เศรษฐกิจหมุนเวียน
ความท้าทาย ความเสี่ยง
และผลกระทบ



กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นยกระดับการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยมีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียนของกลุ่มไทยออยล์
เป้าหมาย
การลดปริมาณน้ำที่นำมาใช้ทั้งหมด
เป้าหมายปี 2567
103
ล้านลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง
ปริมาณการฝังกลบของเสีย
เป้าหมายปี 2567
0
ร้อยละ
เป้าหมายระยะยาวปี 2573
0
ร้อยละ
การกำจัดของเสียด้วยวิธีการ 3Rs
เป้าหมายปี 2567
100
ร้อยละ
เป้าหมายระยะยาวปี 2573
100
ร้อยละ

สัดส่วนการจัดซื้อสินค้าในหมวดวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
เป้าหมายปี 2567
97
ร้อยละของยอดซื้อสินค้าในหมวดสำนักงานทั้งหมด
เป้าหมายระยะยาวปี 2573
98
ร้อยละของยอดซื้อสินค้าในหมวดสำนักงานทั้งหมด

ระดับประสิทธิภาพด้านพลังงานของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)(1)
เป้าหมายปี 2567
2nd
Quartile
เป้าหมายระยะยาวปี 2573
1st
Quartile
ตั้งแต่ปี 2571
หมายเหตุ: (1) เทียบกับการจัดอันดับประสิทธิภาพด้านพลังงานจากรายงานผลการเทียบสมรรถนะ (Solomon Benchmarking) ของธุรกิจการกลั่นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
แนวทางการบริหารจัดการ
และผลการดำเนินงาน


Thaioil CE WE GO
กลยุทธ์ เศรษฐกิจหมุนเวียน ของกลุ่มไทยออยล์
Water and Wastewater Management
Energy Conservation
Green Label Focus
Opportunities for Upcycling
Water and
Wastewater Management
มุ่งเน้นความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากรน้ำ ทั้งภายในและภายนอกโรงกลั่น
การศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งและน้ำทะเล

การจัดการน้ำดิบ
การบริหารจัดการประสิทธิภาพการใช้น้ำ
การประเมินการใช้น้ำเพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำ
กลุ่มไทยออยล์ได้มอบหมายให้ทีมงานการบริหารจัดการแหล่งน้ำระยะยาวทำหน้าที่ในการบริหารจัดการและระบุโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำตามหลักการ 3Rs เช่น การนำน้ำล้างย้อน (Backwash) ของหน่วยกรอง “Filtration Package” มาใช้ประโยชน์ใหม่ ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้น้ำดิบได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ยังมีการติดตามและทบทวนกระบวนการอย่างต่อเนื่องเพื่อดำเนินการมาตรการการจัดการน้ำที่มีประสิทธิผล เพื่อให้สามารถบรรลุและปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำผ่านการบริหารจัดการน้ำที่เป็นระบบ

การประยุกต์ใช้การหมุนเวียนน้ำ
บริษัทฯ อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการยกระดับและการนำน้ำมาใช้ใหม่ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในกระบวนการและการดำเนินงานขององค์กร โดยโครงการที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย
1. โครงการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ที่โรงไฟฟ้า (TOP SPP Water Recovery)
รายละเอียดโครงการ: โครงการการนำน้ำกลับมาใช้จากบ่อพักน้ำระบาย (Blowdown pond) ซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่มาจากการระบายไอน้ำออกจากหม้อไอน้ำ (Boiler blowdown) น้ำล้างย้อน (Backwash) และน้ำที่ได้จากการควบแน่นของการรั่วไหลไอน้ำ (Condensate from steam leak) โดยน้ำเหล่านี้จะถูกนำกลับเข้าสู่ถังตกตะกอน (Clarifier tank) เพื่อทำการกรองก่อนที่จะส่งต่อเป็นน้ำกรองสำหรับใช้ในระบบหอหล่อเย็น
ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง: ช่วยประหยัดการใช้น้ำดิบจากแหล่งภายนอก (6-9 ตันต่อชั่วโมง)
2. โครงการติดตั้งระบบรีเวอร์สออสโมซิสเพื่อกรองน้ำระบาย (The Blowdown Reverse Osmosis (RO) Project)
รายละเอียดโครงการ: การนำน้ำระบายจากระบบหอหล่อเย็นมาใช้ใหม่เป็นน้ำเติม (Make up water) ผ่านระบบรีเวอร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis: RO) โดยน้ำที่ผ่านระบบดังกล่าว จะถูกส่งกลับไปเติมในระบบหอหล่อเย็นอีกครั้ง
ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง: ช่วยประหยัดน้ำเติม (10-15 ตันต่อชั่วโมง)


