผลตอบแทนสูงสุด โดยกำไรเบื้องต้นจากการกลั่นของโรงกลั่นน้ำมันสามารถคำนวณได้จากการนำมูลค่าทั้งหมดของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้ หักด้วยต้นทุนราคาน้ำมันดิบ ค่าวัตถุดิบอื่นๆ และค่าสาธารณูปโภคที่ซื้อจากภายนอก
โรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน (Simple Refinery) จะมีสัดส่วนของผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น ก๊าซปิโตรเลียมเหลว น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว น้ำมันแก๊สโซฮอล์ สารมิกซ์ไซลีน น้ำมันอากาศยาน น้ำมันดีเซล ตลอดจนน้ำมันเตา หรือยางมะตอย จากการกลั่นตามสัดส่วนของน้ำมันดิบ และวัตถุดิบที่ใช้โดยตรง ขณะที่โรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refining Margin) จะมีหน่วยกลั่นที่สามารถแปรสภาพผลิตภัณฑ์ชนิดหนัก (Heavy Product) เช่นน้ำมันเตา หรือยางมะตอยที่มีมูลค่าต่ำ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเบา (Light Products) ที่มีมูลค่าสูงขึ้นได้ จึงสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเบาได้ในสัดส่วนที่สูงขึ้น และคงเหลือผลิตภัณฑ์ชนิดหนักในสัดส่วนที่ลดลง ดังนั้นโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ ที่มีกระบวนการกลั่นที่ซับซ้อนกว่าจึงสามารถสร้างผลตอบแทนจากการผลิตสูงกว่าโรงกลั่นน้ำมันแบบพื้นฐาน เนื่องจากสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูงโดยใช้น้ำมันดิบหรือวัตถุดิบอื่นที่มีต้นทุนต่ำกว่า
ทั้งนี้ค่าอ้างอิง (Benchmark) ในอุตสาหกรรมการกลั่นมีหลายตัววัด ประกอบด้วย Nelson Complexity Index (NCI) ซึ่งเป็นดัชนีวัดความซับซ้อนของกระบวนการกลั่น นอกจากนี้ยังมีตัววัดที่ใช้วัดประสิทธิภาพของโรงกลั่น ได้แก่ กำไรจากการกลั่นขั้นต้น อัตราการผลิต (Utilization Rate) ประสิทธิภาพด้านความพร้อมใช้งาน (Operational Availability) และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Intensity Index : EII) เป็นต้น
ไทยออยล์เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับชั้นนำแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ชื่อย่อ
TOP
เลขทะเบียนบริษัท
0107547000711
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมัน
ทุนจดทะเบียน
22,338,355,660 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญที่ชำระแล้วจำนวน 2,233,835,566 หุ้น
มูลค่าหุ้นละ
10 บาท


ช่องทางการติดต่อ
บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry.

สำนักงานกรุงเทพฯ
เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
0 – 2797 – 2999, 0 – 2797 – 2900,
0 – 2299 – 0000
โรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ ศรีราชา
42/1 หมู่ที่ 1 ถนนสุขุมวิท กม.ที่ 124 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
0 – 3840 – 8500, 0 – 3835 – 9000,
0 – 3849 – 8900
แผนกนักลงทุนสัมพันธ์
0 – 2797 – 2961
ir@thaioilgroup.com
เว็บไซต์
บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน)
โรงกลั่นนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน ไทยออยล์ถือหุ้นร้อยละ100
เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์
พ.ศ. 2540
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจโรงกลั่นนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน
กำลังการผลิต
นํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน
267,015
ยางมะตอย
350,000
น้ำมันยางมลพิษต่ำ
67,520
*หน่วยตันต่อปี
โครงสร้างผู้ถือหุ้น
บมจ. ไทยออยล์ ร้อยละ 100
ผลิตภัณฑ์
Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.

นํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน
นํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐานเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นนํ้ามันดิบ โดยนำไปผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ เพื่อให้ได้เป็นนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐานบริสุทธิ์ คุณภาพสูง โดยมีความหนืดที่แตกต่างกันเป็นเบอร์ต่างๆ เช่น 150 SN และ 500 SN โดยตัวเลขยิ่งสูงความหนืดยิ่งมากขึ้นซึ่งเหมาะกับการใช้งานที่มีแรงเสียดทานมากขึ้น โดยนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐานของบริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) ผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานกรุ๊ป 1 ที่มีคุณภาพสูงเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งแบ่งเป็นแต่ละเกรดดังนี้
- 150 SN เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตเป็นนํ้ามันหล่อลื่นที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต ทุกชนิด เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ อุตสาหกรรมขนส่ง
- 500 SN เป็นวัตถุดิบในการผลิตนํ้ามันหล่อลื่นสำหรับรถยนต์เกือบทุกประเภท เช่น รถยนต์ส่วนบุคคล รถบรรทุก รถจักรยานยนต์
- 150 BS เป็นวัตถุดิบในการผลิตนํ้ามันหล่อลื่นสำหรับอุตสาหกรรมและ เครื่องจักรที่มีแรงเสียดทานมาก เช่น ใช้ในเครื่องยนต์ของรถบรรทุก เครื่องจักร รถไฟ เครื่องยนต์เรือเดินทะเล และอุตสาหกรรมยางสังเคราะห์

