ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน

ความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน

ความท้าทาย ความเสี่ยง และผลกระทบ 

  • การดำเนินการก่อสร้างโครงการพลังงานสะอาด (Clean Fuel Project: CFP) ในปี 2566 มีความคืบหน้าอย่างมาก ซึ่งเป็นหนึ่งในความท้าทายในการรักษาสถานภาพองค์กรให้มั่นคง สามารถดำเนินงานอย่างมีความยืดหยุ่นและคล่องตัว เนื่องจากการก่อสร้างมีกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่โดยรอบ เช่น การจราจรคับคั่ง ฝุ่นและเสียงจากการก่อสร้าง นอกจากนี้ ในปี 2566 ไทยออยล์ยังประสบเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลบริเวณทุ่นผูกเรือกลางทะเล (SBM-2) เป็นอีกหนึ่งความท้าทาย ที่ต้องบริหารจัดการสถานการณ์ให้การดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับการช่วยเหลือและเยียวยาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยการดำเนินโครงการความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม
  • ที่กลุ่มไทยออยล์ต้องบริหารจัดการเพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิทธิและความปลอดภัยของชุมชนที่อาศัยอยู่รอบโครงการฯ รวมถึงพัฒนาคุณภาพชีวิต และเศรษฐกิจของชุมชนผ่านโครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตชุมชนต่างๆ โดยในปีนี้กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินงานภายใต้กรอบกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, and Governance: ESG) เพื่อรักษาเสถียรภาพการบริหารจัดการภายในองค์กร และควบคุมผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับชุมชน โดยเฉพาะการบริหารงานก่อสร้างโครงการ CFP ที่มุ่งเน้นการดูแลชุมชนรอบสถานประกอบการ

ความมุ่งมั่น และเป้าหมาย

กลุ่มไทยออยล์มุ่งมั่นในการสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปี 2573 “สร้างสรรค์คุณภาพชีวิตด้วยพลังงาน และเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน” โดยมุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมและปิโตรเคมี ภายใต้กรอบการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศและยึดมั่นในหลักบรรษัทภิบาล มีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย สิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม อันนำไปสู่องค์กรที่มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยมีกลยุทธ์การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ดังนี้

  • 1. ดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม โดยเน้นโครงการที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยออยล์อย่างมีนัยสำคัญ
  • 2. ครอบคลุมกิจกรรม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา ด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ ด้านการอนุรักษ์สภาพแวดล้อม และด้านคุณภาพชีวิตของชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
  • 3. สร้างเครือข่ายและความร่วมมือกับ กลุ่ม ปตท. สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นที่ยอมรับของสังคม
  • 4. สร้างเสริมการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียที่สำคัญ เช่น หน่วยงานราชการ ลูกค้า คู่ค้า และพนักงาน ในการทำกิจกรรมเพื่อสังคม

สำหรับปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้วางแผนงานการพัฒนาชุมชนแบบบูรณาการผ่านโครงการและกิจกรรมด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านการส่งเสริมสุขภาวะและคุณภาพชีวิต ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม และได้กำหนดปณิธานงานเพื่อสังคมตามวิสัยทัศน์องค์กร การดำเนินงานด้านพัฒนาชุมชน สังคม และทรัพยากรธรรมชาติ โดยมีการใช้เครื่องมือประเมินผลตอบแทนทางสังคม (Social Return on Investment: SROI) อย่างเป็นระบบ

เป้าหมาย

ตัวชี้วัด หน่วย เป้าหมายปี 2566 เป้าหมายระยะยาวปี 2573
ข้อร้องเรียนจากชุมชนต้องได้รับการตอบสนอง แก้ไข และหาแนวทางในการป้องกันเหตุเกิดซ้ำต่อไป  ร้อยละ 100 100
ดัชนีความผูกพันของชุมชนต่อองค์กร  ร้อยละ มากกว่าหรือเท่ากับ 85 90
ผลประเมินผลตอบแทนทางสังคม (SROI) ในโครงการเพื่อสังคมเชิงกลยุทธ์ (Strategic CSR)  เท่า 2:1(1) 2:1(1)
  • หมายเหตุ: (1) การลงทุนในโครงการทุกๆ 1 บาท จะสร้างมูลค่าให้กับสังคม 2 บาท
  • แนวทางการบริหารจัดการ และผลการดำเนินงาน

  • แนวทางการบริหารจัดการ 
  • กลุ่มไทยออยล์กำหนดนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน และรายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดีและการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Corporate Governance and Sustainability Committee) รับทราบทุกครึ่งปี

  • การวิเคราะห์ความคาดหวังของชุมชนและการมีส่วนร่วมกับชุมชนรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน 

