การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม

การบริหารจัดการส่ิงแวดล้อม

ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

จากพันธกิจของกลุ่มไทยออยล์ที่ยึดมั่นและตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน นำมาซึ่งการกำหนดนโยบาย คุณภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย สิ่งแวดล้อม และการจัดการพลังงาน กลุ่มไทยออยล์ เป็นกรอบในการดำเนินการภายใต้การจัดทำ ระบบการจัดการแบบ บูรณาการ (Integrated Management System: IMS) ซึ่งสอด คล้องตามมาตรฐาน (ISO 9001 ระบบบริหารงานคุณภาพ, ISO 14001ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และ ISO 45001 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย) ส่งผลให้ กลุ่มไทยออยล์ สามารถดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ ควบคุม ลดผลกระทบ และรักษาไว้ซึ่งสิ่งแวดล้อมที่ดี ควบคู่ไปกับการเติบโตของธุรกิจอย่างยั่งยืน

 

ภาพรวมนโยบายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมตลอดห่วงโซ่คุณค่า

ไทยออลย์มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมผ่านนโยบายและแนวปฏิบัติครอบคลุมทุกกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าของการดำเนินธุรกิจดังนี้

  • "Click" แนวทางปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้ากลุ่มไทยออยล์ มุ่งมั่นในการร่วมปกป้องคู่ค้า (ซัพพลายเออร์) กลุ่มไทยออยล์จากความเสี่ยงของการดำเนินธุรกิจอันมาจากประเด็นทางกฏหมาย ข้อบังคับและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงความเสี่ยงของการหยุดชะงักในการดำเนินธุรกิจอันอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงในประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านจริยธรรมทางธุรกิจ
  • "Click" แนวทางการบริหารจัดการบริษัทในกลุ่มไทยออยล์ : นโยบาย QSHE (หน้า36-38) เพื่อการดำเนินงานด้านคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ที่สอดประสานกันของไทยออยล์และบริษัทในกลุ่ม ตลอดจนการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขัน นำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาวและการเติบโตอย่างยั่งยืน 

  • "Click" เกณฑ์ด้าน ESG สำหรับการลงทุนของไทยออยล์ เพื่อพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับกิจการตั้งแต่การริเริ่มการพิจารณาการลงทุน ทั้งการลงทุนในรูปแบบการควบรวมกิจการ (Merge & Acquisition : M&A) และการลงทุนโครงการใหม่ (non- M&A)

 

 

การกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม

กลุ่มไทยออยล์มีการกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อม โดยหน่วยงานด้านระบบการบริหารจัดการคุณภาพ และอาชีวอนามัยและความ ปลอดภัย ซึ่งสามารถเชื่อมโยงและติดตามงานบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้การทำงานเชิงปฏิบัติ การและการพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารจัดการผลกระทบด้านต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินงานอย่างเป็น ระบบ นอกจากนี้ผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมที่ต้องรายงานแก่หน่วยงานราชการจะได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ภายนอก เพื่อยืนยันความถูกต้องและทบทวนโดยคณะผู้บริหารสูงสุดของเครือไทยออยล์เป็นประจำทุกปี เพื่อกำหนดแนวทางการ พัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป

 

การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน

กลุ่มไทยออยล์ตระหนักดีว่า การดำเนินธุรกิจด้านการกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมีอันเป็นธุรกิจหลัก มีโอกาสส่งผลกระทบต่อสิ่ง แวดล้อมและสังคม หากไม่มีการบริหารจัดการที่ดี รวมถึงในปัจจุบัน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องได้เข้ามามีบทบาทสำคัญใน การติดตามผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำธุรกิจ ดังนั้นกลุ่มฯจึงมีความมุ่งมั่นในการ จัดการสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในระดับดี เป็นที่ยอมรับในสากล และดีกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ กลุ่มฯได้ดำเนินการให้การจัดการด้าน สิ่งแวดล้อมในแต่ละพื้นที่เป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน เพื่อส่งเสริมกลยุทธ์องค์กรในการขยายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ในการก้าวไปสู่การเป็นบริษัทชั้นนำในระดับภูมิภาค จึงไม่จำกัดแต่เพียงการปฏิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมายและข้อกำหนดใน ปัจจุบัน และการเตรียมความพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดที่เข้มงวดขึ้นในอนาคตเท่านั้น กลุ่มไทยออยล์ยังได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานสู่ความยั่งยืนผ่านแผนแม่บทสิ่งแวดล้อม (Environmental Master Plan)  ซึ่งแผนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development Roadmap) เพื่อจัดการ สิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แนวโน้มของอุตสาหกรรม การรับฟังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ แนวปฏิบัติที่ดีในระดับสากล เช่น หลักการด้านสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติ (United Nations Global Compact – UNGC), ดัชนีชี้วัดความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability Indexes – DJSI) และ การรายงานตามแนวทาง Global Reporting Initiative (GRI) เป็นต้น

 