3. โครงการพัฒนาระบบแสดงผลการติดตามสถานการณ์และปริมาณการใช้น้ำ (The development of a 'Water Dashboard’)
รายละเอียดโครงการ: การดำเนินการติดตามสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องผ่านระบบแสดงผลการติดตามสถานการณ์และปริมาณการใช้น้ำ (Water Dashboard)
ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง: สามารถติดตามปริมาณน้ำในพื้นที่จังหวัดชลบุรีและระยองอย่างใกล้ชิด
โครงการการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำ
กลุ่มไทยออยล์มีกระบวนการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประเมินปริมาณน้ำในอนาคต ความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำในอนาคต และการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบระดับท้องถิ่นที่อาจเกิดขึ้น ดังรายละเอียดต่อไปนี้
การประเมินปริมาณน้ำที่มีอยู่ในอนาคต
บริษัทฯ คาดคะเนการเปลี่ยนแปลงโดยใช้ฐานข้อมูลจาก WRI Aqueduct Atlas และประมาณการความต้องการใช้น้ำในพื้นที่ปฏิบัติงานของไทยออยล์ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งผลการประเมินแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงในระดับปานกลางถึงสูง บริษัทฯ ได้ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านน้ำโดยมุ่งเน้นการรับมือกับปัญหาภัยแล้งและการขาดแคลนน้ำในจังหวัดระยองและชลบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ปฏิบัติงานหลักของบริษัทฯ รวมถึงการจัดทำแผนการบริหารจัดการความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) ในกรณีที่สถานการณ์การขาดแคลนน้ำเกิดขึ้น นอกจากนี้ ไทยออยล์ยังมีส่วนร่วมกับศูนย์ปฏิบัติการน้ำภาคตะวันออก (East Water War Room) เพื่อเฝ้าติดตามอุปสงค์และอุปทานน้ำในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ
การประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำในอนาคต
บริษัทฯ ดำเนินการติดตามคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอและบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำในอนาคต โดยใช้มาตรฐานคุณภาพน้ำดิบ (Raw Water Quality Standard) ซึ่งกำหนดระดับมาตรฐานของสารปนเปื้อนแต่ละชนิดในน้ำที่จำหน่ายโดยคู่ค้าของไทยออยล์ โดยการประเมินความเสี่ยงจะมุ่งเน้นการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในอนาคต รวมถึงการจัดทำแผนการบริหารจัดการความต่อเนื่องของธุรกิจ (Business Continuity Plan: BCP) ในกรณีที่สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำเกิดขึ้น
การประเมินการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบระดับท้องถิ่นที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
กลุ่มไทยออยล์ดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำที่ครอบคลุมหลากหลายมิติ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 โดยมอบหมายให้ทีมงานการบริหารจัดการอุปทานน้ำระยะยาวดำเนินการปรับปรุงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับน้ำให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ เช่น รายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภท การขออนุญาตใช้น้ำประเภท 2 และ ประเภท 3 ค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตการใช้น้ำประเภท 2 และ ประเภท 3 และเกณฑ์การชำระค่าธรรมเนียม รวมถึงการการยกเว้นค่าธรรมเนียมของน้ำประเภท 2 และ ประเภท 3
ขอบเขตการประเมินความเสี่ยง
ขอบเขตการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำขององค์กรครอบคลุมถึงการดำเนินงานของบริษัทโดยตรง และกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงระยะการใช้งานผลิตภัณฑ์
การประเมินความเสี่ยงด้านน้ำ - ระยะการใช้ผลิตภัณฑ์
กลุ่มไทยออยล์ได้นำเครื่องมือกรองความเสี่ยงน้ำ หรือ Water Risk Filter ของ WWF มาใช้กำหนดขอบเขตและดำเนินการประเมิน ความเสี่ยงด้านน้ำในระยะการใช้งานผลิตภัณฑ์ โดยมุ่งเน้นไปที่การประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสถานประกอบการของลูกค้าขณะใช้งานผลิตภัณฑ์ขององค์กร เครื่องมือดังกล่าวประกอบด้วยแบบสอบถามความเสี่ยงในการดำเนินงาน (Operation Risk Questionnaire) ซึ่งครอบคลุมถึงความเสี่ยงในมิติต่าง ๆ ได้แก่ ความเสี่ยงทางกายภาพ ความเสี่ยงทางกฎหมาย และความเสี่ยงต่อภาพลักษณ์องค์กร อย่างไรก็ตาม แบบสอบถามการประเมินความเสี่ยงนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิงสิ้นเปลือง ซึ่ง WWF ได้กำหนดน้ำหนักความสำคัญของความเสี่ยงแต่ละประเภทสำหรับอุตสาหกรรมน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และเชื้อเพลิงสิ้นเปลืองไว้ ดังนี้ ความเสี่ยงทางกายภาพคิดเป็นร้อยละ 65 ความเสี่ยงทางกฎหมายคิดเป็นร้อยละ 5 และความเสี่ยงต่อภาพลักษณ์องค์กรคิดเป็นร้อยละ 30 โดยรายละเอียดของกระบวนการประเมินความเสี่ยงด้านน้ำมีดังต่อไปนี้
การประเมินความเสี่ยงทางกายภาพ
การประเมินความเสี่ยงทางกายภาพได้ดำเนินการประเมินครอบคลุมถึงการใช้น้ำในสถานประกอบการของลูกค้า ที่ประกอบด้วย สารปนเปื้อนที่อาจมีอยู่ในน้ำทิ้ง ความจำเป็นในการบำบัดและทำให้บริสุทธิ์ก่อนและหลังการใช้น้ำในกระบวนการผลิต ตลอดจนผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อคุณภาพน้ำในพื้นที่ท้ายน้ำจากการดำเนินงานของสถานประกอบการ โดยคำนึงถึงปัจจัยทั้งทางกายภาพ เคมี และชีวภาพ
การประเมินความเสี่ยงทางกฎหมาย
การประเมินความเสี่ยงทางกฎหมายได้ดำเนินการประเมินครอบคลุมถึงการปฏิบัติตามมาตรฐานคุณภาพน้ำทิ้งตามกฎหมายของสถานประกอบการ การลงโทษที่อาจเกิดขึ้นจากการฝ่าฝืนกฎหมายด้านน้ำในปีที่ผ่านมา และความเข้มงวดในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับน้ำของสถานประกอบการ
การประเมินความเสี่ยงต่อภาพลักษณ์องค์กร
การประเมินความเสี่ยงต่อภาพลักษณ์องค์กรได้ดำเนินการประเมินครอบคลุมถึงการดำเนินงานของสถานประกอบการของลูกค้าในด้านความยั่งยืนและความรับผิดชอบต่อทรัพยากรน้ำ ประกอบด้วยความเสี่ยง 4 ประเภท ได้แก่ ความสำคัญทางวัฒนธรรมของน้ำต่อชุมชนท้องถิ่น ความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพในแหล่งน้ำ การถูกจับตามองหรือมีการนำเสนอข่าวสารจากสื่อมวลชนเกี่ยวกับประเด็นที่เกี่ยวข้องกับน้ำ และความเสี่ยงจากความขัดแย้งทางการเมืองเกี่ยวกับทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำ
การจัดการน้ำเสีย

