ลักษณะของธุรกิจ

บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด (TPX)

โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีของ บจก. ไทยพาราไซลีน ซึ่งไทยออยล์ถือหุ้นทั้งหมด
จะมีบทบาทในการสร้างเสริมรายได้ให้แก่กลุ่มบริษัทไทยออยล์

เริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ พ.ศ. 2545
ประเภทธุรกิจ ธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น
กำลังการผลิต
สารพาราไซลีน 527,000 ตันต่อปี
สารมิกซ์ไซลีน 52,000 ตันต่อปี
สารเบนซีน 259,000 ตันต่อปี
โครงสร้างผู้ถือหุ้น บมจ. ไทยออยล์ ร้อยละ 100

Thai Paraxylene Process


  •      หน่วยผลิตสารมิกซ์ไซลีน (Mixed Xylene : MX) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่กลั่นแยกแพลตฟอร์เมตจากหน่วยเพิ่มค่าออกเทนด้วยสารเร่งปฏิกิริยา (Continuous Catalyst Regeneration Platformer Unit) ของบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อผลิตสารอะโรเมติกส์ชนิดเบา (C5 Product) Crude Toluene และสารอะโรเมติกส์ชนิดหนัก (C9+) ซึ่งจะส่งกลับไปยังบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อใช้เป็น
    องค์ประกอบผสมน้ำมันสำเร็จรูปต่อไป นอกจากนั้น ยังมีการผลิต Crude Benzene ซึ่งใช้เป็นวัตถุดิบป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตสารเบนซีน
    และสารมิกซ์ไซลีน ประกอบไปด้วยสารพาราไซลีน สารออโธไซลีน สารเมตาไซลีน และสารเอทิลเบนซีน ซึ่งจะมีการนำไปผลิตสารพาราไซลีนต่อไป
  •  
  •      หน่วยผลิตสารพาราไซลีน (Paraxylene : PX) ประกอบด้วยหน่วยผลิตย่อย 3 หน่วย โดยจะมีการนำสารมิกซ์ไซลีนจากหน่วย MX ป้อนเข้าสู่หน่วย Parex เพื่อแยกสารพาราไซลีนออกจากสารไซลีนอื่นๆ ในสารมิกซ์ไซลีน โดยกระบวนการ Adsorption จากนั้น สารพาราไซลีน
    ที่ได้ จะมีการนำมาเข้ากระบวนการกลั่นเพื่อเพิ่มความบริสุทธิ์ให้สูงขึ้น โดยสารพาราไซลีนที่ได้มีความบริสุทธิ์สูงถึงร้อยละ 99.7 โดยน้ำหนัก จากนั้น จะส่งสารไซลีนอื่นๆ ซึ่งโดยรวมเรียกว่า Raffinate ได้แก่ สารออโธไซลีน สารเมตาไซลีน และสารเอทิลเบนซีน ไปยังหน่วย Isomar
    เพื่อเปลี่ยนโครงสร้างโมเลกุลของสารออโธไซลีนและสารเมตาไซลีนให้กลายเป็นสารพาราไซลีนด้วยปฏิกิริยา Isomerization
    และเปลี่ยนสารเอทิลเบนซีนให้ กลายเป็นสารเบนซีนด้วยปฏิกิริยา EB Dealkylation ทำให้สามารถผลิตสารพาราไซลีน และสารเบนซีน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์พลอยได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีหน่วยกลั่นไซลีน (Xylene Rerun Unit) ซึ่งจะทำหน้าที่กลั่นแยกสารอะโรเมติกส์หนัก (C9+)
    ที่อยู่ในสารมิกซ์ไซลีนออกจากสารอะโรเมติกส์เบา (C8) เพื่อให้ได้สารมิกซ์ไซลีนที่พร้อมจะส่งไปเป็นวัตถุดิบสำหรับหน่วย Parex ขณะเดียวกัน สารอะโรเมติกส์หนัก (C9+) บางส่วนจากหน่วย MX จะมีการส่งเข้าสู่หน่วย Xylene Rerun Unit เพื่อแยกเฉพาะ A9 และส่งกลับไป
    บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปผลิตน้ำมันเบนซินต่อไป สำหรับส่วนที่เหลือซึ่งเรียกว่า Heavies จะมีการส่งกลับไปยัง
    บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อผลิตน้ำมันเตา
  •  
  •      หน่วยผลิตสารเบนซีน ประกอบด้วยหน่วยผลิตย่อย 2 หน่วย โดยจะมีการส่ง Crude Benzene จากหน่วย MX และสารเบนซีนจากหน่วย Isomar ไปยังหน่วย ED Sulfolane เพื่อสกัดแยกสารที่ไม่ใช่สารอะโรเมติกส์ออก แล้วส่งกลับไปยังบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปใช้เป็นองค์ประกอบผสมน้ำมันเบนซิน ขณะที่สารอะโรเมติกส์ที่เหลือจะส่งไปยังหน่วย Benzene & Toluene Fractionation เพื่อกลั่นแยก
    สารเบนซีน สารโทลูอีนและสารไซลีน ทำให้ได้สารเบนซีนที่มีความบริสุทธิ์ถึงร้อยละ 99.9 โดยน้ำหนัก ส่วนสารโทลูอีนจะมีการส่งต่อไปยังหน่วย PxMax เพื่อผลิตสารพาราไซลีนและสารเบนซีน สำหรับสารไซลีนอื่นๆ จะส่งไปยังหน่วย Xylene Rerun Unit
  •  
  •      หน่วยผลิต PxMax เป็นเทคโนโลยีเฉพาะที่มีการพัฒนาเพื่อเพิ่มคุณค่าของสารโทลูอีนให้เป็นสารพาราไซลีนและสารเบนซีนที่มีมูลค่าเพิ่ม
    สูงขึ้น และใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีต่อเนื่องอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ สารโทลูอีนที่ป้อนเข้าหน่วยผลิต PxMax จะผ่านกระบวนการ Selective Toluene Dispropotionation (STDP) โดยใช้สารเร่งปฏิกิริยาซึ่งมีลักษณะโครงสร้างพิเศษ (Molecular Seive) ที่มี
    รูพรุนขนาดเฉพาะ ทำให้สามารถผลิตสารมิกซ์ไซลีนที่มีความเข้มข้นของสารพาราไซลีนสูง และมีสารเบนซีนเป็นผลิตภัณฑ์ร่วม ทั้งยังสามารถผลิตสารมิกซ์ไซลีนในสัดส่วนที่สูงและเกิดการแตกตัวเป็นก๊าซในสัดส่วนที่ต่ำ จากนั้น จะมีการส่งสารมิกซ์ไซลีนที่มีความเข้มข้นของ
    สารพาราไซลีนสูงไปยังหน่วยผลิต Parex เพื่อแยกสารที่มีความบริสุทธิ์สูงออกจำหน่าย เนื่องจากมีข้อได้เปรียบด้านความเข้มข้น
    การแยกสารพาราไซลีนจึงมีประสิทธิภาพด้านการใช้พลังงานสูง และช่วยให้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่ำลง ขณะที่สารเบนซีนที่ผลิตจากหน่วย PxMax จะเป็นสารเบนซีนที่มีความบริสุทธิ์สูงสามารถจำหน่ายได้โดยตรง นอกจากนั้น ยังมีผลิตภัณฑ์พลอยได้ คือ ก๊าซทิ้ง ซึ่งจะนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงภายในโรงงาน
  •  
  •      ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการผลิตของบริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด ได้แก่ สารพาราไซลีน สารเบนซีน และสารโทลูอีน

 

PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP)

ผู้ผลิตเคมีภัณฑ์ครบวงจรชั้นนำรายใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

เริ่มดำเนินการ พ.ศ. 2535
ประเภทธุรกิจ ธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น
กำลังการผลิต เอทิลีน    900,000  ตันต่อปี
โพรไพลีน  490,000  ตันต่อปี
ผลิตภัณฑ์ พอลิโอเลฟินส์ที่มีคุณภาพสูง สไตรีนโมโนเมอร์ และบิวทาไดอีน
โครงสร้างผู้ถือหุ้น บมจ. ไทยออยล์ ผ่านทางบริษัท PT TOP Investment Indonesia
ซึ่งเป็นบริษัทย่อยในประเทศอินโดนีเซีย ร้อยละ 15