  •  

  • กลุ่มไทยออยล์ดำเนินงานด้านการบริหารจัดการชุมชนในพื้นที่รอบโรงกลั่น ตามหลัก 3 ประสาน และแนวคิด 5 ร่วม เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้จนเกิดเป็นชุมชนเข้มแข็ง และเพื่อลดผลกระทบด้านต่างๆ จากการดำเนินงานของบริษัทฯ พร้อมรับฟังความคิดเห็นของชุมชนนำมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยได้ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในชุมชนตามความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น สื่อสารและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมตามแนวทางต่างๆ อาทิ การประชุมเฉพาะกลุ่ม การรับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย การลงเยี่ยมบ้านติดรั้วโครงการก่อสร้าง การตอบแบบสอบถามความผูกพันของชุมชนต่อบริษัทฯ เป็นต้น จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางพัฒนาการดำเนินงานชุมชนต่อไป

  •  

  • กลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย แนวทางการมีส่วนร่วม
    กลุ่มคณะกรรมการชุมชน
    • 1. การประชุมสามประสาน เดือนละ 1 ครั้ง 
    • 2. การประชุมร่วมกับประธานชุมชน เดือนละ 1 ครั้ง
    • 3. การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ เจ้าหน้าที่ชุมชนสัมพันธ์ลงพื้นที่ ไลน์กลุ่ม โทรศัพท์ หนังสือทางการ E-Card
    • 4. การเข้าเยี่ยมชมธุรกิจ (Open House)
    กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
    • 1. การประชุมเครือข่าย อสม. ทุกๆ สองเดือน
    • 2. กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเครือข่าย อสม.
    • 3. การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ ไลน์กลุ่ม โทรศัพท์ หนังสือทางการ E-card
    หน่วยงานภาครัฐในพื้นที่
    • 1. การประชุมสามประสาน เดือนละ 1 ครั้ง
    • 2. การประสานงานเพื่อลงชุมชนกรณีชุมชนเกิดข้อกังวลใจต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ
    กลุ่มผู้สูงอายุ
    • 1. กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ
      2. การทำกิจกรรมและรับฟังข้อคิดเห็นร่วมกับเครือข่าย อสม. ในพื้นที่ชุมชน
    กลุ่มประมง
    1. กิจกรรมชุมชนสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมกับกลุ่มประมง 
    2. การสื่อสารผ่านประธานกลุ่มประมงในพื้นที่ และสื่อสารชี้แจงการดำเนินงานพร้อมรับฟังความคิดเห็น
    3. การสื่อสารผ่านประธานคณะกรรมการชุมชน
    NGOs / คณะกรรมการตรวจติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อม
    1. การประชุมคณะกรรมการประสานความเข้าใจ
    2. การประชุมคณะกรรมการตรวจติดตามผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามระเบียบ EIAs
    • กลุ่มผู้ประกอบการเรือ
    • 1. การประชุมเฉพาะกิจ กรณีที่จะส่งผลกระทบ
      2. การสื่อสารผ่านประธานคณะกรรมการชุมชน
    • เครือข่ายสมาชิกและกรรมการเยาวชนอาสาฯ
    • 1. ประชุมเครือข่ายเยาวชนอาสา เดือนละ 1 ครั้ง
    • 2. กิจกรรมการมีส่วนร่วมกับกลุ่มเครือข่ายเยาวชน
    • 3. การสื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ อาทิ ไลน์กลุ่ม Facebook โทรศัพท์
    กลุ่มผู้อาศัยในพื้นที่ติดรั้วโรงกลั่น
    • 1. เวทีเสวนาชุมชน เพื่อชี้แจงเกี่ยวกับโครงการต่างๆ ที่บริษัทฯ ดำเนินการอยู่และรับฟังข้อคิดเห็น
    • 2. การเยี่ยมบ้านชุมชน ลงชุมชนเพื่อสื่อสารให้ชุมชนได้รับทราบและเข้าใจลักษณะงานก่อสร้างฯ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาระหว่างการก่อสร้าง
    ประชาชนทั่วไป
    • 1. การดำเนินกิจกรรมและโครงการชุมชนสัมพันธ์
      2. การสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นผ่านคณะกรรมการชุมชน

    กลุ่มไทยออยล์ดำเนินมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมอย่างระมัดระวัง สำหรับการดูแลชุมชนในกรณีที่เกิดผลกระทบ มีหน่วยงานกลางเพื่อรับเรื่องแจ้งเหตุและเรื่องร้องเรียน บูรณาการกับหน่วยงานภายในที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ขั้นตอนการปฏิบัติงานเมื่อเกิดปัญหาร้องเรียนด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วม ผ่านโครงการและกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ตามกรอบการดำเนินงาน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านสังคม ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม ด้านสุขภาวะ ด้านการศึกษา และด้านสิ่งแวดล้อม โดยสามารถตอบสนองและบริหารความคาดหวังของชุมชนได้เป็นระบบ