ประเภทที่ 1
น้ำเสียจากกระบวนการผลิต (Process Effluent)
ประเภทที่ 2
น้ำหลากชนิด COC (Continuously Oil Contaminated Water)
หรือ น้ำล้างหรือน้ำฝนที่ตกลงบริเวณพื้นที่หน่วยการผลิต
ประเภทที่ 3
น้ำหลากชนิด AOC (Accidentally Oil Contaminated Water)
หรือ น้ำฝนที่ตกในพื้นที่กลุ่มไทยออยล์ หรือน้ำล้างที่ไม่มีน้ำมันหกรั่วไหล น้ำจากการซ้อมดับเพลิง น้ำจากหอหล่อเย็น น้ำจากหม้อไอน้ำ เป็นต้น
ประเภทที่ 1
น้ำเสียจากกระบวนการผลิต (Process Effluent)
ประเภทที่ 2
น้ำหลากชนิด COC (Continuously Oil Contaminated Water)
หรือน้ำล้างหรือน้ำฝนที่ตกลงบริเวณพื้นที่หน่วยการผลิต
ประเภทที่ 3
น้ำหลากชนิด AOC (Accidentally Oil Contaminated Water)
หรือน้ำฝนที่ตกในพื้นที่กลุ่มไทยออยล์ หรือน้ำล้างที่ไม่มีน้ำมันหกรั่วไหล น้ำจากการซ้อมดับเพลิง น้ำจากหอหล่อเย็น น้ำจากหม้อไอน้ำ เป็นต้น
โครงการที่โดดเด่น
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพิ่มเติม แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
โครงการการบริหารจัดการน้ำ 3Rs ในกระบวนการผลิต
(3Rs in Process)
โครงการการจัดการน้ำ
เพื่อความยั่งยืน
โครงการพัฒนาระบบแสดงผลการติดตามสถานการณ์และปริมาณการใช้น้ำ
โครงการการบริหารจัดการน้ำ 3Rs ในกระบวนการผลิต (3Rs in Process)
โครงการแหล่งน้ำดิบจากบ่อน้ำเอกชน
- โครงการ “เจอ จด แจ้ง จบ” เป็นการรณรงค์การใช้ทรัพยากรน้ำให้คุ้มค่า รวมทั้งตรวจสอบและซ่อมแซมอุปกรณ์เพื่อป้องกันการรั่วไหลอย่างต่อเนื่องผ่านการตรวจสอบอุปกรณ์ เน้นการมีส่วนร่วมและเสริมสร้างความตระหนักในการลดการสูญเสียน้ำ ทั้งในส่วนกระบวนการผลิตและอาคารสำนักงาน เมื่อเจอการรั่วไหลจากการสำรวจพื้นที่และตรวจสอบการรั่วซึมของอุปกรณ์ จดปริมาณรั่วไหล แจ้งผ่านระบบ SAP เพื่อซ่อมแซม และจบการซ่อมให้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง พร้อมส่งข้อมูลเข้าระบบ เพื่อรวบรวมและประเมินผลการดำเนินงาน จากการดำเนินโครงการพบว่ามีผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ รวม 60 รายการ สามารถลดการสูญเสียน้ำได้ถึง 7,700 ลิตรต่อชั่วโมง บริษัทฯ ได้มีการมอบรางวัลเพื่อแสดงความชื่นชมและขอบคุณการเข้าร่วมโครงการในงาน QSHE Day
- โครงการลดการใช้น้ำที่หน่วยการผลิต U-2230 (APU-C)
- โครงการนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ที่โรงไฟฟ้า TOPSPP (TOP SPP water recovery)
- โครงการลดความถี่ในการล้างยอน (Backwash) ของตัวกรอง “Side Stream Filter” ของหอหล่อเย็นหน่วย Q-4707 และ Q-85010
- โครงการซ่อมแซมท่อที่ชำรุดรั่วไหล
- โครงการปรับเปลี่ยนการเดินระบบหน่วยกำจัดไฮโดรเจนซัลไฟด์และคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากน้ำเสียจากหน่วยกลั่นไอน้ำ (Sour Water Stripper) ที่ 2 เป็นหน่วยที่ 5 ที่สามารถนำกลับไอน้ำหรือ Condensate มาใช้ใหม่ (Swop SWS-2 to SWS-5 (APU-C) to save LP steam)
- โครงการนำน้ำล้างย้อน (Backwash) ของหน่วยกรอง “Filtration Package” มาใช้ประโยชน์ใหม่
1. โครงการการบริหารจัดการน้ำ 3Rs ในกระบวนการผลิต (3Rs in Process)
2. โครงการการจัดการน้ำเพื่อความยั่งยืน
3. โครงการพัฒนาระบบแสดงผลการติดตามสถานการณ์และปริมาณการใช้น้ำ (Water Dashboard)
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน

Energy
Conservation
ใช้ทรัพยากรด้านพลังงานอย่างคุ้มค่า
ดำเนินโครงการเพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
อย่างยั่งยืน

