ธุรกิจปิโตรเคมี
ไทยออยล์พัฒนาและขยายธุรกิจเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนอย่างต่อเนื่อง

บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด

โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ไทยออยล์ถือหุ้นร้อยละ100
เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์
พ.ศ. 2545
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น
กำลังการผลิต
สารพาราไซลีน
527,000
สารมิกซ์ไซลีน
52,000
สารเบนซีน
259,000
*หน่วยตันต่อปี
โครงสร้างผู้ถือหุ้น
บมจ. ไทยออยล์ ร้อยละ 100
ผลิตภัณฑ์
Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.

ธุรกิจปิโตรเคมี
สารอะโรเมติกส์ คือ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่มีโครงสร้างโมเลกุลเป็นรูปวงแหวน (Aromatics ring) ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอนอะตอมตั้งแต่ 6 อะตอมขึ้นไป เช่น เบนซีน โทลูอีน พาราไซลีน และมิกซ์ไซลีน
โดยกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ของบริษัท Thai Paraxylene รวมทั้งสิ้น 838,000 ตันต่อปี ประกอบไปด้วย
พาราไซลีน | 527,000 | ตันต่อปี |
เบนซีน | 259,000 | ตันต่อปี |
มิกซ์ไซลีน | 52,000 | ตันต่อปี |

พาราไซลีน
สารพาราไซลีนเป็นวัตถุดิบ สำหรับอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขั้นกลาง เพื่อใช้สำหรับผลิตสาร PTA (Purified Terephthalic Acid) โดยในปัจจุบัน 65% ของสาร PTA จะถูกนำไปใช้ในการผลิตโพลิเอสเตอร์ (Polyester Fiber) หรือ เส้นใยสังเคราะห์เพื่อนำไปผลิตเป็นเสื้อผ้า กระเป๋าผ้า เป็นต้น อีก 30% นำไปผลิตเป็นขวดนํ้าดื่มที่ เรียกทั่วไปว่าขวด PET (Polyethylene Terephthalate) เช่น ขวดนํ้าดื่มพลาสติก ขวดนํ้าอัดลมพลาสติก และที่เหลืออื่นๆ อีก 5% ใช้ในการผลิตสินค้าต่างๆ เช่น ฟิล์ม ภาชนะบรรจุอาหาร ถุงที่ใช้สำหรับเก็บความร้อน เป็นต้น
Source: CMA (Spring 24) and TOP’s Estimate

เบนซีน
สารเบนซีนใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของโรงปิโตรเคมีขั้นกลางเพื่อใช้ผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยส่วนใหญ่ได้แก่ สารสไตรีนโมโนเมอร์ (55%) สารคิวมีน (22%) และ สารไซโคลเฮกเซน (15%) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรม ปิโตรเคมีขั้นปลาย สามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หลายชนิด
1.สารสไตรีนโมโนเมอร์ (Styrene Monomer หรือ SM) เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย เช่น
สารโพลีสไตรีน (Polystyrene หรือ PS)
สารอะคริโลไนทริล-บิวทาไดอีน-สไตรีน (Acrylonitrile-Butadiene-Styrene)
สารสไตรีน บิวทาดีนรับเบอร์ (Styrene-Butadiene Rubber หรือ SBR)
สารเอกซ์แพนเดดท์ โพลีสไตรีน (Expanded Polystyrene หรือ EPS)
2.สารคิวมีน (Cumene) ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตสารฟีนอล (Phenol) และ สารอะซีโตน (Acetone) ซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นในการผลิต สารโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate หรือ PC) ที่นำไปใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่น หลังคา รวมทั้ง เลนส์แว่นตา แผ่นซีดี และ หน้าจอของระบบสัมผัส (Touch Screen) เป็นต้น
3.สารไซโคลเฮกเซน (Cyclohexane) ใช้ผลิตเป็นสารคาโปรแลคตัม (Caprolactum) ซึ่งนำไปผลิตเป็นสารไนลอน 6 โดยจะได้ผลิตภัณฑ์ คือ เส้นใยสังเคราะห์ (เพื่อนำไปผลิตเป็นเสื้อผ้ากีฬา ผ้าทำเต้นท์) เม็ดพลาสติกขึ้นรูป เป็นต้น
Source: CMA (Spring 24) and TOP’s Estimate

