ระดับประเทศ

1. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่โจ้

ชื่อโครงการ

  • โครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าบ้านแม่โจ้

สถานที่

  • ต.บ้านเป้า อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่

พันธมิตร

  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
  • วิสาหกิจชุมชนไฟฟ้าพลังนํ้าบ้านแม่โจ้

เทคโนโลยี

  • เครื่องกังหันนํ้า แบบ Cross Flow กำลังการผลิตติดตั้ง 35 กิโลวัตต์

รายละเอียดโครงการ

วัตถุประสงค์หลักของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ในการให้การสนับสนุนโครงการคือการส่งเสริมบทบาทของชุมชนในการนำศักยภาพพลังน้ำของอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เลิมมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าตามนโยบายของกระทรวงพลังงานและนำรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้ามาดูแลและจัดการสิ่งที่เป็น "ทุนของชุมชน" ให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ ซึ่ง “ทุนของชุมชน" ในที่นี้หมายถึงทรัพยากรน้ำ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความตอนหนึ่งว่า "หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้" การพัฒนาโครงการเกิดจากากรต่อยอดโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยแม่เลิม ก่อตั้งขึ้นในปี 2531 ณ หมู่บ้านแม่โจ้ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านท้ายสุดของปลายสายส่งไฟฟ้า และมีปัญหาไฟตกไฟดับบ่อย การพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำแม่โจ้ จึงเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงของกระแสไฟฟ้าสำหรับชุมชน และชุมชนสามารถนำรายได้ที่ได้จากการขายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคมาใช้เพื่อดูแลรักษาธรรมชาติ ปลุกจิตสำนึกรักป่าต้นน้ำ ลดการตัดไม้ทำลายป่า และเพิ่มเนื้อที่ปลูกป่า สร้างแหล่งศึกษาเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และส่งเสริมการทำเกษตรปลอดสารเคมี เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนอย่างต่อเนื่อง


โดยพัฒนากระบวนการชุมชนให้มีการจัดตั้ง “วิสาหกิจชุมชนไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่โจ้” เพื่อดูแลและบริหารจัดการโรงไฟฟ้า ซึ่งเป็นตัวอย่างโครงการ “วิสาหกิจชุมชนไฟฟ้าพลังน้ำและเป็นโรงไฟฟ้าบ้านดินโครงการแรกของประเทศไทย ที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟภ.” ตามระเบียบรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากที่ใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นเชื้อเพลิง มีวัตถุประสงค์หลักในการนำรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้ามาใช้ในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำและพัฒนาด้านเกษตรอินทรีย์ในชุมชน นอกจากนี้ ไทยออยล์ฯ มีความตั้งใจให้โรงไฟฟ้าฯ กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ให้กับชุมชนอื่นๆ ทั้งในด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า การเรียนรู้การพึ่งพาตัวเองของชุมชนการทำการเกษตรอินทรีย์ การถ่ายทอดเทคโนโลยีชุมชนการสร้างบ้านดินเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต และการส่งเสริมบทบาทของเยาวชนให้รู้จักสำนึกในการกลับมาพัฒนาท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
 

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • 20 กันยายน 2554 : เครือไทยออยล์ได้ร่วมรับฟังความเห็นของชุมชนต่อการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่โจ้ มีชาวบ้านเข้าร่วมจำนวน 102 คน ซึ่งมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เริ่มดำเนินการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่โจ้
     
  • 26 - 29 มกราคม 2555 : เครือไทยออยล์ได้จัดกิจกรรมจิตอาสาเตรียมบล็อกดินสำหรับก่อสร้างโรงไฟฟ้าและสร้างแนวกันไฟเพื่ออนุรักษ์ป่าต้นน้ำ เป็นการร่วมมือของพนักงานจิตอาสาเครือไทยออยล์ 20 คน ร่วมกับชาวบ้านแม่โจ้ ทำกิจกรรมเตรียมบล็อกดิน เพื่อใช้สำหรับก่อสร้างอาคารโรงไฟฟ้าพลังน้ำในอนาคต ทั้งยังร่วมกันสร้างแนวกันไฟป่าเพื่อป้องกันและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำให้ยั่งยืน
     
  • 26 กุมภาพันธ์ 2555 : ประชุมจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่โจ้ ร่วมกับชาวบ้านแม่โจ้ โดยมีการเลือกตัวแทนซึ่งมีอำนาจแทนในการดำเนินการต่างๆ เกี่ยวกับวิสาหกิจชุมชนเพื่อทำการกำหนด วัตถุประสงค์ และวางแผนการดำเนินการของวิสาหกิจชุมชน
     
  • 28 กุมภาพันธ์ 2555 : จัดตั้งวิสาหกิจชุมชนไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่โจ้ พร้อมรับหนังสือรับรองจากเกษตรอำเภอ
     
  • 14 มิถุนายน 2555 : กิจกรรม CSR ลูกค้าและคู่ค้าพร้อมพนักงาน 50 คน ร่วมกับชาวบ้านปลูกต้นไม้ในป่าชุมชน เพื่อเป็นแนวป้องกันการรุกล้ำผืนป่า จำนวน 300 ต้น เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมพัฒนากิจกรรมโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมในระดับประเทศของเครือไทยออยล์
     
  • 20-21 กรกฎาคม 2556 : พนักงานแผนกกิจการเพื่อสังคม บริษัท ไทยออยล์ จำกัด ได้เข้าร่วมกิจกรรมวัยโจ๋พาบุกป่าแม่โจ้บ้านดิน ร่วมกิจกรรมวัยโจ๋อนุรักษ์ป่าอุทยานศรีลานนา ปลูกป่าชุมชน และสร้างฝายชะลอน้ำสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ผืนป่า พร้อมด้วยอาสาสมัครเยาวชน ประชาชนทั่วไป และกลุ่มวัยโจ๋ แม่โจ้บ้านดิน รวม 50 คน ร่วมกันปลูกต้นไม้เป็นแนวกันชนผืนป่าชุมชน จำนวน1,000 ต้น และสร้างฝายชะลอน้ำ 5 ฝายเพื่อให้น้ำซึมลงดินสร้างความชุ่มชื้นให้แก่ผืนป่า และให้ชาวเขาสามารถต่อท่อนำน้ำไปใช้ในการทำเกษตรกรรมของครอบครัวได้ด้วย ซึ่งชาวเขาเหล่านี้จะเป็นอีกหนึ่งกำลังสำคัญของชุมชนในการดูแลอนุรักษ์ผืนป่าให้คงความสมบูรณ์ต่อไป
     
  • 23- 27 ตุลาคม 2556 : กิจกรรมพนักงานจิตอาสาเครือไทยออยล์ร่วมกับชาวบ้านและกลุ่มเยาวชนวัยโจ๋กว่า 50 คน ทำบล็อกดิน ฉาบผนังดินซึ่งเปรียบได้กับการทาสีอาคารโรงไฟฟ้า สร้างสะพานข้ามลำธาร สร้างโรงเพาะชำกล้าไม้ และฝายชะลอน้ำจำนวน 1 ฝายในพื้นที่ป่าชุมชน
     
  • 12 กุมภาพันธ์ 2557 : โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่โจ้จึงพร้อมเดินเครื่องจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
     
  • 15 มีนาคม 2557 : พิธีเปิดและส่งมอบโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนบ้านแม่โจ้ให้กับชุมชน โดยได้รับเกียรติจากคุณวิโรจน์ มีนะพันธ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านกำกับกิจการองค์กร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ประธานกรรมการมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม คุณอนุชา อนันตศานต์ ผู้อำนวยการกลุ่มดำเนินการและบำรุงรักษา กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน 
ศ.นพ.วงศ์กุลพัทธ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการ สถาบันพัฒนาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภาคเหนือ ซึ่งเป็นผู้แทนพันธมิตรที่ร่วมพัฒนาโครงการ พร้อมด้วย คุณประสาน 
หน่อแก้ว ประธานวิสาหกิจชุมชนไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่โจ้ และคณะกรรมการวิสาหกิจฯ ผู้แทนชุมชนบ้านสามขา จ.ลำปาง ที่มาศึกษาดูงานโรงไฟฟ้าบ้านแม่โจ้ และผู้ใหญ่บ้าน ผู้แทนหน่วยงานราชการในท้องถิ่นและชาวบ้านบ้านแม่โจ้มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก
     

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • จัดทำรายงานการผลิตและขายไฟฟ้า
  • ส่งเสริมเกษตรปลอดสารเคมี
  • การพัฒนาโรงผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อการเกษตร
  • การส่งเสริมการปลูกพืชไล่แมลง
  • การดูแลรักษา และอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ บริเวณอุทยานแห่งชาติศรีล้านนา กลุ่มเยาวชนวัยโจ๋ วางแผนการดูแลรักษาและอนุรักษ์ผืนป่าต้นน้ำ และกำหนดแผนกิจกรรมปลูกป่าชุมชนและสร้างฝายชะลอน้ำ
  • ศูนย์การเรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ประโยชน์

  • เสริมสร้างความมั่นคงของกระแสไฟฟ้าจากส่วนกลาง เพื่อชุมชนที่ตั้งอยู่ปลายระบบสายส่งมีไฟฟ้าที่มีความเสถียรใช้
  • ส่งเสริมให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง มีจิตสำนึกในการรักษาป่าต้นนํ้า และคุณภาพของสายนํ้า
  • เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
  • เพิ่มมูลค่าของผลผลิตทางการเกษตร จากการทำเกษตรปลอดสารเคมี
  • เสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการทำงานของชุมชน
  • โรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านแม่โจ้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 160,380 หน่วยต่อปีหรือเทียบเท่าหลอดไฟฟ้าคอมแพ็ค ขนาด 9 วัตต์ จำนวน 3,056 หลอด สามารถลดการปล่อย CO2 ได้ปีละ 86 ตัน หรือเท่ากับปลูกต้นไม้เพิ่มปีละ 45,000 ต้น และทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบได้ปีละ 15,890 ลิตรหรือ 100 บาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 10,000 ดอลล่าร์สหรัฐอเมริกา
2. โครงการก๊าซชีวภาพจากของเสียในการผลิตยางแผ่น

ชื่อโครงการ

  • โครงการก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียในการผลิตยางแผ่นและของเสียจากครัวเรือน และส่งเสริมการปลูกผักปลอดสารเคมีเพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน

สถานที่

  • เกาะหมากน้อย ต.เกาะปันหยี อ.เมือง จ.พังงา

พันธมิตร

  • มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะปันหยี
  • ผู้ใหญ่บ้านและกรรมการหมู่บ้าน
  • ชุมชนเกาะหมากน้อย

เทคโนโลยี

  • โครงการก๊าซชีวภาพจากของเสียในการผลิตยางแผ่นและของเสียจากครัวเรือน
    - ถังหมักก๊าซชีวภาพขนาด 200 ลิตร จำนวน 1 ถัง และถังเก็บก๊าซซึ่งประกอบด้วยถังฝาเปิดขนาด 200 ลิตร บรรจุน้ำโดยมีถังขนาด 150 ลิตรสำหรับเก็บก๊าซคว่ำช้อนอยู่อีก 2 ชุด
    - ถังหมักก๊าซชีวภาพขนาด 1,000 ลิตร และถังเก็บก๊าซ เพื่อการใช้งานได้นานและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
    - การหมักของเสียอินทรีย์ให้ย่อยสลายโดยเติมหัวเชื้อจุลินทรีย์ (จากมูลสัตว์) ภายใต้สภาวะที่ไม่ใช้ออกซิเจน
  • โครงการปลูกผักปลอดสารเคมี
    - เตาเผาถ่านขนาด 200 ลิตร ใช้กาบมะพร้าว กะลามะพร้าว เศษไม้เป็นวัสดุสำหรับเผาถ่าน
    - น้ำส้มควันไม้เป็นของเหลวใสสีน้ำตาล ได้จากการควบแน่นของควันที่เกิดจากการเผาไม้ให้กลายเป็นถ่านในสภาวะที่มีออกซิเจนจำกัด
    - โมเดลแผงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์” (Hydroponics Vegetables Model) 4 ชุด ต่อยอดการใช้ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพที่เหลือจากกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพมาเป็นวัตถุดิบปลูกพืชสวนครัวให้ชุมชนได้นำไปพัฒนาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน

รายละเอียดโครงการ

  • เครือไทยออยล์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง และชุมชนเกาะหมากน้อย ดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2554 ถึงปัจจุบัน โดยการนำน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่น และเศษขยะอินทรีย์จากครัวเรือน มาหมักเป็นก๊าซหุงต้มด้วยระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพ ช่วยลดค่าใช้จ่ายการซื้อก๊าซหุงต้ม ต่อยอดโดยการนำน้ำและตะกอนจากกระบวนการหมักมาใช้ปลูกผักปลอดสารเคมี และจัดทำแผงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ เพื่อสุขภาวะที่ดีของชุมชน เป็นการพัฒนาพลังงานทางเลือกจากทรัพยากรของท้องถิ่น สร้างชุมชนต้นแบบด้านพลังงานทดแทนท้องถิ่นภาคใต้ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชน

    เกาะหมากน้อย ตั้งอยู่บนเกาะฝั่งทะเลอันดามัน ในเขตพื้นที่จังหวัดพังงา อยู่ใกล้ๆ กับเกาะปันหยี เป็นเกาะเล็กๆ ในจังหวัดพังงา มีพื้นที่รวมประมาณ 1,500 ไร่ เป็นชุมชนอิสลามเล็กๆ กว่า 300 ครัวเรือน ที่เป็นชาวไทยมุสลิม 100% และเป็นเครือญาติกันเกือบทั้งเกาะเพราะมีสกุลเพียง 4-5 สกุลเท่านั้น ที่นี่ยังไม่มีระบบไฟฟ้าแรงสูงใช้ ส่วนใหญ่อาศัยไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และเครื่องปั่นไฟขนาดเล็กที่ใช้ภายในครัวเรือนเท่านั้น จึงไม่เพียงพอ จะใช้เมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น และจากการสำรวจพื้นที่ตั้งไม่ปรากฎตำแหน่งในแผนที่ประเทศไทย เกาะหมากน้อยจึงได้รับฉายาว่าเป็น “ชุมชนที่ถูกลืม”

    ชาวชุมชนบนเกาะหมากน้อยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้าน ทำสวนยางพาราและสวนมะพร้าว ยังต้องปั่นไฟใช้กันเองโดยอาศัยเครื่องปั่นไฟที่ใช้รวมกันในแต่ละกลุ่มบ้าน เพื่อลดค่าน้ำมันดีเซล นอกจากนั้น ยังมีปัญหาเรื่องก๊าซหุงต้ม ที่มีราคาค่อนข้างสูงกว่าปกติ เนื่องจากต้องขนส่งมาจากบนฝั่งที่ ต.อ่าวลึก และยังพบว่าคุณภาพก๊าซไม่ดี หลายครั้งหลายหนที่ในช่วงฤดูมรสุม ชาวบ้านไม่มีก๊าซหุงต้มใช้งานเลย เนื่องจากไม่สามารถออกเรือไปขนซื้อมาจากบนฝั่งได้ นอกจากการขาดแคลนแหล่งพลังงานแล้ว ชาวเกาะหมากน้อยยังต้องเผชิญกับปัญหาสิ่งแวดล้อมบนเกาะที่เกิดจากขยะในครัวเรือน เศษกุ้ง ปลาตัวเล็กตัวน้อยที่ติดมากับเครื่องมือหาปลา และน้ำเสียจากการรีดยางแผ่น ขยะอินทรีย์เหล่านี้ส่งผลต่อสุขภาพของผู้คนบนเกาะ และสภาพแวดล้อม สร้างปัญหาน้ำทะเลเน่าเสียและก่อเกิดภาวะไม่สมดุลของระบบนิเวศ แต่ชุมชนเกาะหมากน้อย เป็นตัวอย่างของชุมชนหนึ่งที่ไม่ยอมจำนนต่อปัญหา จนสามารถพลิกวิกฤติขยะอินทรีย์ในชุมชน ให้มีมูลค่ากลายเป็นก๊าซสำหรับหุงต้ม และยังส่งเสริมเรื่องสุขภาพชุมชนให้ได้มีการกินผักมากขึ้น ส่งเสริมให้มีการปลูกผักปลอดสารกินเอง ช่วยเพิ่มรายได้บางส่วน การที่คนบนเกาะประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านและทำสวนยาง จึงทำให้ที่นี่มีต้นทุนเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพใช้เอง ที่ใช้งานได้วันละประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดของถังหมักและถังเก็บก๊าซ ถึงแม้จะไม่อาจทดแทนการใช้ก๊าซแอลพีจีได้ทั้งหมด แต่นับเป็นจุดเริ่มของการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อขจัดของเสียที่เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ที่ช่วยลดรายจ่ายครัวเรือนและทำให้คุณภาพชีวิตของชาวเกาะหมากน้อยดีขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนด้านองค์ความรู้ให้คำแนะนำด้านข้อมูลทางวิชาการ การควบคุม ออกแบบและเตรียมอุปกรณ์ในการจัดทำระบบผลิตก๊าซชีวภาพ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่าการจัดทำ “ก๊าซทำมือ” จากผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ส่วนเครือไทยออยล์ เป็นผู้ให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับใช้งาน ร่วมคิดพัฒนาระบบ ร่วมถ่ายทอดประสบการณ์ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านพลังงานและวิศวกรรม จากเพื่อนพนักงานจิตอาสาของเครือไทยออยล์อย่างต่อเนื่อง ที่ช่วยให้ชาวบ้านยืนหยัดพึ่งพาตนเองด้านพลังงานทางเลือกได้ในวงกว้างขึ้น มาวันนี้เกาะหมากน้อยพยายามที่จะพึ่งพาตนเอง เพื่อสร้างคำนิยามใหม่ให้กับเกาะ ว่าจะต้องเป็น “เกาะต้นแบบในการสร้างต้นทุนการใช้พลังงานในชุมชนจากของเสียในชุมชนของตนเอง” ใน ด้วยการให้ความรู้ในการจัดการของเสียด้วยระบบหมักก๊าซชีวภาพ เพื่อนำก๊าซที่ได้มาใช้หุงต้มในครัวเรือนทดแทนการใช้ก๊าซแอลพีจี ที่ชาวบ้านต้องนั่งเรือไปซื้อหาจากบนฝั่งซึ่งเป็นภาระค่าใช้จ่าย การใช้ก๊าซชีวภาพทดแทนผลที่ได้รับไม่เพียงแต่ลดรายจ่ายในครัวเรือนและลดต้นทุนการใช้พลังงานเท่านั้น ที่สำคัญยังช่วยรักษาสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งบนเกาะและในทะเล เพราะขยะอินทรีย์จากครัวเรือน หรือ น้ำเสียที่เป็นผลมาจากการทำยางแผ่นของชาวบ้าน ได้ส่งกลิ่นเหม็น และสร้างความเสื่อมโทรมให้แก่พื้นดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงมักนำของเสียต่างๆ ออกไปทิ้งในทะเล

    ทุกวันนี้ชาวบ้านบนเกาะหมากน้อย 134 ครัวเรือนมีต้นทุนพลังงานทางเลือกเพื่อทดแทนก๊าซแอลพีจี ที่ผลิตได้เองจากของเสียในท้องถิ่น ช่วยลดค่าใช้จ่ายค่าก๊าซหุงต้มได้ประมาณปีละ 300,000 บาทต่อปี ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะอินทรีย์ 15,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี และลดปริมาณขยะอินทรีย์ได้ถึงปีละ 187,700 กิโลกรัมต่อปี รวมทั้งลดค่าใช้จ่ายการซื้อผักจากฝั่งพื้นดินมาบริโภคถึงปีละ 190,000 บาทต่อปี *ข้อมูลจากรายการการจัดทำโครงการของมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุงที่จัดส่งให้ บมจ. ไทยออยล์ ถึง ณ สิ้นปี 2557

    หัวใจหลักของการจัดทำโครงการ CSR ระดับประเทศของเรา คือ “การมุ่งสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในทุกมิติทั้งการร่วมคิด ร่วมลงทุน ร่วมลงแรง และร่วมดูแลบำรุงรักษา เพราะตระหนักดีว่ากระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวจะนำไปสู่การพัฒนาโครงการที่ต่อเนื่องและยั่งยืน” เราได้มีการกำหนดข้อตกลงในการจัดทำระบบก๊าซชีวภาพกับชาวบ้านเกาะหมากน้อย เพื่อสร้างจิตสำนึกการเป็นเจ้าของระบบก๊าซชีวภาพร่วมกัน “กฎเหล็ก 7 ข้อ” ดังนี้ - สมทบเงินในการจัดทำระบบก๊าซชีวภาพเป็นเงิน 700 บาท
    - เข้ารับการอบรมและฝึกปฏิบัติการจัดทำและดูแลระบบก๊าซชีวภาพ
    - สามารถหามูลสัตว์มาเป็นเชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้นระบบได้
    - ทำการติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพด้วยตนเองโดยมีทีมงานของโครงการคอยแนะนำ
    - ปฏิบัติตามขั้นตอนที่ได้อบรมเพื่อให้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้ภายในเวลา 2 เดือน
    - ยินดีถ่ายทอดความรู้ให้แก้ผู้ที่สนใจ
    - หากดูแลระบบก๊าซชีวภาพได้อย่างถูกต้องท่านอาจจะได้รับการสนับสนุนในการปลูกผักอินทรีย์ด้วย

    ทั้งนี้ หากชาวบ้านที่ได้รับระบบไปใช้และไม่ดูแลระบบให้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่องภายใน 3 เดือนจะมีการพิจารณาเอาคืน เพื่อส่งต่อให้ชาวบ้านครัวเรือนอื่นใช้ประโยชน์ต่อไป

    โครงการผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียในการผลิตยางแผ่นและของเสียจากครัวเรือน ได้รับรางวัล Thailand Energy Awards ประจำปี 2556 ด้านโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เชื่อมโยง กับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) และได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าประกวดระดับอาเซียนในปีเดียวกันด้วย ก้าวต่อไปของพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชนเกาะหมากน้อยให้ดีและสมดุลต่อไปในปี 2558 เราและพันธมิตรได้ร่วมกันศึกษาเรื่องการพัฒนาระบบขนส่งน้ำด้วยพลังแสงอาทิตย์และบำบัดความขุ่นของน้ำจากบ่อน้ำ ใต้ดิน และจัดทำแผนส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ต่อเนื่อง และได้ตั้งเป้าหมายให้เกาะหมากน้อยเป็น

    “ศูนย์การเรียนรู้ระบบก๊าซชีวภาพชุมชนภาคใต้” เพื่อการสร้าง “พลัง (งาน) ชุมชน...สร้างความสุขอย่างยั่งยืน”