  • การสร้างคุณค่าร่วมทางสังคมของการพัฒนางานชุมชนและสังคม

  • โครงการเพื่อสังคมและชุมชนที่สำคัญตามกรอบกลยุทธ์การดำเนินงานด้าน CSR ในปี 2566
    ประเด็น การศึกษา
    (SDG target 4.3)
    สิ่งแวดล้อม
    (SDG target 13.1)
    (SDG target 13.3)
    (SDG target 15.2)
    พลังงาน
    (SDG target 7.2)
    คุณภาพชีวิต
    (SDG target 3.8)
    (SDG target 8.3)
       
    แนวทาง ส่งเสริมโครงการพัฒนาด้านการศึกษาร่วมกับสถาบันการศึกษา และสนับสนุนทุนการศึกษา อนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้และทรัพยากรทางธรรมชาติ และสนับสนุนการลดก๊าซเรือนกระจก  พัฒนาพลังงานทางเลือก และส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนาชุมชนในการสร้างอาชีพและการเข้าถึงสาธารณสุขที่ดี
    เป้าหมาย
    เป้าหมายภายในปี 2567
    พัฒนาและสนับสนุนทักษะให้ครูและเยาวชนในด้านต่างๆ อาทิ วิชาการพื้นฐาน ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ การกีฬา ศิลปกรรม และอื่นๆ 
    สนับสนุนเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2603
    สนับสนุนการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำผ่านโครงการฟื้นฟู อนุรักษ์ และเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ รวมถึงสร้างความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อสร้างระบบนิเวศให้สมดุล
    สนับสนุนโครงการส่งเสริมการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ในจังหวัดชลบุรี ภายในปี 2567
    สนับสนุนโครงการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
    เป้าหมายภายในปี 2567
    ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ในโรงพยาบาล สถานพยาบาล 3 แห่ง และโรงเรียนชุมชนห่างไกล 5 แห่ง 
    เป้าหมายภายในปี 2567
    • จัดอบรมหลักสูตร อาชีพเสริม 12 หลักสูตร
    • ชุมชนเข้าร่วมอบรมหลักสูตรอาชีพเสริมมากกว่า 300 คน
    • • จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมากกว่า 10 กิจกรรม
    • • ชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพมากกว่า 500 คน
    • คุณค่าต่อสังคม
    • ในปี 2566

    โครงการส่งเสริมด้านการศึกษา (PTT Group Model School) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)

    • ในปี 2566 ได้ดำเนินโครงการจำนวน 5 โครงการภายใต้ PTT Group Model School และ CONNEXT ED เพื่อพัฒนาเพื่อพัฒนาทักษะครูผู้สอน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงส่งเสริมทักษะนักเรียนด้านกีฬา

    โครงการ Teach for Thailand

    สนับสนุนงบประมาณให้แก่ครูผู้สอนจำนวน 2 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้ช่วยสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ ที่โรงเรียนวัดมโนรม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี 

    โครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต 

    • ในปี 2566 ได้มีการดำเนินโครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต ซึ่งรวมแล้วสามารถดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กว่า 92,800 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี
    • โครงการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
    • • ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และมหาวิทยาลัย  เพื่อสนับสนุนมาตรการฟื้นฟูสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทางทะเล

    โครงการ Sustainable for Health Care 

    • • ในปี 2566 ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงพยาบาล และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 3 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 72 กิโลวัตต์ และติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 5 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 20.7 กิโลวัตต์

    โครงการส่งเสริมสุขภาพ

    • ในปี 2566 ได้ดำเนินจัดภายใต้โครงการส่งเสริมสุขภาพ ดังนี้
    • • กิจกรรมจิตแจ่มใส กายยืดหยุ่น ปรับสมดุล ด้วยโยคะ จำนวน 39 ครั้ง ผู้เข้าร่วมครั้งละ 40 คน
    • • กิจกรรม 5 เดือน มุ่งมั่น เดินวิ่ง 1 แสนกิโล จำนวน 3 ครั้ง ผู้เข้าร่วมครั้งละ 150 คน
    • โครงการส่งเสริมอาชีพ
    • • โครงการอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ จำนวน 3 ครั้ง ผู้เข้าร่วม ครั้งละ 30 คน
    • • กิจกรรมตลาดนัดชุมชน จำนวน 8 ครั้ง
    • โครงการสำรวจสุขภาวะชุมชน
    • ในปี 2566 ได้ดำเนินจัดภายใต้โครงการสำรวจสุขภาวะชุมชน ดังนี้
    • • ชุมชนได้รับการเยี่ยมบ้านเพื่อประเมินสถานะสุขภาพเบื้องต้น จำนวน 205 หลังคาเรือน
    • • ประชาชนได้รับการคัดกรองโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง) และเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพจำนวน 736 คน

     