โทลูอีน

มิกซ์ไซลีน
สารมิกซ์ไซลีนเป็นวัตถุดิบตั้งต้นหลักของโรงงานปิโตรเคมี ในการผลิตพาราไซลีน นอกจากนี้มิกซ์ไซลีน ยังใช้เป็นสารช่วยเพิ่มค่าออกเทนในนํ้ามันเบนซินและใช้เป็นสารทำละลาย (Solvent) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ เช่น สารเคลือบพื้นผิว ยาฆ่าแมลง สี กาว เป็นต้น
บจ. ไทยพาราไซลีน (TPX)
ทั้งนี้ คุณภาพของน้ำมันดิบและประเภทของหน่วยกลั่นต่างๆ ในโรงกลั่นน้ำมันจะเป็นปัจจัยในการพิจารณาวิธีการกลั่นน้ำมันและระดับความสามารถในการกลั่นน้ำมันดิบ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปชนิดต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไป การแบ่งประเภทของน้ำมันดิบจะแบ่งตามความหนาแน่น (Density) จากต่ำไปสูง (Light to Heavy) และปริมาณกำมะถันจากต่ำไปสูง (Sweet to Sour)
สำหรับโรงกลั่นของบริษัทฯ ถือเป็นโรงกลั่นน้ำมันแบบคอมเพล็กซ์ (Complex Refinery) ซึ่งมีกระบวนการที่สามารถแปลงสภาพวัตถุดิบที่มีราคาต่ำให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มี มูลค่ามากขึ้น โดยมีรายละเอียดกระบวนการกลั่นโดยสังเขป ดังนี้
กระบวนการผลิตของ บจ. ไทยพาราไซลีน (TPX)
หน่วยผลิตสารมิกซ์ไซลีน (Mixed Xylene : MXU) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่กลั่นแยกแพลตฟอร์เมตจากหน่วยเพิ่มค่าออกเทนด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (Continuous Catalyst Regeneration Platformer Unit) ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อผลิตสารไฮโดรคาร์บอนชนิดเบา (C5 Product) สารโทลูอีนความบริสุทธิ์ต่ำ (Crude Toluene) และสารอะโรเมติกส์ ชนิดหนัก (C9+) ซึ่งจะส่งกลับไปยังโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ เพื่อใช้เป็นองค์ประกอบผสมน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป นอกจากนั้น ยังมีการผลิตสารเบนซีนความบริสุทธิ์ต่ำ (Crude Benzene) ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่กระบวนการแยกสารอะโรมาติกส์ (BT Complex) เพื่อผลิตสารเบนซีนและสารโทลูอีนต่อไป
นอกจากนั้นหน่วยมิกซ์ไซลีนยังผลิตสารมิกซ์ไซลีนที่ประกอบด้วย สารเอทิลเบนซีน สารพาราไซลีน สารเมตาไซลีน และสารออร์โธไซลีน สำหรับป้อนเข้าสู่หน่วยผลิตพาราไซลีน (PX Complex) เพื่อผลิตสารพาราไซลีนเพื่อจัดจำหน่ายแก่ลูกค้าต่อไป
หน่วยผลิตสารพาราไซลีน (Paraxylene : PX Complex) ประกอบด้วยหน่วยผลิตย่อย 3 หน่วย โดยจะมีการนำสารมิกซ์ไซลีนจากหน่วย MXU ป้อนเข้าสู่หน่วย Parex เพื่อแยกสารพาราไซลีนออกจากสารไซลีนอื่นๆ ในสารมิกซ์ไซลีน โดยกระบวนการ Adsorption จากนั้น สารพาราไซลีนที่ได้ จะมีการนำมาเข้ากระบวนการกลั่นเพื่อเพิ่มความบริสุทธิ์ให้สูงขึ้น โดยสารพาราไซลีนที่ได้มีความบริสุทธิ์สูงถึงร้อยละ 99.7 โดยน้ำหนัก จากนั้น จะส่งสารไซลีนอื่นๆ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า Raffinate ได้แก่ สารออร์โธไซลีน สารเมตาไซลีน และสารเอทิลเบนซีน ไปยังหน่วย Isomar เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลของสารออร์โธไซลีนและสารเมตาไซลีนให้กลายเป็นสารพาราไซลีนด้วยปฏิกิริยา Isomerization และเปลี่ยนสารเอทิลเบนซีนให้ กลายเป็นสารเบนซีนด้วยปฏิกิริยา EB Dealkylation ทำให้สามารถผลิตสารพาราไซลีน และสารเบนซีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีหน่วยกลั่นไซลีน (Xylene Rerun Unit) ซึ่งจะทำหน้าที่กลั่นแยกสารอะโรเมติกส์หนัก (C9+) ที่อยู่ในสารมิกซ์ไซลีนออกจากสารอะโรเมติกส์เบา (C8) เพื่อให้ได้สารมิกซ์ไซลีนที่พร้อมจะส่งไปเป็นวัตถุดิบสำหรับหน่วย Parex ขณะเดียวกัน สารอะโรเมติกส์หนัก(C9+) บางส่วนจากหน่วย MX จะมีการส่งเข้าสู่หน่วย Xylene Rerun Unit เพื่อแยกเฉพาะ A9 และส่งกลับไปโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ เพื่อนำไปผลิตน้ำมันเบนซินต่อไป สำหรับส่วนที่เหลือซึ่งเรียกว่า Heavies จะมีการส่งกลับไปยังโรงกลั่นน้ำมันไทยออยล์ เพื่อผลิตน้ำมันเตา
หน่วยแยกสารอะโรเมติกส์และสารที่ไม่ใช่อะโรมาติกส์ (ED Sulfolane) โดยหน่วยการผลิตนี้จะมีการรับ Crude Benzene จากหน่วย MXU และสารเบนซีนจากหน่วย Isomar เพื่อใช้ตัวทำละลายในการสกัดแยกสารที่ไม่ใช่สารอะโรเมติกส์ออก แล้วส่งกลับไปยังบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบผสมน้ำมันเบนซิน ขณะที่สารอะโรเมติกส์ที่เหลือจะส่งไปยังหน่วยแยกสารเบนซีนและสารโทลูอีน หน่วยที่ 1 ต่อไป
หน่วยแยกสารเบนซีนและสารโทลูอีน หน่วยที่ 1 (Benzene & Toluene Fractionation 1: BTF-I) หน่วยนี้มีหน้ารับสารอะโรมาติกส์จาก ED Sulfolane เพื่อกลั่นแยกสารเบนซีน สารโทลูอีนและสารไซลีน ทำให้ได้สารเบนซีนและโทลูอีนที่มีความบริสุทธิ์สูง เพื่อนำไปจัดจำหน่ายแก่ลูกค้าต่อไป นอกจากนั้นสารโทลูอีนยังสามารถส่งต่อไปยังหน่วย PxMax เพื่อผลิตสารพาราไซลีนและสารเบนซีนได้อีกด้วย สำหรับสารไซลีนอื่นๆ ที่เหลือจะส่งไปยังหน่วย Xylene Rerun Unit
หน่วยผลิต PxMax เป็นเทคโนโลยีเฉพาะที่มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณค่าของสารโทลูอีนให้เป็นสารพาราไซลีนและสารเบนซีนที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่อเนื่องอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ สารโทลูอีนที่ป้อนเข้าหน่วยผลิต PxMax จะผ่านกระบวนการ Selective Toluene Dispropotionation (STDP) โดยใช้สารเร่งปฏิกิริยาซึ่งมีลักษณะโครงสร้างพิเศษ (Molecular Sieve) ที่มีรูพรุนขนาดเฉพาะ ทำให้สามารถผลิตสารมิกซ์ไซลีนที่มีความเข้มข้นของสารพาราไซลีนสูง และมีสารเบนซีนเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม ด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวทำให้หน่วย PxMax สามารถผลิตสารมิกซ์ไซลีนในสัดส่วนที่สูงและในขณะที่เกิดการแตกตัวเป็นก๊าซในสัดส่วนที่ต่ำ โดยก๊าซที่เป็นผลิตภัณฑ์ร่วมจากการเกิดปฏิกิริยาจะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงาน ในขณะที่สารมิกซ์ไซลีน สารเบนซีนและสารโทลูอีนที่เหลือจากการทำปฏิกิริยา จะถูกส่งไปที่หน่วยแยกสารเบนซีนและสารโทลูอีน หน่วยที่ 2 ต่อไป
หน่วยแยกสารเบนซีนและสารโทลูอีน หน่วยที่ 2 (Benzene & Toluene Fractionation 2: BTF-II) จะรับสารมิกซ์ไซลีน สารเบนซีนและสารโทลูอีนที่เหลือจากหน่วย PxMax มาทำการกลั่นแยกต่อไป โดยสารเบนซีนจะถูกเพิ่มความบริสุทธ์ให้เพียงพอสำหรับการจัดจำหน่ายให้ลูกค้าในหน่วยนี้ สำหรับสารมิกซ์ไซลีนที่มีความเข้มข้นของสารพาราไซลีนสูงจะถูกส่งไปยังหน่วย Parex เพื่อแยกสารพาราไซลีนที่มีความบริสุทธิ์สูงเพื่อจัดจำหน่ายต่อไป สุดท้ายโทลูอีนที่เหลือจะถูกป้อนให้หน่วย PxMax เพื่อเกิดปฏิกิริยาซ้ำต่อไป



Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus.
ชื่อย่อ
TPX
เลขทะเบียนบริษัท
0105539103288
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น
ทุนจดทะเบียน
2,572,414,160 บาท
ชนิดของหุ้น
สามัญ
จำนวนหุ้น
257,241,416
มูลค่าหุ้นละ
10 บาท


ช่องทางการติดต่อ
บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด
Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry.

ที่อยู่
105/12 หมู่ที่ 2 ถนนสุขุมวิท ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
ติดต่อ
0 – 3835 – 1317-9, 0 – 3835 – 1878
0 – 3835 – 1320
บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด

ผู้ผลิตสาร LAB (Linear Alkyl Benzene) รายแรกของประเทศไทย และมีกระบวนการผลิตแบบครบวงจรที่สุดรายแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสาร LAB เป็นวัตถุดิบที่สำคัญในการผลิตผงซักฟอกและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด
เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์
พ.ศ. 2559
ประเภทธุรกิจ
การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ LAB และผลิตภัณฑ์ร่วมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
กำลังการผลิต
LAB
120,000
*หน่วยตันต่อปี
โครงสร้างผู้ถือหุ้น
บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด
ร้อยละ 75
บริษัท มิตซุย แอนด์ คัมปนี จำกัด
ร้อยละ 25
ผลิตภัณฑ์
Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.

LAB (Linear Alkyl Benzene)
ผลิตภัณฑ์ LAB (Linear Alkyl Benzene) เป็นสารตั้งต้นหลักในธุรกิจผงซักฟอกและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยสาร LAB เกือบทั้งหมดจะถูกนำไปผลิตเป็น LAS (Linear Alkylbenzene Sulfonates) ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตผงซักฟอก และผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด โดยกว่า 80% ของสาร LAS ถูกนำไปใช้ในการผลิตผงซักฟอกเพื่อใช้ในครัวเรือน ส่วนที่เหลือนำไปใช้การผลิตผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดเพื่อใช้ในภาคอุตสาหกรรมและการพาณิชย์
โดย LAS เป็นสารลดแรงตึงผิว (Surfactant) ประเภทหนึ่ง ที่เมื่อละลายนํ้าแล้วจะช่วยลดแรงตึงผิวของนํ้า โดยมีคุณสมบัติช่วยให้เกิดฟอง และมีความสามารถในการดึงสิ่งสกปรกออกจากพื้นผิวให้กระจายอยู่ในนํ้า LAB เป็นสารตั้งต้นหลักในการผลิต ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ดังนี้
• ผงซักฟอก (Powders detergents)
• นํ้ายาซักผ้า (Liquid detergents)
• นํ้ายาล้างจาน (Dishwashing liquids)
• นํ้ายาทำความสะอาดในครัวเรือน (Liquid household cleaners)
• การสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบอิมัลชัน (Emulsion polymerization)
• สารที่สามารถลดแรงตึงผิวประเภทอิมัลซิฟายเออร์ (Emulsifier)

HAB (Heavy Alkyl Benzene)
ผลิตภัณฑ์ HAB เป็นผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิต LAB ซึ่งนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆดังนี้
• น้ำมันถ่ายเทความร้อนในเครื่องจักร (Heat Transfer Oil)
• สารที่ใช้ในกระบวนการผลิตน้ำมันจากหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบ (Enhanced Oil Recovery)
• สารเติมแต่งในน้ำมันหล่อลื่น (Lubricant Additive)

Molex Raffinate
ผลิตภัณฑ์ Molex Raffinate เป็นผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้จากกระบวนการเตรียมสารตั้งต้น นอร์มัล ฟาราฟิน (Normal Paraffin) ซึ่งนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ต่างๆดังนี้
• สารละลายที่ใช้ในอุตสาหกรรมสี (Paint industry)
• สารละลายที่ใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองทองแดง (Mining Industry)
กระบวนการผลิตของ บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด
กระบวนการผลิตสาร Linear Alkyl Benzene (LAB) ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สุดจาก Universal Oil Product Company Limited (UOP) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งในหน่วยผลิตสาร LAB สามารถแบ่งออกเป็น 2 หน่วยใหญ่ คือ หน่วยการเตรียมสารตั้งต้น นอร์มอลพาราฟิน (n – Paraffin) และหน่วยผลิตสาร Linear Alkyl Benzene (LAB)



กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นการบริหารจัดการแบบบูรณาการเป็นกลุ่มเพื่อความเชื่อมโยงของบริษัทต่างๆ ภายในกลุ่ม

โดยบริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด หรือ TPX ได้ก่อตั้งขึ้นในฐานะบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ได้แก่ สารพาราไซลีนและสารเบนซีนซึ่งได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องพร้อมเสริมสร้างความสามารถในการผลิตเพื่อขยายสู่ธุรกิจใหม่และผลิตภัณฑ์ใหม่ที่สนองตอบความต้องการของผู้บริโภคในส่วนของผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี จำกัด เป็นบริษัทขนาดใหญ่ระดับโลกก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2490 บริษัทมิตซุยได้สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อตอบสนองต่อการเติบโตของโลกรวมถึงได้ขยายธุรกิจไปสู่อุตสาหกรรมหลากหลายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเคมี พลังงานและผู้บริโภค โดยมีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลก นอกจากนี้บริษัทมิตซุยยังมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในด้านการตลาดธุรกิจสาร LAB (Linear Alkyl Benzene) เนื่องจากเป็นผู้จัดจำหน่ายสาร LAB รายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของโลก
โดยบริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด และ บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี จำกัด ร่วมต่อยอดธุรกิจและเป็นผู้บุกเบิกด้านการผลิตสาร LAB ที่ครบวงจรรายแรกของประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกันลงทุนจัดตั้ง บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด ในปี พ.ศ.2556 เพื่อดำเนินธุรกิจปิโตรเคมี ในฐานะผู้ผลิตสาร LAB ในประเทศ ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตผงซักฟอกและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโดยใช้เทคโนโลยีที่มีความทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด จึงเป็นผู้ผลิตสาร LAB แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย โดยกำลังการผลิตของบริษัทฯ สามารถตอบสนองความต้องการใช้ภายในประเทศได้ทั้งหมด และมีกำลังการผลิตส่วนเกินสำหรับการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ โดยบริษัทฯ ตั้งอยู่ที่จุดศูนย์กลางของประเทศไทยที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งมีความพร้อมทางด้าน
โลจิสติกส์ในการขนส่งสินค้าได้ทั้งทางทะเลและทางรถยนต์ ทำให้บริษัทฯ มีข้อได้เปรียบในการขนส่งผลิตภัณฑ์ไปยังลูกค้าทั้งในและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลทั่วไป
Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus.
ชื่อย่อ
LABIX
เลขทะเบียนบริษัท
0105556110246
ประเภทธุรกิจ
การผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ LAB และผลิตภัณฑ์ร่วมอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
ทุนจดทะเบียน
4,654,965,000 บาท
ชนิดของหุ้น
สามัญ
มูลค่าหุ้นละ
10 บาท


ช่องทางการติดต่อ
บริษัท ลาบิกซ์ จำกัด
Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry. Lorem Ipsum is simply dummy text of the printing and typesetting industry.

สำนักงานกรุงเทพฯ
555/1 ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
0 – 2797 – 2999, 0 – 2797 – 2900
0 – 2299 – 0000
โรงงาน
เลขที่ 105/13 หมู่ที่2 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 20230
038 - 408 - 500
038 - 359 - 019
PT Chandra Asri Pacific Tbk (CAP)

เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์
พ.ศ. 2535
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจปิโตรเคมีและโครงสร้างพื้นฐาน
กำลังการผลิต
เอทิลีน
900,000
โพรไพลีน
490,000
*หน่วยตันต่อปี
โครงสร้างผู้ถือหุ้น
ไทยออยล์ถือหุ้น ร้อยละ 15 ผ่านบริษัท PT TOP Investment Indonesia
(บริษัทย่อยในประเทศอินโดนิเซีย)
ผลิตภัณฑ์
Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.

POLYOLEFINS
POLYETHYLENE
เม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนของ Chandra Asriจําหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า “Asrene®” ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) และโพลีเอทิลีนความหนาแน่นต่ำเชิงเส้น (LLDPE) นอกจากนี้ Chandra Asri ยังผลิตเม็ดพลาสติกสําหรับถุงพลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมภายใต้เครื่องหมายการค้า “Grene®” โดยถุงพลาสติก Grene สามารถสลายตัวได้เองตามธรรมชาติ เม็ดพลาสติกโพลีเอทิลีนของ Chandra Asri สามารถนำไปใช้ผลิตฟิล์มเพื่อการเกษตร บรรจุภัณฑ์ชนิดยืดหยุ่น ตาข่าย ผ้าใบกันน้ํา ท่อน้ํา ถังบรรจุภัณฑ์ และภาชนะบรรจุเครื่องสำอางและอาหาร
POLYPROPYLENE
เม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีนของ Chandra Asriจําหน่ายภายใต้เครื่องหมายการค้า “Trilene®” ซึ่งรวมถึงโฮโมพอลิเมอร์ โคพอลิเมอร์แบบสุ่ม และโคพอลิเมอร์แบบบล็อก เม็ดพลาสติกโพลีโพรพิลีนสามารถนำไปใช้ผลิตบรรจุภัณฑ์แบบยืดหยุ่น เครื่องใช้ในครัวเรือน เส้นด้าย ถุงทอ เฟอร์นิเจอร์ ยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ผลิตภัณฑ์โพลีเอทิลีนและโพลีโพรพิลีนของ Chandra Asri ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาลโดย Majelis Ulama Indonesia (MUI)