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการจัดทำโครงการฯ ระหว่าง บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) และ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
  • ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดทำระบบก๊าซชีวภาพให้แก่ชุมชนเกาะหมากน้อย
  • ติดตั้งระบบถังก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียยางแผ่นและของเสียจากครัวเรือน 100 ชุด
  • ดำเนินการถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติการเพาะปลูกพืชผักปลอดสารพิษและสนับสนุนอุปกรณ์ในการปลูกผักกับครัวเรือนนำร่องจำนวน 50 ครัวเรือน
  • กิจกรรม CSR ติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพร่วมกับชุมชน รวมทั้งร่วมรณรงค์ให้เด็กๆ ตระหนักถึงการกินผัก และให้ความรู้กับชาวบ้านถึงวิธีการเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ และการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ระหว่างวันที่ 29 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2555
  • ติดตั้งระบบถังก๊าซชีวภาพ 30 ครัวเรือน เพิ่มขนาดและปรับปรุงระบบให้สามารถผลิตก๊าซชีวภาพได้เพียงพอต่อการใช้งานบางส่วน เป็นใช้ถังขนาด 500 ลิตร สำหรับชาวบ้านที่มีศักยภาพเพียงพอ และวิเคราะห์การเลือกวัตถุดิบขยะอินทรีย์ที่มีการให้ความร้อนที่มากขึ้น
  • จัดทำโมเดลแผงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์” (Hydroponics Vegetables Model) 4 ชุด ต่อยอดการใช้ประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพที่เหลือจากกระบวนการผลิตก๊าซชีวภาพมาเป็นวัตถุดิบปลูกพืชสวนครัวให้ชุมชนได้นำไปพัฒนาใช้ประโยชน์ในครัวเรือน
  • เสริมทักษะช่างชุมชน โดยการฝึกซ่อมบำรุงระบบที่ได้ติดตั้งแล้วในระยะที่ 1 และฝึกการจัดทำระบบใหม่
  • จัดกิจกรรมพนักงานจิตอาสาเครือไทยออยล์ เพื่อประกอบและติดตั้งระบบถังก๊าซชีวภาพและแผงปลูก ผักไฮโดรโปนิกส์ ร่วมกับชุมชนเกาะหมากน้อย ระหว่างวันที่ 20 - 23 กุมภาพันธ์ 2557

กิจกรรมต่อเนื่อง (เพื่อการศึกษาและพัฒนาความเป็นไปได้)

  • พิจารณาการติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพให้ครบทั้งเกาะ และพัฒนาไปสู่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการจัดทำระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพและการปลูกผักปลอดสารเคมี
  • พัฒนาระบบขนส่งน้ำพลังแสงอาทิตย์และบำบัดความขุ่นของน้ำจากบ่อน้ำใต้ดิน
  • ส่งเสริมการปลูกผักอินทรีย์ต่อเนื่อง
  • ขยายพื้นที่ดำเนินการระบบก๊าซชีวภาพในพื้นที่อื่นๆ ในภาคใต้
  • สนับสนุนงานวิจัยการสังเคราะห์ตัวกรองก๊าซมีเทนให้บริสุทธิ์ขึ้นจากเศษสนิมที่เกาะข้างถังก๊าซ และสารจากล้วย
  • พัฒนาโครงการย่อยให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ CSR ใหม่ของเครือไทยออยล์ที่ครอบคลุมทุกมิติทั้งด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน การศึกษา และคุณภาพชีวิต
  • พัฒนาเกาะหมากน้อยเป็น “ศูนย์การเรียนรู้ระบบก๊าซชีวภาพชุมชนภาคใต้” และชุมชนต้นแบบที่สามารถพึ่งตนเองด้านพลังงานได้ สำหรับชุมชนรอบๆ และหน่วยงานที่สนใจศึกษาเรียนรู้หรือนำไปประยุกต์ใช้

ประโยชน์

  • โครงการก๊าซชีวภาพจากของเสียในการผลิตยางแผ่นและของเสียจากครัวเรือน
    - ลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อพลังงาน โดยการใช้ระบบบ่อหมักก๊าซชีวภาพทดแทนบางส่วน
    - เกิดความภาคภูมิใจที่สามารถพึ่งตนเองได้ จากจุดเริ่มต้นการสร้างพลังงานทางเลือกที่ผลิตได้เองในชุมชน
    - พัฒนาช่างชุมชนและตัวแทนชุมชนที่สามารถให้คำแนะนำการติดตั้ง ดูแล แก้ไข ระบบบ่อก๊าซชีวภาพ รวมถึงถ่ายทอดให้กลุ่มผู้มาศึกษาดูงาน
    - ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งจากปัญหากลิ่นเน่าเหม็น และน้ำเน่าเสีย ที่เกิดจากขยะและน้ำเสียในชุมชน ทำให้ระบบนิเวศบริเวณเกาะมีความสมบูรณ์และยั่งยืน
    - ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการย่อยสลายของขยะอินทรีย์และน้ำเสียจากการผลิตยางแผ่น
  • โครงการปลูกผักปลอดสารเคมี
    - สร้างความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบนเกาะกลางทะเลให้มีแหล่งอาหารให้แก่ครอบครัว
    - ลดรายจ่ายของชุมชนในการซื้อผักสวนครัวจากบนฝั่ง
    - ประยุกต์ใช้น้ำหมักและกากตะกอนจากระบบก๊าซชีวภาพครัวเรือนมาเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกแทนเพื่อลดการปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีในการเกษตร
    - การรับประทานผักปลอดสารเคมีช่วยเสริมสร้างสุขภาวะที่ดีให้ชุมชน
3. โครงการบริหารจัดการ เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง (สร้างคลองสร้างคน)

ชื่อโครงการ

  • โครงการบริหารจัดการ เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง (สร้างคลอง สร้างคน)

สถานที่

  • บ้านหนองตะเคียน ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
  • บ้านหนองทองลิ่ม ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
  • บ้านไทยทอง ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์
  • บ้านโชคชัย ต.ลำไทรโยง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

พันธมิตร

  • มูลนิธิเพื่อการศึกษาและประชาสงเคราะห์ (The Education and Public Welfare Foundation: EPWF)
  • คณะกรรมการและชาวบ้าน บ้านหนองตะเคียน บ้านหนองทองลิ่ม บ้านไทยทอง บ้านโชคชัย

เทคโนโลยี

  • องค์ความรู้การบริหารจัดการเทคนิควิศวกรรมก่อสร้าง จากพนักงานจิตอาสาวิศวกรรมโครงการเครือไทยออยล์ โดยเฉพาะ เรื่อง การใช้เครื่องมือสำรวจโดยใช้อุปกรณ์สำรวจขุดคลองและวัดระดับน้ำ (Survey Equipment)และการจัดทำแผนที่ด้วยระบบ Global Positioning System (GPS)
  • องค์ความรู้สารสนเทศ และคอมพิวเตอร์
  • องค์ความรู้การบัญชีชุมชน

รายละเอียดโครงการ

  • โครงการ “สร้างคลอง สร้างคน เพื่อเศรษฐกิจพอเพียง” จ. บุรีรัมย์ ดำเนินโครงการต่อเนื่องตั้งแต่ ปี 2555 โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิฯและไทยออยล์พัฒนาชุมชนโดยส่งเสริมการจัดสร้างแหล่งน้ำสำหรับการทำการเกษตรตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมพัฒนาผู้นำชุมชนให้มีทักษะในการบริหารจัดการแหล่งน้ำ การวางแผนการผลิตทางการเกษตร และพัฒนาทักษะการบริหารจัดการโครงการ ทั้งด้านการวางแผนโครงการ และประเมินงบประมาณ การบริหารการเงิน การควบคุมการก่อสร้าง รวมทั้งเป็นการประสานความร่วมมือ ระหว่างแกนนำชุมชน เยาวชน และผู้ที่มีความพร้อมในการทำงานเพื่อชุมชน ตลอดจนเป็นชุมชนต้นแบบในการเรียนรู้การพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำ

    วัตถุประสงค์โครงการฯ เพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลโดยเฉพาะระดับผู้นำชุมชนให้มีความรู้ความเข้าใจในการบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง จึงมีแนวคิดในการใช้การจัดสร้างแหล่งน้ำเป็นเครื่องมือในการพัฒนาบุคลากรในท้องถิ่นทั้งในด้านการเพาะปลูก การบริหารจัดการทรัพยากรแหล่งน้ำ การบริหารจัดการโครงการ งบประมาณ และการตรวจสอบให้เกิดความโปร่งใส รวมทั้งการสร้างองค์กรในระดับชุมชนให้มีความเข้มแข็ง สามารถขยายผลความสำเร็จของโครงการไปสู่ชุมชนอื่นๆ ต่อไปได้

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • ปี 2555 (เฟสที่ 1 )
    โครงการแรกเกิดขึ้น ที่บ้านหนองตะเคียน ต.หนองโบสถ์ อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยเป็นการขุดคลองส่งน้ำจากลำไตรมาศ ความยาว 2,040 เมตร ผ่านที่นา จำนวน 29 ราย และที่สำคัญ เป็นการขุดคลองจากพื้นที่ที่ต่ำไปยังพื้นที่ที่สูงกว่า โดยการขุดคลองให้มีความลึกขึ้นตามพื้นที่เพื่อให้น้ำไหลไปเองได้ การก่อสร้างระยะเวลาการก่อสร้าง ตั้งแต่ 1 มีนาคม – 23 มิถุนายน 2555 (ประมาณ 4 เดือน)

    รายละเอียดงาน ประกอบด้วย - คลอง : ขุดคลอง ยาว 2,038 เมตร กว้าง 3 เมตร ลึก 3.5 เมตร ความจุน้ำ 13,702 ลูกบาศก์เมตร
    - บ่อกักเก็บน้ำ : 9 บ่อ ความจุน้ำ 5,281ลูกบาศก์เมตร
    - ทางเชื่อม : 10 จุด มี 2 จุดขุดใต้ถนน และ 1 จุดขุดใต้บ้านเรือน
    - พื้นที่ควบคุมทางเดินน้ำ: 1 ตำแหน่ง ประกอบด้วย ควบคุมการไหลเข้าของน้ำ 3 จุด และการไหลออกของน้ำ 1 จุด
    - เจ้าของที่ดินโครงการ: บ้านเกษตรกร 29 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 800 ไร่

