ระบบบริหารจัดการ
กลุ่มไทยออยล์ เป็นผู้ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีอย่างบูรณาการ ซึ่งได้รับการยอมรับในวงการพลังงานว่าเป็นโรงกลั่นที่มีความทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงสุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
โดยบริหารและพัฒนาโครงสร้างธุรกิจ โครงสร้างเงินทุน รวมทั้งระบบบริหารจัดการให้อยู่ในระดับมาตรฐานสากลอย่างต่อเนื่อง มีระบบการบริหารจัดการที่มุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ (Operational Excellence) ซึ่งมีการบริหารงานเป็น กลุ่มที่มีความเชื่อมโยงธุรกิจ ทั้งธุรกิจการกลั่นนํ้ามัน ธุรกิจปิโตรเคมี ธุรกิจนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน นอกจากนั้นยังมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องหลากหลาย เช่น ธุรกิจไฟฟ้า ธุรกิจสารทำละลาย ธุรกิจบริหารการขนส่ง ธุรกิจพลังงานทดแทน ธุรกิจผลิตสารตั้งต้นสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์สารทำความสะอาด ธุรกิจบริการจัดเก็บนํ้ามันดิบ นํ้ามันปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี และธุรกิจให้บริการด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคลากรสำหรับกลุ่มไทยออยล์
กลุ่มไทยออยล์มีความมุ่งมั่นในการกำกับ ควบคุมกระบวนการผลิต กระบวนการทำงาน การบำรุงรักษา การเพิ่มผลผลิต การจัดการองค์ความรู้ เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มุ่งสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตอบสนองวิสัยทัศน์ ความต้องการและความคาดหวัง สร้างความพึงพอใจแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างเหมาะสมด้วยความโปร่งใส และมีจริยธรรมอย่างเคร่งครัด จึงกำหนดนโยบายคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน (QSHE) กลุ่มไทยออยล์


ปัจจุบันกลุ่มไทยออยล์ได้มุ่งมั่นพัฒนากระบวนการบริหารจัดการ ด้วยการกำหนดกลยุทธ์องค์กรให้ทุกหน่วยงานมีการขับเคลื่อนไปด้วยกัน
เพื่อรองรับปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นและเชื่อมโยงให้หน่วยงานต่าง ๆ ทำงานร่วมกันอย่างคล่องตัวและได้รับประโยชน์สูงสุด
โดยในการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศได้ใช้แนวทางในการดำเนินงาน (Operational Excellence Framework) ซึ่งแบ่งเป็น 3 ส่วนดังนี้



การจัดการอย่างเป็นระบบ (System)
มีระบบการจัดการแบบบูรณาการ เป็นพื้นฐานในการจัดกระบวนการปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เกิดความเชื่อมโยงกันทั้งกระบวนการปฏิบัติงาน และผลลัพธ์ เพื่อสนับสนุนวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายหลักขององค์กร มีกรอบการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทำให้เกิดการประสานงานกัน (Synergy) ทั้งภายในกลุ่มไทยออยล์ และบริษัทอื่นในกลุ่ม ปตท. โดยการบูรณาการข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล (International Standard Requirement) เช่นระบบการจัดการ ISO ต่าง ๆ ระบบการจัดการสู่ความเป็นเลิศ (Operational Management System: OEMS) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้มีระบบการดำเนินงาน และการบริหารจัดการองค์กรที่แข็งแกร่ง และต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ (TOP Quartile)ในระดับสากลโดยมุ่งเน้นผลลัพธ์ด้าน Safety, Reliability, Cash Cost, ROIC และ Energy Efficiency และการจัดการก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืน

นำไปสู่การปฏิบัติ (Execution)
สัมฤทธิผลของการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศเกิดจากการนำไปสู่การปฎิบัติโดยผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายอย่างทั่วถึง และถือปฏิบัติเป็นงานประจำ ซึ่งมีหลักสำคัญดังนี้
- มีการวางแผนและปฏิบัติตามแผนงานที่กำหนดไว้
- กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจน
- ปฏิบัติตามตัวชี้วัดของกระบวนการทำงาน
- เชื่อมโยงการปฏิบัติและตัวชี้วัด กับวัตถุประสงค์เป้าหมายหลักขององค์กร
- รับฟังเสียงของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อนำมาปรับปรุง



วัฒนธรรมการปฎิบัติงาน (Culture)
เสริมสร้างวัฒธรรมการปฏิบัติงานเชิงรุก ปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน โดยวัฒนธรรมที่ยึดถือปฏิบัติมาอย่างสม่ำเสมอ ได้แก่
- มุ่งเน้นการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
- ประเมินความเสี่ยง และวิเคราะห์หาสาเหตุของสิ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
- มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
- ติดตามและตรวจสอบให้เป็นไปตามแผนงาน
- มีการทบทวนโดยผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง
เราพนักงานกลุ่มไทยออยล์ทุกคนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศ
OpEx เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์
“ Empowering Human Life through Sustainable Energy
and Chemicals ”
สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงาน และเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน

ระบบการจัดการ OEMS มีองค์ประกอบที่สำคัญ
12 องค์ประกอบคือ
ไม่ใช่สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้น แต่ทั้ง 12 องค์ประกอบมาช่วยเติมเต็มพื้นฐานการปฏิบัติงานตามระบบการจัดการ ISO ต่างๆ ที่เครือไทยออยล์ได้นำมาพัฒนาใช้ ซึ่งเป็นงานที่มีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง แต่หัวใจสำคัญของ OpEx Management System คือทำให้เกิดความเชื่อมโยงและบูรณาการกันทั้งในด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และผลลัพธ์ ตั้งแต่ระดับนโยบาย จนถึงผู้ปฏิบัติงานประจำวันทุก ๆ คนภายในองค์กร ทำให้การปฏิบัติงานมีการวาง กรอบการปฏิบัติที่ชัดเจน ทำให้เกิดการผนึกกำลัง(Synergy) ทั้งภายในเครือไทยออยล์ และบริษัทอื่นในกลุ่ม ปตท เพื่อมุ่งสู่จุดหมายแห่งความสำเร็จและความเป็นเลิศอย่าง ยั่งยืนต่อไป

การบริหารจัดการด้านความ มั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม (SSHE)
ยึดมั่นการบริหารจัดการด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในทุกภาค ส่วนขององค์กร ให้ผลการดำเนินงาน มีมาตรฐาน สูงสุด เป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานของ SSHE ขององค์กร

การจัดการความเสี่ยงในการปฏิบัติการ (Operations Risk Management)
ระบุและจัดการกับความเสี่ยงในการปฏิบัติการทั้งหมด เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร และธุรกิจให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำที่สุด และยังสามารถบริหารจัดการได้จริง

การพัฒนาศักยภาพองค์กร (Organization & Capabilities)
โครงสร้างองค์กรถูกออกแบบโดยคำนึงถึงสายบังคับบัญชา เพื่อให้การบริหารงานและอำนาจการตัดสินใจใดๆเป็นไปอย่าง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลการเพิ่มขีดศักยภาพในการ ปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบผ่านการพัฒนาสมรรถนะและทักษะการแบ่งปัน วิธีการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศและการบริหาร จัดการความรู้ ภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ

การบริหารจัดการความยั่งยืน (Sustainability Management)
ยึดมั่นในหลักการความยั่งยืนมีแนวคิดในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่ง แวดล้อม และปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ พร้อมรักษาสมดุลระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเพื่อการ เติบโตอย่างยั่งยืน