    คุณค่าต่อธุรกิจ
    ปี 2566
    • มูลค่าการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อภาพลักษณ์องค์กร (PR value) ของการดำเนินงานกิจกรรมเพื่อสังคม ปี 2566 คิดเป็นมูลค่าประมาณ 43.16 ล้านบาท 
    • วัฒนธรรมการทำงานเพื่อสังคม ในปี 2566 มีพนักงานจิตอาสาของกลุ่มไทยออยล์ 911 คน ร่วมทำ 89 กิจกรรม ภายใต้โครงการเพื่อสังคม คิดเป็น 7,488 ชั่วโมงจิตอาสา 

    โครงการที่โดดเด่น 

  • ในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินโครงการเพื่อสังคมและชุมชนที่สำคัญตามกรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน ดังนี้

  • งานบริหารชุมชนรอบโรงกลั่น (Community Management)

  •  โครงการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนรอบกลุ่มไทยออยล์

  • • โครงการดำเนินการเกี่ยวกับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำมันดิบรั่วไหลลงทะเล

  • โครงการกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR Management)

  • • โครงการไทยออยล์ สร้างเยาวชนรักษ์โลก (Thaioil CE School Model)

  • การพัฒนาวัฒนธรรมจิตอาสา (Employee Voluntary Culture)

  • • โครงการ “คุณริเริ่ม...เราเติมเต็ม...ปี 3” 

  • การสร้างเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร (CSR Networking & Branding)

  • • โครงการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติ

  •  

  • ผลการดำเนินงานปี 2566

๊Update : กุมภาพันธ์ 2567

โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนตามกรอบการทำงานด้าน CSR ปี 2566

โครงการความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนตามกรอบการทำงานด้าน CSR ปี 2566