    โดยทางมูลนิธิฯประสานไปยังไทยออยล์ ขอวิศวกรมาช่วยสำรวจ ออกแบบ แนะนำการใช้เครื่องมือวัดระดับพื้นที่ให้แก่คณะกรรมการหมู่บ้าน และตรวจสอบโครงการเมื่อเสร็จสิ้น เป็นการทำงานร่วมกันทั้งทางไทยออยล์ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนของมูลนิธิฯ และชุมชน ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น นอกเหนือจากการมีน้ำใช้ตลอดทั้งปี สามารถเลี้ยงข้าวในช่วงฝนทิ้งช่วงได้แล้ว ยังเป็นการสร้างความสามัคคีให้แก่ชุมชนในการทำงานและเรียนรู้ในการบริหารจัดการโครงการร่วมกัน อันเป็นประโยชน์สูงสุดที่ทางหมู่บ้านจะใช้ในการพัฒนาหมู่บ้านต่อไป โครงการนี้เป็นการเรียนรู้สำหรับชุมชนอย่างแท้จริง ทั้งการทำความเข้าใจแบบวิศวกรรมเชิงโครงสร้าง การวางแผนการดำเนินงานโครงการอย่างเป็นระบบแบบแผนแตกต่างจากเดิมที่เพียงแต่อาศัยการพูดคุยกัน ไม่มีการบันทึกแผนงานแต่อย่างใด และที่ยากที่สุดน่าจะเป็นการเรียนรู้การใช้เครื่องมือวัดระดับพื้นที่ให้เป็นประโยชน์ต่อการควบคุมงานและโครงการซึ่งไม่เคยมีหมู่บ้านหรือชุมชนใดทำเช่นนี้มาก่อน นับเป็นการถ่ายทอดความรู้ที่สร้างประโยชน์แก่ชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม
    - 19 ตุลาคม 2555 : จัดกิจกรรม CSR ส่งมอบคลองให้กับชุมชนบ้านหนองตะเคียน ประกอบด้วย เปิดป้ายส่งมอบคลอง ร่วมปล่อยพันธุ์ปลา มอบพันธุ์ปลาและเมล็ดพันธุ์พืชให้เกษตรกร ร่วมปลูกต้นไม้ และหญ้าแฝกตามคันคลองเพื่อป้องกันดินพังทลาย และเยี่ยมชมโครงการ
    - บริจาคเครื่องคอมพิวเตอร์เก่า จำนวน 3 เครื่อง พร้อมติดตั้ง ที่สำนักงานของโครงการ
  • ปี 2556 (เฟสที่ 2 )
    มูลนิธิฯ ขยายงานครอบคลุมหมู่บ้าน 3 แห่งเพิ่มเติม ดังนี้ บ้านหนองทองลิ่ม บ้านไทยทอง และบ้านโชคชัย โกรกมะเขือบ้านหนองทองลิ่ม เริ่มจากโครงการต่อเนื่องจากพื้นที่โครงการเดิมบ้านหนองตะเคียนได้มีการขยายสู่ โครงการส่วนขยายคลองบ้านหนองตะเคียนตามโครงการปี 2555 สู่บ้านโชคชัย ระยะทาง 766 เมตร ขุดคลองเชื่อมบ้านหนองตะเคียนขนาดคลองกว้าง 8 เมตร และโกรกมะเขือบ้านหนองทองลิ่ม ซึ่งมีพื้นที่เป็นทางน้ำธรรมชาติ ที่ได้รับการขุดให้เป็นคลองตั้งแต่ปี 2535 หลังจากนั้นเกิดการตื้นเขิน สามารถเก็บกักน้ำได้เพียงร้อยละ 55 ของความจุคลอง ชุมชนจึงเสนอโครงการให้ขุดลอกคลองนี้ให้มีความลึกขึ้น โครงการขุดลอกคลองโกรกมะเขือบ้านหนองทองลิ่มในปัจจุบันประกอบด้วยคลองย่อย 9 คลอง ระยะทางทั้งสิ้น 1,486 เมตร ซึ่งมีความลาดชันจากต้นคลองถึงปลายคลอง 5.9 เมตร คลองแต่ละส่วนมีความยาวแตกต่างกันตั้งแต่ 126 เมตรถึง 250 เมตร คลองเหล่านี้ถูกใช้ประโยชน์ในการเก็บกักน้ำรวมทั้งลำเลียงน้ำไปสู่คลองส่วนอื่นที่มีระดับต่ำกว่า สืบเนื่องจากในฤดูฝน หมู่บ้านไทยทองมักประสบภัยน้ำท่วม อีกทั้งไร่มันสำปะหลังประมาณ 100 ไร่ ได้รับความเสียหาย (มูลค่าผลผลิต 1 ล้านบาทต่อปี) ทางหมู่บ้านจึงเสนอให้มีการพัฒนารางน้ำเพื่อการระบายน้ำไม่มห้ท่วมหมู่บ้าน จึงได้ดำเนิน โครงการก่อสร้างรางระบายน้ำคอนกรีต บ้านลิ่มทอง-ไทยทอง 150 เมตร โครงการสร้างรางน้ำคอนกรีตความยาว 150 เมตร กว้าง 60 เซ็นติเมตร ลึก 60 เซ็นติเมตร และมีฝาปิดคอนกรีตหนา 0.1 เมตร พร้อมทั้งสร้างถนนในหมู่บ้านความยาว 10 เมตร รางน้ำนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำฝนตามแนวถนนและนำมวลน้ำส่วนเกินเข้าสู่สระหนองทองลิ่มเพื่อใช้ในการเกษตรต่อไป ผู้ใหญ่บ้านไทยทองรายงานว่า ภายหลังมีรางคอนกรีตนี้ น้ำที่ปกติเคยท่วมหมู่บ้านอยู่ประมาณหนึ่งสัปดาห์ น้ำจะเอ่อล้นอยู่เพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น ไร่มันสำปะหลังไม่ได้รับความเสียหาย และชาวบ้านสัญจรไปมาได้อย่างปกติสุข เพิ่มคุณภาพชีวิตพื้นฐานให้แก่ชุมชนอย่างแท้จริง
    - 7-8 พฤศจิกายน 2556 : กิจกรรมส่งมอบคลองระยะที่ 2 ณ บ้านหนองทองลิ่ม ไทยทอง โชคชัย แมอบพันธุ์ปลาและเมล็ดพันธุ์พืชแก่เกษตรกร และปลูกต้นไม้ตามแนวคันคลอง และกิจกรรมพนักงานจิตอาสาร่วมทาสีกำแพงโบสถ์วัดหนองตะลุมปุ๊ก
  • ปี 2557 (เฟสที่ 3 )
    ได้ดำเนินโครงการ “สร้างคลอง สร้างคน” (ระยะที่ 3) เพื่อช่วยเหลือชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณข้างเคียงกับพื้นที่โครงการเดิม จำนวน 2 โครงการ คือ โครงการขุดลอกคลองลำไทรโยง ความยาวประมาณ 1,500 เมตร และถมทำถนนข้างคลอง และปรับปรุงรางระบายน้ำบ้านหนองทองลิ่ม (โครงการต่อเนื่องลิ่มทอง-ไทยทอง) ความยาว 312 เมตร โดยมีชาวบ้านได้รับผลประโยชน์ ประมาณ 1,000 คน จาก 5 หมู่บ้าน สามารถใช้น้ำเพื่อการเกษตรได้ประมาณ 3,500 ไร่ ปัจจุบันโครงการปรับปรุงรางระบายน้ำบ้านหนองทองลิ่มดำเนินการแล้วเสร็จ จากการดำเนินงานดังกล่าว ส่งผลให้ชาวบ้านกว่า 470 ครัวเรือน มีปริมาณน้ำใช้เพิ่มขึ้น 2 เท่า หรือเท่ากับ 72,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี ซึ่งสามารถใช้น้ำเป็นปัจจัยสำหรับการผลิตเพื่อการกสิกรรมตลอดปี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 3,000 ไร่ ส่งผลให้มีอัตราการเพาะปลูกข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 นอกจากนี้ ชาวบ้านยังได้รับการฝึกอบรมเทคโนโลยี วางแผนการบริหารจัดการโครงการ การใช้แผนที่ การสำรวจพื้นที่ชุมชน และการใช้กล้องสำรวจและการคำนวณ ผ่านการลงมือทำ (Learning by doing) สามารถต่อยอดองค์ความรู้ที่มีและสามารถต้นแบบในการเรียนรู้การพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำของชุมชน ดังนั้นโครงการนี้จึงถือว่าเป็นโครงการนำร่องที่ชาวบ้านสามารถนำไปใช้พัฒนาในพื้นที่ข้างเคียงต่อไป

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • ปี 2558 (เฟสที่ 4) อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นได้โครงการ
    เครือไทยออยล์และมูลนิธิฯ ได้เห็นความสำคัญของการบริหารจัดการในชุมชน โดยเฉพาะเรื่องการกระจายผลผลิตข้าวของเกษตรกรไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ในปี 2558 เราจจะต่อยอดการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้โครงการ “สร้างคลอง สร้างคน” ที่เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลสามารถนำไปสู่การดำเนินชีวิตของชุมชนที่ยั่งยืนน้อมนำแนวพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และยืนหยัดได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ปีนี้จึงมีแผนงานขยายผลพัฒนาสู่ผลิตผลทางเกษตรกรรม ดำเนินการศึกษาและส่งเสริมการรับซื้อ “ข้าวชุมชน” เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และจัดการอบรมเพิ่มทักษะความรู้และขยายอาชีพเกษตรกรรมนอกฤดูทำนา

    กำลังศึกษาความเป็นไปได้ของ “โครงการพัฒนากระบวนการจัดทำข้าวชุมชน” บ้านหนองทองลิ่ม ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โดยวางกรอบข้อตกลงการทำโครงการจะมุ่งเน้น 4 เรื่องหลัก ประกอบด้วย
    - สนับสนุนอุปกรณ์และเทคโนโลยีการจัดทำกระบวนการผลิตข้าวชุมชน
    - จัดทำองค์ความรู้เรื่องกระบวนการผลิตข้าวชุมชน ตามแนวการเกษตรปลอดสารเคมี และเกษตรอินทรีย์
    - สร้างกระบวนการเรียนรู้ โดยการนำชุมชนไปศึกษาดูงานชุมชนทีทำวิสาหกิจข้าวชุมชนหรือเกษตรอินทรีย์ รวมทั้ง จัดอบรมเรื่องกระบวนการผลิตข้าวชุมชนให้ชาวบ้าน
    - เปิดช่องทางการตลาด จากศักยภาพที่ไทยออยล์มี เช่น โรงอาหาร (ในภูไบและSite office) , สโมสรไทยออยล์ และสหกรณ์ร้านค้าไทยออยล์ และการจัดทำแนวทาง CSR ร่วมกับสหกรณืออมทรัพย์ไทยออยล์ เป็นต้น หรือ การหาช่องทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ชุมชนในกลุ่ม ปตท. เช่น งาน PTT OTOP เป็นต้น *** ปี 2558 ไทยออยล์ได้รับซื้อผลิตภัณ์ข้าวซ้อมมือหอมมะลิแดง ของชุมชนบ้านหนองทองลิ่ม เพื่อใช้ในการแจกในการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี เพื่อเป็นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์และสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งทางรายได้และคุณภาพชีวิตชุมชนโดยรวม
    - สนับสนุนเงินทุนสำรอง เพื่อขยายไปสู่การจัดตั้งเป็น “วิสาหกิจข้าวชุมชนส่งเสริมเกษตรอินทรีย์”

    บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและประชาสงเคราะห์ จัดทำโครงการบริหารจัดการเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง หรือ โครงการ “สร้างคลอง สร้างคน” ในพื้นที่บ้านหนองทองลิ่ม ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่ปี 2556 โดยทำการขุดลอกคลองความยาวรวม 1,500 เมตรให้ลึกขึ้น โดยสร้างฝายน้ำล้นเข้าสู่ที่นาตลอดสองฝั่งคลอง ทำให้การบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นระบบ สามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้นทำให้มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคทั้งในฤดูทำนาและการปลูกพืชหมุนเวียนนอกฤดู ส่งผลให้การทำการเกษตรต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จด้วยดี รวมถึงปรับปรุงถนนเลียบคลองให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เกษตรกรสามารถนำผลผลิตข้าวและพืชผักออกสู่ภายนอกได้โดยสะดวก

    ปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกษตรกรบ้านหนองทองลิ่มมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่จะมีโครงการคิดเป็น ร้อยละ 30 มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาข้าวที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรส่วนใหญ่ใน ปี 2556 ที่ผ่านมา ทำให้ไทยออยล์และมูลนิธิฯ เล็งเห็นความสำคัญเร่งด่วนในการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ จึงริเริ่มโครงการสนับสนุนการรับซื้อ “ข้าวชุมชน” จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยตรงที่บ้านหนองทองลิ่มเป็นแห่งแรก เนื่องจากชุมชนนี้มีผู้นำที่กระตือรือร้นและชุมชนก็ให้ความร่วมมือต่อโครงการที่ยังประโยชน์เพื่อส่วนรวมด้วยดี บ้านหนองทองลิ่มมีพื้นที่เกษตรกรรมเพาะปลูกรวม 1,274 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิขาวพันธุ์ 105 เนื่องจาก ข้าวหอมมะลิขาวเป็นที่นิยมของผู้บริโภค สำหรับ “ข้าวหอมมะลิแดง” จะปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนเพียง 30 ไร่ บ้านหนองทองลิ่มมีผลผลิตข้าวรวม 416,480 กิโลกรัม ปัจจุบันนี้ เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการปลูกและในการบรรจุหีบห่อเพื่อจำหน่าย ในอนาคตจะผลักดันให้เกษตรกรไม่ใช้สารเคมีเลย เป็นข้าวอินทรีย์อย่างเต็มที่ โครงการนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีกำลังใจในการทำการเกษตร และตระหนักถึงคุณค่าของตนในฐานะผู้ที่เป็นแหล่งผลิตอาหารหลักให้แก่ประเทศ
  • ปี 2556 (เฟสที่ 2 )
    เครือไทยออยล์และมูลนิธิฯ ได้เห็นความสำคัญของการบริหารจัดการในชุมชน โดยเฉพาะเรื่องการกระจายผลผลิตข้าวของเกษตรกรไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ในปี 2558 เราจจะต่อยอดการสนับสนุนผลิตภัณฑ์ชุมชนภายใต้โครงการ “สร้างคลอง สร้างคน” ที่เน้นการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลสามารถนำไปสู่การดำเนินชีวิตของชุมชนที่ยั่งยืนน้อมนำแนวพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และยืนหยัดได้ด้วยตนเองอย่างแท้จริง ปีนี้จึงมีแผนงานขยายผลพัฒนาสู่ผลิตผลทางเกษตรกรรม ดำเนินการศึกษาและส่งเสริมการรับซื้อ “ข้าวชุมชน” เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร และจัดการอบรมเพิ่มทักษะความรู้และขยายอาชีพเกษตรกรรมนอกฤดูทำนา กำลังศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการสนับสนุนการรับซื้อ “ข้าวชุมชน”บ้านหนองทองลิ่ม ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์

    บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อการศึกษาและประชาสงเคราะห์ จัดทำโครงการบริหารจัดการเพื่อเศรษฐกิจพอเพียง หรือ โครงการ “สร้างคลอง สร้างคน” ในพื้นที่บ้านหนองทองลิ่ม ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ ตั้งแต่ปี 2556 โดยทำการขุดลอกคลองความยาวรวม 1,500 เมตรให้ลึกขึ้น โดยสร้างฝายน้ำล้นเข้าสู่ที่นาตลอดสองฝั่งคลอง ทำให้การบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นระบบ สามารถกักเก็บน้ำได้มากขึ้นทำให้มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคทั้งในฤดูทำนาและการปลูกพืชหมุนเวียนนอกฤดู ส่งผลให้การทำการเกษตรต่าง ๆ ประสบผลสำเร็จด้วยดี รวมถึงปรับปรุงถนนเลียบคลองให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ เกษตรกรสามารถนำผลผลิตข้าวและพืชผักออกสู่ภายนอกได้โดยสะดวก ปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวนี้ส่งผลให้เกษตรกรบ้านหนองทองลิ่มมีผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่จะมีโครงการคิดเป็น ร้อยละ 30 มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ปัญหาข้าวที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรส่วนใหญ่ใน ปี 2556 ที่ผ่านมา ทำให้ไทยออยล์และมูลนิธิฯ เล็งเห็นความสำคัญเร่งด่วนในการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ จึงริเริ่มโครงการสนับสนุนการรับซื้อ “ข้าวชุมชน” จากเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโดยตรงที่บ้านหนองทองลิ่มเป็นแห่งแรก เนื่องจากชุมชนนี้มีผู้นำที่กระตือรือร้นและชุมชนก็ให้ความร่วมมือต่อโครงการที่ยังประโยชน์เพื่อส่วนรวมด้วยดี บ้านหนองทองลิ่มมีพื้นที่เกษตรกรรมเพาะปลูกรวม 1,274 ไร่ ส่วนใหญ่ปลูกข้าวหอมมะลิขาวพันธุ์ 105 เนื่องจาก ข้าวหอมมะลิขาวเป็นที่นิยมของผู้บริโภค สำหรับ “ข้าวหอมมะลิแดง” จะปลูกไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนเพียง 30 ไร่ บ้านหนองทองลิ่มมีผลผลิตข้าวรวม 416,480 กิโลกรัม ปัจจุบันนี้ เกษตรกรลดการใช้สารเคมีในการปลูกและในการบรรจุหีบห่อเพื่อจำหน่าย ในอนาคตจะผลักดันให้เกษตรกรไม่ใช้สารเคมีเลย เป็นข้าวอินทรีย์อย่างเต็มที่ โครงการนี้จะช่วยให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น มีกำลังใจในการทำการเกษตร และตระหนักถึงคุณค่าของตนในฐานะผู้ที่เป็นแหล่งผลิตอาหารหลักให้แก่ประเทศ

ประโยชน์

  • ผลสำเร็จสามารถวัดได้เป็นจำนวนผลผลิตในฤดูเก็บเกี่ยว เชื่อว่า การสร้างคนที่มีคุณภาพ โดยให้ชุมชนเป็นผู้จัดการบริหารจะเป็นการสร้าง Good governance ให้กับชุมชน มองว่าเป็นเรื่องของความยั่งยืนของประเทศ ทำให้ชีวิตของชาวบ้านดีขึ้น อาจไม่ต้องดีเท่ากับเมือง แต่ต้องให้ชีวิตของชาวบ้านอยู่ได้ และดีขึ้น เหมาะสม และทำให้ “การย้ายถิ่นฐานน้อยลง” นี่เป็นเป้าหมายหลัก ที่ต่อไปจะต้องพัฒนาเป็นระดับ อำเภอ และจังหวัดต่อไป
  • ปัจจุบันชาวบ้าน 752 ครัวเรือน สามารถใช้น้ำซึ่งเป็นปัจจัยการผลิต เพื่อการกสิกรรมตลอดปี ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น 25% มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น 2 เท่า หรือเท่ากับ 72,000 มิลลิลิตร ต่อปี
  • ชาวบ้านได้รับการฝึกอบรมเทคโนโลยีในการวางแผน การบริหารจัดการโครงการ การใช้แผนที่ การสำรวจพื้นที่ชุมชน และการใช้กล้องสำรวจและการคำนวณ โดยการปฏิบัติที่เป็นการเรียนรู้จากการลงมือทำ (Learning by doing)
  • พนักงานเครือไทยออยล์มีส่วนร่วมในการวางแผนและฝึกอบรมชาวบ้านในการใช้เครื่องมือสำรวจและ การคำนวณในการขุดคลอง
  • ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการบริจาคที่ดินเพื่อขุดคลองและเข้าร่วมดำเนินโครงการทำให้เกิดความร่วมมือภายในชุมชน ในการบริหารโครงการให้เกิดความยั่งยืนและจัดเก็บรายได้เพื่อใช้บริหารโครงการ และการดูแล รักษาคลอง
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านเป็นโครงการนำร่องที่ชาวบ้านสามารถต่อยอดไปใช้ในพื้นที่ข้างเคียง
  • การสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ เน้นว่าต้องทำเป็นชุมชน เพราะถ้ามีบ้านไหนยังใช้สารเคมี ก็มีสิทธิที่สารเคมีจะปนลงไปกับน้ำ การทำโรงสีชุมชน โดยให้บ้านหนองทองลิ่มเป็นหมู่บ้านนำร่อง และสร้างเครือข่ายท้องถิ่นต่อไป
4. โครงการความร่วมมือในการเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ปะการังและฟื้นฟูแนวปะการัง

ชื่อโครงการ

  • โครงการความร่วมมือในการเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์ปะการังและฟื้นฟูแนวปะการัง

สถานที่

  • หมู่เกาะสีชัง จ.ชลบุรี

พันธมิตร

  • กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(ทช.)
  • สถาบันวิจัยทรัพยากรทางนํ้าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยี

  • วิธีการเพาะขยายพันธุ์ "แบบอาศัยเพศ" และ"แบบไม่อาศัยเพศ"

รายละเอียดโครงการ

  • โครงการเพาะเลี้ยง ขยายพันธุ์และฟื้นฟูแนวปะการังที่เสื่อมโทรม บริเวณหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี เพื่อเพิ่มศักยภาพในการขยายพันธุ์ปะการังและขีดความสามารถในการฟื้นตัวของปะการังตามธรรมชาติ และจัดสร้างแหล่งอนุบาลพันธุ์ปะการัง และพัฒนาแหล่งศึกษาดูงานและท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงนิเวศสำหรับนักเรียน นักศึกษาและบุคคลทั่วไป ดำเนินโครงการ 5 ปี (2555-2559) แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
    1. การเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์ปะการัง
    2. การอนุบาลตัวอ่อนการขยายจำนวนปะการัง
    3. การฟื้นฟูแนวปะการังที่เสื่อมโทรม

    วิธีการเพาะขยายพันธุ์ "แบบอาศัยเพศ" : การเพาะเลี้ยงและอนุบาลตัวอ่อนของปะการัง เพื่อเตรียมขยายลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ ซึ่งได้นำเทคนิคเพาะขยายพันธุ์จากเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังมาขยายผลให้สามารถเสริมสร้างงานฟื้นฟู แนวปะการัง

    วิธีการเพาะขยายพันธุ์ "แบบไม่อาศัยเพศ" : สำรวจและรวบรวมกิ่งพันธุ์ที่แตกหัก จากรอบหมู่เกาะ สีชัง ที่อาจมีสาเหตุมาจากนักท่องเที่ยวและจากคลื่นลมพายุตามธรรมชาติ แล้วนำกิ่งพันธุ์ปะการังมาอนุบาลเพื่อเพิ่มโคโลนี ให้ขยายใหญ่ขึ้น โดยจะมีการดำเนินการใน 2 รูปแบบ คือ แบบแพกลางนํ้า และแบบการวางท่อพีวีซีบนพื้นทะเล เป็นระยะเวลา 1 ปีเมื่อกิ่งพันธุ์ปะการังมีขนาดที่เหมาะสม จึงนำไปฟื้นฟูในธรรมชาติต่อไป

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • กิจกรรมจิตอาสาจัดเรียงแท่งคอนกรีตให้เป็นแนวปะการังใต้นํ้า พร้อมทั้งทำโครงอนุบาลปะการังจากท่อพีวีซี
  • เพาะเลี้ยงและอนุบาลตัวอ่อนของปะการัง เพื่อเตรียมขยายลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ ซึ่งได้นำเทคนิคเพาะขยายพันธุ์จากเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังมาขยายผล ซึ่งขณะนี้ สามารถเพาะพันธุ์ปะการังได้กว่า 10 ชนิด
  • แปลงอนุบาลปะการังแบบกลางนํ้าที่มีการประกอบทุ่นเป็นแพสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่เว้นพื้นที่ตรงกลางไว้สำหรับผูกและวางปะการังลงในนํ้าทะเลเพื่ออนุบาลแบบธรรมชาติ
  • จัดเรียงแท่งคอนกรีตนํ้าหนัก/ก้อนละ 100 กิโลกรัม ใต้ทะเลเป็นแนวปะการังใต้นํ้า
  • ทำแปลงอนุบาลปะการังจากท่อพีวีซี เพื่อปักชำปะการังเขากวางเข้ากับโครง ก่อนนำไปเพาะเลี้ยงใต้ท้องทะเล
  • นำเทคนิคเพาะขยายพันธุ์จากเซลล์สืบพันธุ์ของปะการังมาขยายผลให้สามารถเสริมสร้างงานฟื้นฟูแนวปะการังให้เกิดการต่อยอดไปได้
  • ก่อสร้างโรงเพาะพันธุ์ปะการังและอนุบาลปะการังขึ้นบริเวณหมู่เกาะแสมสาร อ.สัตหีบ ซึ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ทำให้ยังคงสภาพความสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลและความสะอาดของแหล่งนํ้าที่เหมาะแก่การอนุบาลปะการัง

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • การเพาะเลี้ยงและอนุบาลตัวอ่อนของปะการัง เพื่อเตรียมขยายลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ พร้อมทั้งฟื้นฟูแนวปะการังที่เสื่อมโทรม
  • มีแผนพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้านระบบนิเวศน์วิทยาทางทะเล

ประโยชน์

  • เพิ่มศักยภาพในการขยายพันธุ์ปะการังและขีดความสามารถในการฟื้นตัวของปะการังตามธรรมชาติ
  • จัดสร้างแหล่งอนุบาลพันธุ์ปะการัง ตลอดจนใช้เป็นแหล่งศึกษาดูงานและท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้เชิงนิเวศน์สำหรับนักเรียน นักศึกษาและบุคคลทั่วไปได้เรียนรู้ธรรมชาติทางทะเล และวิธีการฟื้นฟูแนวปะการัง
  • ฟื้นฟูแนวปะการังที่เสื่อมโทรมให้กลับคืนสภาพสมบูรณ์ตามธรรมชาติและส่งเสริมการท่องเที่ยวของชุมชน
5. โครงการอุ้มผางเมืองพลังงานพอเพียงถวายพ่อ