การจัดการพลังงาน
กลุ่มไทยออยล์ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านพลังงานโดยการกำหนดให้ดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Intensity Index: EII) เป็นตัวชี้วัดขององค์กร (Corporate KPI) พร้อมทั้งมอบหมายให้คณะทำงานด้านการจัดการพลังงานและลดการสูญเสียน้ำมัน ทำหน้าที่ขับเคลื่อนการดำเนินงาน ทั้งนี้ ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ใช้พลังงานประมาณ 50.09 กิกะจูล ซึ่งเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.66 เทียบกับปริมาณการใช้พลังงานในปีก่อนหน้า เนื่องจากความต้องการพลังงานประเภทน้ำมันเชื้อเพลิงและสินค้าเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม กลุ่มไทยออยล์ยังคงมุ่งมั่นดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพที่กำลังการผลิตในระดับต่างๆ โดยในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์มีจำนวนโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานทั้งสิ้น 39 โครงการ ซึ่งสามารถลดการใช้พลังงานได้ 494,794 กิกะจูล ซึ่งการลดการใช้พลังงานนี้เทียบเท่า 28,985 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และคิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดได้ประมาณ 223 ล้านบาท
การทวนสอบการใช้พลังงานเพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
ไทยออยล์ตระหนักถึงความสำคัญของประสิทธิภาพการใช้พลังงาน โดยดำเนินธุรกิจตามมาตรฐานระบบการจัดการพลังงานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล หรือ ISO 50001:2018 ในปี 2567 มาตรฐานการจัดการพลังงานครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัท ได้แก่ ไทยลู้บเบส (Thai Lube Base) และหน่วยกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Unit : CDU) การปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO 50001:2018 ช่วยให้ไทยออยล์สามารถวัดปริมาณพลังงานและระบุตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งนำระบบการจัดการและควบคุมพลังงานมาใช้เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
กลุ่มไทยออยล์ได้จัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการพลังงานและปรับปรุงการสูญเสียพลังงาน (Energy Management & Loss Improvement Committee) เพื่อกำกับดูแลการใช้พลังงานและปฏิบัติตามกลยุทธ์การอนุรักษ์พลังงาน โดยมีหน้าที่สื่อสารกับพนักงานเพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และควบคุมการใช้พลังงาน รวมถึงหาโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ตลอดจนติดตามการใช้พลังงานโดยระบุการใช้งานในทีมปฏิบัติการต่างๆ นอกจากนี้ คณะกรรมการยังจัดการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์พลังงานให้กับทีมปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลการจัดการพลังงานต่อผู้บริหารเป็นประจำ
นอกจากนี้ คณะกรรมการบริหารจัดการพลังงานและปรับปรุงการสูญเสียพลังงาน (Energy Management & Loss Improvement Committee) ได้จัดตั้งคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่ทวนสอบการใช้พลังงานภายในองค์กรตามที่กฎหมายกำหนด จากผลการทวนสอบในปี 2566 พบว่าการพื้นที่ปฏิบัติการของบริษัทเป็นแหล่งการใช้พลังงานหลักในองค์กร โดยก๊าซธรรมชาติในเตาเผา เครื่องทำความร้อน และสาธารณูปโภค มีสัดส่วนการใช้พลังงานสูงสุด ถึงร้อยละ 47.5 ของประเภทเชื้อเพลิงทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ ไทยออยล์จึงเล็งเห็นโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพด้านพลังงาน ผ่านการลดการใช้พลังงานในพื้นที่ปฏิบัติการและการใช้ก๊าซธรรมชาติในเตาเผา เครื่องทำความร้อน และระบบสาธารณูปโภค
โครงการที่โดดเด่น
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดำเนินการในปี 2567 ได้แก่
โรงกลั่นไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
1. การดำเนินการเปลี่ยนตัวเร่งปฏิกิริยาของหน่วยแตกโมเลกุล ด้วยสารเร่งปฏิกิริยาโดยใช้ไฮโดรเจนร่วมที่ 1 (Hydrocracker unit - 1) ส่งผลให้ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ที่เตาเผาลดลง เนื่องจากใช้อุณหภูมิของสายป้อนที่เข้าเครื่องปฏิกรณ์ลดลง
2. การดำเนินการล้างและซ่อมแซมหอกลั่นของหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 (Crude distillation unit - 3) ส่งผลให้ปริมาณไอน้ำที่ใช้ในหอกลั่นลดลง
3. การปรับตัวแปรควบคุมในเตาเผาให้ความร้อนและปรับปรุงประสิทธิภาพของเตาเผาให้ความร้อนของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) อาทิเช่น การลดปริมาณอากาศส่วนเกินที่เตาเผาของหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน ดีเซลที่ 2 (Hydrosulfurization Unit 2) และการทำความสะอาดเตาเผาที่หน่วยหน่วยกลั่นสุญญากาศ (High Vacuum Distillation- 2 & DC) ส่งผลให้ปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในเตาเผาลดลง
บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) (TLB)
1. การดำเนินการซ่อมบำรุงวาล์วควบคุมไอน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการควบคุมอัตราการไหลของไอน้ำในช่วงอัตราการไหลต่ำ ส่งผลให้สามารถลดการใช้ไอน้ำ โดยยังสามารถควบคุมการสูญเสียตัวทำละลายในการสกัดที่หน่วยผลิตน้ำมันยางสะอาด (TDAE) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. การติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่น (Compabloc) ที่หน่วยแยกแอสฟัลท์ (Propane Deasphalting Unit) เพื่อถ่ายเทความร้อนจากน้ำมันลองเรซิดิวสู่แอสฟัลท์และโพรเพน ส่งผลให้สามารถลดการใช้น้ำมันร้อนที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนอื่น และสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงที่เตาน้ำมันร้อน
3. จากการตรวจสอบและควบคุมอย่างเข้มงวด พบว่าสามารถลดอุณหภูมิขาเข้าของหอกลั่นได้ เนื่องจากปริมาณตัวทำละลายที่ติดไปกับผลิตภัณฑ์มีค่าต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ส่งผลให้สามารถปรับปรุงกระบวนการโดยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงใน Raffinate Recovery Section ของหน่วยสกัดสารอะโรเมติกส์ (MP Refining Unit) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด (TPX)
1. การลดการใช้พลังงานในการผลิตสารพาราไซลีน ด้วยการปรับพารามิเตอร์ของระบบควบคุม (ACCS) การปรับปริมาณน้ำที่ฉีดเข้ำระบบ (Water injection) และการปรับการล้างท่อ (Line flush optimization) ที่หน่วยสกัดแยกสารอะโรเมติกส์ C8+ หรือ Mixed Xylene (Parex Unit)
2. การละเว้นการกลั่นซ้ำของสาร Isomar Stripper Bottom ในหน่วยแยกสารอะโรเมติกส์กับสารที่ไม่ใช่อะโรเมติกส์ด้วยตัวทำละลาย (Extractive Distillation Sulfolane Unit) ทำให้สามารถลดการใช้พลังงาน โดยที่ไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปลายทาง
บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด (LABIX)
1. การปรับลดอุณหภูมิขาออกของสารเบนซีนที่ใช้ในการทำความสะอาดตัวเร่งปฏิกิริยาของหน่วยผลิตสารตั้งต้นผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด (Detal plus unit) ส่งผลให้ลดการใช้พลังงานความร้อนต่อการหมุนเวียนเบนซีนได้ โดยคงรักษาประสิทธิภาพในการทำความสะอาดตัวเร่งปฏิกิริยาได้
2. การปรับลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิงของหน่วยกลั่นแยกน้ำมันก๊าด (Kerosene Pre-fractionation unit) ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมโดยคำนึงจากอัตราการไหลของสารขาเข้าและสภาวะของหอกลั่นตามเวลาจริง ซึ่งสามารถช่วยลดปริมาณเชื้อเพลิงส่วนเกิน ในขณะที่ยังสามารถควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้
บริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด (TOP SPP)
1.การปรับกระบวนการผลิตให้เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง (Plant Optimization) เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการอนุรักษ์พลังงาน และลดค่าใช้จ่าย เช่น การพิจารณาเพิ่มการเดินเครื่องจักรกังหันก๊าซที่มีอัตราการใช้เชื้อเพลิงต่ำกว่าเป็นลำดับแรก ส่งผลให้อัตราการใช้ประโยชน์โดยภาพรวมในการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ (Utilization) ของหน่วยผลิตไฟฟ้าโครงการที่ 1 สูงขึ้น รวมไปถึงสามารถลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ (Cost Saving) ลงได้ และ การปรับลดการเดินเครื่องจักรกังหันไอน้ำแบบควบแน่น (Condensing steam turbine) ซึ่งมีประสิทธิภาพต่ำ ในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำ (Off-peak) โดยทดแทนด้วยการเดินเครื่องจักรกังหันก๊าซที่มีอัตราการใช้เชื้อเพลิงต่ำ ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำในภาพรวมสูงขึ้น
โครงการที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานได้สูงสุดในปี 2567 สองอันดับแรก ได้แก่ การดำเนินการซ่อมบำรุงวาล์วควบคุมไอน้ำ เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการควบคุมอัตราการไหลของไอน้ำในช่วงอัตราการไหลต่ำ ส่งผลให้สามารถลดการใช้ไอน้ำ โดยยังสามารถควบคุมการสูญเสียตัวทำละลายในการสกัดที่หน่วยผลิตน้ำมันยางสะอาด (TDAE) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอีกโครงการหนึ่ง คือ การติดตั้งเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่น (Compabloc) ที่หน่วยแยกแอสฟัลท์ (Propane Deasphalting Unit) เพื่อถ่ายเทความร้อนจากน้ำมันลองเรซิดิวสู่แอสฟัลท์และโพรเพน ส่งผลให้สามารถลดการใช้น้ำมันร้อนที่เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนอื่น และสามารถลดการใช้เชื้อเพลิงที่เตาน้ำมันร้อน ทั้งสองโครงการสามารถลดการใช้พลังงานได้ถึง 202,655 กิกะจูล คิดเป็น ร้อยละ 41.0 ของพลังงานทั้ง หมดที่ประหยัดได้ หรือเทียบเท่า 11,369 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี
นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ยังมีโครงการอนุรักษ์พลังงานในสถานที่ทำงาน โดยสนับสนุนและรณรงค์ให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงาน ผ่านทางกิจกรรมและช่องทางสื่อสารต่างๆ เช่น การประกวดส่งเสริมให้พนักงานเสนอแนวคิดสร้างสรรค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน การเผยแพร่บทความหรือข่าวสารเกี่ยวกับกิจกรรมการอนุรักษ์พลังงานในคอลัมน์ Energy and Loss ของวารสารอัคนีประจำเดือนของบริษัทฯ การติดประกาศรณรงค์การประหยัดพลังงาน เกร็ดความรู้การอนุรักษ์พลังงานตามพื้นที่สาธารณะในสำนักงาน การจัดบูธกิจกรรมเพื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงาน ในปี 2567 คณะทำงานฯ จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์การอนุรักษ์อย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มกิจกรรมจัดประกวดคลิป Thaioil Save Energy Challenge เพื่อเชิญพนักงานและพนักงานผู้รับเหมากลุ่มไทยออยล์ โพสต์คลิปวีดีโอเกี่ยวกับวิธีการประหยัดพลังงานที่ทำงานลงในแอพพลิเคชั่น Facebook ของตนเอง และจัดกิจกรรมเจอแจ้งจบจ่าย เพื่อสำรวจการรั่วไหลของ ไอน้ำ ไฮโดรคาร์บอน หรือสารเคมี และการใช้พลังงานสิ้นเปลืองจากอุปกรณ์ภายในกระบวนการผลิต สร้างการมีส่วนร่วมของพนักงานในการอนุรักษ์พลังงาน ลดการสูญเสีย และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นการยกระดับกิจกรรมในองค์กรและส่งเสริมให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานมากยิ่งขึ้น
โครงการกิจกรรมส่งเสริมให้พนักงานร่วมประกวดความคิดสร้างสรรค์ในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในบริษัท

ภาพกิจกรรมการจัดนิทรรศการเพื่อประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินงานการอนุรักษ์พลังงาน ในงาน QSHE Day 2024

กิจกรรม Thaioil Save Energy Challenge

กิจกรรม Energy & Loss Campaign กิจกรรมสำรวจการรั่วไหลของ ไอน้ำ ไฮโดรคาร์บอน หรือสารเคมี และการใช้พลังงานสิ้นเปลืองจากอุปกรณ์ภายในกระบวนการผลิต

ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ได้นำเสนอโครงการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ได้ดำเนินการในปี 2566 จำนวน 4 โครงการ ไปเข้าร่วม “โครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Low Emission Support Scheme: LESS)” ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) และได้รับใบประกาศเกียรติคุณการลดก๊าซเรือนกระจกปริมาณรวมทั้งสิ้น 2,145 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
ปี 2566 กลุ่มไทยออยล์มีภาพรวมกำลังการผลิตที่ดีขึ้นจากสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่มีเสถียรภาพ ความต้องการการใช้พลังงานภายในประเทศที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ตลอดจนประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงกลั่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโครงการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำของบริษัท ท็อป เอสพีพี จำกัด (TOP SPP expansion project) ที่สามารถเริ่มดำเนินการ (Commissioning) ได้ตามแผน