การบริหารจัดการความเชื่อมั่นในระบบอุปกรณ์
การผลิต (Reliability & Asset Integrity)
บริหารจัดการความเชื่อมั่นในระบบอุปกรณ์การผลิต โดยวางแผนและ ปฏิบัติการงานตรวจสอบและบำรุงรักษาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ทุกส่วน ที่เกี่ยวข้องมั่นใจได้ว่า เครื่องจักรและอุปกรณ์ในระบบการผลิตนั้นมี เสถียรภาพ เป็นไปตามมาตรฐานสูงสุด มีความปลอดภัยเชื่อถือได้ และบริหารค่าใช้จ่ายอย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน

การปฏิบัติการ (Operations)
มุ่งเน้นการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่าง ๆ

การบริหารห่วงโซ่แห่งคุณค่า (Value Chain Management)
คาดหวังของลูกค้าและสอดคล้องกับ เป้าหมายทางธุรกิจนโยบาย การปฎิบัติการและการบริหารสินค้าคงคลังขององค์กร

การบริหารจัดการคู่ค้าและผู้รับเหมา (Management of Contractors & Suppliers)
บริหารจัดการกลุ่มผู้รับเหมาและคู่ค้า เพื่อให้มั่นใจว่าวัตถุดิบ และบริการที่ส่งมอบนั้นได้คุณภาพเป็นไป ตามนโยบาย ข้อกำหนด มาตรฐานการดำเนินงานและสอดคล้องกับ เป้าหมายทางธุรกิจขององค์กร

กลยุทธ์และการเป็นผู้นำ (Strategy & Leadership)
ยึดมั่นในหลักปฏิบัติขององค์กร ได้แก่ ความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ความยั่งยืนและการบริหารต้นทุน การปฏิบัติงานอย่าง มีประสิทธิภาพ และมุ่งมั่นที่จะนำพา องค์กรสู่เป้าหมายของการเป็นบริษัทที่มี ผลงานอยู่ในระดับ ชั้นนำอย่างต่อเนื่อง

การบริหารประสิทธิภาพ (Performance Management)
จัดลำดับความสำคัญ และนำมาจัดการแก้ไข ป้องกัน และปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

การบริหารการลงทุนโครงการ (Capital Project Management)
ตามกรอบที่กำหนด ได้ผลลัพธ์ตามที่คาดหวัง ในระยะเวลาและงบประมาณที่วางไว้

การบริหารการเปลี่ยนแปลง (Management of Change)
มีมาตรการการจัดการอย่างเป็นระบบโดยที่มีระดับ ความเสี่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำที่สุดและยังสามารถบริหารจัดการได้จริง

OurCertificate
บริษัทในกลุ่มไทยออยล์ ได้รับการรับรองระบบการจัดการตามมาตรฐานสากลดังนี้

นโยบายคุณภาพ ความมั่นคง
ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน กลุ่มไทยออยล์
เครือไทยออยล์มีระบบการจัดการแบบบูรณาการเป็นพื้นฐานในการจัดกระบวนการ ปฏิบัติงานต่าง ๆ ให้เกิดความเชื่อมโยงกันทั้งกระบวนการปฏิบัติงาน และผลลัพธ์ และเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายหลักขององค์กร มีกรอบการปฏิบัติงาน ที่ชัดเจน ทำให้เกิดการประสานงานกัน (Synergy) ทั้งภายในเครือไทยออยล์ และบริษัทอื่น ในกลุ่ม ปตท. โดยการบูรณาการข้อกำหนดตามมาตรฐานสากล (International Standard Requirement) เช่นระบบการจัดการ ISO ต่าง ๆ ระบบการจัดการสู่ความ เป็นเลิศ (Operational Management System: OEMS) เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ กระบวนการทำงาน และใช้เป็นเครื่องมือในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้มีระบบ การดำเนินงาน และการบริหารจัดการองค์กรที่แข็งแกร่ง และต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ (TOP Quartile)ในระดับสากลกับผลลัพธ์ด้าน Safety, Reliability, Cash Cost, ROIC และ Energy Efficiency