ชื่อโครงการ

  • โครงการอุ้มผางเมืองพลังงานพอเพียงถวายพ่อ

สถานที่

  • ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก

พันธมิตร

  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
  • เทศบาลตำบลแม่จัน

เทคโนโลยี

  • พลังงานน้ำ : เครื่องกังหันน้ำตามความเหมาะสมของพื้นที่
  • เซลล์แสงอาทิตย์ : ระบบประจุแบตเตอรี่จากเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
  • ก๊าซชีวภาพ : ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์
  • พลังงานชีวมวล : ระบบผลิตไฟฟ้าแบบ Gasification โดยใช้เปลือกไม้ และวัสดุทางการเกษตรเป็นเชื้อเพลิง

รายละเอียดโครงการ

  • เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุครบ 7 รอบ 84 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2554 บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำโครงการด้านพลังงานเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน โดยมุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาโครงการต้นแบบที่เป็นตัวอย่างให้กับท้องถิ่นอื่น โดยคัดเลือก ต.แม่จัน อ.อุ้มผาง จ.ตาก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลจากระบบส่งไฟฟ้าและมาตรฐานคุณภาพชีวิตในพื้นที่อยู่ในระดับต่ำ ทั้งการศึกษา การสาธารณสุข ตลอดจนสภาพเศรษฐกิจของชาวบ้านในพื้นที่ เพื่อพัฒนาโครงการด้านพลังงานหมุนเวียน

    โครงการอุ้มผางเมืองพลังงานพอเพียงถวายพ่อ มีแผนในการพัฒนาโครงการพลังงานหมุนเวียนและส่งเสริมให้ชุมชนรู้จักใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นมาผลิตเป็นพลังงานและสนับสนุนให้เกิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืนภายใต้การดำเนินของชุมชนเอง โดยพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้จะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง อาทิ
    - โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
    - การพัฒนาระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์
    - การอบรมการใช้และการดูแลรักษาระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
    - การซ่อมแซมและปรับปรุงระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ให้สามารถกลับมาใช้ได้
    - โครงการส่งเสริมการเรียนรู้และการให้ความรู้ความเข้าใจกับชุมชน ในการบริหารจัดการโครงการ และการส่งเสริมให้ชาวบ้านใช้ประโยชน์จากพลังงานหมุนเวียนที่ผลิตได้ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในพื้นที่

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิต 968 Wp สำหรับที่ทำการกองพลพัฒนาที่ 3 และ ขนาด 370 Wp สำหรับสุขศาลา บ้านมะโอะโค๊ะ
  • ระบบผลิตไฟฟ้าแบบ Gasification สำหรับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่จันขนาดกำลังผลิต 10 kW

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • ร่วมกับกรมอุทยานฯ พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำทีลอซู
  • โครงการยกระดับสุขศาลาพระราชทานให้ทัดเทียมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
  • ลดขนาดโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำทีจอซี เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำเพื่อชุมชน (แผนงานในอนาคต)
  • ร่วมกับ พพ. พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำบ้านเรตองคุ
  • ร่วมทำโครงการเรื่อง “ยาเพื่อชุมชน” ร่วมกับสุขศาลาเพื่อพัฒนาคุณภาพขีวิต
  • เปลี่ยน Inverter ที่มีกำลังการผลิตไฟฟ้าเพียงพอกับเครื่องส่งสัญญาณวิทยุของสุขศาลา
  • ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ขนาด 484 วัตต์ ระบบกรองน้ำดื่ม การจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม และไฟฟ้าแสงสว่าง ศูนย์เด็กเล็กบ้านกุยต๊ะ/กุยเคอะ
  • ติดตั้งระบบปั๊มน้ำของศูนย์เรียนรู้ชาวไทยภูเขาบ้านนุกะโถวา
  • เปลี่ยนแบตเตอรี่ ระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ของศูนย์เรียนรู้ฯ

ประโยชน์

  • ด้านการศึกษา การผลิตไฟฟ้าให้โรงเรียน ในตำบลแม่จัน
  • ด้านสาธารณสุข ส่งเสริมศักยภาพการให้บริการทางการแพทย์ของสถานีอนามัย และสุขศาลาในพื้นที่ตำบล
แม่จัน รวมทั้งชุมชนสะอาดและมีสุขภาวะที่ดีขึ้น
  • ด้านสิ่งแวดล้อม ลดปัญหาผลกระทบทางกลิ่นจากการทำปศุสัตว์แบบเลี้ยงปล่อย การปล่อยทิ้งหรือเผาเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคการเกษตร
  • ด้านความมั่นคง เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานให้กับระบบส่องสว่างและเครื่องมือสื่อสารของทหารและตำรวจในการตั้งด่านตรวจการในพื้นที่
6. โครงการด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนบนที่สูง จ.แม่ฮ่องสอน

ชื่อโครงการ

  • โครงการด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนบนที่สูง จ.แม่ฮ่องสอน

สถานที่

  • ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง, ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า, ต.แม่สวด อ.สบเมย, ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน

พันธมิตร

  • องค์การสหประชาชาติ (UN)
  • สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
  • จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยี

  • พลังงานน้ำ : เครื่องกังหันน้ำ แบบ Cross Flow ตามความเหมาะสมของพื้นที่
  • เซลล์แสงอาทิตย์ : ระบบประจุแบตเตอรี่จากเซลล์แสงอาทิตย์ และระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์
  • ก๊าซชีวภาพ : ระบบผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์
  • พลังงานชีวมวล : เตาแก๊สซิไฟเออร์ โดยใช้เชื้อเพลิงจากแกลบ

รายละเอียดโครงการ

  • โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ซึ่งเป็นหน่วยดำเนินการหนึ่งภายใต้กรอบโครงการด้านการพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนบนพื้นที่สูงในจังหวัดแม่ฮ่องสอน หรือ The United Nations Joint Programme (UNJP) on Integrated Highland Livelihood Development in Mae Hong Son ซึ่งมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่
    1. เพิ่มผลผลิต กระจายความเจริญทางเศรษฐกิจ สนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มที่อ่อนไหว
    2. ส่งเสริมการอนุรักษ์และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
    3. เพิ่มโอกาสและความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงการบริการทางสังคม เช่น สาธารณสุข การศึกษา เป็นต้น ให้กับกลุ่มที่อ่อนไหว

    โดย UNDP ได้มอบหมายให้มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อมดำเนินโครงการด้านการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนในชนบท เพื่อสนับสนุนวัตถุประสงค์ที่ 2 ของ UNJP ได้แก่ การส่งเสริมการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการดังกล่าว มีองค์กรพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ สำนักงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดแม่ฮ่องสอน สำนักงานพลังงานจังหวัดแม่ฮ่องสอน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่เป้าหมาย โดยเครือไทยออยล์ ให้การสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมผ่านกลไกพลังงานสีเขียว ซึ่งเป็นโครงการส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนแบบสมัครใจที่ดำเนินการโดยมูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • การฝึกอบรมเสริมสร้างศักยภาพของชุมชน ทั้งเจ้าหน้าที่รัฐ และบุคคลทั่วไป
  • ก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดกำลังผลิต7 kW ที่บ้านรวมไทย(ปางอุ๋ง) ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง
  • ติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ บ้านแอโก๋ ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า
  • ติดตั้งระบบผลิตก๊าซชีวภาพ โรงเรียนบ้านแม่แฮด ต.แม่สวด อ.สบเมย
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิต 2 kW โรงเรียนบ้านผามอน ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า
  • ติดตั้งระบบไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดกำลังผลิต 2 kW โรงเรียนบ้านแม่แพหลวง ต.แม่สวด อ.สบเมย
  • การซ่อมแซมและฟื้นฟูระบบโซล่าร์โฮม และระบบประจุแบตเตอรี่แบบรวมศูนย์ ต.หมอกจำแป่ อ.เมือง, 
ต.แม่สวด อ.สบเมย และต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง
  • ติดตั้งระบบประจุแบตเตอรี่จากเซลล์แสงอาทิตย์ หย่อมบ้านสบแม่ป่อ ต.แม่ยวม อ.แม่สะเรียง
  • การฝึกอบรมเสริมสร้างศักยภาพของช่างเทคนิคในพื้นที่
  • การติดตั้งไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์โซล่าโฮมสำหรับครัวเรือนและโรงเรียน บ้านกองอูม ต.แม่สวด อ.สบเมย
  • ส่งเสริมการใช้เตาแก๊สซิไฟเออร์ ลดการใช้ฟืนโดยนำแกลบมาเป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้ม

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • ร่วมกองทุน Seed Money ประกอบด้วย ฟาร์มแสงอาทิตย์ขนาดไม่ต่ำกว่า 500 kW, Biogas 30 แห่ง, 100 Solar Home Systems & 200 Solar Lanterns (ระบบที่ใช้ทดแทนตะเกียง) และ10 Solar Rooftops
  • จัดทำคู่มือการดูแลและซ่อมแซมแผง Solar
  • จัดทำค่ากลางสำหรับดำเนินงานติดตั้ง ดูแล และซ่อมบำรุงแผง Solar อย่างยุติธรรม
  • การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์ ร่วมกับตชด. จ.แม่ฮ่องสอน

ประโยชน์

  • ชุมชนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการประกอบอาชีพ พัฒนาความรู้ และ จัดหาพลังงานให้สถานบริการพื้นฐาน
  • สามารถจัดหาไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการพื้นฐานจากแหล่งพลังงานที่เหมาะสม
  • ชุมชนมีการบริหารจัดการมูลสัตว์ และขยะอย่างถูกสุขลักษณะ
  • ส่งเสริมให้ชุมชนลดการใช้ฟืน และร่วมกันอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ
  • สร้างอาชีพ และการพัฒนาช่างชุมชนให้มีคุณภาพ
7. โครงการปรับปรุงเตานึ่งเมี่ยงประหยัดพลังงาน

ชื่อโครงการ

  • โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเตานึ่งเมี่ยงประหยัดพลังงาน

สถานที่

  • บ้านป่าเหมี้ยง ต.แจ้ซ้อน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง

พันธมิตร

  • สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงาน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    ERDI – Nakornping [Energy Research and Development Institute – Nakornping Chiang Mai] University]
  • บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)
  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยี

  • เตานึ่งเมี่ยงประสิทธิภาพสูงเพิ่มพื้นที่ผิวในการถ่ายเทความร้อนของถังผลิตไอน้ำขึ้น 400% พร้อมทั้งติดตั้งปล่องสูงเพื่อเพิ่มแรงดูดเปลวไฟผ่านท่อไฟ ส่งผลให้ลดการใช้ไม้ฟืนลง 60%

รายละเอียดโครงการ

  • โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเตานึ่งเมี่ยง มีเป้าหมายในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ภาคสังคมใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จากเดิมอาชีพการนึ่งและจำหน่ายใบเมี่ยงของชาวบ้านหมู่บ้านป่าเหมี้ยง ต้องใช้ไม้ฟืนเป็นจำนวนมากถึง 25 กิโลกรัม ในการนึ่งใบเมี่ยงแต่ละครั้ง เป็นเวลานานถึง 90 นาที ในขณะที่เตานึ่งเมี่ยงประหยัดพลังงานสามารถนึ่งใบเมี่ยงจำนวนเดียวกันได้ภายในเวลา 60 นาที โดยใช้ฟืนเพียง 7- 10 กิโลกรัม เท่ากับลดการใช้เชื้อเพลิงลงถึงร้อยละ 60