การจัดการของเสียและวัสดุเหลือทิ้ง

กลุ่มไทยออยล์ใช้ระบบการจัดลำดับขั้นความสำคัญในการจัดการวัสดุเหลือทิ้ง (Waste Hierarchy) โดยให้ความสำคัญกับการ ลดการเกิดของเสียจากการดำเนินงานเป็นอันดับแรก (Minimization) ตามด้วยการพิจารณาคัดแยกของเสียแต่ละประเภท (Seperation) การนำกลับไปใช้ใหม่ (Reuse) การนำกลับไปแปรรูปใหม่ (Recycle) ที่เหลือจึงนำไปกำจัดแบบฝังกลบ (Landfill) ซึ่งเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามพันธกิจและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของกลุ่มไทยออยล์ นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์มีนโยบายการจัดการของเสียโดยมุ่งมั่นลดการฝังกลบของเสียให้เป็นศูนย์ (Zero Waste to Landfill) และตั้งเป็น เป้าหมายในการบริหารจัดการกากของเสียอุตสาหกรรมขององค์กรภายในปี 2563

 

 

โครงการปรับปรุงคุณภาพอากาศ
  • ก๊าซออกไซด์ของซัลเฟอร์ (SOx)  เป็นมลพิษสำคัญของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นก๊าซที่ก่อให้เกิดกลิ่น ส่งผลให้มีโอกาสเกิดข้อร้องเรียนจากชุมชนในกรณีที่สภาพบรรยากาศในบริเวณรอบโรงกลั่นไม่เอื้ออำนวยในการกระจายตัวของก๊าซดังกล่าว 
  •  
  • โครงการปรับปรุงคุณภาพอากาศ (Emission Improvement Project : EIP) ได้เดินระบบตั้งแต่ 2558 เพื่อปรับปรุงคุณภาพอากาศเพื่อชุมชนรอบโรงกลั่นและพนักงานในพื้นที่ปฏิบัติการไทยออยล์ได้ลงทุนในเทคโนโลยีการกลั่นขั้นสูงเพื่อการผลิตที่สะอาดขึ้นและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทำให้สามารถผลิตผลิตภัณฑ์จากน้ำมันดิบที่มีคุณภาพต่ำได้ตามมาตรฐาน Euro 5 และลดปริมาณการปล่อย SOx จากกระบวนการผลิตได้ดีกว่าที่กฎหมายกำหนด ทั้งยังสอดคล้องกับ UN Sustainable Development Goal 3 : การยกระดับสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
  •  
  • โครงการนี้ยังส่งผลให้ไทยออยล์มีความยืดหยุ่นในการจัดซื้อน้ำมันดิบคุณภาพต่ำซึ่งนำไปสู่การประหยัดต้นทุนและลดความเสี่ยงกรณีการขาดแคลนน้ำมันดิบ และ EIP ยังทำให้หน่วยผลิตทั้งหมดสามารถผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐาน Euro 5 และสร้างรายได้จากการจำหน่ายซัลเฟอร์เหลวที่สกัดได้จากก๊าซทิ้ง เป็นผลให้ชุมชนและพนักงานมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นจากอากาศที่สะอาดขึ้นเนื่องจากปริมาณการปล่อย SOx จากกระบวนการผลิตลดลงถึงร้อยละ 60
  •  
  • ผลการดำเนินงานของโครงการนี้ติดตามจากปริมาณ SOx ที่ปล่อยจากกระบวนการผลิต และความคิดเห็นของชุมชน เช่น จำนวนเรื่องร้องเรียนด้านกลิ่นรบกวนและดัชนีความพึงพอใจของชุมชนในส่วนของคุณค่าต่อสุขภาพของประชาชนนั้นติดตามผ่านงานเวชศาตร์ชุมชนซึ่งดำเนินการสำรวจสุขภาวชุมชนและจัดทำแฟ้มครอบครัวด้วยระบบ Family and Community Assessment Program (FAP) ตั้งแต่ปี 2554
  •  
  • ไม่เพียงการติดตามผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบโรงกลั่นไทยออยล์มีแผนการประเมินคุณค่าต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมส่วนรวมภายนอกผ่านการประเมินวัฎจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment) โดยเมื่อ SOx ระเหย อาจเกิดเป็นฝนกรดในพื้นที่ห่างไกลจากจุดปล่อยได้ ซึ่งฝนกรดสามารถสร้างความเสียหายต่อพืชและสัตว์ ตลอดจนปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้ นอกจากนี้ EIP ยังสร้างคุณภาพอากาศที่ดีขึ้นในสังคมส่วนรวมจากยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยน้ำมันเชื้อเพลิงมาตรฐาน Euro 5
ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม

ไทยออยล์ได้บันทึกค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อติดตามประสิทธิภาพของโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นข้อมูลที่มีค่าต่อการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ โดยค่าใช้จ่ายในการดูแลสิ่งแวดล้อมที่ได้บันทึกดังตารางต่อไปนี้ครอบคลุมหน่วยผลิตหลักทั้งหมด 

ปี

หน่วย : ล้านบาท
2019 2020 2021 2022
ค่าใช้จ่ายด้านสิ่งแวดล้อม
15,842 11,991 15,294 23,405
    · เงินลงทุน 28 57 425 13
    · ค่าใช้จ่ายในการเดินระบบ 15,814 11,934 14,869 23,392
 ผลประโยชน์จากการลงทุน* 309 112 65 74
  • * ผลประโยชน์จากการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมครอบคลุมผลการประหยัดและสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  •