  • ประเภทโครงการ
  • กรอบ
  • วัตถุประสงค์โครงการ
  • การดำเนินงานในปี 2566
  • โรงเรียนส่งเสริมทันตสุขภาพรอบ
  • กลุ่มไทยออยล์
  • คุณภาพชีวิต
  • เพื่อส่งเสริมสุขภาพในช่องปากของนักเรียน
  • กลุ่มไทยออยล์ได้ให้บริการทันตกรรม ตรวจสุขภาพช่องปาก อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบหลุมร่องฟัน เคลือบฟลูออไรซ์ ขูดหินปูน และส่งเสริมป้องกัน ฟันผุ เพื่อส่งเสริมสุขภาพในช่องปาก แก่นักเรียนระดับชั้น ป.1-6 ใน 8 โรงเรียนรอบกลุ่มไทยออยล์ จำนวน 4,375 ราย
  • โครงการสร้างเด็กแหลมฉบังเป็นแชมป์กระโดดเชือก
  • คุณภาพชีวิต
  • เพื่อให้เยาวชนได้ออกกำลังกาย มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เพิ่มความหนาแน่นของมวลกระดูกและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจในอนาคต
  • กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้ โครงการสร้างเด็กแหลมฉบังเป็นแชมป์กระโดดเชือกในปี 2566 ดังนี้
  • 1. ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขันกีฬากระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทาน ประเภทมือใหม่ ครั้งที่ 1 ประจำปี 2566 ในวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2566 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) กรุงเทพมหานคร คว้า 1 ถ้วยรางวัลพระราชทาน
  • 2. โครงการพัฒนาทักษะนักกีฬา สู่แชมป์กระโดดเชือก ประจำปี 2566 เพื่อคัดเลือกและฝึกซ้อมนักกีฬาจาก 8 โรงเรียนรอบโรงกลั่น เข้าร่วมการแข่งขันระดับประเทศ จำนวน 2 ครั้ง ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 150 คน
  • 3. กลุ่มไทยออยล์จัดการแข่งขันชิงทุนสนับสนุนนักกีฬากระโดดเชือก Thaioil Rope Skipping Championship ประจำปี 2566 ครั้งที่ 8 ในวันศุกร์ ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เพื่อเป็นเวทีให้นักกีฬากระโดดเชือกทั้ง 8 โรงเรียน ได้แสดงออกถึงความสามารถทางด้านกีฬา และชิงทุนนักกีฬา 52 รายการ 156 ทุน และเพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับเยาวชนในการฝึกฝน สร้างแรงจูงใจแก่นักกีฬาในการเล่นกีฬาประเภทนี้ต่อไป
  • 4. กลุ่มไทยออยล์สนับสนุนเยาวชนแหลมฉบังเข้าร่วมการแข่งขันกระโดดเชือกชิงถ้วยพระราชทานระดับประเทศ ครั้งที่ 14 ในวันที่ 16-17 ธันวาคม 2566 ณ อาคารกีฬาเวสน์ 1 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) มีทีมผู้เข้าแข่งขันเป็นนักกีฬากระโดดเชือกประเทศไทยจำนวน 29 ทีม ต่างประเทศจำนวน 7 ทีม ผู้เข้าแข่งขันประมาณ 400 คน โดยทีม Thaioil Jump Rope สามารถคว้าเหรียญรางวัลมาได้ทั้งสิ้น 36 รายการ แบ่งเป็น 14 เหรียญทอง 9 เหรียญเงิน และ 13 เหรียญทองแดง 
  • โครงการ 5 เดือนมุ่งมั่น เดินวิ่ง 1 แสนกิโล
  • คุณภาพชีวิต
  • เพื่อให้ชุมชนได้ออกกำลังกายด้วยการ เดิน – วิ่ง เสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง และได้รับองค์ความรู้ด้านสุขภาพใหม่ๆ ไปประยุกต์ใช้กับตนเองและครอบครัว
  • กลุ่มไทยออยล์ได้เชิญชวนชุมชนชุมชนรอบโรงกลั่นมาออกกำลังกายด้วยการเดิน – วิ่ง ให้ได้ 100,000 กิโลเมตร บันทึกระยะทางผ่าน application “นับก้าว” ในระยะเวลา 5 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน-ตุลาคม 2566 และมีนัดหมายให้ร่วมกิจกรรมด้วยกันที่ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้
  • กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชน เพื่อติดตามผล จำนวน 3 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมรวมจำนวน 150 คน
  • โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน
  • คุณภาพชีวิต
  • เพื่อส่งเสริมศักยภาพชุมชนโดยการสร้างอาชีพให้กับประชาชนทั่วในพื้นที่ศรีราชาโดยการดำเนินโครงการผ่านศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้ฯ
  • กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้ โครงการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในปี 2566 ดังนี้
  • 1. โครงการอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ในปี 2566 จัดโครงการฝึกทักษะอาชีพ เพื่อให้ประชาชนที่สนใจสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพ สร้างรายได้ต่อไป จัดขึ้นจำนวน 3 ครั้ง ผู้เข้าร่วมครั้งละ 30 คน
  • 2. กิจกรรมตลาดนัดชุมชน ส่งเสริมให้แต่ละชุมชนนำสินค้าที่เป็นเพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายสินค้าชุมชน ในปี 2566 จัดขึ้นทั้งหมด 8 ครั้ง
  • นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ร่วมกับคณะวิทยาการจัดการ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ศึกษาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่เป็นของชุมชน เพื่อนำมาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการชุมชนต่อไป
  • โครงการสนับสนุนกิจกรรมปล่อย
  • พันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มประมง
  • สิ่งแวดล้อม
  • เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้กลับคืนสู่ความอุดมสมบูรณ์
  • กลุ่มไทยออยล์ ร่วมสนับสนุนกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ อาทิ พ่อพันธุ์ แม่พันธุ์กุ้งโอคัก และลูกปูม้า กว่า 5 ล้านตัว กับกลุ่มประมง ในปี 2566 จำนวน 3 ครั้ง เพื่อเพิ่มปริมาณสัตว์ทะเล และความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเลตลอดแนวชายฝั่ง พร้อมทั้งร่วมกันเก็บขยะชายหาด เพื่อสร้างทัศนียภาพที่สวยงามแก่ชายหาดบ้านอ่าวอุดม