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • ติดตั้งเตาประสิทธิภาพสูงให้ชาวบ้าน 119 หลังคาเรือน
  • กิจกรรมพนักงานจิตอาสาติดตั้งเตานึ่งเมี่ยงร่วมกับชาวบ้าน
  • พนักงาน Combustion เสนอแนะ การปรับปรุงพัฒนาเตาเพื่อแก้ไขเขม่าและประสิทธิภาพในการเผาไหม้ให้ดีขึ้น

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • วิจัยคุณสมบัติของใบเมี่ยงหมัก
  • ศึกษาและพัฒนาเตาให้Œมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
  • โครงการส่งเสริมการปลูกไม้โตเร็วเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง
  • ขยายพื้นที่โครงการไปยัง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

ประโยชน์

  • ลดการตัดไม้ทำลายป่าเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการนึ่งเมี่ยง กว่า 7,000 ต้นต่อปี
  • ลดมลพิษที่ปล่อยออกจากเตาอันเนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์
  • ลดเวลาที่ใช้ในการเก็บฟืนและนึ่งเมี่ยง ทำให้สามารถไปทำกิจกรรมอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้
8. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนห้วยปูลิง

ชื่อโครงการ

  • โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนห้วยปูลิง

สถานที่

  • ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

พันธมิตร

  • สำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
  • กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • เทศบาลตำบลบ้านหลวง

เทคโนโลยี

  • กังหันน้ำชนิด Cross Flow Turbine 1 ชุด
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 30 kW (Rated Power 22 kW)

รายละเอียดโครงการ

  • โรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนห้วยปูลิง เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กระดับชุมชน ทำการผลิตไฟฟ้าได้จากการก่อสร้างฝายชะลอน้ำคอนกรีตและประตูรับน้ำในห้วยปูลิงแล้วผันน้ำบางส่วนผ่านท่อส่งน้ำไปยังอาคารโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากังหันน้ำ

    นอกจากนี้แล้วโครงการฯ ยังได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ในการประกวด ASEAN Energy Awards 2011 ด้านพลังงานทดแทน ประเภท Off-Grid และรางวัลดีเด่น ด้านพลังงานทดแทน ประเภทโครงการพลังงานหมุนเวียนที่ไม่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า (Off-Grid) จากการประกวด Thailand Energy Awards 2011

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • ขยายระบบส่งไฟฟ้าเพิ่มเติม 2 หมู่บ้าน (จำนวน 66 หลังคาเรือน) เดิมมีไฟฟ้าใช้แค่ 1 กลุ่มบ้าน (33 หลังคาเรือน) รวมทั้ง โรงเรียน วัด โบสถ์ และด่านตรวจอุทยาน
  • บริจาคเครื่องสีข้าวและกะเทาะเมล็ดกาแฟ โดยมีพนักงานร่วมพิธีเปิดโรงไฟฟ้า และติดตั้งหลอดประหยัดไฟให้หมู่บ้าน
  • ขยายระบบส่งไฟฟ้าไปยังโรงเรียนบ้านขุนยะ ศูนย์กลางการศึกษาของชุมชน แล้วเสร็จต้นเดือน ธ.ค.2553
  • ก่อสร้างอาคาร 50 ปี ไทยออยล์ ให้กับโรงเรียนบ้านขุนยะ

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • โครงการขยายระบบส่งไฟฟ้าเพิ่มเติมอีก 2 กลุ่มบ้าน (จำนวน 137 หลังคาเรือน) ภายในเดือนธันวาคม 2555
  • การปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหมู่ 23 ในปี 2555

ประโยชน์

  • ลดปัญหาการตัดไม้และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า
  • การสร้างความร่วมมือภายในชุมชนในการบริหารโครงการให้เกิดความยั่งยืนโดยการกำหนดระเบียบและการจัดเก็บรายได้เพื่อใช้ในการบริหารโครงการ
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในด้านการศึกษา สาธารณสุขคุณภาพชีวิตที่ดีและการสร้างอาชีพ
  • ลดการปล่อย GHG 40.05 ตัน CO2 / ปี
9. โครงการอาคาร 50 ปี ไทยออยล์ โรงเรียนบ้านขุนยะ

ชื่อโครงการ

  • โครงการอาคาร 50 ปี ไทยออยล์ โรงเรียนบ้านขุนยะ จ.เชียงใหม่

สถานที่

  • ต.บ้านหลวง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

พันธมิตร

  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • โรงเรียนบ้านขุนยะ
  • ชาวบ้านบ้านป่ากล้วย

รายละเอียดโครงการ

  • สืบเนื่องจากการขยายระบบสายส่งไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนห้วยปูลิง ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP), มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม (มพส.) และ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) มายังโรงเรียนบ้านขุนยะ เครือไทยออยล์ได้ต่อยอดโครงการ ด้วยการสร้างอาคาร 50 ปี ซึ่งเป็นอาคารเรียนชั้นเดียวประกอบด้วย ห้องเรียน 2 ห้อง ห้องคอมพิวเตอร์ และห้องพักครู เพื่อทดแทนอาคารเรียนหลังเดิมที่มีอายุการใช้งานมานานถึง 35 ปี

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • กิจกรรมจิตอาสาร่วมสร้างและทาสีอาคารเรียน เทปูนลานอเนกประสงค์ สร้างทางเดินเชื่อมต่อระหว่างอาคาร ติดตั้งระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เครื่องคอมพิวเตอร์และระบบอินเตอร์เน็ต และปลูกผักสวนครัว รั้วกินได้ร่วมกับชาวบ้านขุนยะ และมอบอุปรณ์การเรียนและการกีฬา เดือนมีนาคม 2554
  • นำตัวแทนนักเรียน เจ้าหน้าที่ และครู โรงเรียนบ้านขุนยะ มาทัศนศึกษา จ.ชลบุรี

ประโยชน์

  • นักเรียนจำนวน 70 คน ได้รับโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในด้านการศึกษา
  • เป็นศูนย์รวมทางด้านการศึกษาและการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของชุมชน
  • ช่วยให้ชุมชนตระหนักถึงคุณประโยชน์ และความสำคัญของป่าไม้ และแหล่งน้ำ
10. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำวัดจำปาทอง

ชื่อโครงการ

  • โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำวัดจำปาทอง

สถานที่

  • อุทยานน้ำตกจำปาทอง ต.บ้านต๊ำ อ.เมือง จ.พะเยา

พันธมิตร

  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)
  • อุทยานแห่งชาติดอยหลวง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • วัดจำปาทอง

เทคโนโลยี

  • เครื่องชุดที่ 1
    - เครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรจำนวน 1 ชุด
    - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 7.5 kW จำนวน 1 ชุด
  • เครื่องชุดที่ 2
    - กังหันน้ำชนิด Turgo จำนวน 1 ชุด
    - เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ขนาด 7.5 kW จำนวน 1 ชุด

รายละเอียดโครงการ

  • โรงไฟฟ้าพลังน้ำวัดจำปาทอง เป็นโรงไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการสร้างฝายชะลอน้ำและผันน้ำตกจำปาทองบางส่วนผ่านท่อส่งน้ำ ไปยังอาคารโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตและจ่ายไฟฟ้าให้กับวัดจำปาทอง ซึ่งขาดแคลนไฟฟ้าสำหรับการประกอบกิจของสงฆ์ และหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยหลวงที่ 6 (จำปาทอง ) ซึ่งมีความจำเป็นต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการปฏิบัติงาน

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • โรงไฟฟ้าแห่งแรก กำลังการผลิตติดตั้ง 7.5 kW (เดินเครื่อง 3 kW) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2553 ปัจจุบันจ่ายไฟฟ้าให้กับหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติดอยหลวงที่ 6 (จำปาทอง)
  • โรงไฟฟ้าแห่งที่ 2 กำลังการผลิตติดตั้ง 7.5 kW (เดินเครื่อง 5 kW) ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2555 ปัจจุบันจ่ายไฟฟ้าให้กับวัดจำปาทอง
  • ทอดผ้าป่า CSR ร่วมสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำ และตั้งกองทุนบำรุงรักษา พร้อมนำพนักงานจิตอาสาร่วมพิธีทอดผ้าป่าและบำเพ็ญประโยชน์ที่วัดจำปาทอง เมื่อ พ.ค. 2553
  • ทอดผ้าป่า CSR จัดทำเส้นทางศึกษาธรรมชาติ และเรียนรู้การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ และกิจกรรมพนักงานจิตอาสาร่วมเทปูนทางเดินรอบอาคารโรงไฟฟ้าและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณอาคารโรงไฟฟ้า ในเดือนพฤศจิกายน 2555
  • โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์แหล่งท่องเที่ยวน้ำตกจำปาทอง พฤศจิกายน 2555

ประโยชน์

  • การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังน้ำขนาดเล็ก โดยใช้เครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรซึ่งชาวบ้านมีความคุ้นเคยทำให้การบริหารจัดการมีความยั่งยืน
  • ลดปัญหาการตัดไม้ทำลายป่าและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำซึ่งเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า
  • ส่งเสริมทำนุบำรุงพุทธศาสนาและภารกิจของอุทยานฯ ในการดูแลรักษาป่าต้นน้ำ
  • ลดรายจ่ายการผลิตไฟฟ้าจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล ของหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ และวัดจำปาทอง
  • ลดการปล่อย GHG 16.29 ตัน CO2 / ปี
11. โครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนบ้านเปียน

ชื่อโครงการ

  • โครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าชุมชนบ้านเปียน

สถานที่

  • ต.เทพเสด็จ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่

พันธมิตร

  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)

เทคโนโลยี

  • กังหันนํ้าชนิด Turko Turbine จำนวน 1 ชุด
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 3 kW จำนวน 1 ชุด

รายละเอียดโครงการ

  • บ้านเปียนเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่ตั้งอยู่ในท้องถิ่นห่างไกลจากระบบสาธารณูปโภคของรัฐจะเข้าถึง โดยเครือไทยออยล์ได้ร่วมพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งมุ่งหวังให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้า ที่ชุมชนสามารถดำเนินการได้เองอีกทั้งยังช่วยสร้างความร่วมมือภายในชุมชนในการบริหารโครงการให้เกิดความยั่งยืน

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • ติดตั้งกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้า พร้อมเดินสายส่ง เพื่อจ่ายไฟฟ้าให้แก่ชาวบ้านรวม 10 หลังคาเรือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • บำรุงรักษาเป็นระยะ

ประโยชน์

  • การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าจากพลังนํ้าขนาดเล็กที่ชุมชนดำเนินการได้เอง
  • ลดปัญหาการตัดไมŒทำลายป่าและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าต้นนํ้าแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้า
  • สร้างความร่วมมือภายในชุมชนในการบริหารโครงการให้เกิดความยั่งยืนโดยการกำหนดระเบียบและการจัดเก็บรายได้เพื่อใช้Œในการบริหารโครงการ
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวบ้านด้านการศึกษา สาธารณสุขคุณภาพชีวิตที่ดี และการสร้างอาชีพ
  • ลดการปล่อย GHG 3.67 ตัน CO2 / ปี
12. โครงการพัฒนาผู้นำและการเรียนรู้ของคนในชุมชน

ชื่อโครงการ

  • โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชน

สถานที่

  • ที่ได้เดินทางไปทัศนาวิชาการที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน
    - ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ. กระบี่
    - เทศบาลเมืองปากพูน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
    - ชุมชนประมงแหลมผักเบี้ย จ. เพชรบุรี

พันธมิตร

  • คณะกรรมการและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) 7ชุมชน รอบโรงกลั่นไทยออยล์
  • โรงพยาบาลอ่าวอุดม
  • เทศบาลนครแหลมฉบัง
  • เทศบาลเมืองปากพูน จ. นครศรีธรรมราช
  • กลุ่มประมงแหลมผักเบี้ย
  • ชุมชนบ้านแม่โจ้ จ.เชียงใหม่