STYRENE MONOMER
สไตรีนโมโนเมอร์เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตโพลีสไตรีน (PS), โพลีสไตรีนแบบขยาย (EPS), สไตรีนอะคริโลไนไตรล์ (SAN), อะคริโลไนไตรล์ บิวทาไดอีนสไตรีน (ABS), ยางสไตรีนบิวทาไดอีน (SBR), สไตรีนบิวทาไดอีนลาเท็กซ์ (SBL) และเรซินโพลีเอสเตอร์ไม่อิ่มตัว (UPR) สไตรีนโมโนเมอร์สามารถนำไปใช้ผลิตพื้นรองเท้า แก้วน้ำ ภาชนะบรรจุอาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์และอิเล็กทรอนิกส์ ของเล่นบล็อกตัวต่อ และหมวกกันน็อค

บิวตาไดอีน
บิวทาไดอีนเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตอะคริโลไนไตรล์ บิวทาไดอีนสไตรีน (ABS) สไตรีนบิวทาไดอีนลาเท็กซ์ (SBL) ยางสไตรีนบิวทาไดอีน (SBR) และ ยางโพลีบิวทาไดอีน (PBR) ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตยางรถยนต์ บิวทาไดอีนสามารถนำไปใช้ผลิตรองเท้าบูทยาง ถุงมือยาง พื้นรองเท้า และ ยาแนว

โอเลฟินส์
โรงแยกแนฟทาของ Chandra Asri มีความสามารถในการผลิตผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ (เอทิลีน โพรพิลีน) และผลิตภัณฑ์พลอยได้ (ไพโรไลซิสแก๊สโซลีน มิกซ์ซี4) Chandra Asri จัดจำหน่ายเอทิลีน โพรพิลีนผ่านทางท่อให้กับกลุ่มลูกค้าบริเวณใกล้เคียง และจัดจำหน่ายไพโรไลซิสแก๊สโซลีนทางเรือให้กับกลุ่มลูกค้า ในขณะที่มิกซ์ซี4 ถูกนำมาใช้เป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานบิวทาไดอีน
กระบวนการกลั่นน้ำมัน คือ กระบวนการการแยกโมเลกุลสารไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ใน น้ำมันดิบและแปรสภาพสสารดังกล่าวให้เป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปที่มีมูลค่าสูงกว่า

