นโยบายสาธารณะ

นโยบายสาธารณะและการสนับสนุน
จุดยืนด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศของกลุ่มไทยออยล์
กระบวนการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ
ไทยออยล์มุ่งมั่นสร้างเครือข่ายร่วมกับภาครัฐและภาคเอกชน ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมสาธารณะ และการเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในสมาคมทางการค้า เพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายและกฎระเบียบสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ ซึ่งช่วยผลักดันการบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ทั้งนี้ เพื่อยกระดับระบบการจัดการและกระบวนการดำเนินงานของบริษัทฯ ไทยออยล์จึงได้พัฒนาแนวทางการบริหารจัดการสำหรับการสื่อสารสาธารณะที่เกี่ยวข้องกับจุดยืนด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศ โดยครอบคลุมกิจกรรมการมีส่วนร่วมในนโยบายสาธารณะ ตลอดจนสมาชิกในสมาคมทางการค้า โดยมีรายละเอียดดังนี้
นโยบายและความมุ่งมั่น
(Policy & Commitment)
ไทยออยล์ได้แถลงการณ์จุดยืนอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับเป้าหมายในการจำกัดอุณหภูมิโลกให้เพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่ม ปตท. การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และความตกลงปารีส (Paris Agreement)
กรอบการกำกับดูแล
(Governance Framework)
ไทยออยล์ได้มอบหมายความรับผิดชอบแก่ผู้บริหารระดับสูงในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสาธารณะและสมาชิกในสมาคมทางการค้า เพื่อสนับสนุนการพัฒนานโยบายและกฎระเบียบสาธารณะเกี่ยวกับประเด็นด้านสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ สามารถศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทและความรับผิดชอบได้ในหัวข้อ กรอบการกำกับดูแล
การดำเนินการ (Actions)
การทบทวนและติดตามผล
ไทยออยล์ได้กำหนดเกณฑ์การติดตามและประเมินผล รวมถึงได้ดำเนินการติดตามและทบทวนสถานะของสมาคมทางการค้าเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าสมาคมทางการค้าที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางการบริหารจัดการที่สอดคล้องกับจุดยืนด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศของกลุ่มไทยออยล์และความตกลงปารีส (Paris Agreement)
การดำเนินงานที่ไม่สอดคล้องกับจุดยืนด้านสภาพภูมิอากาศและกลยุทธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
ไทยออยล์ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อจัดการกับความไม่สอดคล้องกับจุดยืนด้านสภาพภูมิอากาศและกลยุทธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึงการสื่อสารความคืบหน้าระหว่างจุดยืนด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศของบริษัทฯ ที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศระดับสากล กิจกรรมสาธารณะและสมาชิกในสมาคมทางการค้า
การเปิดเผยข้อมูล (Disclosure)
ไทยออยล์ได้เผยแพร่การทบทวนรายงานประจำปีอย่างละเอียด ซึ่งครอบคลุมถึง:
- แถลงการณ์ของบริษัทฯ ที่แสดงจุดยืนเกี่ยวกับการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศในระดับสากล
- สถานะความสอดคล้องของการประเมินจุดยืนด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศของสมาคมทางการค้า
- การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับสถานะความสอดคล้องที่ประเมินได้
กรอบการกำกับดูแล
บทบาทและความรับผิดชอบ
ระดับ | บทบาทและความรับผิดชอบ |
---|---|
คณะกรรมการระดับผู้บริหาร – คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
|
|
ระดับจัดการ – หน่วยงานด้านความยั่งยืน |
|
ระดับปฏิบัติการ – ผู้รับผิดชอบจากแผนกต่าง ๆ ของไทยออยล์ |
|
กระบวนการทบทวนและติดตามผล
ไทยออยล์มีความมุ่งมั่นในการยกระดับความเป็นเลิศในการดำเนินงาน และส่งเสริมแนวปฏิบัติที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมน้ำมัน ควบคู่กับการดำเนินงานที่สอดคล้องกับจุดยืนด้านสภาพภูมิอากาศและกลยุทธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ดังนั้น ไทยออยล์จึงให้ความสำคัญกับการติดตามสถานะความสอดคล้องของการดำเนินงานตามจุดยืนด้านสภาพภูมิอากาศและกลยุทธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของเครือข่ายและสมาชิกในสมาคมทางการค้าให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายด้านสภาพภูมิอากาศของบริษัทฯ
กรอบการดำเนินงานเพื่อจัดการกับความไม่สอดคล้อง