  • โครงการ Thaioil CE WE GO รณรงค์สร้างจิตสำนึกด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน
  • สิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
  • เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงาน และสิ่งแวดล้อมให้แก่พนักงานและสร้างนิสัยที่ดีในการอยู่ร่วมกันในองค์กร
  • กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้ โครงการ Thaioil CE WE GO ในปี 2566 ดังนี้
  • 1. โครงการนำพาเลทไม้ที่ใช้แล้วในกระบวนการผลิตที่ไม่ปนเปื้อนนำมารีไซเคิลเป็นเฟอร์นิเจอร์ เช่น ชั้นวาง ชุดโซฟาไม้ โต๊ะและถังขยะ และนำมาใช้ในภายในองค์กร
  • 2. โครงการนำกากกาแฟจากร้านกาแฟอัคนีมารีไซเคิลเป็นผลิตภัณฑ์ เช่น กระถางต้นไม้ ของตกแต่งบ้าน และวัสดุสำหรับเพาะเห็ด เพื่อแจกจ่ายให้กับพนักงาน
  • โครงการติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงพยาบาล และโรงเรียน (Sustainable Energy for Health Care & Education)
  • สิ่งแวดล้อม พลังงาน และคุณภาพชีวิต
  • สร้างความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าให้กับโรงพยาบาลและโรงเรียน เพื่อส่งเสริมให้การบริการแก่ประชาชนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 
  • กลุ่มไทยออยล์ได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงพยาบาลพนัสนิคม และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) นาวังหินและบ้านหนองไทร อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี แสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 72 กิโลวัตต์ ซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพในการให้บริการทางการแพทย์และการรักษาประชาชน ขณะเดียวกัน ก็สนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือก ซึ่งช่วยลดภาระค่าไฟฟ้ารวม 455,000 บาทต่อปี ทั้งยังสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 46.4 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
  • นอกจากนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ให้แก่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนจำนวน 5 แห่ง ขนาดกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้ารวม 20.7 กิโลวัตต์ ในอำเภอแม่ระมาดและอำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก ได้แก่ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดน บ้านเลโพเด โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนเทคนิคอาสา 1 โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านกามาผาโด้ ศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านตีนดอย และศูนย์การเรียนตำรวจตระเวนชายแดนธนาคารออมสินอุปถัมภ์ (บ้านเทอคี) ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้โรงเรียนในท้องถิ่นทุรกันดารมีไฟฟ้าใช้และสามารถนำไฟฟ้าที่เกิดขึ้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อโรงเรียนและชุมชนใกล้เคียง ขณะเดียวกัน ก็สามารถประหยัดค่าน้ำมันดีเซลที่นำมาใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 579,736 บาทต่อปี และสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้รวม 30.5 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อปี
  • โครงการปลูกป่า เพื่อประโยชน์ทาง
  • คาร์บอนเครดิต
  • สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิต
  • เแก้ไขปัญหาสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ผ่านการฟื้นฟูพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมและส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่ป่าชายเลนให้เป็นแหล่งสำหรับกักเก็บคาร์บอน และเป็นการสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ
  • กลุ่มไทยออยล์ดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิต (โครงการปลูกป่าชายเลนฯ) ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พื้นที่ 56.22 ไร่ในจังหวัดชลบุรี ซึ่งคาดว่า จะสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 1,550 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี นอกจากนั้น ยังมีการขอพื้นที่เพิ่มเติมจาก ทช. สำหรับโครงการปลูกป่าชายเลนฯ จำนวน 300 ไร่ในจังหวัดตรัง โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2567 ซึ่งคาดว่าจะสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 8,250 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี
  • ขณะเดียวกัน กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินการปลูกป่าเพื่อประโยชน์ทางคาร์บอนเครดิต (โครงการปลูกป่าฯ) ร่วมกับกรมป่าไม้ (ปม.) พื้นที่ 2,000 ไร่ในจังหวัดแพร่ ซึ่งคาดว่าจะสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 20,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี นอกจากนั้น ยังมีการขอพื้นที่สำหรับการดำเนินโครงการปลูกป่าฯ เพิ่มเติมจาก ปม. จำนวน 6,300 ไร่ ในจังหวัดแพร่ โดยจะเริ่มดำเนินการปลูกในปี 2567 ซึ่งคาดว่า จะสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 63,000 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ตลอดระยะเวลาโครงการ 10 ปี ทั้งนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้ส่งเสริม 2 วิสาหกิจชุมชน ในโครงการปลูกป่า โดยสนับสนุนองค์ความรู้ในการอนุรักษ์ผืนป่า ควบคู่กับการจ้างปลูกและบำรุงรักษาป่า ซึ่งจะช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจในพื้นที่อีกทางหนึ่งด้วย
  • โครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม
  • คุณภาพชีวิต
  • เพื่อพัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อสร้างกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรวิถีใหม่ เพิ่มรายได้ และส่งเสริมให้เกษตรกรและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีปริมาณผลผลิตและแหล่งรับซื้อที่แน่นอน เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจให้ชุมชนอย่างยั่งยืน
  • กลุ่มไทยออยล์ร่วมสนับสนุนเกษตรกรไทยผ่านโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. (PTT Group Smart Farming) ด้วยการส่งเสริมเทคโนโลยีและองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาต้นแบบกระบวนการผลิตสินค้าเกษตรวิถีใหม่ และช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ทั้งยังช่วยส่งเสริมช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผ่านโครงการตลาดไทยออยล์กลั่นสุขและพื้นที่โครงการ CFP โดยมีการดำเนินงานในพื้นที่ต่างๆ ดังนี้
  • - พื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ทุนชุมชนตำบลท่าช้าง (ศูนย์สารภีท่าช้าง) ตำบลท่าช้าง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับบริษัท อุบล ไบโอเอทานอล จำกัด (มหาชน) (UBE) กรมพัฒนาชุมชน และวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์ท่าช้างน้อย โดยในปี 2566 กลุ่มไทยออยล์สนับสนุนการจัดสร้างโรงเรือนแบบเปิด เพื่อใช้เพาะปลูกผักสลัดอินทรีย์
  • - พื้นที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ ตำบลบางพระ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ (มทร.) และวิสาหกิจไทยราชมงคลฟาร์ม โดยในปี 2566
  • กลุ่มไทยออยล์สนับสนุนการจัดสร้างโรงเรือนแบบปิด เพื่อใช้เพาะปลูกผักสลัดอินทรีย์
  • - พื้นที่เรือนจำกลางชลบุรี ตำบลคลองกิ่ว อำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และเรือนจำกลางชลบุรี โดยในปี 2566
  • กลุ่มไทยออยล์สนับสนุนการจัดสร้างโรงเรือนอเนกประสงค์ เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ในอนาคต
  • โครงการส่งเสริมด้านการศึกษา (PTT Group Model School) และโครงการสานอนาคตการศึกษา
  • (CONNEXT ED)
  • การศึกษา
  • เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำของโรงเรียนและภาคการศึกษา และเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนด้านการศึกษาผ่านการแลกเปลี่ยน เรียนรู้และวางแผนพัฒนาโรงเรียนร่วมกับผู้บริหารโรงเรียน
  • กลุ่มไทยออยล์ได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการ PTT Group Model School และ CONNEXT ED ในปี 2566 ดังนี้
  • 1. โครงการเตรียมความพร้อมสู่ปัญญาประดิษฐ์ (AI) ปี 2566
  • 2. โครงการส่งเสริมสะเต็มศึกษา (Science, Technology, Engineering and Mathematics Education: STEM Education) เพื่อพัฒนาทักษะครูผู้สอน สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาในรูปแบบออนไลน์ เมื่อเดือนเมษายน 2566 โดยมีโรงเรียนภายใต้โครงการ CONNEXT ED ในความดูแลของกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน 23 แห่ง หรือคิดเป็นจำนวนครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 64 คน
  • 3. โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ STEM 4E (เล่นเป็นครู: การเรียนรู้เชื่อมโลกจริง) เพื่อพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพครูให้มีความรู้ขั้นพื้นฐานในการออกแบบและการจัดกระบวนการเรียนรู้ รวมถึงสามารถบูรณาการแนวคิดที่จำเป็นในการใช้ชีวิตทั้ง 4 เรื่อง (4E) ได้แก่ จริยธรรมและกรอบความคิดแบบเติบโต (Ethics & Growth Mindset) การเป็นผู้ประกอบการที่ดี (Entrepreneurship) ความตระหนักเรื่องพลังงาน (Energy Literacy) และความตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม (Environmental Awareness) โดยมีโรงเรียนภายใต้โครงการ CONNEXT ED ในความดูแลของกลุ่ม ปตท. เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน 12 แห่ง หรือคิดเป็นจำนวนครูผู้สอนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวนทั้งสิ้น 50 คน
  • 4. โครงการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษ (English Project) ด้วยการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแอปพลิเคชันต่างๆ และโครงการพัฒนาครูสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภายใต้หลักสูตร Global Englishers for Language Teaching
  • 5. โครงการจิตอาสากลุ่มไทยออยล์ โดยมีพนักงานจิตอาสามาจัดกิจกรรมให้ความรู้ในด้าน STEM และการคัดแยกขยะ การจัดค่ายภาษาอังกฤษ (English Camp) และคลินิกฟุตบอลให้แก่นักเรียนในโรงเรียนที่อยู่ในความดูแลของกลุ่มไทยออยล์
  • โครงการ Teach for Thailand
  • การศึกษา
  • พัฒนาครูผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงที่มีศักยภาพปฏิบัติหน้าที่ในฐานะครูผู้ช่วยสอนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมต้น