ทั้งนี้ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) มีค่าดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (Energy Intensity Index) เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 สาเหตุหลักมาจากการปรับมาตรฐานการผลิตน้ำมันดีเซลและน้ำมันเบนซินจาก Euro 4 เป็น Euro 5 โดยปรับลดปริมาณกำมะถันจากไม่สูงกว่า 50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม เป็นไม่สูงกว่า 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” ซึ่งกำหนดบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2567 เป็นต้นไป การเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้จำเป็นต้องปรับกระบวนการผลิตให้ดำเนินการภายใต้สภาวะที่มีความรุนแรงมากขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิตของหน่วยผลิตไฮโดรเจน (Hydrogen Manufacturing Unit) ส่งผลให้การใช้พลังงานโดยรวมสูงขึ้น อย่างไรก็ตามค่าดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานในปี 2567 ยังคงดีกว่าค่าเป้าหมาย เนื่องจากมีการจัดทำโครงการลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา และหน่วยการผลิตมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานที่ดีขึ้นหลังการซ่อมบำรุง
บริษัท ไทยลู้บเบส จำกัด (มหาชน) มีค่าดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานลดลงเมื่อเทียบกับปี 2566 และดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานในปี 2567 ยังเป็นไปตามค่าเป้าหมายที่วางแผนไว้ เนื่องจากมีอัตราการผลิตที่สูงขึ้นรวมถึงมีการติดตั้งและใช้งานเครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนแบบแผ่นตัวใหม่ที่มีการปรับปรุงวัสดุให้คงทนต่อการใช้งานมากขึ้น ส่งผลให้สามารถลดการใช้พลังงานได้ตามที่คาดการณ์ไว้
บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด มีค่าดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานลดลงเมื่อเทียบกับปี 2566 อย่างไรก็ตามดัชนีประสิทธิภาพการใช้พลังงานในปี 2567 ไม่เป็นไปตามค่าเป้าหมายที่วางแผนไว้ เนื่องจากเหตุผลหลักคืออัตราการผลิตในเดือนมกราคมและกรกฎาคมต่ำกว่าแผนที่วางไว้ เพื่อลดผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าว บริษัทได้ดำเนินการจัดทำโครงการลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา เช่น การลดการใช้พลังงานในการผลิตสารพาราไซลีน ด้วยการปรับพารามิเตอร์ของระบบควบคุม (ACCS) การปรับปริมาณน้ำที่ฉีดเข้ำระบบ (Water injection) และการปรับการล้างท่อ (Line flush optimization) ที่หน่วยสกัดแยกสารอะโรเมติกส์ C8+ หรือ Mixed Xylene (Parex Unit) เพื่อให้หน่วยผลิตมีประสิทธิภาพการใช้พลังงานอย่างสูงสุด
บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด ในปี 2567 มีอัตราการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตสาร LAB สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2566 เนื่องมาจากอัตราการผลิตสาร LAB ที่ลดลง ซึ่งเป็นผลมาจากเหตุการณ์หยุดซ่อมบำรุงของหน่วยกลั่นน้ำมันดิบที่ 3 และการใช้พลังงานที่มากขึ้นจากการเสื่อมประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยา อย่างไรก็ตามอัตราการใช้พลังงานต่อหน่วยการผลิตสาร LAB ในปี 2567 ยังคงดีกว่าค่าเป้าหมายที่วางแผนไว้ เนื่องจากมีสัดส่วน Normal Paraffin ในวัตถุดิบขาเข้าสูง ทำให้สามารถผลิตสาร Normal Paraffin ได้มากโดยใช้วัตถุดิบตั้งต้นน้อยลง ส่งผลให้ใช้พลังงานในกระบวนการผลิตน้อยลง อีกทั้งมีการจัดทำโครงการลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลา
Green Label
Focus
กําหนดเป้าหมายในการใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Label Product)
จัดทํากระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
วางรูปแบบ Green Office / Green Meeting เพื่อการบริหารจัดการสํานักงานและการประชุมให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

การส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในปี 2567 การส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมได้กลายเป็นกลไกที่สำคัญในการตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ภาคอุตสาหกรรม ภาครัฐ และภาคสังคมที่มีความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอื่นๆ กลุ่มไทยออยล์จึงมุ่งเน้นการบริหารจัดการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Label Focus) อย่างต่อเนื่อง ที่ครอบคลุมการผลิต การใช้ผลิตภัณฑ์ และการจัดซื้อจัดจ้างและงานบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะทำงานเพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการตามมาตรฐานแนวทางการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืน ISO 20400:2017 อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้รับการรับรองตั้งแต่ปี 2563 เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างในทุกกลุ่มสินค้าและงานบริการ (Non-Crude Procurement) และมีการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่อุปทานผ่านการปรับปรุงนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างอย่างยั่งยืนของกลุ่มไทยออยล์ มีการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างหรืองานบริการ เพื่อเลือกใช้วัตถุดิบ อุปกรณ์ งานบริการ ตลอดจนพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อลดการเกิดของเสียตั้งแต่ต้นทางและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร ตลอดจนการสื่อสารไปยังคู่ค้าให้มีความพร้อมผ่านงานสัมมนาคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ประจำปี
โครงการที่โดดเด่น
ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้างกลุ่มไทยออยล์ และหน่วยงานจัดหาของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ร่วมกับสถาบันรับรองมาตรฐานไอเอสโอ (MASCI) ได้ดำเนินการส่งเสริมคู่ค้าเพื่อขอการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ตั้งแต่ปี 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการดำเนินธุรกิจร่วมกันในระยะยาว ซึ่งโครงการดังกล่าวประกอบไปด้วยการให้ความรู้ การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ และการให้คำแนะนำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปสู่การยื่นขอการรับรองในระบบอุตสาหกรรมสีเขียวของคู่ค้า ทั้งนี้ ในปี 2567 ยังคงดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีคู่ค้าเข้าร่วมทั้งหมด 32 บริษัท และมีจำนวน 3 บริษัทที่ผ่านการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวซึ่งจำนวนบริษัทที่ผ่านเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (3 บริษัท) โดยคู่ค้ารายนี้ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียวระดับ 3 และ 4
โครงการส่งเสริมคู่ค้าเพื่อขอการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry)
โครงการส่งเสริมคู่ค้าเพื่อขอการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry)
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
สำหรับการจัดซื้อสินค้าในหมวดวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องใช้สำนักงาน มีการพิจารณาการซื้อพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Green Products) ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้คู่ค้ามีการพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้ได้สินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบด้านสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่อุปทาน
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการซื้อพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมคิดเป็นร้อยละ 99 ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ (ร้อยละ 97) ของค่าใช้จ่ายในหมวดนี้ ทั้งนี้ กลุ่มไทยออยล์จึงสามารถหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม (ขอบเขตที่ 3) ได้ถึง 1,852.40 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า นอกจากนี้ ยังดำเนินการจัดซื้อสินค้า และจัดหางานบริการที่ลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม อาทิ การเปลี่ยนรถที่วิ่งรับส่งพนักงานภายในองค์กรเป็นรถขับเคลื่อนไฟฟ้าขนาดเล็ก (Mini Bus EV) การใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประหยัดไฟเบอร์ 5 การจัดซื้ออุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ การจัดซื้อโคมไฟกันระเบิดที่ใช้หลอด LED เป็นต้น

หมายเหตุ: กลุ่มไทยออยล์อ้างอิงข้อมูลคาร์บอนของวัสดุและผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากกรมควบคุมมลพิษ
Opportunities
for Upcycling
การบริหารจัดการของเสียอย่างยั่งยืน
จัดทําโครงการต่างๆ เพื่อนำขยะ เข้าสู่กระบวนการ Upcycling เพื่อใช้ ในกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรต่อไป
ต่อยอดการดำเนินงานด้าน Circular Economy เป็นโครงการเพื่อชุมชนและสังคม


การจัดการของเสียอุตสาหกรรม
การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า หาโอกาสในการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดของเสียที่ต้องส่งกำจัดน้อยที่สุด ถือเป็นสิ่งที่กลุ่มไทยออยล์ยึดมั่นในการบริหารจัดการของเสีย เพื่อผลักดันการดำเนินงานสู่เป้าหมายการกำจัดของเสียด้วยวิธี 3Rs ร้อยละ 100 ในปี 2567 และการนำของเสียไปฝังกลบเป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) อย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 กลุ่มไทยออยล์ได้นำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนและ 3Rs มาใช้ในกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยมีคณะทำงานการบริหารจัดการกากของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste Management Committee) ผลักดันและกำกับดูแลการบริหารจัดการให้บรรลุเป้าหมาย
โครงการการจัดการของเสีย
การตรวจสอบเพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการของเสีย
การตรวจสอบภายใน
คณะทำงานการบริหารจัดการกากของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้วของไทยออยล์ (Thaioil Waste Management Committee) มีหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการตรวจสอบของเสีย (Waste Audits) ซึ่งครอบคลุมทั้งการตรวจสอบภายใน (กระบวนการผลิต) และการตรวจสอบภายนอก (ผู้ดำเนินการจัดการของเสีย) เพื่อให้มั่นใจว่าการปฏิบัติสอดคล้องตามกฎระเบียบและการจัดการที่เหมาะสมในด้านการเก็บรวบรวม การขนส่ง การบำบัด และการกำจัดของเสีย
ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้เริ่มดำเนินการตามแผนการตรวจสอบภายในด้านการจัดการของเสียสำหรับระบบการจัดการคุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงานของกลุ่มไทยออยล์ โดยมีหน่วยงานภายใต้กลุ่มไทยออยล์ที่ได้รับการตรวจสอบแล้วทั้งหมด 79 หน่วยงาน ซึ่งการตรวจสอบดังกล่าวนี้มีเป้าหมายเพื่อประเมินระบบการจัดการของเสียให้สอดคล้องกับระบบการจัดการแบบบูรณาการ (IMS) ซึ่งครอบคลุมมาตรฐานต่าง ๆ ได้แก่ ISO9001, ISO14001, ISO50001, ISO45001, TIS18001 และ ISO/IEC17025, ISO/IEC27001, TIS2677, ISO20000-1 โดยคณะทำงานด้านการบริหารจัดการกากของเสียและวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ได้จัดการประชุมประจำปีร่วมกับกลุ่มทำงานเพื่อกำหนดเป้าหมายในการควบคุมและติดตามการเกิดของเสีย พร้อมทั้งสื่อสารคู่มือการจัดการของเสีย และขั้นตอนการกำจัดของเสีย ของเสียที่มีมูลค่า และตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แล้ว ให้กับผู้ปฏิบัติงาน วิศวกร และพนักงานใหม่อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง จัดให้มีการสื่อสารเป้าหมายการจัดการของเสียและโครงการลดปริมาณของเสียผ่านกิจกรรม Town Hall ของพนักงาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบการจัดการของเสีย
การตรวจสอบเพื่อระบุโอกาสในการปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดการของเสีย

นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ยังดำเนินการตรวจสอบคู่ค้าในด้านการจัดการของเสีย (Vendor Waste Audit) เพื่อประเมินแนวทางการจัดการของเสียของคู่ค้าให้สอดคล้องกับระบบการจัดการแบบบูรณาการ (IMS) ซึ่งครอบคลุมถึงการรับรองมาตรฐาน ISO 9001, ISO 14001, OHSAS 18001, TIS 18001 รวมถึงการประเมินคู่มือ ระเบียบการปฏิบัติงาน ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และข้อร้องเรียนจากชุมชน
การตรวจสอบภายนอก
กลุ่มไทยออยล์ดำเนินธุรกิจโดยยึดมั่นตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และปฏิบัติตามระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือ ISO 14001 อย่างเคร่งครัด ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นขององค์กรในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยแนวทางปฏิบัติขององค์กรสอดคล้องกับข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และเป็นไปตามเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่ตั้งไว้ขององค์กร โดยกรอบการดำเนินงานดังกล่าวมีความครอบคลุมในประเด็นต่าง ๆ ในหลายด้าน ทั้งการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดการของเสีย การติดตามและประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการส่งเสริมให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในพันธกิจทางด้านสิ่งแวดล้อมขององค์กร
การลงทุนในนวัตกรรมหรือการวิจัยและพัฒนาเพื่อลดของเสีย
กลุ่มไทยออยล์ได้ร่วมมือกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) เพื่อทำการศึกษาการนำกากตะกอนชีวภาพซึ่งเป็นแหล่งสะสมของเอนไซม์และจุลินทรีย์ที่มีศักยภาพในการผลิตเอนไซม์ไลเปสมาใช้ประโยชน์ โดยมีเป้าหมายในการสกัดเอนไซม์หรือจุลินทรีย์ที่มีมูลค่า เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับของเสียและลดปริมาณกากตะกอนที่ต้องกำจัด
โครงการที่โดดเด่น
ในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพิ่มเติม แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
1. CE in Process (Circularity in Process):
ควบคุมและจัดการของเสียจากกระบวนการผลิตที่เป็นเลิศ (Operational Excellence) เพื่อลดกากของเสียในกระบวนการผลิตให้น้อยที่สุด สำหรับกากของเสียที่เกิดขึ้นแล้วกลุ่มไทยออยล์ยึดหลัก 3Rs มาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าของกากของเสียให้ได้มากที่สุด เช่น
• การเพิ่มมูลค่า Spent Catalyst ได้แก่ HDS-2/3 Spent Catalyst ประมาณ 278 ตัน โดยนำไปสกัดโลหะโมลิบดีนัม (Molybdenum Reclaim) และ Pacol Spent catalyst 61 ตัน นำแพลทินัมไปผ่านกระบวนการเพื่อคืนสภาพ (Platinum Recovery) ทดแทนการเผาทำลายหรือฝังกลบ ซึ่งมีมูลค่าที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ต่อไป
• การคัดแยกนำพาเลทไม้ฉนวนกันความร้อนที่ผ่านการใช้งานในกระบวนการผลิตซึ่งไม่ปนเปื้อนและมีสภาพที่ดีมา Upcycling เป็นเฟอร์นิเจอร์ เช่น ชั้นวางของ ชุดโซฟาไม้ โต๊ะและถังขยะ เป็นต้น โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จะนำกลับมาใช้ภายในองค์กรส่งคืนกลับบริษัทผู้ผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดการใช้ทรัพยาการธรรมชาติและการกำจัดด้วยวิธีการเผาทำลาย
2. CE in Office (Circularity in Office):
การศึกษาแนวทางการรีไซเคิล และนำกลับมาใช้ใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าการจัดการของเสียสำนักงานและโรงอาหาร เช่น
• โครงการกลุ่มไทยออยล์ไม่มีขยะ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่พนักงานและผู้รับเหมา ในการคัดแยกและจัดการขยะของเสียอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง
• โครงการเพิ่มมูลค่าขวดพลาสติก (Upcycling Plastic Waste) โดยนำขวดพลาสติกจากขยะรีไซเคิลมาสร้างมูลค่าด้วยการ Upcycling เป็นเสื้อ QSHE เพื่อแจกให้พนักงานและผู้รับเหมา
• โครงการนำกากกาแฟจากร้านกาแฟอัคนีมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่าย ได้แก่ แก้ว แจกัน เตาอุ่นเทียนหอม กระถางต้นไม้ เป็นต้น

• โครงการทำกระเป๋าและผ้ากันเปื้อนจากป้ายไวนิลที่ไม่ใช้แล้ว เป็นโครงการที่รวบรวมป้ายไวนิลจากแผนกต่างๆ ภายในบริษัทนำมาออกแบบและตัดเย็บเป็นกระเป๋า ผ้ากันเปื้อน โดยชาวบ้านในชุมชนบ้านทุ่ง ซึ่งเป็นการสร้างรายได้ใช้แก่ชุมชนและนำของเสียกลับมาใช้ซ้ำในองค์กร นอกจากนี้ ยังช่วยลดการส่งกำจัดของเสียได้อีกด้วย

3. CE for Society (Circularity for Society):
เพิ่มมูลค่าของเสียเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สำหรับชุมชนและให้ความรู้ ผ่านโครงการต่างๆ ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น
• โครงการรวบรวมน้ำมันพืขที่ใช้แล้วจากชุมชนรอบโรงกลั่น แม่ค้าในงานตลาดไทยออยล์กลั่นสุข และพนักงานไทยออยล์เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการเปลี่ยนเป็นไบโอดีเซล โดยปี 2567 สามารถรวบรวมได้ 544 ลิตร ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยลดปัญหาท่อระบายน้ำสาธารณะอุดตันที่เกิดจากการทิ้งน้ำมันพืชที่ใช้แล้วลงสู่รางระบายน้ำ


• โครงการไทยออยล์สร้างเยาวชนรักษ์โลก (Thaioil CE School Model) ประจำปี 2567 เพื่อสร้างองค์ความรู้และความตระหนักให้เยาวชนในเรื่องกระบวนการจัดการของเสียตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง ได้แก่ การจัดการขยะ กระบวนการหมักปุ๋ย แนวทางการรีไซเคิลน้ำมันที่ใช้แล้ว รวมถึงการทำบัญชีเบื้องต้น ให้กับเยาวชนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายและมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีโรงเรียนในพื้นที่แหลมฉบังจำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 1 โรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง 2 (มูลนิธิไต้ล้ง-เช็ง พรประภา) โรงเรียนบุญจิตวิทยา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

ปี 2567
ผลการดำเนินงาน

หมายเหตุ:
(1) รวมปริมาณของเสียที่คงเหลืออยู่ในพื้นที่จัดเก็บ ณ สิ้นปี
Update : กุมภาพันธ์ 2568