การประเมินประเด็นสำคัญ

 

การประเมินประเด็นที่สำคัญ

การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาว กลุ่มไทยออยล์ได้จัดตั้งหน่วยงานภายในเพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างต่อเนื่องเพื่อให้รับทราบถึงมุมมองและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้ระบุผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรด้วยการวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่การรับน้ำมันดิบเข้ามาจนถึงของเหลือทิ้งหลังการใช้งาน โดยประเมินจากผลกระทบและอิทธิพลที่เกิดขึ้นระหว่างกัน ดังแผนภาพด้านล่าง

แผนภาพการระบุผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่า

จากแผนภาพข้างต้น กลุ่มไทยออยล์ได้จัดแบ่งผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 6 กลุ่มหลัก และมีแนวทางในการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยเริ่มตั้งแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ส่งผลให้รูปแบบและความถี่ในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบออนไลน์มากขึ้น ดังปรากฏในตาร

กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนของกลุ่มไทยออยล์

กลุ่มไทยออยล์วิเคราะห์ประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนต่อผู้มีส่วนได้เสียและต่อธุรกิจตามมาตรฐานการรายงานความยั่งยืนสากลของ GRI Standards (Global Reporting Initiative Standards) โดยประยุกต์แนวความคิดด้านการสร้างคุณค่าจากหลักการจัดการประเด็นสำคัญ (Materiality Matters) ของ The Value Reporting Foundation และได้รับการตรวจรับรองความน่าเชื่อถือของกระบวนการโดยหน่วยงานอิสระจากภายนอก 

ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนขององค์กรตั้งแต่ต้นปีและนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประเมินเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณากลยุทธ์ความยั่งยืน ตามกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ STS (Strategic Thinking Session) เพื่อสนับสนุนการวางแผน การกำหนดเป้าหมาย รวมถึงจัดสรรต้นทุนทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ทุนทางการเงิน ทุนการผลิต ทุนทรัพยากรธรรมชาติ ทุนทรัพยากรมนุษย์ ทุนทรัพย์สินทางปัญญาและองค์ความรู้ และทุนทางสังคมและความสัมพันธ์

ขั้นที่ 1: การระบุประเด็นที่สำคัญ (Identification)

กลุ่มไทยออยล์พิจารณาประเด็นสำคัญของธุรกิจประจำปี 2566 ผ่านการวิเคราะห์ปัจจัยภายใน ได้แก่ การทบทวนประเด็นสำคัญที่ได้จากการวิเคราะห์ทิศทางกลยุทธ์ธุรกิจระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว (Business Strategic Direction) และวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ประเด็นความสนใจของผู้มีส่วนได้เสีย ประเด็นสนใจจากการประเมินความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indices: DJSI) ประเด็นที่สำคัญของบริษัทธุรกิจกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีอื่นๆ เป้าหมายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN Sustainable Development Goals: SDGs) แนวโน้มของประเทศไทยและของโลก ดังปรากฏในรายงานของสถาบันที่ได้รับการยอมรับต่างๆ เช่น สภาเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) และนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในการทบทวนประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มไทยออยล์เพิ่มเติมจากปีก่อนหน้า

ขั้นที่ 2: การจัดลำดับประเด็นที่สำคัญ (Prioritization)

  • กลุ่มไทยออยล์จัดลำดับความสำคัญของประเด็นด้านความยั่งยืนประจำปี 2566 ด้วยการทบทวนผลการประเมินประเด็นสำคัญของปีก่อนหน้าผ่านปัจจัยภายนอกต่างๆ ที่อาจเข้ามากระทบธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย โดยจัดเป็นกิจกรรมเวิร์กช็อปร่วมกับผู้บริหาร รวมไปถึงการเข้าไปสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ เพื่อประเมินประเด็นความยั่งยืนที่ผู้มีส่วนได้เสียให้ความสนใจและคาดหวัง พร้อมทั้งพิจารณาถึงผลกระทบต่อการสร้างคุณค่าของบริษัทฯ จากทิศทางธุรกิจในประเด็นต่างๆ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการวิสารัตถภาพ (Double Materiality Principle) โดยผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งในรูปแบบข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพถูกสะท้อนในความสามารถของธุรกิจในการสร้างมูลค่า  หรือผลกระทบทางการเงินทั้งเชิงลบและบวก ควบคู่กับการพิจารณาถึงผลกระทบต่อการสร้างคุณค่าของบริษัทฯ จากทิศทางธุรกิจในประเด็นต่างๆ โดยแบ่งออกเป็นระดับความสำคัญสูง กลาง ต่ำ ผ่านการจัดอันดับ (Ranking) ของประเด็นความสำคัญด้านความยั่งยืน และใช้เกณฑ์พิจารณาใน 2 มิติ คือ
    • 1) ผลกระทบและความสำคัญของประเด็นต่อความสามารถในการสร้างคุณค่าของกลุ่มไทยออยล์ 
    • 2) ผลกระทบและความสำคัญของประเด็นต่อผู้มีส่วนได้เสีย 