  • กลุ่มไทยออยล์สนับสนุนงบประมาณในการพัฒนาศักยภาพครูผู้สอนที่จะเป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงติดต่อกันเป็นปีที่ 5 ซึ่งในปี 2566 บริษัทฯ ได้สนับสนุนงบประมาณให้แก่ครูผู้สอนจำนวน 2 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็นครูผู้ช่วยสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาอังกฤษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 ที่โรงเรียนวัดมโนรม อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีพื้นที่ตั้งใกล้กับโรงกลั่น เป็นระยะเวลา 1 ปี ซึ่งมีผลการประเมินการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจ ดังนี้
  • 1. มีการสอนนักเรียนในสาขาวิชาภาษาอังกฤษและวิทยาศาสตร์กับจำนวนทั้งสิ้น 548 คนในปีการศึกษา 2566
  • 2. มีการจัดโครงการค่ายพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร ซึ่งส่งผลให้นักเรียนรู้สึกสนุกไปกับการใช้ภาษาอังกฤษและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ร้อยละ 78.6 และร้อยละ 73.2 ตามลำดับ
  • 3. มีการพัฒนาการเรียนการสอน ส่งผลให้นักเรียนมีผลการเรียนวิชาภาษาอังกฤษที่ดีขึ้น ร้อยละ 60 มีพัฒนาการในการตั้งเป้าหมายและมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 13 มีพัฒนาการด้านทักษะการพูดภาษาอังกฤษดีอย่างชัดเจน เข้าใจคำถาม และสามารถเขียนคำตอบเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
  • 4. มีการนำเทคโนโลยีต่างๆ มาประยุกต์ใช้เป็นสื่อการสอน เช่น วีดิทัศน์ บอร์ดเกม โปรแกรมออนไลน์ เป็นต้น ส่งผลให้นักเรียนสนใจเรียน มีพัฒนาการและทัศนคติที่ดีต่อวิชาภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 90 ทั้งยังมีพัฒนาการที่ดีในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมให้แก่ชุมชนข้างเคียง เพื่อเสริมสร้างความรู้ภาษาอังกฤษให้กับประชาชนในชุมชนในวันสำคัญต่างๆ อีกด้วย
  • 5. ผู้อำนวยการและบุคลากรในโรงเรียนมีความพึงพอใจในการสอนของครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเล็งเห็นว่า ครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความรู้ความสามารถที่จะปฏิบัติงานในบริบทที่ท้าทาย และหากมีโอกาส จะแนะนำโครงการครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงให้แก่ผู้อื่น
  • โครงการไทยออยล์สานฝันเยาวชนสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ
  • คุณภาพชีวิต
  • ส่งเสริมคุณภาพชีวิตเยาวชนรอบ
  • กลุ่มไทยออยล์และบุตรหลานพนักงานผ่านการฝึกทักษะด้านกีฬา
  • กลุ่มไทยออยล์ร่วมมือกับสโมสรฟุตบอล พีทีที อะคาเดมี สโมสรฟุตซอล บลูเวฟ ชลบุรี และสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทย โดยบริษัทฯ มีการฝึกทักษะกีฬาฟุตบอล ฟุตซอล และว่ายน้ำต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 ด้วยการจัดส่งผู้ฝึกสอน (Coach) มืออาชีพมาฝึกสอนกีฬาฟุตบอล ฟุตซอล และว่ายน้ำให้กับเยาวชนในพื้นที่แหลมฉบัง โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการในปี 2566 ดังนี้
  • 1. กิจกรรมฝึกอบรมครูผู้ฝึกสอนกีฬาฟุตบอล หลักสูตร FAT G Diploma รุ่นที่ 2 โดยบริษัทฯ ยังได้ร่วมกับสโมสรฟุตบอล พีทีที อะคาเดมี และสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้กับครูพละประจำโรงเรียนในตำบลแหลมฉบัง เพื่อให้สามารถฝึกสอนกีฬาฟุตบอลให้แก่เยาวชนต่อไป ทั้งยังเป็นการยกระดับบุคลากรผู้ฝึกสอนฟุตบอลตามโรงเรียนในชุมชนให้มีมาตรฐานพร้อมก้าวสู่การเป็นผู้ฝึกสอนมืออาชีพได้ในอนาคต
  • 2. กิจกรรมคลินิกฟุตบอลเชิงรุก โดยมีการจัดกิจกรรมคลินิกฟุตบอลให้แก่โรงเรียนในพื้นที่ตบำบลแหลมฉบัง 8 แห่ง มีการจัดการแข่งขันฟุตบอลคลินิกและการแข่งขันให้แก่ชุมชนรอบพื้นที่ดำเนินงานของกลุ่มไทยออยล์จำนวน 10 ชุมชน และมีการมอบอุปกรณ์กีฬาฟุตบอลให้กับโรงเรียนรอบพื้นที่ดำเนินงานของกลุ่มไทยออยล์จำนวน 8 แห่ง
  • 3. กิจกรรมคลินิกฟุตซอล เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ ความสามารถ และเทคนิคต่างๆ ทั้งยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนในตำบลแหลมฉบังที่จะมุ่งมั่นฝึกฝนตนเองสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพ และสามารถเข้าร่วมการแข่งขันในระดับประเทศได้ นอกจากนั้น ยังเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนมีร่างกายแข็งแรงและใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ในช่วงปิดภาคเรียน
  • 4. การเข้าร่วมการแข่งขันฟุตซอลกระชับมิตร พร้อมร่วมฝึกทักษะจากผู้ฝึกสอนและนักกีฬาฟุตซอลอาชีพ ณ สนามบลูเวฟ อารีน่า จังหวัดชลบุรี เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เยาวชนที่จะสานฝันสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพในอนาคต
  • 5. โครงการ “ช่วยชีวิต ลดวิกฤตการจมน้ำ” ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีอายุระหว่าง 6 - 15 ปีในตำบลแหลมฉบัง จำนวน 250 คน ได้เรียนรู้ทักษะการว่ายน้ำกับผู้ฝึกสอนจากสมาคมกีฬาว่ายน้ำแห่งประเทศไทยและนิสิตจากมหาวิทยาลัยบูรพาตามหลักสูตรที่กำหนดเป็นระยะเวลา 10 วัน เพื่อช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเยาวชนไทย ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้ทุกภาคส่วนในสังคมช่วยส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยจากอุบัติเหตุทางน้ำ