ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน

ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน
การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนกลุ่มไทยออยล์ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย
- • การบริหารจัดการขบวนการผลิตตามนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงาน ภายในโรงกลั่นที่ยั่งยืน (CSR in process)
- • ความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรในส่วนของสังคมใกล้ ชุมชนรอบโรงกลั่น (CSR for Community)
- • สังคมไกลระดับประเทศ (CSR for Society)
-
โดยให้พนักงานมีส่วนร่วมในกิจกรรมและโครงการเพื่อสังคมเพื่อกระตุ้นสำนึกรับผิดชอบและบ่มเพาะจิตอาสาที่มีต่อสังคม ตลอดจน สื่อสารนโยบายการดำเนินงานเพื่อสังคมของกลุ่มไทยออยล์ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มได้รับรู้และมีส่วนร่วมในการดำเนินงานตามแนวทางเพื่อสังคมเดียวกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
-
กลยุทธ์การดำเนินงานด้านสังคมและชุมชน
-
กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปี 2573 “สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงาน และเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน” โดยมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ภายใต้กรอบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศและยึดมั่นในหลักบรรษัทภิบาล มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม อันนำไปสู่องค์กรที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน
-
นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้วางแผนงานการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการผ่านโครงการและกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดปณิธานงานเพื่อสังคมตามวิสัยทัศน์องค์กร เพื่อตอบสนองและบริหารความคาดหวังของชุมชนได้เป็นระบบ ประกอบด้วย
-
• ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมโดยเน้นโครงการที่เชื่อมโยงกับการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์อย่างมีนัยสำคัญ
-
• มุ่งเน้นกิจกรรมหลัก 4 ด้าน ประกอบด้วย การศึกษา พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และคุณภาพชีวิต ของชุมชน
-
• สร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับ กลุ่ม ปตท. สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับของสังคม
-
• สนับสนุนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ เช่น ชุมชน หน่วยราชการ ลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน
-
แนวทางการบริหารจัดการด้านชุมชน
-
กลุ่มไทยออยล์ริเริ่มหลัก 3 ประสาน (Principle of Tripartite) และ 5 ร่วม (ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข ร่วมเรียนรู้ และร่วมพัฒนา) เพื่อเป็นกรอบในการดำเนินงานและบูรณาการความร่วมมือที่ดีระหว่างกลุ่มไทยออยล์ ชุมชน และส่วนราชการท้องถิ่น โดยตัวแทนจาก 3 ภาคส่วน อันประกอบด้วยเครือข่าย 10 ชุมชนรอบโรงกลั่นพื้นที่อำเภอศรีราชา เทศบาลนครแหลมฉบัง และ กลุ่มไทยออยล์ จะมีการประชุมร่วมกันเป็นประจำทุกเดือน เพื่อการมีส่วนร่วมของไตรภาคีในการ พิจารณาแนวทางการพัฒนาชุมชน ตลอดจนร่วมกันแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดจากการดำเนินงานของกลุ่มไทยออยล์ หรือข้อร้องเรียนต่างๆ ที่เกิดขึ้นในพื้นที่
-
-
กระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน
-
กลุ่มไทยออยล์ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการชุมชนในพื้นที่รอบโรงกลั่น ตามหลัก 3 ประสาน และแนวคิด 5 ร่วม เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้จนเกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง และเพื่อลดผลกระทบด้านต่างๆ จากการดำเนินงานของบริษัทฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนนำมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยได้ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนตามความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น สื่อสารและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมตามแนวทางต่างๆ อาทิ การประชุมเฉพาะกลุ่ม การรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย การลงเยี่ยมบ้านติดรั้วโครงการก่อสร้าง การตอบแบบสอบถามความผูกพันของชุมชนต่อบริษัทฯ เป็นต้น จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานชุมชนต่อไป
-
กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการมีส่วนร่วม กลุ่มคณะกรรมการชุมชน - 1. การประชุมสามประสาน เดือนละ 1 ครั้ง
- 2. การประชุมร่วมกับประธานชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง
- 3. การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ลงพื้นที่ ไลน์กลุ่ม โทรศัพท์ หนังสือทางการ e-card
- 4. การเข้าเยี่ยมชมธุรกิจ (Open House)
กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน - 1. การประชุมเครือข่าย อสม. ทุกๆ สองเดือน
- 2. กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเครือข่าย อสม.
- 3. การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ ไลน์กลุ่ม โทรศัพท์ หนังสือทางการ e-card
หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ - 1. การประชุมสามประสาน เดือนละ 1 ครั้ง
- 2. การประสานงานเพื่อลงชุมชนกรณีชุมชนเกิดข้อกังวลใจต่อการดำเนินงานของบริษัท
กลุ่มผู้สูงอายุ - 1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ
- 2. การทำกิจกรรมและรับฟังข้อคิดเห็นร่วมกับเครือข่าย อสม. ในพื้นที่ชุมชน
กลุ่มประมง - 1. กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับกลุ่มประมง
- 2. การสื่อสารผ่านประธานกลุ่มประมงในพื้นที่ และสื่อสารชี้แจงการดำเนินงานพร้อมรับฟังความคิดเห็น
- 3. การสื่อสารผ่านประธานคณะกรรมการชุมชน
NGOs / คณะกรรมการตรวจติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม - 1. การประชุมคณะกรรมการประสานความเข้าใจ
- 2. การประชุมคณะกรรมการตรวจติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามระเบียบ EIAs
กลุ่มผู้ประกอบการเรือ - 1. การประชุมเฉพาะกิจ กรณีที่จะส่งผลกระทบ
- 2. การสื่อสารผ่านประธานคณะกรรมการชุมชน
เครือข่ายสมาชิกและกรรมการเยาวชนอาสาฯ - 1. ประชุมเครือข่ายเยาวชนอาสา เดือนละ 1 ครั้ง
- 2. กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชน
- 3. การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ ไลน์กลุ่ม Facebook โทรศัพท์
กลุ่มผู้อาศัยในพื้นที่ติดรั้วโรงกลั่น - 1. เวทีเสวนาชุมชน เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่บริษัท ดำเนินการอยู่และรับฟังข้อคิดเห็น
- 2. การเยี่ยมบ้านชุมชน ลงชุมชนเพื่อสื่อสารให้ชุมชนได้รับทราบและเข้าใจลักษณะงานก่อสร้างฯ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาระหว่างการก่อสร้าง
ประชาชนทั่วไป - 1. การดำเนินกิจกรรมและโครงการชุมชนสัมพันธ์
- 2. การสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นผ่านคณะกรรมการชุมชน
การถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ขององค์กร สู่ท้องถิ่น
-
กลุ่มไทยออยล์นำความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ด้านวิศวกรรมและพลังงานเข้าไปพัฒนาสังคมในด้านการพัฒนา พลังงานทดแทนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์ สูงสุด ภายใต้แนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อร่วมสร้าง “ชุมชนต้นแบบที่สามารถพึ่งตนเองด้านพลังงานได้อย่าง ยั่งยืน”
|