ไทยออยล์ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการในการพิจารณาระดับสถานะความสอดคล้องกับจุดยืนด้านสภาพภูมิอากาศและกลยุทธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในกรณีที่พบสถานะความไม่สอดคล้องในระหว่างกระบวนการประเมิน จะมีการติดต่อสมาคมทางการค้าหรือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือและทำความเข้าใจในรายละเอียดเพิ่มเติม ซึ่งอาจมีการร้องขอข้อมูลเพิ่มเติมและการสื่อสารเพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไข พร้อมทั้งกำหนดกระบวนการติดตามผลอย่างใกล้ชิดก่อนดำเนินการในขั้นตอนถัดไป
ทั้งนี้ หากไม่สามารถแก้ไขปัญหาความไม่สอดคล้องได้ จะมีการพิจารณายุติการเป็นสมาชิกหรือหยุดการสนับสนุนในทุกรูปแบบ โดยหน่วยงานความยั่งยืนจะรวบรวมและรายงานผลการประเมินต่อผู้บริหารระดับสูง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ เพื่อพิจารณาและดำเนินการต่อไป
ระดับของสถานะความสอดคล้องกับจุดยืนด้านสภาพภูมิอากาศและกลยุทธ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
รหัสสี | ระดับความสอดคล้อง | การดำเนินงาน |
---|---|---|
สอดคล้อง(Aligned) |
| |
สอดคล้องบางส่วน (Partially aligned) |
| |
ไม่สอดคล้อง (Misaligned) |
|
ปี 2567
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2566 การสนับสนุนของกลุ่มไทยออยล์ส่วนใหญ่มุ่งเน้นหัวข้อ ดังนี้
1. รายละเอียดเงินสนับสนุน
รายละเอียดการสนับสนุนองค์กรและสมาคมภายนอกทั้งหมดในช่วงสี่ปีที่ผ่านมาแสดงในตารางด้านล่างนี้ โดยในปี 2567 กลุ่มไทยออยล์มีการสนับสนุนรวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 13.86 ล้านบาท ให้แก่สมาคมทางการค้าและกลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษี โดยขอบเขตของการรายงานข้อมูลครอบคลุมบริษัทในกลุ่มที่มีรายได้ร้อยละ 96 ของกลุ่มไทยออยล์
ประเภทองค์กร | ประเด็นที่สนับสนุน | ชื่อหน่วยงานหรือองค์กร | หน่วย | 2564 | 2565 | 2566 | 2567 | สมาคมทางการค้า | สนับสนุนการบริหารจัดการกรณีมีเหตุน้ำมันรั่วไหล เพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม | กองทุนระหว่างประเทศเพื่อ
การชดเชยความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน | บาท | 0(2) | 6,691,436(4) | 8,022,619 | 7,700,000 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
Oil Spill Response Limited (OSRL) | บาท | 1,740,193 | 2,012,460 | 2,512,806
| 2,512,806
| ||
สมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อม
ของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (IESG)
| บาท | 1,683,000 | 1,693,000 | 1,834,000 | 1,887,000 | ||
สนับสนุนในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ | สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) | บาท | 819,309 | 886,553 | 1,075,058 | 1,154,190 | |
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(5),(6) | บาท | 193,670 | 203,300 | 203,300 | 203,300 | ||
สภาผู้ขนส่งสินค้าทางเรือ (TNSC) | บาท | 53,500 | 53,500 | 53,500 | 53,500 | ||
สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน | บาท | 42,800 | 42,800 | 42,800 | 42,800 | ||
หอการค้าไทย | บาท | 24,610 | 24,610 | 24,610 | 24,610 | ||
สมาคมสโมสรนักลงทุน | บาท | 0 | 0 | 6,420 | 0 | ||
สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย | บาท | 0(2) | 25,680 | 0(2) | 0(2) | ||
สนับสนุนในการขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องกับสากล | องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) | บาท | 250,000 | 250,000 | 250,000 | 250,000 | |
สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน
| บาท | 0 | 0 | 0 | 0 | ||
เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN)(7) | บาท | 0 | 0 | 0 | 0 | ||
กลุ่มที่ได้รับการยกเว้นภาษี | สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย | บาท | 35,000 | 35,000 | 35,000 | 35,000 | |
การล๊อบบี้ การเป็นตัวแทนผลประโยชน์ หรือการกระทำอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน | – | – | บาท | 0 | 0 | 0 | 0 |
การรณรงค์หาเสียงทางการเมืองและผู้สมัครระดับท้องถิ่น ระดับภูมิภาคและระดับประเทศ | – | – | บาท | 0 | 0 | 0 | 0 |
อื่นๆ (เช่น ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับมาตรการการลงคะแนนเสียงหรือประชามติ | – | – | บาท | 0 | 0 | 0 | 0 |
รวม | บาท | 4,842,082 | 11,918,339 | 13,802,459 | 13,863,206 |
หมายเหตุ:
(1) ข้อมูลเงินสนับสนุนรวบรวมมาจากบริษัทในกลุ่มไทยออยล์ ครอบคลุมร้อยละ 96 ของรายได้ทั้งหมด
(2) ได้รับการละเว้นค่าธรรมเนียมสมาชิก