ขั้นที่ 3: การทวนสอบประเด็นที่สำคัญ (Validation)

กลุ่มไทยออยล์ทวนสอบความครบถ้วนของประเด็นที่มีนัยสำคัญโดยหน่วยงานการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน จากนั้นจึงนำประเด็นด้านความยั่งยืนที่ผ่านการทวนสอบแล้วไปเสนอต่อที่คณะกรรมการการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Development Steering Committee) โดยมีประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน เพื่อพิจารณาอนุมัติและยืนยันประเด็นด้านความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญภายใต้ขอบเขตผลกระทบทั้งภายในและภายนอกองค์กร ควบคู่กับการได้รับการเห็นชอบโดยคณะกรรมการบริษัทชุดย่อย ได้แก่ คณะกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee)

นอกจากนี้ สำหรับการตรวจสอบกระบวนการประเมินประเด็นสำคัญและการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึงข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม กลุ่มไทยออยล์ได้เชิญหน่วยงานอิสระจากภายนอกเข้ามาตรวจสอบเพื่อรับรองการได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความถูกต้องและครบถ้วน

ขั้นตอนที่ 4: การบูรณาการเข้ากับกระบวนการการจัดการความเสี่ยงและกลยุทธ์องค์กร (Strategic Integration)

ผลลัพธ์ของการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่ได้รับการอนุมัติและลงนามแล้ว จะถูกนำเข้าสู่กระบวนการการจัดการความเสี่ยงองค์กร (Enterprise Risk Management: ERM) ของบริษัทฯ เพื่อประเมินความเสี่ยงในกระบวนการทางธุรกิจ จัดเตรียมแผนบรรเทาผลกระทบตามความจำเป็น และสนับสนุนการพิจารณาวางแผนกลยุทธ์องค์กรตามกระบวนการวางแผนธุรกิจ STS ประจำปี เพื่อเป็นรากฐานที่สำคัญในการบริหารจัดการองค์กรให้มีความยั่งยืน ผ่านการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และกลยุทธ์ ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาวตามความเหมาะสมต่อไป

ผลการประเมินประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญปี 2566

การประเมินประเด็นสำคัญในปี 2566 พบว่า มีบริบทการเปลี่ยนแปลงจากภายนอกที่ส่งผลต่อความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และมีผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อผู้มีส่วนได้เสียและธุรกิจในการสร้างคุณค่าในระยะยาว โดยเฉพาะความใส่ใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เข้มข้นขึ้นทำให้ธุรกิจต้องปรับกลยุทธ์และรูปแบบธุรกิจเพื่อก้าวไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและชุมชนรอบโรงกลั่นที่เปลี่ยนไป การส่งเสริมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกายและสุขภาพจิตเพื่อยกระดับสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และการเปลี่ยนแปลงของกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ของโลกที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงการปรับเปลี่ยนของพฤติกรรมผู้บริโภคที่เน้นให้ความสำคัญต่อชีวิตผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ดังรายละเอียดในแผนภาพและตาราง ดังนี้

การประเมินผลกระทบกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร 

กลุ่มไทยออยล์ได้วิเคราะห์ประเด็นสาระสำคัญเพื่อระบุและประเมินผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียภายนอก โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาจากการดำเนินงาน ผลิตภัณฑ์และการบริการ และห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ  กลุ่มไทยออยล์ได้วัดผลกระทบและประเมินมูลค่าโดยใช้หลักการ “Natural Capital Protocol” และ “Social & Human Capital Protocol” เพื่อระบุและวัดผลกระทบในเชิงบวกและเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และนำไปสู่การกำหนดมูลค่าผลกระทบเชิงปริมาณภายใต้การดำเนินการของกลุ่มไทยออยล์  จากการวิเคราะห์ สามารถระบุผลกระทบต่อกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มไทยออยล์ 2 ประการ ดังปรากฏในตารางต่อไปนี้

ประเด็นสาระสำคัญสำหรับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร ผลกระทบที่สำคัญประการที่ 1 ผลกระทบที่สำคัญประการที่ 2
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกขอบเขตที่ 1 และ 2 – กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ (โดยหลีกเลี่ยงการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากผลิตภัณฑ์จำพวกแก๊สโซฮอล์และพลังงานไบโอดีเซล) เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสภาพภูมิอากาศ การปล่อยมลพิษทางอากาศ (NOx SOx และ VOCs) – กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่อสังคม โดยกำหนดให้มีการบริหารจัดการการปล่อยมลพิษทางอากาศต่างๆ ประกอบด้วย ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOx) และสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) อย่างไรก็ตาม มลพิษทางอากาศยังคงส่งผลเสียต่อสภาพภูมิอากาศ
หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร
  • การปล่อยก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 1 และ 2 จากโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท ถือเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลกระทบให้เกิดภาวะโลกร้อน และอาจส่งผลให้เกิดต้นทุนภายนอก (Externality Costs) ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมสูงขึ้น กลุ่มไทยออยล์จึงมุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการดำเนินกิจการต่างๆ และมุ่งสู่ความเป็นเลิศผ่านการพัฒนาการวิจัยและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผลิตภัณฑ์คาร์บอนต่ำ เพื่อบรรลุความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย และผลักดันเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน นอกจากนี้ จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Avoided emissions products)  ลูกค้าหรือผู้บริโภคของกลุ่มไทยออยล์สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อบรรยากาศและสภาพภูมิอากาศ
  •  
  • ผลกระทบเชิงบวกที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มไทยออยล์ ประกอบด้วย การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเพิ่มขึ้นของผลิตผลทางการเกษตรจากความเสี่ยงน้ำท่วมที่ลดลง การพัฒนาสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนรอบโรงกลั่นของกลุ่มไทยออยล์ และการเพิ่มมูลค่าของการบริการจากระบบนิเวศ (Ecosystem Services)
  • กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการภายใต้การควบคุมตามกฎหมายและมาตรฐานด้านคุณภาพอากาศ รวมถึงมาตรฐานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อบริหารจัดการมลพิษอากาศ (NOx SOx และ VOCs) แม้ว่ามลพิษที่ปล่อยออกมาจากการดำเนินกิจการของไทยออยล์ยังคงมีส่วนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงลบต่อชั้นบรรยากาศและสภาพภูมิอากาศแก่ผู้มีส่วนได้เสีย อย่างไรก็ตาม กลุ่มไทยออยล์ได้กำหนดมาตรการป้องกันและแนวทางการประเมินผลกระทบ เพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการจัดการคุณภาพอากาศ
  •  
  • ผลกระทบเชิงลบที่อาจส่งผลต่อผู้มีส่วนได้เสียของกลุ่มไทยออยล์ ประกอบด้วย สุขภาพของชุมชน เนื่องจากความเสื่อมโทรมของคุณภาพอากาศสามารถส่งผลให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจหรือโรคหัวใจที่อาจส่งผลต่อการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของประชากรบางกลุ่ม รวมถึงเร่งการเกิดฝนกรดซึ่งส่งผลให้ต่อการเปลี่ยนแปลงในการเพาะปลูกพืชและผลิตผลทางการเกษตรที่มีปริมาณลดลง
ตัวชี้วัดผลลัพธ์
  • การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) : 931,282 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เทียบเท่า
  • การปล่อยก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx ) : 4,461 ตัน
  • การปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOx) : 6,889 ตัน
  •   การปล่อยสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) : 1,137 ตัน
ตัวชี้วัดผลกระทบ   ผลประโยชน์ต่อสังคม / สิ่งแวดล้อม = 1,600 ล้านบาท
  • ผลประโยชน์ต่อสังคม / สิ่งแวดล้อม = 796 ล้านบาท
ตัวชี้วัดผลกระทบแทน
  •   ตัวชี้วัดผลกระทบแทน :
  •   ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) = 1,718 บาท
  • ตัวชี้วัดผลกระทบแทน :
  • ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx ) : 62,712 บาท
  • ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SOx) : 68,392 บาท
  •   สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) : 39,994 บาท
แหล่งอ้างอิงตัวชี้วัดผลกระทบแทน US Government, IWG on Social Cost of Greenhouse Gases, 2021. Pg 16 (Page 16): Technical Support Document: Social Cost of Carbon, Methane, (whitehouse.gov) TruCost (2013) Natural Capital at Risk. (page 41, average costs): http://naturalcapitalcoalition.org/wp-content/uploads/2016/07/Trucost-Nat-Cap-at-Risk-Final-Report-web.pdf