ยางมะตอย
ยางมะตอยเป็นผลิตภัณฑ์ส่วนที่หนักที่สุดที่ได้มาจากกระบวนการกลั่นนํ้ามันดิบ ยางมะตอย มักนิยมใช้ในงานก่อสร้างถนน โดยใช้เป็นวัสดุผิวหน้าในการทำถนน ทางเท้า ลานจอดรถ และสนามบิน เนื่องจากยางมะตอยมีคุณสมบัติในการยึดและประสาน โดยยางมะตอยจะอ่อนตัวเมื่อโดนความร้อน และแข็งเมื่อเย็นตัวลง

ผลิตภัณฑ์พลอยได้
Aromatic Extract หรือเรียกว่า นํ้ามันยาง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแยกสารอะโรเมติกส์ออกมา ด้วยการใช้ตัวทำละลายนำไปใช้ในการทำยาง SBR (Styrene Butadiene Rubber) ยางรถยนต์ จาระบี และ ผงหมึก

ผลิตภัณฑ์พิเศษ
TDAE (Treated Distillate Aromatics Extract) หรือ เรียกว่า นํ้ามันยางสะอาด เกิดจากการนำนํ้ามันยาง (Aromatic Extract) มาผลิตซ้ำที่หน่วยสกัดอะโรมาติกส์ เพื่อกำจัดสารก่อมะเร็งและลดมลพิษในอากาศ นำไปใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์
Slack Wax มีลักษณะเป็นไข นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นเทียนไข ยาขัดรองเท้านํ้ายาเคลือบเงา เครื่องสำอาง ตัวประสานในการผลิตไม้อัด เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการกลั่นของบริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) ได้แก่ น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน 3 ชนิด ซึ่งจำแนกตามความหนืด ได้แก่ 150 SN, 500 SN, และ 150 BS ยางมะตอย น้ำมันยาง (Aromatic Extract) น้ำมันยางมลพิษต่ำ (TDAE) น้ำมันดีเซลสุญญากาศ (VGO) ไขแสล็ก (Slack Wax) และแนฟทา

หน่วยกระบวนการผลิตของโรงกลั่นนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน
หน่วยกลั่นสุญญากาศ (Vacuum Distillation Unit) เป็นหน่วยแรกของกระบวนการผลิต โดยมีหน้าที่กลั่นแยกชนิดของน้ำมันตามลำดับอุณหภูมิที่ความดันสุญญากาศ เพื่อผลิตน้ำมันดีเซลสุญญากาศ (VGO) 3 ชนิด ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานต่อไป
หน่วยแยกแอสฟัลท์ (Propane Deasphalting Unit) ทำหน้าที่สกัดแอสฟัลท์ออกจากกากน้ำมันที่ได้จากก้นหอกลั่นสุญญากาศ โดยใช้โพรเพนเป็นสารทำละลาย เพื่อผลิตน้ำมันพร่องแอสฟัลท์ (Deasphalted Oil) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเป็นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ชนิด 150 ไบรท์สต็อก (150BS) และแอสฟัลท์ ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตยางมะตอยต่อไป
หน่วยสกัดสารอะโรเมติกส์ (MP Refining Unit) ทำหน้าที่สกัดสารอะโรเมติกส์จากน้ำมันดีเซลสุญญากาศ (VGO) และน้ำมันพร่องแอสฟัลท์ โดยใช้สารละลายชื่อ n – Methyl – 2 – pyrrolidone (NMP) เป็นตัวทำละลาย เพื่อผลิตน้ำมันพร่องสารอะโรเมติกส์ (Raffinates) ที่มีดัชนีความหนืดสูงขึ้น
หน่วยกำจัดกำมะถันและฟอกสี (Hydrofinishing Unit) ทำหน้าที่ในการแยกกำมะถันในน้ำมันพร่องสารอะโรเมติกส์ออก โดยการทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจน เพื่อผลิตน้ำมันบำบัดด้วยไฮโดรเจน (Hydrotreated Raffinates) ที่บริสุทธิ์และมีสีใสยิ่งขึ้น
หน่วยแยกไข (Solvent Dewaxing Unit) ทำหน้าที่แยกไขแสล็ก (Slack Wax) ออกจากน้ำมันบำบัดด้วยไฮโดรเจน เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานที่มีจุดไหลเทต่ำ ได้มาตรฐานสากล และพร้อมจำหน่าย
หน่วยผลิตน้ำมันยางมลพิษต่ำ (TDAE) ทำหน้าที่แยกสารอะโรเมติกส์ชนิดหลายวง (Polycyclic Aromatic) เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์น้ำมันยางมลพิษต่ำ (TDAE)


ข้อมูลทั่วไป
Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus.
ชื่อย่อ
TLB
เลขทะเบียนบริษัท
0107539000090
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน
ทุนจดทะเบียน
1,757,890,730 บาท
ชนิดของหุ้น
สามัญ
จำนวนหุ้น
(จำหน่ายแล้ว)
175,789,073 หุ้น
มูลค่าหุ้น (บาท/หุ้น)
10 บาท


ช่องทางการติดต่อ
บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน)