(3) กำหนดชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุสมาชิกทุก ๆ 5 ปี
(4) สนับสนุนเงินช่วยเหลือเพิ่มเติม เนื่องจากมีเหตุน้ำมันรั่วไหลในต่างประเทศ
(5) ค่าธรรมเนียมสมาชิกพิจารณาจากรายได้รวมของกิจการที่ปรากฎในงบกำไรขาดทุนย้อนหลัง 2 ปี
(6) ค่าธรรมเนียมสมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี 2564 ไม่มีค่าธรรมเนียมสมาชิกของบริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จำกัด เนื่องด้วยยุติกิจการ โดยมีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของบริษัทในกลุ่ม
(7) เครืือข่่ายเพื่่อสนัับสนุุนการดำเนิินงานเพื่่อบรรลุุเป้้าหมายการลดก๊๊าซเรืือนกระจกของประเทศไทย โดยไม่่มีีค่าธรรมเนีียมสมาชิิก
ปี 2567
การสนับสนุนองค์กรและสมาคมภายนอกที่ไทยออยล์ให้ความสำคัญ
หัวข้อ | สถานะ | คำอธิบายสถานะ/ การมีส่วนร่วม | การใช้จ่ายในปี 2567 (บาท) |
---|---|---|---|
การบริหารจัดการการรั่วไหลของน้ำมันอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม | ผู้สนับสนุน | ไทยออยล์เป็นสมาชิกของคณะกรรมการและคณะกรรมการหลักของสมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน (Oil Industry Environmental Safety Group Association – IESG) และเป็นสมาชิกขององค์กร Oil Spill Response Limited (OSRL) และสนับสนุนกองทุนระหว่างประเทศเพื่อการชดเชยความเสียหายจากมลพิษน้ำมัน โดยการเป็นสมาชิกในสมาคมเหล่านี้ ส่งผลให้บริษัทฯ สามารถแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการปฏิบัติที่ดีในการตอบสนองวิกฤติร่วมกับผู้เชี่ยวชาญและบริษัทอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน | 12,099,806 |
การสนับสนุนข้อมูลและการดำเนินธุรกิจในบริบทอุตสาหกรรมพลังงานเพื่อสร้างโอกาสและรักษาความสามารถในการแข่งขัน | ผู้สนับสนุน | ไทยออยล์เป็นสมาชิกของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (Petroleum Institute of Thailand – PTIT) และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (Federation of Thai Industries – FTI) โดยสมาคมเหล่านี้ให้การสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในบริบทของอุตสาหกรรม | 1,478,400 |
การเคลื่อนไหวทางด้านความยั่งยืนอื่น ๆ | ผู้สนับสนุน | องค์กรที่สนับสนุนไทยออยล์ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ เช่น องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council on Sustainable Development – TBCSD) และการสร้างสรรค์การสนทนากับผู้แทนจากสังคมผ่านทาง Global Compact Network Thailand (GCNT) | 285,000 |


องค์กรและสมาคมภายนอกที่กลุ่มไทยออยล์ให้การสนับสนุนสามอันดับแรก
ในปี 2567 องค์กรที่ได้รับการสนับสนุนเงินทุนมากที่สุดสามอันดับแรกจากไทยออยล์ ประกอบด้วยองค์กรที่สนับสนุนประเด็นที่บริษัทฯ ให้ความสำคัญ ตามรายละเอียดด้านล่างนี้
กองทุนระหว่างประเทศเพื่อชดใช้ความเสียหายอันเนื่องมาจากมลพิษน้ำมัน (The International Oil Pollution Compensation Funds: IOPC Funds): เป็นกองทุนที่สนับสนุนค่าชดเชยสำหรับความเสียหายจากมลพิษน้ำมันชนิดสลายตัวยาก (Persistent Oil) ที่รั่วไหลจากเรือบรรทุกน้ำมัน กองทุนนี้สามารถสนับสนุนทางการเงินให้กับไทยออยล์ในกรณีที่เกิดความเสียหายจากการรั่วไหลของน้ำมัน
การรายงานจุดยืนด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องของ
สมาคมทางการค้า
ในปี 2567 ไทยออยล์ได้ดำเนินการทบทวนและประเมินวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศของสมาคมทางการค้า ซึ่งพบว่ามีสมาคมทางการค้า 8 องค์กรที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศที่สอดคล้องกับจุดยืนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทยออยล์ ดังนี้
ชื่อสมาคม | ประเด็นการมีส่วนร่วม | จุดยืนด้านนโยบายสภาพภูมิอากาศและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง |
---|---|---|
เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) | สนับสนุนในการขับเคลื่อนประเด็นด้านความยั่งยืนให้สอดคล้องกับสากล |
|
องค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) |
| |
สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน |
| |
สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย |
| |
สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (PTIT) | สนับสนุนในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันกับกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ |
|
สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย |
| |
หอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย |
|