กระบวนการผลิต
กระบวนการผลิตสาร Linear Alkyl Benzene (LAB) ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยที่สุดจาก Universal Oil Product Company Limited (UOP) ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับโรงกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งในหน่วยผลิตสาร LAB สามารถแบ่งออกเป็น 2 หน่วยใหญ่ คือ หน่วยการเตรียมสารตั้งต้น นอร์มอลพาราฟิน (n – Paraffin) และหน่วยผลิตสาร Linear Alkyl Benzene (LAB)
หน่วยการเตรียมสารตั้งต้น n – Paraffin ประกอบด้วยหน่วยผลิตย่อย 3 หน่วย ได้แก่
(1) หน่วย Kerosene Prefractionation ทำหน้าที่กลั่นแยกน้ำมันเคโรซีน (Kerosene) ที่ถูกส่งมาจากบริษัทไทยออยล์ ซึ่งเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนระหว่าง C9 – C14+ ที่มีจุดเดือดระหว่าง 150 – 250 องศาเซลเซียส โดยการใช้หอกลั่นแยกสารประกอบไฮโดรคาร์บอนตามจุดเดือด เพื่อแยกไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดความยาวโมเลกุลอยู่ในช่วง C10 – C13 ออกมาจากน้ำมันเคโรซีน จากนั้นจึงนำส่งเข้าสู่หน่วยย่อยที่
(2) UOP Union fining Process ซึ่งทำหน้าที่กำจัดสารปนเปื้อนประเภทกำมะถัน ไนโตรเจนและออกซิเจน ด้วยกระบวนการ Hydrotreating เพื่อปรับปรุงคุณภาพ และขั้นตอนสุดท้าย คือ การส่งสารประกอบไฮโดรคาร์บอนดังกล่าวเข้าสู่หน่วยผลิตย่อยที่
(3) UOP Molex Process ซึ่งทำหน้าที่แยกโครงสร้างของสารประกอบไฮโดรคาร์บอนแบบโซ่ตรง (straight chain) ที่มีความยาวโมเลกุลระหว่าง C10 – C13 ออกจากโมเลกุลรูปร่างอื่นๆ ซึ่งจะได้น้ำมัน n – Paraffin (Normal Paraffin) ที่มีความบริสุทธิ์สูง เพื่อใช้ในการผลิตสาร LAB ต่อไป สำหรับสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีขนาดโมเลกุลเบากว่า C10 (Light Kerosene), ไฮโดรคอร์บอนที่หนักกว่า C13 (Heavy Kerosene) และไฮโดรคาร์บอนโครงสร้างอื่นที่ไม่ใช่โครงสร้างแบบโซ่ตรง (Molex Raffinate) จะถูกรวมกันและส่งกลับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้ เพื่อใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันอากาศยานต่อไป และมี Molex Raffinate บางส่วนส่งออกขายให้กับลูกค้าทั้งในและต่างประเทศ
หน่วยผลิตสาร LAB ประกอบด้วยหน่วยผลิตย่อย 3 หน่วย ได้แก่ (1) หน่วย UOP Pacol & Define Process โดยหน่วย UOP Pacol จะทำหน้าที่เปลี่ยน n – Paraffin บางส่วนให้เป็นสารโอเลฟินส์ (mono-Olefin และ di-Olefin) ด้วยปฏิกิริยา Dehydrogenation โดยมีผลิตภัณฑ์พลอยได้ คือ ไฮโดรเจน ซึ่ง di-Olefin จะถูกหน่วยผลิตย่อย UOP DeFine Process เปลี่ยนให้เป็น mono – Olefins ต่อ ด้วยปฏิกิริยา Hydrogenation เพื่อเพิ่มปริมาณของ mono – Olefins ให้มากขึ้น ก่อนจะถูกส่งต่อไปเข้าหน่วยผลิตย่อยที่ (2) UOP PEP Process ที่มีหน้าที่แยกไฮโดรคาร์บอนโมเลกุลที่มีน้ำหนักมากออก เพื่อเพิ่มความบริสุทธิ์ให้ได้คุณภาพที่เหมาะสมกับหน่วยผลิตถัดไป โดยจะได้ผลิตภัณฑ์พลอยได้ คือสารอะโรเมติกส์หนัก (PEP Aromatics) จากนั้น n-paraffin และ mono- Olefins จะถูกส่งต่อไปยังหน่วยผลิตย่อยที่ (3) Detal – Plus Process ซึ่งมีหน้าที่ในการทำปฏิกิริยายา Alkylation ระหว่าง mono – Olefins และสารเบนซีนบริสุทธิ์ เพื่อผลิต เพื่อผลิตสาร Linear Alkyl Benzene (LAB) เป็นผลิตภัณฑ์หลัก โดยมีผลิตภัณฑ์ผลพลอยได้ คือ Heavy Alkyl Benzene (HAB)



ข้อมูลทั่วไป
Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus. Amet turpis vel enim aliquet maecenas. Egestas nulla urna suspendisse cursus aliquam mauris facilisis.Vel pretium dolor tellus id purus felis tellus cursus.
ชื่อย่อ
CAP
เลขทะเบียนบริษัท
-
ประเภทธุรกิจ
ธุรกิจปิโตรเคมีและโครงสร้างพื้นฐาน
ทุนจดทะเบียน
12,264,785,664,000 รูเปียห์อินโดนีเซีย
มูลค่าหุ้นละ
-

ช่องทางการติดต่อ
Chandra Asri
สำนักงานใหญ่
Wisma Barito Pacific Tower A, 7th Floor
Jl. Let. Jend. S. Parman Kav. 62 - 63 Jakarta 11410, Indonesia
(62-21) 530 7950
(62-21) 530 8930
โรงงาน
Chandra Asri Plant, Ciwandan Site
Jl. Raya Anyer Km. 123 Ciwandan, Cilegon Banten 42447, Indonesia
(62-254) 601 501
(62-254) 601 838 / 843
โรงงาน
Chandra Asri Plant, Puloampel Site
Desa Mangunreja Puloampel, Serang Banten 42456, Indonesia