รายละเอียดโครงการ

  • ตามที่เครือไทยออยล์ได้กำหนดกรอบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม(CSR) และวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนรอบโรงกลั่น และผู้นำชุมชน เครือฯ จึงได้นำชุมชนรอบโรงกลั่น หน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสาธารณสุขในชุมชน และชุมชนในพื้นที่โครงการลงพื้นที่ศึกษาดูการดำเนินงานชุมชนที่มีจุดเด่นด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ เพื่อการพัฒนาต่อยอดสำหรับชุมชนรอบโรงกลั่น

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • กิจกรรมทัศนาวิชาการการจัดการแบบไร้ของเสีย (Zero-waste) ณ ศูนย์วิทยบริการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จ. กระบี่
  • ศึกษาดูการดำเนินงานที่เทศบาลเมืองปากพูน และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการสุขภาวะโดยชุมชน ทั้งการบริหารจัดการสุขภาวะของชุมชน สวัสดิการเพื่อสุขภาวะชุมชน ธนาคารความดี ธนาคารเวลา ชุมชนคนรักษ์สุขภาพ การพัฒนาและการจัดการป่าชายเลน วารีบำบัด นวดแผนไทย ฟาร์มโคนมสาธิต ศูนย์พัฒนา เด็กเล็ก อาสาสมัครดูแลคนพิการและจิตเวช และอาชาบำบัด จ. นครศรีธรรมราช
  • ให้การสนับสนุนโครงการธนาคารความดี สำหรับเยาวชนชุมชนบ้านอ่าวอุดม ตามรูปแบบเทศบาลเมืองปากพูน
  • นำโปรแกรมบันทึกข้อมูลด้านสุขภาวะของคนในชุมชน (FAP) ที่พัฒนาโดย เทศบาลเมืองปากพูนมาใช้งานด้านเวชศาสตร์ชุมชน

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • ศึกษาการตั้งกลุ่มธนาคารปูม้าเพื่ออนุรัก์พันธุ์ปูม้า ของชุมชนแหลมผักเบี้ย

ประโยชน์

  • สร้างโอกาสแห่งการเรียนรู้ด้านการจัดการสุขภาวะในชุมชนให้กับแกนนำชุมชน เจ้าหน้าที่เทศบาลนครแหลมฉบัง ผู้แทนโรงเรียนและโรงพยาบาลที่อยู่รอบโรงกลั่น
  • ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนรอบโรงกลั่น
  • สร้างความสัมพันธ์อันดีกับผู้แทนชุมชนรอบโรงกลั่นและพันธมิตรในพื้นที่โครงการที่เข้มแข็งเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน และส่งเสริมให้ชุมชนมีสุขภาวะที่ดีบนรากฐานของการเติบโตร่วมกันอย่างสมดุลและยั่งยืน
13. โครงการโรงไฟฟ้าสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง บ้านป่าคา

ชื่อโครงการ

  • โครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านป่าคา จ.กำแพงเพชร

สถานที่

  • อ.คลองลาน จ.กำแพงเพชร ที่ดูแลโดยหน่วยเฉพาะกิจกรรมทหารราบที่ 4

พันธมิตร

  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
    กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)

รายละเอียดโครงการ

  • เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งนับว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมภารกิจในการปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเดิมมีเพียงระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ไม่เพียงพอกับการจ่ายไฟฟ้าให้อุปกรณ์สื่อสาร อันเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายแดนและสร้างขวัญกำลังใจให้กับกำลังพลในการปฏิบัติงาน

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • จ่ายไฟฟ้าให้กับสถานีพัฒนาการเกษตรที่สูง เพื่อส่งเสริมภารกิจในการปราบปรามยาเสพติด ตั้งแต่เดือนเมษายน 2553

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • บำรุงรักษาเป็นระยะ

ประโยชน์

  • กังหันนํ้าชนิด Turko Turbine จำนวน 1 ชุด
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 3 kW จำนวน 1 ชุด
  • เป็นโครงการโรงไฟฟ้าพลังนํ้าชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งนับว่ามีส่วนช่วยส่งเสริมภารกิจในการปราบปรามยาเสพติด ซึ่งเดิมมีเพียงระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ที่ไม่เพียงพอกับการจ่ายไฟฟ้าให้อุปกรณ์สื่อสาร อันเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงบริเวณชายแดนและสร้างขวัญกำลังใจให้กับกำลังพลในการปฏิบัติงาน
14. โครงการก๊าซชีวภาพ สุพรรณบุรี

ชื่อโครงการ

  • โครงการก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์

สถานที่

  • บ้านนเรศ ต.ดอนเจดีย์ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี

พันธมิตร

  • มูลนิธิพลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม
  • แม่ชีอาจารย์ ดร.สายจิตร จะวะนะ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ

เทคโนโลยี

  • บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโดมคงที่ (Fixed Dome)
  • หมักสารอินทรีย์ด้วยระบบบำบัดแบบไม่ใช้ออกซิเจน

รายละเอียดโครงการ

  • โครงการก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงสุกร ณ หมู่บ้านนเรศ อ.ดอนเจดีย์ จ.สุพรรณบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการนำ ขยะอินทรีย์มาผลิตเป็นพลังงาน ซึ่งเป็นการนำมูลหมูมาหมักในบ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโดมคงที่ (Fixed Dome) ขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร เพื่อให้ชาวบ้านจำนวน 23 หลังคาเรือนได้นำก๊าซชีวภาพไปใช้ในการประกอบอาหารแทน ก๊าซหุงต้ม (LPG)

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • สร้างบ่อหมักก๊าซชีวภาพจากฟาร์มเลี้ยงสุกร โดยนำน้ำเสียจากฟาร์มหมักเป็นก๊าซชีวภาพ
  • ติดตั้งท่อก๊าซไปยังบ้านชาวบ้านที่ร่วมโครงการ จำนวน 23 หลังคาเรือน ในเดือน กุมภาพันธ์ 2554

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • ติดตามความก้าวหน้างาน

ประโยชน์

  • สามารถใช้ทดแทนก๊าซหุงต้มเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
  • สร้างมูลค่าเพิ่มจากของเสีย
  • ลดปัญหาด้านน้ำเสีย กลิ่นเหม็น สัตว์นำโรครบกวน สร้างสุขอนามัยที่ดี
  • เป็นตัวอย่างและแหล่งศึกษาดูงานให้ชุมชนบริเวณใกล้เคียงลดปัญหาสภาวะโลกร้อนเพราะ ช่วยลดการ ปล่อย CO2 และ CH4
  • ของเสียที่ผ่านกระบวนการหมัก ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ที่มีธาตุอาหารเหมาะแก่การปลูกพืช
15. โครงการคืนโรงเรียนให้ลูกหลาน สานสัมพันธ์ชุมชน

ชื่อโครงการ

  • โครงการคืนโรงเรียนให้ลูกหลาน สานสัมพันธ์ชุมชน (ภายใต้โครงการ กองทุน “ตลาดหุ้นร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม”)

สถานที่

  • โรงเรียนบ้านคลองฝรั่ง (บัวเอี่ยมพิทยากร) ต.ไทรน้อย และโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์ ต.ทวีวัฒนา อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี

พันธมิตร

  • กองทุน “ตลาดหุ้นร่วมในช่วยภัยน้ำท่วม”
  • สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม Corporate Social Responsibility Institute (CSRI)
  • สมาคมบริษัทจดทะเบียนไทย (CSR Club)
  • สภาวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย
  • บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด

รายละเอียดโครงการ

  • ช่วงมหาอุทกภัย ปี 2554 ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมจดทะเบียนไทย สภาธุรกิจตลาดทุนไทย สมาคมบริษัทหลักทรัพย์ สมาคมบริษัทจัดการลงทุน สมาคมตราสารหนี้ไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ และสมาคมนักศึกษาสถาบันวิทยาการตลาดทุนได้ก่อตั้งกองทุน “ตลาดหุ้นร่วมใจ ช่วยภัยน้ำท่วม” ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรับบริจาคเงินและสิ่งของ เพื่อนำไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ประสบอุทกภัยร้ายแรงในปีที่ผ่านมา หลังจากที่ระดมทุนนานกว่า 2 เดือน มีบริษัทจดทะเบียน 84 บริษัทร่วมบริจาคสมทบเข้ากองทุนกว่า 110 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมกับเงินร่วมลงทุนจากตลาดหลักทรัพย์ฯ และองค์กรอื่นๆในตลาดทุน ทำให้กองทุนฯ นี้มีมูลค่ากว่า 340 ล้านบาท โดยเครือไทยออยล์ได้ร่วมบริจาคเงินจำนวน 3 ล้านบาท ซึ่งเงินจำนวนดังกล่าวได้นำมาจัดหาถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย

    ต่อมา กองทุนได้ริเริ่มโครงการ “คืนโรงเรียนให้ลูกหลาน สานสัมพันธ์ชุมชน” โดยได้รับการสนับสนุนจากทีมงาน บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ช่วยสำรวจและรวบรวมข้อมูลความเสียหายของโรงเรียนต่างๆในพื้นที่จังหวัดอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี ให้หลายสิบโรงเรียน พร้อมกับขอความร่วมมือจากบริษัทจดทะเบียนให้รับเป็นบริษัทเจ้าภาพในการปรับปรุงโรงเรียนเหล่านั้น

    เครือไทยออยล์ ได้รับเป็นเจ้าภาพในการฟื้นฟูโรงเรียนจำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนบ้านคลองฝรั่ง บัวเอี่ยมพิทยากร) และโรงเรียนสมบูรณ์ศาสตร์พัฒนา อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี โดยใช้เงินจากกองทุนฯ ในการฟื้นฟูครั้งนี้

กิจกรรมที่ดำเนินการแล้ว

  • ดำเนินการปรับปรุงซ่อมบำรุงอาคารเรียน สถานที่ ระบบกรองน้ำดื่ม และระบบไฟฟ้า รวมทั้งบริจาคโต๊ะ เก้าอี้ ตลอดจนอุปกรณ์ทำความสะอาด และนมกล่องให้นักเรียน
  • บริษัทเจ้าภาพในการบริหารจัดการโครงการ และติดตามงานโดยมีกองทุนฯ เป็นผู้ให้ทุนดำเนินการ
  • มอบโรงเพาะเห็ดเศรษฐกิจพอเพียงเครือไทยออยล์เพื่อชุมชน โรงเรียนละ 1 โรง พร้อมเชื้อก้อนเห็ดนางฟ้าภูฐานและเห็ดฮังการี 1,000 ก้อน เพื่อเป็นอาหารกลางวันให้เด็กนักเรียน และส่งเสริมการสร้างแปลงเกษตรกรรมตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • จัดกิจกรรม CSR เพื่อส่งมอบอาคารเรียน เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2555 ประกอบด้วย กิจกรรมทาสีเครื่องเล่นและปรับปรุงภูมิทัศน์สนามเด็กเล่น กิจกรรมปรับปรุงโรงอาหาร และกิจกรรมปลูกผักเศรษฐกิจพอเพียงและปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณโดยรอบหอพระ

กิจกรรมต่อเนื่อง

  • ถ่ายทอดความรู้ “การเพาะเห็ดแนวใหม่” ตามแนวทางตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมงานด้านการเกษตรให้เป็นโรงเรียนเศรษฐกิจพอเพียง

ประโยชน์

  • โรงเรียนได้รับการฟื้นฟูและซ่อมบำรุงอาคารเรียนและสถานที่อย่างเหมาะสม ทดแทนเงินช่วยเหลือจากราชการซึ่งมีไม่เพียงพอ
  • โรงเรียนได้รับโรงเพาะเห็ด ซึ่งนักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรีนรู้และดูแลรักษา เพื่อฟื้นฟูแปลงเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในโครงการอาหารกลางวันนักเรียน