ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างคุณค่าของธุรกิจในระยะยาว กลุ่มไทยออยล์ได้จัดตั้งหน่วยงานภายในเพื่อสื่อสารแลกเปลี่ยนกับผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่มอย่างต่อเนื่องเพื่อให้รับทราบถึงมุมมองและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่อการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อพัฒนาการดำเนินงานของบริษัทฯ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ กลุ่มไทยออยล์ได้ระบุผู้มีส่วนได้เสียขององค์กรด้วยการวิเคราะห์ความเกี่ยวข้องในสายโซ่อุปทาน ตั้งแต่การรับน้ำมันดิบเข้ามาจนถึงของเหลือทิ้งหลังการใช้งาน โดยประเมินจากผลกระทบและอิทธิพลที่เกิดขึ้นระหว่างกัน ดังแผนภาพด้านล่าง

แผนภาพการระบุผู้มีส่วนได้เสียตลอดสายโซ่อุปทาน

จากแผนภาพข้างต้น กลุ่มไทยออยล์จึงจัดแบ่งผู้มีส่วนได้เสียออกเป็น 6 กลุ่มหลัก และมีแนวทางในการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยเริ่มตั้งแต่มีสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ที่ส่งผลให้รูปแบบและความถี่ในการสื่อสารและแลกเปลี่ยนมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่รูปแบบออนไลน์มากขึ้น ดังปรากฏในตาราง

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย แนวทางการมีส่วนร่วม
1. ผู้ถือหุ้น เจ้าหนี้
สถาบันการเงิน
  • • การประชุม Annual General Meeting (AGM) ประจำปี
  • • รายงานแบบ 56-1 One Report ประจำปี และรายงานความยั่งยืนประจำปี
  • • การประชุมนักวิเคราะห์และสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือรายไตรมาส
  • • การประชุมกับนักวิเคราะห์และนักลงทุน (Company Visit and Roadshow) ทั้งในและนอกประเทศ ประมาณ 20-30 ครั้งต่อรายไตรมาส
  • • การเข้าร่วมกิจกรรมที่จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (Opportunity day และ SET Digital roadshow) ปีละ 7 ครั้ง
  • • แอปพลิเคชัน TOP IR และเว็บไซต์หน้านักลงทุนสัมพันธ์
  • • กลไกการรับข้อร้องเรียน เช่น หน่วยงานนักลงทุนสัมพันธ์ และอีเมลหน่วยงานธรรมาภิบาล
   
2. ลูกค้า
  • • การสำรวจความผูกพันของลูกค้าประจำปีด้วยแบบสอบถามออนไลน์
  • • รายงานแบบ 56-1 One Report ประจำปี และรายงานความยั่งยืนประจำปี
  • • การประชุมร่วมกับลูกค้าผ่านรูปแบบออนไลน์
  • • ข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์รายสัปดาห์ รายเดือน และรายไตรมาส
  • • การพบปะลูกค้าตามเทศกาล
  • • กลไกการรับข้อร้องเรียน เช่น หน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์ และอีเมลหน่วยงานธรรมาภิบาล  
  •  
 
3. คู่ค้า ผู้รับเหมา
  • • งานสัมมนาคู่ค้าประจำปี (Supplier Seminar และ Webinar)
  • • การสำรวจความคิดเห็นหลังกิจกรรมการมีส่วนร่วมกับคู่ค้า
  • • การสำรวจความผูกพันของคู่ค้าประจำปีด้วยแบบสอบถามออนไลน์
  • • รายงานแบบ 56-1 One Report ประจำปี และรายงานความยั่งยืนประจำปี
  • • ประชุมกับคู่ค้าและผู้รับเหมาตามกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างตามโอกาส
  • • อีเมลสื่อสารตามวาระและโอกาส
  • • กลไกการรับข้อร้องเรียน เช่น หน่วยงานคู่ค้าสัมพันธ์ และอีเมลหน่วยงาน
    ธรรมาภิบาล 
 

 

4. พนักงาน
  • • การประชุมกับสหภาพแรงงานเป็นประจำทุกปี
  • • การประชุมคณะกรรมการลูกจ้าง ทุกๆ 2 เดือน
  • • การสำรวจความผูกพันของพนักงานรายปีด้วยแบบสอบถามออนไลน์
  • • การสำรวจความตระหนักรู้ ความเข้าใจ และมุมมองต่อประเด็นด้านความยั่งยืนรายปีด้วยแบบสอบถามออนไลน์
  • • รายงานแบบ 56-1 One Report ประจำปี และรายงานความยั่งยืนประจำปี
  • • การพบปะ CEO (Live) รายไตรมาส
  • • การประชุมรายเดือนร่วมกับผู้บริหารผ่านตัวแทนพนักงาน เช่น คณะกรรมการลูกจ้าง
  • • วารสารรายเดือน ชื่อ ‘วารสารอัคนี’
  • • จดหมายข่าวหรือข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์รายเดือน และรายสัปดาห์
  • • แอปพลิเคชันเพื่อเข้าถึงสวัสดิการและกิจกรรม เช่น ‘แจ่มแซ่บ Jam Saab’ เป็นต้น
  • • กลไกการรับข้อร้องเรียน หน่วยงานแรงงานสัมพันธ์ และอีเมลหน่วยงาน
    ธรรมาภิบาล 
   
5. ชุมชน สังคม
  • • การสำรวจความผูกพันของชุมชนประจำปี
  • • รายงานแบบ 56-1 One Report ประจำปี และรายงานความยั่งยืนประจำปี
  • • การสื่อสารผ่านวรสารชุมชนทุก 2 เดือน
  • • การประชุมผ่านผู้นำชุมชน และการประชุมสามประสานทุกเดือน
  • • การออกหน่วยย่อยรายเดือนผ่านการจัดเวทีร่วมกับชุมชน
  • • การสื่อสารผ่าน Social media และ Digital platform เช่น Line Official Account
  • • ศูนย์สุขภาพและการเรียนรู้กลุ่มไทยออยล์เพื่อชุมชน
  • • กลไกการรับข้อร้องเรียน เช่น หน่วยงานบริหารงานชุมชน และอีเมลหน่วย
    งานธรรมาภิบาล 
   
6. หน่วยงานราชการ
และองค์กรภาครัฐ
ที่เกี่ยวข้อง
 
  • • การสำรวจความคิดเห็นประจำปีด้วยแบบสอบถาม
  • • รายงานแบบ 56-1 One Report ประจำปี และรายงานความยั่งยืนประจำปี
  • • การประชุมผ่านตัวแทนหน่วยงานราชการและองค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้องตามโอกาส
  • • การประชุมสามประสาน ระหว่างกลุ่มไทยออยล์ ภาครัฐ และชุมชน ทุกเดือน
  • • กลไกการรับข้อร้องเรียน เช่น หน่วยงานรัฐกิจสัมพันธ์ และอีเมลหน่วยงาน
    ธรรมาภิบาล